โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ดัชนี เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบ Token Ring เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้ อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือ.

31 ความสัมพันธ์: บริดจ์ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลาหน่วยความจำหน่วยประมวลผลกลางอินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลอีเทอร์เน็ตฮับอีเทอร์เน็ตผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทรัพยากรคอมพิวเตอร์แบบจำลองโอเอสไอแพนแพ็กเกตสวิตชิงแมนแลนแวนแซนใยแก้วนำแสงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไมโครคอนโทรลเลอร์เกตเวย์เราเตอร์เวิลด์ไวด์เว็บเว็บเบราว์เซอร์เครื่องพิมพ์เครื่องกราดภาพเครื่องลูกข่ายเซิร์ฟเวอร์เนตเวิร์กสวิตช์

บริดจ์

ริดจ์ (bridge) ความหมายโดยตรงหมายถึงสะพานหรือทางเชื่อม แต่ก็อาจหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ด้ว.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต

รโทคอลอินเทอร์เน็ต เป็นมาตรฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน และติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยใช้แนวคิดของการแบ่งลำดับชั้นโปรโตโคล.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา

โมเดล ATM ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา หรือ เอทีเอ็ม (Asynchronous Transfer Mode: ATM) เป็นเครือข่ายสื่อสาร ที่ใช้โพรโทคอลชื่อเดียวกันคือ ATM เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะ ข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากๆ มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึงระดับ Gbps สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมีได้ตั้งแต่สายโคแอกเชียล สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายไขว้คู่ (Twisted pair) โดย ATM นั้นถูกพัฒนามาจากเครือข่ายแพ็กเก็ตสวิตซ์ (packet switched) ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่าแพ็กเก็ต (packet) ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละแพ็กเก็ตออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพเคลื่อนไหว, ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเสียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และยังมีการรับประกันคุณภาพของการส่ง เนื่องจากมี Quality of Service (QoS) จุดเด่นของเครือข่าย ATM ที่เหนือกว่าเครือข่ายประเภทอื่น คือ อัตราการส่งผ่านข้อมูลสูง และเวลาในการเดินทางของข้อมูลน้อย จึงทำให้มีบางกลุ่มเชื่อว่า ATM จะเป็นเทคโนโลยีหลักของเครือข่าย LAN ในอนาคต เนื่องจากสามารถรองรับ Application ที่ต้องการอัตราส่งผ่านข้อมูลสูง เช่น การประชุมทางไกล (Videoconferencing) หรือแม้กระทั่ง Application แบบตอบโต้กับระหว่าง Client กับ Sever ATM เป็นระบบเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ชนิดพิเศษ เนื่องด้วยกลุ่มข้อมูลที่ส่งแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์โดยทั่วไปจะเรียกว่า "แพ็กเก็ต" แต่ ATM จะใช้ "เซลล์" แทน ที่ใช้คำว่าเซลล์เนื่องจาก เซลล์นั้นจะมีขนาดที่เล็กและคงที่ ในขณะที่แพ็กเก็ตมีขนาดไม่คงที่ และใหญ่กว่าเซลล์มาก โดยมาตรฐานแล้วเซลล์จะมีขนาด 53 ไบต์ โดยมีข้อมูล 48 ไบต์ และอีก 5 ไบต์ จะเป็นส่วนหัว (Header) ทำให้สวิตซ์ของ ATM ทำงานได้เร็วกว่าสวิตซ์ของเครือข่ายอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียข้อมูล ATM สวิตซ์จะใช้เทคนิคการปรับจราจร (Traffic Shapping) เพื่อกำหนดให้แพ็กเก็ตข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดที่วางไว้ เช่น ในกรณีที่สถานีส่งข้อมูลในอัตราที่สูงเกินกว่าลิงก์จะรองรับได้ ATM สวิตซ์ก็จะทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์แพ็กเก็ตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และส่งต่อในปริมาณที่ลิงก์จะรองรับได้ หรือที่กำหนดไว้เท่านั้น และอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้คือ การกำหนดนโยบายจราจร (Traffic Policing) คือ ถ้ามีเซลล์ข้อมูลที่ส่งเกินกว่าอัตราข้อมูลที่กำหนดไว้ก็จะถูกทำสัญลักษณ์ไว้เพื่อแสดงว่าเซลล์นี้มีลำดับความสำคัญต่ำ(Priority) เมื่อส่งผ่านเซลล์นี้ต่อไปก็อาจจะถูกละทิ้งหรือไม่ก็ได้นั้นขึ้นอยู่กับความคับคั่งของเครือข่าย.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยความจำ

หน่วยความจำ (Computer memory) คือ อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำถาวร และ หน่วยความจำชั่วคราว ตัวอย่างของหน่วยความจำถาวรก็เช่น หน่วยความจำแบบแฟลช และหน่วยความจำพวกรอม ตัวอย่างของหน่วยความจำชั่วคราวก็คือพวกหน่วยความจำหลัก เช่น DRAM (แรมชนิดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน) และแคชของซีพียูซึ่งทำงานได้รวดเร็วมาก (ปกติเป็นแบบ SRAM ซึ่งเร็วกว่า กินไฟน้อยกว่า แต่มีความจุต่อพื้นที่น้อยกว่า DRAM).

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และหน่วยความจำ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลกลาง · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล

อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ย่อว่า ไอพี​ (Internet Protocol: IP) หรือ เกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต เป็นโพรโทคอลการสื่อสารที่สำคัญใน Internet protocol suite สำหรับถ่ายทอดดาต้าแกรม(หน่วยข้อมูลพื้นฐานของแพ็กเกต ซึ่งการส่ง, เวลาถึงและลำดับที่ถึง ไม่ถูกรับประกันโดยเครือข่าย)ข้ามเขตแดนเครือข่าย ฟังก์ชันการกำหนดเส้นทางของมันจะช่วยงานภายในเครื่อข่ายและก่อตั้งระบบอินเทอร์เน็ตขึ้น การทำงานของไอพีเป็นการทำงานแบบไม่รับประกันความถูกต้องของข้อมูล รุ่นปัจจุบันคือ IPv4 และกำลังอยู่ในช่วงผลักดันให้ใช้ IPv6 ในอดีต IP เป็นบริการดาต้าแกรมแบบ connectionless ใน Transmission Control Program เดิมที่ถูกแนะนำโดย Vint Cerf และบ๊อบ คาห์นในปี 1974; อีกตัวหนึ่งเป็น Transmission Control Protocol (TCP) แบบ connection-oriented ชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตจึงมักจะเรียกว่า TCP / IP รุ่นแรกของ IP, Internet Protocol เวอร์ชัน 4 (IPv4) เป็นโพรโทคอลที่โดดเด่นของอินเทอร์เน็ต ผู้รับช่วงต่อของมันคือ Internet Protocol เวอร์ชัน 6 (IPv6).

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล · ดูเพิ่มเติม »

อีเทอร์เน็ต

อีเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Ethernet) เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เป็นฐานหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด เนื่องจากเป็นเทคโนโลยี LAN ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงภายใต้ความดูแลรับผิดชอบของ IEEE สิ่งสำคัญที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง คือ "ความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth)" โดยมีการปรับปรุงความเร็วจาก 10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) เป็น 100 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเรียก Ethernet นี้ว่า Fast Ethernet มีทั้งระบบการส่งสัญญาณแบบกึ่งทางคู่ (Half-Duplex) และแบบทางคู่ (Full-Duplex) ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า ATM (Asynchronous Transfer Mode) ในปี 1999 ได้มีการพัฒนาระบบการส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ต ให้มีความเร็วที่ 1000 Mbps หรือ 1 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) โดยใช้การส่งสัญญาณจาก 2 คู่สาย เป็น 4 คู่สาย โดยยังคงใช้พอร์ตการเชื่อมต่อแบบเดิมที่ระบบ 100 Mbps และ 10 Mbps ใช้อยู่ (Registered Jack 45: RJ45) และยังคงสามารถเลือกใช้งานระบบการส่งสัญญาณแบบกึ่งทางคู่ และแบบทางคู่ ได้ เช่นเดียวกับระบบ 100 Mbps คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบอีเทอร์เน็ตที่ทำงานที่ 100 Mbps จะยังคงสามารถต่อกับ อุปกรณ์ 1000 Mbps ได้ แต่ความเร็วจะลดลงมาแค่ที่การส่งข้อมูลที่อัตราความเร็ว 100 Mbps เช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบอีเทอร์เน็ต 1000 Mbps มาเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์ 100 Mbps ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาระบบอีเทอร์เน็ตให้มีอัตราการส่งข้อมูลที่ 10 กิกะบิตต่อวินาที (10000 Mbps) โดยยังคงมีความสามารถ เช่นเดียวกับระบบ 1 กิกะบิตต่อวินาที (เลือกการส่งสัญญาณแบบทางคู่หรือกึ่งทางคู่ได้, นำอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้ามาเชื่อมต่อได้) หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:มาตรฐานไอทริปเพิลอี.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอีเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ฮับอีเทอร์เน็ต

