โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไซโทพลาซึม

ดัชนี ไซโทพลาซึม

ไซโทพลาซึม นี่คือภาพเซลล์โดยสัตว์ทั่วไป ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (6) กอลไจแอปพาราตัส (7) ไซโทสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอล ไซโทพลาซึม (cytoplasm) คือส่วนประกอบของเซลล์ที่อยู่ภายใต้เยื่อหุ้มเซลล์ แต่อยู่นอกนิวเคลียส หรือเรียกได้ว่า ไซโทพลาซึมเป็นส่วนของโพรโทพลาสซึมที่อยู่นอกนิวเคลียส ไซโทพลาซึมประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างย่อย ๆ ภายในเซลล์ เรียกว่าออร์แกเนลล์ (organelle) และส่วนที่เป็นของกึ่งเหลว เรียกว่าไซโทซอล (cytosol) องค์ประกอบประมาณ 80% ของไซโทพลาซึมเป็นน้ำ และมักไม่มีสี ในเซลล์โพรแคริโอต (ซึ่งไม่มีนิวเคลียส) เนื้อในของเซลล์ทั้งหมดจะอยู่ในไซโทพลาซึม สำหรับเซลล์ยูแคริโอต องค์ประกอบภายในนิวเคลียสจะแยกออกจากไซโทพลาซึม และมีชื่อเรียกแยกว่า '''นิวคลิโอพลาซึม''' กิจกรรมต่างๆ ในระดับเซลล์มักเกิดขึ้นในไซโทพลาซึม เช่น ไกลโคไลซิส และการแบ่งเซลล์ บริเวณเนื้อด้านในๆ ของไซโทพลาซึมเรียกว่า เอนโดพลาซึม (endoplasm) ส่วนเนื้อด้านนอกของไซโทพลาซึมที่อยู่ถัดจากเยื้อหุ้มเซลล์ลงมา เรียกว่า เอกโตพลาซึม หรือ เซลล์คอร์เทกซ์ (cell cortex) ในเซลล์ของพืช จะมีการไหลเวียนของไซโทพลาซึมภายในเซลล์เพื่อลำเลียงสารจากบริเวณหนึ่งของเซลล์ไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เรียกการไหลเวียนนี้ว่า ไซโทพลาสมิก สตรีมมิ่ง (cytoplasmic streaming) หรือ ไซโคลซิส (cyclosis) หน้าที่ของไซโทพลาสซึม    • เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีของเซลล์     • สลายวัตถุดิบเพื่อให้ได้พลังงานและสิ่งที่จำเป็นสำหรับเซลล์     • สังเคราะห์สารที่จำเป็นสำหรับเซลล์    • เป็นที่เก็บสะสมวัตถุดิบสำหรับเซลล์     • เกี่ยวข้องกับกระบวนการขับถ่ายของเสียของเซลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

10 ความสัมพันธ์: การแบ่งเซลล์ยูแคริโอตออร์แกเนลล์นิวเคลียสนิวเคลียสของเซลล์โพรแคริโอตโพรโทพลาสซึมไกลโคไลซิสไซโตซอลเยื่อหุ้มเซลล์

การแบ่งเซลล์

Three types of cell division การแบ่งเซลล์คือกระบวนการที่เซลล์ตั้งต้น (parent cell) แบ่งตัวออกเป็นเซลล์ลูก (daughter cell) จำนวนสองเซลล์ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:วัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:กระบวนการของเซลล์ หมวดหมู่:เทโลเมียร์.

ใหม่!!: ไซโทพลาซึมและการแบ่งเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ใหม่!!: ไซโทพลาซึมและยูแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ออร์แกเนลล์

นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลจิแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล ในชีววิทยาของเซลล์ ออร์แกเนลล์เป็นโครงสร้างย่อยๆ ภายในเซลล์ที่มีหน้าที่เฉพาะ และอยู่ภายในโครงสร้างปิดที่เป็นเยื่อลิพิดแบ่งออกเป็น1ชั้นและ2ชั้น คำว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) มาจากแนวความคิดที่ว่า โครงสร้างเล็กๆ ในเซลล์นี้เปรียบเหมือนกับ อวัยวะ (organ) ของร่างกาย (โดยการเติมคำปัจจัย -elle: เป็นส่วนเล็กๆ) ออร์แกเนลล์มองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และแยกให้บริสุทธิ์ได้โดยวิธีการกระบวนการปั่นแยกเซลล์ (cell fractionation) ออร์แกเนลล์มีหลายชนิดโดยเฉพาะในเซลล์ยูแคริโอตของสัตว์ชั้นสูง เซลล์โปรแคริโอตในครั้งหนึ่งเคยคิดว่าไม่มีออร์แกเนลล์ แต่ว่ามีงานวิจัยที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการเกิดขึ้นกับวัวและควายด้ว.

ใหม่!!: ไซโทพลาซึมและออร์แกเนลล์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียส

นิวเคลียส (nucleus, พหูพจน์: nucleuses หรือ nuclei (นิวคลีไอ) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม nux หมายถึง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut).

ใหม่!!: ไซโทพลาซึมและนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียสของเซลล์

เซลล์spider man ย้อมดีเอ็นเอด้วยสีย้อม Blue Hoechst เซลล์ตรงกลางและเซลล์ทางขวาอยู่ในระยะอินเตอร์เฟสจึงทำให้สามารถย้อมสีเห็นนิวเคลียสได้ทั้งหมด ในขณะที่เซลล์ทางซ้ายอยู่ระหว่างการแบ่งนิวเคลียส (ไมโทซิส) ทำให้สามารถมองเห็นโครโมโซมที่กำลังแยกคู่จากกัน นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลไจแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล ในทางชีววิทยาของเซลล์ นิวเคลียส (nucleus) คือออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มพบในเซลล์ยูแคริโอต ภายในบรรจุสารพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นดีเอ็นเอ (DNA) สายยาวรวมตัวกับโปรตีนหลายชนิด เช่น ฮิสโตน (histone) เป็นโครโมโซม (chromosome) ยีน (gene) ต่างๆ ภายในโครโมโซมเหล่านี้ รวมเรียกว่า นิวเคลียส จีโนม (nuclear genome) หน้าที่ของนิวเคลียสคือการคงสภาพการรวมตัวของยีนเหล่านี้และควบคุมการทำงานของเซลล์โดยการควบคุมการแสดงออกของยีน (gene expression) โครงสร้างหลักของนิวเคลียสคือ เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ซึ่งเป็นเยื่อสองชั้นที่หุ้มทั้งออร์แกเนลล์และทำหน้าที่แยกองค์ประกอบภายในออกจากไซโทพลาซึม (cytoplasm) อีกโครงสร้างหนึ่งคือ นิวเคลียร์ลามินา (nuclear lamina) ซึ่งเป็นโครงสร้างร่างแหภายในนิวเคลียส ทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุน ให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส คล้ายไซโทสเกลเลตอน (cytoskeleton) ภายในเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านที่โมเลกุลส่วนใหญ่ผ่านทะลุเข้าออกไม่ได้ ดังนั้นเยื่อหุ้มนิวเคลียสจึงต้องมีนิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) หรือช่องที่จะให้สารเคลื่อนผ่านเยื่อ ช่องเหล่านี้ทะลุผ่านเยื่อทั้งสองของเยื่อหุ้มนิวเคลียสให้โมเลกุลขนาดเล็กและไอออนเคลื่อนที่เข้าออกนิวเคลียสได้ การเคลื่อนที่เข้าออกของสารโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน ต้องมีการควบคุมและต้องใช้โปรตีนช่วยขนส่งสาร (carrier proteins หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: ไซโทพลาซึมและนิวเคลียสของเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

โพรแคริโอต

รงสร้างของเซลล์แบคทีเรีย โพรแคริโอต (prokaryote) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยออร์แกเนลที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ไม่มีนิวเคลียส มักเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว คำว่า prokaryotes มาจาก ภาษากรีกโบราณ pro- ก่อน + karyon เมล็ด ซึ่งหมายถึงนิวเคลียส + ปัจจัย -otos, พหูพจน์ -otesCampbell, N. "Biology:Concepts & Connections".

ใหม่!!: ไซโทพลาซึมและโพรแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

โพรโทพลาสซึม

รโทพลาสซึม (protoplasm) เป็นสารกึ่งของเหลวอยู่ภายในของเซลล์ทั้งหมด ซึ่งประกอปด้วย นิวเคลียส (Nucleus) และ ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) มีความหนืด โปร่งแสง ไม่มีสี ถูกห่อหุ้มด้วยผนังเซลล์ หากเป็นของพืชจะมีคลอโรพลาสต์(Chloroplast) รวมอยู่ด้วย เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะแสดงคุณสมบัติการมีชีวิตได้.

ใหม่!!: ไซโทพลาซึมและโพรโทพลาสซึม · ดูเพิ่มเติม »

ไกลโคไลซิส

ั้นตอนของไกลโคไลซิส ไกลโคไลซิส (Glycolysis) เป็นกระบวนการปฏิกิริยาเคมีที่พบทั้งในโพรแคริโอตและยูแคริโอตโดยในยูแคริโอตนั้นพบบริเวณไซโทซอลของเซลล์ เป็นกระบวนการสังเคราะห์โมเลกุล ATP กับ NADH จากโมเลกุลของกลูโคสกล่าวโดยสรุปแล้วหนึ่งโมเลกุลของกลูโคสเมื่อผ่านกระบวนการไกลโคไลซิสแล้วได้สองโมเลกุลของ ATP, NADH และ ไพรูเวต เป็นการย่อยสลายโมเลกุลของกลูโคส (คาร์บอน 6 ตัว) ไปเป็นไพรูเวต (คาร์บอน 3 ตัว).

ใหม่!!: ไซโทพลาซึมและไกลโคไลซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไซโตซอล

doi.

ใหม่!!: ไซโทพลาซึมและไซโตซอล · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มเซลล์

ื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้ เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis) นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน.

ใหม่!!: ไซโทพลาซึมและเยื่อหุ้มเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cytoplasmไซโทพลาสซึมไซโตพลาสซึม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »