สารบัญ
10 ความสัมพันธ์: ชั้นโปรแกรมประยุกต์วอยซ์โอเวอร์ไอพีอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลไฟร์วอลล์ไอพีทีวีเอ็มพีแอลเอสเครือข่ายส่วนตัวเสมือนเครือข่ายผสมไฟเบอร์โคแอคเชียลเครือข่ายคอมพิวเตอร์Session Initiation Protocol
- สถาปัตยกรรมเครือข่าย
- โพรโทคอลเครือข่าย
ชั้นโปรแกรมประยุกต์
Application layer หรือ ชั้นโปรแกรมประยุกต์ เป็นชั้นลำดับที่ 7 จาก 7 ชั้น ใน OSI Model.
ดู โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าและชั้นโปรแกรมประยุกต์
วอยซ์โอเวอร์ไอพี
ลักษณะการเชื่อมต่อ Avaya 1140E วอยซ์โอเวอร์ไอพี โทรศัพท์ วอยซ์โอเวอร์ไอพี (Voice over IP: VoIP) (หรือชื่ออื่น IP Telephony, Internet telephony, หรือ Digital Phone) เป็นการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายอื่นๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล สัญญาณเสียงจะถูกตัดแบ่งเป็นแพ็คเก็ตวิ่งผ่านไปบนโครงข่ายที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลทั่วไป แทนการใช้วงจรเฉพาะตามวิธีการสื่อสารในระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เปรียบได้กับการให้รถยนต์วิ่งแทรกกันได้ตามช่องว่างที่มีอยู่ของถนน แทนการให้รถยนต์คันเดียวจองถนนวิ่งแบบผูกขาด ข้อดีของวอยซ์โอเวอร์ไอพีก็คือการสามารถใช้โครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถให้บริการได้ในอัตราค่าบริการที่ถูกลงมาก.
ดู โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าและวอยซ์โอเวอร์ไอพี
อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล
อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ย่อว่า ไอพี (Internet Protocol: IP) หรือ เกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต เป็นโพรโทคอลการสื่อสารที่สำคัญใน Internet protocol suite สำหรับถ่ายทอดดาต้าแกรม(หน่วยข้อมูลพื้นฐานของแพ็กเกต ซึ่งการส่ง, เวลาถึงและลำดับที่ถึง ไม่ถูกรับประกันโดยเครือข่าย)ข้ามเขตแดนเครือข่าย ฟังก์ชันการกำหนดเส้นทางของมันจะช่วยงานภายในเครื่อข่ายและก่อตั้งระบบอินเทอร์เน็ตขึ้น การทำงานของไอพีเป็นการทำงานแบบไม่รับประกันความถูกต้องของข้อมูล รุ่นปัจจุบันคือ IPv4 และกำลังอยู่ในช่วงผลักดันให้ใช้ IPv6 ในอดีต IP เป็นบริการดาต้าแกรมแบบ connectionless ใน Transmission Control Program เดิมที่ถูกแนะนำโดย Vint Cerf และบ๊อบ คาห์นในปี 1974; อีกตัวหนึ่งเป็น Transmission Control Protocol (TCP) แบบ connection-oriented ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตจึงมักจะเรียกว่า TCP / IP รุ่นแรกของ IP, Internet Protocol เวอร์ชัน 4 (IPv4) เป็นโพรโทคอลที่โดดเด่นของอินเทอร์เน็ต ผู้รับช่วงต่อของมันคือ Internet Protocol เวอร์ชัน 6 (IPv6).
ดู โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าและอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล
ไฟร์วอลล์
ฟร์วอลล์ (อังกฤษ: firewall; ศัพท์บัญญัติ ด่านกันบุกรุก) คือซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย หน้าที่ของไฟร์วอลล์คือเป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย โดยความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลล์มีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้.
ดู โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าและไฟร์วอลล์
ไอพีทีวี
อพีทีวี (Internet Protocol Television) การจะดูโทรทัศน์ในระบบนี้ได้จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งผ่านข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ด้วย ซึ่งเป็นระบบที่แตกต่างจากเดิมที่มีการเผยแพร่สัญญาณผ่านทางสายอากาศหรือผ่านทางเคเบิล รูปแบบการให้บริการในระบบไอพีทีวีนี้จะแตกต่างไปจากการให้บริการแบบเดิมค่อนข้างมาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารจากแต่ก่อนที่เป็นแบบทางเดียวคือผู้ใช้ไม่สามารถโต้ตอบกับผู้ให้บริการได้ ให้กลายเป็นแบบ 2 ทาง (Two Way Communication) คือ ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกลับ (Interactive) ผู้ให้บริการได้เช่นการเรียงลำดับรายการโทรทัศน์ก่อนหลังได้ การสั่งซื้อ VDO on Demand การดูโทรทัศน์ย้อนหลัง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมกับการใช้บริการมากยิ่งขึ้น.