ับอีเทอร์เน็ต 4 ช่องทาง ฮับอีเทอร์เน็ต หรือ ฮับ เป็นอุปกรณ์เชื่อมตัวอุปกรณ์อีเทอร์เน็ตหลายตัวเข้าด้วยกัน ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นส่วนย่อยเครือข่ายเดี่ยว มีช่องทางรับเข้าและส่งออกหลายช่องทาง ซึ่งสัญญาณจะใส่เข้าไปที่ช่องรับเข้าปรากฏที่ทุกช่องทางยกเว้นช่องเดิมที่เข้ามา ฮับทำงานที่ชั้นกายภาพ (ชั้น 1) ของแบบจำลองโอเอสไอ.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และฮับอีเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet service provider: ISP) คือ บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น ไดอัล, ดีเอสแอล, เคเบิลโมเด็ม, ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการ เปิดบัญชีชื่อผู้ใช้ในอีเมล ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยรับ-ส่ง ผ่านเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ในบางครั้งผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการเก็บไฟล์ข้อมูลระยะไกล รวมถึงเรื่องเฉพาะทางอื่น เป็นต้น.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากร

ทรัพยากร หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ตามสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ แสง พืชและสัตว์ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีทรัพยากรที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและภูมิอาก.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และทรัพยากร · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์

อบีเอ็ม โรดรันเนอร์ - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกผลิตโดยไอบีเอ็มและสถาบันวิจัยแห่งชาติลอสอะลาโมส (2551) http://www.cnn.com/2008/TECH/06/09/fastest.computer.ap/ Government unveils world's fastest computer จากซีเอ็นเอ็น คอมพิวเตอร์ (computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองโอเอสไอ

แบบจำลองโอเอสไอ (Open Systems Interconnection model: OSI model) (ISO/IEC 7498-1) เป็นรูปแบบความคิดที่พรรณนาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสารโดยแบ่งเป็นชั้นนามธรรม และโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) แบบจำลองนี้จะทำการจับกลุ่มรูปแบบฟังก์ชันการสื่อสารที่คล้ายกันให้อยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่งในเจ็ดชั้นตรรกะ ชั้นใดๆจะให้บริการชั้นที่อยู่บนและตัวเองได้รับบริการจากชั้นที่อยู่ด้านล่าง ตัวอย่างเช่นชั้นที่ให้การสื่อสารที่ error-free ในเครือข่ายจะจัดหาเส้นทางที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันชั้นบน ในขณะที่มันเรียกชั้นต่ำลงไปให้ส่งและรับแพ็คเก็ตเพื่อสร้างเนื้อหาของเส้นทางนั้น งานสองอย่างในเวลาเดียวกันที่ชั้นหนึ่งๆจะถูกเชื่อมต่อในแนวนอนบนชั้นนั้นๆ ตามรูปผู้ส่งข้อมูลจะดำเนินงานเริ่มจากชั้นที่ 7 จนถึงชั้นที่ 1 ส่งออกไปข้างนอกผ่านตัวกลางไปที่ผู้รับ ผู้รับก็จะดำเนินการจากชั้นที่ 1 ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 7 เพื่อให้ได้ข้อมูลอันนั้น ตัวอย่างการทำงานของ OSI ชั้นที่ 5.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และแบบจำลองโอเอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

แพน

แพน อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และแพน · ดูเพิ่มเติม »

แพ็กเกตสวิตชิง

แพ็กเกตสวิตชิง (packet switching) วิธีการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายดิจิทัลที่รวมกลุ่มข้อมูลที่จะส่งทั้งหมด-ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ชนิดหรือโครงสร้าง- จัดให้เป็นบล็อกที่มีขนาดเหมาะสมเรียกว่าแพ็กเกต ถูกนำเสนอครั้งแรกสำหรับการใช้งานทางทหารในช่วงต้นทศวรรษ 1960 และนำไปใช้บนเครือข่ายขนาดเล็กในปี 1968 วิธีการส่งข้อมูลในลักษณะนี้กลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีระบบเครือข่ายพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังอินเทอร์เน็ตและแลนส่วนใหญ่ แพ็กเกตสวิตชิงส่งมอบกระแสข้อมูล(ลำดับของแพ็กเกต)ต่อเนื่องแบบ variable-bit-rate ผ่านทางเครือข่ายที่ใช้ร่วมกัน เมื่อข้อมูลไหลไปตามเนทเวิร์คอะแดปเตอร์, สวิตช์, เราเตอร์และโหนดเครือข่ายอื่น ๆ แพ็กเกตจะถูกพักเอาไว้และเข้าคิว ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดความล่าช้าและทรูพุทที่แปรไปตามปริมาณการจราจรในเครือข่าย แพ็กเกตสวิตชิงแตกต่างไปจากกระบวนทัศน์ของเครือข่ายที่สำคัญอื่นอย่างเช่นเซอร์กิตสวิตชิง วิธีนั้นจะจำกัดจำนวนจุดเชื่อมต่อหรือเส้นทางเฉพาะระหว่างโหนดต่อโหนดด้วยอัตราความเร็วและความล่าช้าที่คงที่สำหรับการใช้งานพิเศษในช่วงเซสชั่นการสื่อสาร ในกรณีที่มีค่าธรรมเนียมในการใช้งาน (ตรงข้ามกับอัตราคงที่) เช่นในการให้บริการการสื่อสารเคลื่อนที่ เซอร์กิตสวิตชิงคิดค่าธรรมเนียมต่อหน่วยเวลาของการเชื่อมต่อ, แม้ในขณะที่ไม่มีข้อมูลที่เชื่อมต่อ, ในขณะที่แพ็กเกตสวิตชิงคิดค่าธรรมเนียมต่อหน่วยของข้อมูล การสื่อสารโหมด Packet อาจจะนำมาใช้โดยมีหรือไม่มีโหนดส่งต่อช่วงกลาง (แพ็กเกตสวิตช์หรือเราเตอร์).

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และแพ็กเกตสวิตชิง · ดูเพิ่มเติม »

แมน

เครือข่ายครอบคลุมบริเวณเมืองใหญ่ หรือ แมน (Metropolitan Area Networks, MANs) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากจะมีขนาดครอบคลุมเมืองหรือบริเวณมหาวิทยาลัย ระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยปกติแล้วจะเป็นระบบไร้สายเช่นการใช้คลื่นไมโครเวฟหรือใช้ใยแก้วนำแสง เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ตัวอย่างการใช้งานจริง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษา จะมีระบบแมนเพื่อเชื่อมต่อระบบแลนของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่ายแมนได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่ายแมนที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และแมน · ดูเพิ่มเติม »

แลน

แลน (Local Area Network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 3 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) การเชื่อมโยงเครือข่ายระดับเมืองหรือแมน (MAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และแลน · ดูเพิ่มเติม »

แวน

เครือข่ายครอบคลุมบริเวณเมืองใหญ่ หรือ แมน (Metropolitan Area Networks, MANs) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากจะมีขนาดครอบคลุมเมืองหรือบริเวณมหาวิทยาลัย ระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยปกติแล้วจะเป็นระบบไร้สายเช่นการใช้คลื่นไมโครเวฟหรือใช้ใยแก้วนำแสง เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ตัวอย่างการใช้งานจริง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษา จะมีระบบแมนเพื่อเชื่อมต่อระบบแลนของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้างเทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่ายแมนได้แก่ ATM, FDDI และ SMDSระบบเครือข่ายแมนที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และแวน · ดูเพิ่มเติม »