ดู โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าและไอพีทีวี
เอ็มพีแอลเอส
อ็มพีแอลเอส (Multiprotocol Label Switching: MPLS) เป็นกลไกในเครือข่ายโทรคมนาคมประสิทธิภาพสูงที่ส่งข้อมูลจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดต่อไปโดยใช้ป้ายบอกเส้นทางสั้นๆแทนที่จะเป็นเนทเวิร์คแอดเดรสยาวๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการค้นหาที่ซับซ้อนในตารางเส้นทาง ป้ายจะระบุจุดเชื่อมต่อหรือเส้นทางเสมือนระหว่างโหนดไกลๆมากกว่าจะบอก endpoints.
ดู โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าและเอ็มพีแอลเอส
เครือข่ายส่วนตัวเสมือน
ตัวอย่างการเชื่อมโยงเครือข่ายส่วนตัวเสมือน เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network: VPN) คือ เครือข่ายเสมือนที่ยอมให้กลุ่มของ site สามารถสื่อสารกันได้.
ดู โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าและเครือข่ายส่วนตัวเสมือน
เครือข่ายผสมไฟเบอร์โคแอคเชียล
รือข่ายผสมไฟเบอร์โคแอคเชียล (Hybrid Fibre-Coaxial) เป็นศัพท์ด้านอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับเครือข่ายบรอดแบนด์ที่ใช้สื่อกลางในการขนส่งข้อมูลทั้งใยแก้วนำแสงและสายเคเบิลโคแอกเชียล มันถูกนำมาใช้โดยผู้ประกอบการโทรทัศน์บอกรับเป็นสมาชิกหรือที่เรียกว่าเคเบิลทีวีทั่วโลกมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 แผนภาพเครือข่าย HFC.
ดู โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าและเครือข่ายผสมไฟเบอร์โคแอคเชียล
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบ Token Ring เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้ อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือ.
ดู โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Session Initiation Protocol
Session Initiation Protocol (SIP) คือ โพรโทคอลหรือเกณฑ์วิธีเพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดีย เช่น การส่งข้อมูลเสียงหรือวีดีโอบนเครือข่าย IP ได้รับการพัฒนาโดย IETF และ SIP ถือว่าเป็นโพรโทคอลที่เหนือกว่าโพรโทคอลอื่นในแง่ของการที่สามารถปรับใช้และนำไปพัฒนาได้ง่ายกว่า โดยตัวโพรโทคอลเองมีความสามารถในการสร้าง (create), ปรับ (modify) และ ยกเลิก (terminate) การติดต่อสื่อสารระหว่างโหนดที่เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (unicast) หรือแบบกลุ่ม (multicast) ได้ ซึ่ง SIP สามารถปรับเปลี่ยนที่อยู่ (address), หมายเลขพอร์ต, เพิ่มสายผู้สนทนา และสามารถเพิ่มหรือลดการส่งข้อมูลมิเดีย (media stream) บางประเภทได้ ตัวอย่างของโปรแกรมประยุกต์ (application) ที่อาศัย SIP ในการเชื่อมต่อ เช่น การประชุมด้วยวิดีโอ (video conferencing), การกระจายข้อมูลภาพและเสียง (streaming multimedia distribution), การส่งข้อความด่วน (instant messaging), การส่งไฟล์ (file transfer) และ เกมออนไลน์ เป็นต้น SIP ถูกออกแบบโดยนาย Henning Schulzrinne และนาย Mark Handly ตั้งแต่ปี..
ดู โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าและSession Initiation Protocol
ดูเพิ่มเติม
สถาปัตยกรรมเครือข่าย
- จุดเดียวของความล้มเหลว
- ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต
- เครือข่ายซ้อนทับ
- เครือข่ายส่วนตัวเสมือน
- เครือข่ายอัจฉริยะ
- เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ
- เอกซ์ทราเน็ต
- โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า
โพรโทคอลเครือข่าย
- เกณฑ์วิธีต้นไม้แบบทอดข้าม
- เฟรมรีเลย์
- เรเดียส
- เอชทีทีพี
- แพ็กเกตสวิตชิง
- แลนเสมือน
- โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า
- โพรโทคอล
- โพรโทคอลสแตก