แซน

แซน (san) หรือ ซัน (σαν, ตัวใหญ่ Ϻ, ตัวเล็ก ϻ) เป็นอักษรกรีกที่เคยปรากฏอยู่ระหว่างพายกับคอปปาตามลำดับอักษร ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และแซน · ดูเพิ่มเติม »

ใยแก้วนำแสง

ใยแก้วนำแสงใยแก้วนำแสง หรือ ออปติกไฟเบอร์ หรือ ไฟเบอร์ออปติก เป็นแก้วหรือพลาสติกคุณภาพสูง ที่สามารถยืดหยุ่นโค้งงอได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 8-10 ไมครอน (10 ไมครอน.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และใยแก้วนำแสง · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

รหัสต้นฉบับ "Hello, World" ในภาษาซี สนิปเพตที่รู้จักกันครั้งแรกในหนังสือ ''เดอะซีโปรแกรมมิงแลงกวิจ'' เขียนโดยไบรอัน เคอร์เนแฮน และเดนนิส ริตชี ในปี ค.ศ. 1974 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program) เป็นชุดคำสั่ง ที่ปฏิบัติงานเฉพาะเมื่อคอมพิวเตอร์สั่งกระทำการ (execute) คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการใช้โปรแกรมในการสั่งงาน และกระทำตามชุดคำสั่งในหน่วยประมวลผลกลาง โปรแกรมคอมพิวเตอร์มักเขียนโดยนักเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาโปรแกรม คอมไพเลอร์สามารถแปลงรหัสเครื่อง (machine code) ที่ประกอบด้วยชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถกระทำการได้โดยตรงได้จากรหัสต้นฉบับ (source code) แบบมนุษย์อ่านได้ หรืออีกทางหนึ่ง โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการได้ด้วยอินเทอร์พรีเตอร์ วนหนึ่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กระทำงานงานหนึ่งที่นิยามไว้อย่างดี เรียกว่าขั้นตอนวิธี (algorithm) ชุดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คลัง (library) และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเรียกว่าซอฟต์แวร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจจัดประเภทได้จากฟังก์ชันยาวหลายบรรทัด เช่น โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ร.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครคอนโทรลเลอร์

I/O ในชิปเดียวกัน ไมโครคอนโทรลเลอร์ (microcontroller มักย่อว่า µC, uC หรือ MCU) คือ อุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็ก ซึ่งบรรจุความสามารถที่คล้ายคลึงกับระบบคอมพิวเตอร์ โดยในไมโครคอนโทรลเลอร์ได้รวมเอาซีพียู, หน่วยความจำ และพอร์ต ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน โดยทำการบรรจุเข้าไว้ในตัวถังเดียวกัน.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกตเวย์

กตเวย์ (Gateway หรือ gateway) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเกตเวย์ · ดูเพิ่มเติม »

เราเตอร์

ราเตอร์ 27 Terabit ต่อวินาที ตัวอย่างเราเตอร์ซิสโก 1800 เราเตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่หาเส้นทางและส่ง(forward)แพ็กเกตข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยังเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ เราเตอร์ทำงานบนเลเยอร์ที่ 3 ตามมาตรฐานของ OSI Model เราเตอร์มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ สวิตช์ (Switch) ที่มีความสามารถแจกไอพี ได้ เราเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับสองเส้นทางหรือมากกว่าจากเครือข่ายที่แตกต่างกัน เมื่อแพ็คเก็ตข้อมูลเข้ามาจากเส้นทางหนึ่ง เราเตอร์จะอ่านข้อมูล address ที่อยู่ในแพ็คเก็ตเพื่อค้นหาปลายทางสุดท้าย จากนั้น, ด้วยข้อมูลในตารางเส้นทางหรือนโยบายการส่ง, จะส่งแพ็กเก็ตไปยังเครือข่ายข้างหน้าตามเส้นทางนั้น เราเตอร์จะดำเนินการ "กำกับการจราจร" บนเส้นทางนั้นด้วย แพ็คเก็ตข้อมูลโดยทั่วไปจะถูกส่งจากเราเตอร์หนึ่งไปยังอีกเราเตอร์หนึ่งผ่านเครือข่ายที่เป็น Internetwork จนกว่าจะถึงโหนดปลายทาง.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเราเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์ไวด์เว็บ

แสดงตัวอย่างของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่เชื่อมโยงกับวิกิพีเดีย เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW, W3; หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เว็บ) คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนดยูอาร์แอล คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต จริง ๆ แล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเวิลด์ไวด์เว็บ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องพิมพ์

รื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่จะผลิตข้อความหรือกราฟิกของเอกสารที่เก็บไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ออกมาในสื่อทางกายภาพเช่นกระดาษหรือแผ่นใส เครื่องพิมพ์ส่วนมากเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป และเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลเครื่องพิมพ์หรือในเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่จะเป็นสายยูเอสบี เครื่องพิมพ์บางชนิดที่เรียกกันว่าเครื่องพิมพ์เครือข่าย(Network Printer) อินเตอร์เฟซที่ใช้มักจะเป็นแลนไร้สายและ/หรืออีเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องกราดภาพ

ในทางคอมพิวเตอร์ เครื่องกราดภาพ คืออุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายโอนรูปภาพหรือข้อความลงในคอมพิวเตอร์ เครื่องกราดภาพบางชนิดยังมีรูปแบบพิเศษในการกราดภาพเชิงลบหรือกราดภาพหนังสือ ในคอมพิวเตอร์ สัญญาณจากเครื่องกราดภาพจะถูกถ่ายโอนไปยังรูปดิจิทัล ภาพนี้สามารถแก้ไข, พิมพ์ ฯลฯ เครื่องกราดภาพทั้งหมดมีส่วนพิเศษที่ใช้ในการถ่ายภาพจากวัตถุ อุปกรณ์เสริมที่ประจุไฟหรือ Contact Image Sensor จะส่องแสงจากวัตถุและเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิทัล จากนั้นสัญญาณดิจิทัลจะถูกโอนไปยังหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์หรืออ่านจากตัวประมวลผลของเครื่องกราดภาพ ด้วยซอฟต์แวร์บางซอฟต์แวร์คุณสามารถเปลี่ยนเป็นภาพดิจิทัลที่ถูกบีบอัด เช่น เจเพ็ก หรือ พีเอ็นจี ข้อความที่พิมพ์หรือเขียนด้วยมือสามารถเปลี่ยนเป็นรหัสแอสกีด้วยโปรแกรมการรู้จำอักขระด้วยแสง.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครื่องกราดภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องลูกข่าย

เครื่องลูกข่าย หรือ ไคลเอนต์ (client) เป็นระบบหรือแอปพลิเคชันที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ได้ คำว่าไคลเอนต์เริ่มมีการใช้เรียกถึงคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถเรียกใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในตัวเองได้ แต่สามารถใช้งานโปรแกรมนั้นผ่านทางระบบเครือข่าย หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครื่องลูกข่าย · ดูเพิ่มเติม »

เซิร์ฟเวอร์

รื่องเซิร์ฟเวอร์ของ วิกิมีเดีย เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องบริการ หรือ เครื่องแม่ข่าย คือ เครื่องหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานให้บริการ ในระบบเครือข่ายแก่ลูกข่าย (ซึ่งให้บริการผู้ใช้อีกทีหนึ่ง) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์นี้ควรจะมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก ภายในเซิร์ฟเวอร์ให้บริการได้ด้วยโปรแกรมบริการ ซึ่งทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการอีก.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เนตเวิร์กสวิตช์

นทเวิร์คสวิตช์ (Network Switch) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกลุ่มเครือข่ายหรืออุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปคำๆนี้หมายถึง network bridge หรือสะพานเครือข่ายหลายพอร์ตที่ประมวลและจัดเส้นทางข้อมูลที่ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (data link layer - เลเยอร์ 2) ของแบบจำลองโอเอสไอ.

ใหม่!!: เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเนตเวิร์กสวิตช์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Networkการสื่อสารข้อมูลระบบเครือข่ายระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์กเครือข่ายเน็ตเวิร์กเน็ตเวิร์ค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »