โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อารามอันเดชส์

ดัชนี อารามอันเดชส์

อารามอันเดชส์ (Andechs Abbey) เป็นแอบบีย์โรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่หมู่บ้านอารามอันเดชส์ในประเทศเยอรมนี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบบาโรกที่มาเปลี่ยนแปลงใน ค.ศ. 1712 อารามอันเดชส์ของคณะเบเนดิกติน เดิมเป็นสถานที่สำหรับการจาริกแสวงบุญตั้งอยู่บนเนินริมทะเลสาบอัมเมอร์เซในบาวาเรียเหนือ แอบบีมีชื่อเสียงในการที่เป็นสิ่งก่อสร้างแบบบาโรก นอกจากจะเป็นแอบบีย์แล้วก็ยังมีชื่อในการผลิตเบียร์ คีตกวีคาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff) ถูกบรรจุไว้ชาเปลด้านข้างภายในแอบบี.

27 ความสัมพันธ์: ชาวฮังการีพ.ศ. 2255พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสการจาริกแสวงบุญการแยกศาสนจักรกับอาณาจักรราชรัฐมุขนายกบัมแบร์กราชวงศ์วิทเทลส์บัคสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 9สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1สันตะสำนักสถาปัตยกรรมบาโรกสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกอากวีเลยาอารามอันเดชส์อิสเตรียผังอาสนวิหารจิตรกรรมฝาผนังคณะเบเนดิกตินประเทศเยอรมนีปีเอตะแอบบีย์โบสถ์คริสต์โรมันคาทอลิกโอเบอร์ไบเอิร์นโทษต้องห้ามเรลิก

ชาวฮังการี

ชาวฮังการี หรือ ม็อดยอร์ (Hungarian people หรือ Magyars, magyarok) คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประเทศฮังการี ชนมาจยาร์มีด้วยกันราว 10 ล้านคนในประเทศฮังการี (ค.ศ. 2001).

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และชาวฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2255

ทธศักราช 2255 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และพ.ศ. 2255 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (Philip II of France หรือ Philip II Augustus หรือ Philippe Auguste) (21 สิงหาคม ค.ศ. 1165 - 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1179 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223 รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยของ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1165 ที่ Gonesse ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระอัครมเหสีองค์ที่สามพระราชินีอเดเล ฟิลิปมีพระนามเล่นว่า “Dieudonné”—“ของขวัญจากพระเจ้า”—เพราะทรงพระราชโอรสที่เกิดเมื่อพระราชบิดามีพระชนมายุมากแล้ว พระเจ้าฟิลิปเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีความสามารถมากที่สุดพระองค์หนึ่งในสมัยกลางในการขยายดินแดนและในการเพิ่มพูนอำนาจของพระมหากษัตริย์ ทรงแยกตัวจากจักรวรรดิอองชู และทรงได้รับชัยชนะต่อกลุ่มพันธมิตรของฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ที่รวมทั้งเยอรมนี, เฟล็มมิช และอังกฤษในยุทธการบูวีนส์ (Battle of Bouvines) ในปี..

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การจาริกแสวงบุญ

นักแสวงบุญมุสลิมที่มักกะหฺ การจาริกแสวงบุญ (Pilgrimage) ทางด้านศาสนาและจิตวิญญาณ “การจาริกแสวงบุญ” คือการเดินทางหรือการแสวงหาสิ่งที่มีความสำคัญทางจริยธรรมต่อจิตใจ บางครั้งก็จะเป็นการเดินทางไปยังศาสนสถานที่มีความสำคัญต่อความเชื่อหรือความศรัทธาของผู้นั้น สมาชิกของศาสนาหลักของโลกมักจะร่วมในการเดินทางไปแสวงบุญ ผู้ที่เดินทางไปทำการจาริกแสวงบุญเรียกว่านักแสวงบุญ พระพุทธศาสนามีสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุดที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าสำหรับนักแสวงบุญอยู่สี่แห่ง: ลุมพินีวันที่ตั้งอยู่ในแคว้นอูธในประเทศเนปาลที่เป็นสถานที่ประสูติ, พุทธคยาที่ตั้งอยู่ในรัฐพิหารในประเทศอินเดียที่เป็นสถานที่ตรัสรู้, สารนาถที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองพาราณสีในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียซึ่งเป็นสถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และ กุสินาราที่ตั้งอยู่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินครในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ในศาสนาเอบราฮัมที่ประกอบด้วยศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาบาไฮ ถือว่าดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในอิสราเอลปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง ในราชอาณาจักรอิสราเอล และ ราชอาณาจักรยูดาห์ การเดินทางไปยังศูนย์กลางของสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อบางแห่งถูกยกเลิกไปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อการสักการะพระเยโฮวาห์จำกัดอยู่แต่เพียงที่วัดแห่งเยรุซาเล็มเท่านั้น “การจาริกแสวงบุญ” บนแผ่นดินใหญ่ของกรีซก็จะเป็นการเดินทางไปยังเดลฟี หรือโหรซูสที่โดโดนา และทุกสี่ปีระหว่างสมัยกีฬาโอลิมปิค เทวสถานซูสก็จะเต็มไปด้วยผู้มาแสวงบุญจากดินแดนต่างๆ ทุกมุมเมืองของกรีซ เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชไปถึงอียิปต์ พระองค์ก็ทรงหยุดยั้งทุกสิ่งทุกอย่างลงชั่วคราว และทรงนำผู้ติดตามไม่กี่คนลึกเข้าไปในทะเลทรายลิเบียเพื่อไปปรึกษาโหรที่อัมมุน ระหว่างสมัยการปกครองของราชวงศ์ทอเลมีต่อมา ศาสนสถานไอซิสที่ฟิเล (Philae) ก็มักจะได้รับเครื่องสักการะที่มีคำจารึกภาษากรีกจากผู้มีความเกี่ยวพันที่อยู่จากบ้านเมืองเดิมในกรีซ แม้ว่า “การจาริกแสวงบุญ” มักจะอยู่ในบริบทของศาสนา แต่การจาริกแสวงบุญก็แปรเปลี่ยนไปใช้ในกิจการที่ไม่เกี่ยวกับกับศาสนาได้เช่นการเดินทางไปแสดงความเคารพคนสำคัญของลัทธินิยมเช่นในกรณีที่ทำกันในประเทศคอมมิสนิสต์ ตัวอย่างเช่นการเดินทางไปเยี่ยมชมที่บรรจุศพเลนิน (Lenin's Mausoleum) ที่จัตุรัสแดงก่อนที่สหภาพโซเวียตจะแตกแยกออกจากกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะเดียวกับที่เรียกว่า “การจาริกแสวงบุญ”.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และการจาริกแสวงบุญ · ดูเพิ่มเติม »

การแยกศาสนจักรกับอาณาจักร

การแยกศาสนจักรกับอาณาจักร (separation of church and state) เป็นแนวคิดทางปรัชญาและนิติปรัชญาที่กำหนดให้มีระยะห่างทางการเมืองในความสัมพันธ์ขององค์การศาสนาและรัฐชาติ โดยเนื้อหาแล้ว แนวคิดนี้หมายถึงการสร้างรัฐที่เป็นฆราวาส (ไม่ว่าจะมีการแบ่งแยกระหว่างฝ่ายศาสนากับฝ่ายรัฐไว้โดยชัดแจ้งตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม) รวมถึงการยุบเลิกหรือเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์มีอยู่อย่างเป็นทางการในระหว่างศาสนากับรัฐ ในสังคมหนึ่ง ๆ ระดับการแบ่งแยกทางการเมืองระหว่างศาสนากับรัฐนั้นย่อมกำหนดตามโครงสร้างทางกฎหมายและแนวคิดทางกฎหมายที่นิยมอยู่ในเวลานั้น เช่น หลักความยาวแขน (arm's length principle) ซึ่งนำเสนอรูปแบบความสัมพันธ์ที่ทั้งสองมีปฏิสัมพันธ์กันในฐานะหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ต่างหากจากกัน แนวคิดเรื่องการแยกศาสนจักรกับอาณาจักรนั้นเป็นปรัชญาคู่ขนานกับแนวคิดฆราวาสนิยม (secularism), คตินิยมยุบเลิกศาสนจักร (disestablishmentarianism), เสรีภาพทางศาสนา (religious liberty), และพหุนิยมทางศาสนา (religious pluralism) ซึ่งด้วยแนวคิดเหล่านี้ รัฐในยุโรปจึงรับเอาบทบาทบางอย่างในทางสังคมขององค์การศาสนามาเป็นของตน เป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ทางสังคมที่ก่อให้เกิดประชากรและพื้นที่สาธารณะที่เป็นฆราวาสในทางวัฒนธรรม ในทางปฏิบัติแล้ว การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ บางประเทศ เช่นฝรั่งเศส ใช้แนวคิดความเป็นฆราวาสอย่างเคร่งครัด บางประเทศแยกศาสนากับรัฐจากกันอย่างสิ้นเชิงโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น อินเดีย และสิงคโปร์ ขณะที่บางประเทศ เช่น เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และมัลดีฟส์ ยังยอมรับนับถือศาสนาประจำรัฐอยู่ในทางรัฐธรรมนูญ.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐมุขนายกบัมแบร์ก

ราชรัฐมุขนายกบัมแบร์ก (Prince-Bishopric of Bamberg) เป็นรัฐที่ปกครองโดยเจ้าชายบิชอปแห่งบัมแบร์ก มุขมณฑลบัมแบร์กเดิมก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และราชรัฐมุขนายกบัมแบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์วิทเทลส์บัค

ราชวงศ์วิทเทลส์บัค (House of Wittelsbach) เป็นราชตระกูลเยอรมันของยุโรปจากบาวาเรีย ตำแหน่งการปกครองสำคัญของราชวงศ์วิทเทลส์บัคคือ.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และราชวงศ์วิทเทลส์บัค · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 9

สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 9 (อังกฤษ: Leo IX) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1049 ถึง ค.ศ. 1054 หมวดหมู่:นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ลีโอที่ 9 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นอาลซัส.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 (อังกฤษ: Innocent III) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1198 ถึง ค.ศ. 1216 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1160 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 อินโนเซนต์ที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลในสงครามครูเสดครั้งที่ 5 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลัตซีโย.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1

มเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 หรือ นักบุญเกรกอรีผู้ยิ่งใหญ่ (Gregory I หรือ Saint Gregory I the Great) ประสูติราวปึ ค.ศ. 540 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 604 ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 590 ถึง..

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สันตะสำนัก

ม่มีความสัมพันธ์ สันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 251(Holy See) หรือที่บางตำราเรียกว่า อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 753 คือมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในกรุงโรม และเนื่องจากกรุงโรมมีความสำคัญที่สุดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก บิชอปแห่งโรมจึงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาอันเป็นตำแหน่งประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดด้วย สันตะสำนักเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึง “สันตะสำนัก” จึงหมายถึงองค์กรบริหารส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด และเป็นอาณาจักรทางศาสนาที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายนานาชาติว่าเป็นรัฐอิสระที่มีประมุขเป็นพระสันตะปาปาและสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศอื่นได้ สันตะสำนักแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ระดับ ได้แก.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และสันตะสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

อากวีเลยา

อากวีเลยา หรือ อากวีเลจา (Aquileia หรือ Aquilegia) เป็นที่ตั้งถิ่นฐานโบราณของเมืองโรมันที่ในปัจจุบันอยู่ในประเทศอิตาลีตรงส่วนบนสุดของทะเลเอเดรียติกริมทะเลสาบน้ำเค็มประมาณ 10 กิโลเมตรจากทะเลบนฝั่งแม่น้ำนาตีโซ (ปัจจุบันนาตีโซเน) ที่เปลี่ยนเส้นทางไปบ้างตั้งแต่สมัยโรมัน อากวีเลยาเป็นที่ตั้งของมรดกโลกพื้นที่โบราณคดีและมหาวิหารอากวีเล.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และอากวีเลยา · ดูเพิ่มเติม »

อารามอันเดชส์

อารามอันเดชส์ (Andechs Abbey) เป็นแอบบีย์โรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่หมู่บ้านอารามอันเดชส์ในประเทศเยอรมนี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบบาโรกที่มาเปลี่ยนแปลงใน ค.ศ. 1712 อารามอันเดชส์ของคณะเบเนดิกติน เดิมเป็นสถานที่สำหรับการจาริกแสวงบุญตั้งอยู่บนเนินริมทะเลสาบอัมเมอร์เซในบาวาเรียเหนือ แอบบีมีชื่อเสียงในการที่เป็นสิ่งก่อสร้างแบบบาโรก นอกจากจะเป็นแอบบีย์แล้วก็ยังมีชื่อในการผลิตเบียร์ คีตกวีคาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff) ถูกบรรจุไว้ชาเปลด้านข้างภายในแอบบี.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และอารามอันเดชส์ · ดูเพิ่มเติม »

อิสเตรีย

มุทรอิสเตรีย อิสเตรีย (Istria; โครเอเชีย, สโลวีเนีย: Istra; Istriot: Eîstria; เยอรมัน: Istrien) หรือชื่อเก่าในภาษาละตินคือ Histria เป็นคาบสมุทรขนาดกลางในทะเลเอเดรียติก คาบสมุทรเป็นที่ตั้งสำคัญของอ่าวในทะเลเอเดรียติกคือ Gulf of Trieste และ Kvarner Gulf คาบสมุทรอิสเตรียเป็นดินแดนของสามประเทศคือ ประเทศโครเอเชีย, ประเทศสโลวีเนีย, และ ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และอิสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ. 1968 (470 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จิตรกรรมฝาผนังจากอจันตา (Ajanta) คริสต์ศตวรรษที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังโคลาของนักรำที่ Brihadisvara Temple ประมาณ ค.ศ. 1100 จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Mural painting) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน เทคนิคที่นิยมกัน คือ การวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียก (fresco) โดยที่คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และจิตรกรรมฝาผนัง · ดูเพิ่มเติม »

คณะเบเนดิกติน

ณะนักบุญเบเนดิกต์ (Ordo Sancti Benedicti; Order of Saint Benedict) นิยมเรียกกันว่า คณะเบเนดิกติน (Benedictine Order) (ค.ศ. 480 - ค.ศ. 547) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่ใช้ชีวิตอารามวาสีตามหลักวินัยของนักบุญเบเนดิกต์ นักพรตในคณะนี้จะอาศัยอยู่ร่วมกันในคริสต์ศาสนสถานที่เรียกว่าอาราม (บางอารามเรียกว่าแอบบีย์หรือไพรออรี) ซึ่งแต่ละอารามจะปกครองตนเองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่ออารามอื่น ๆ มีสมาพันธ์เบเนดิกตินซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ทรงตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์การปกครองคณะในระดับสากล มีอธิการไพรเมตเป็นประธานสมาพัน.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และคณะเบเนดิกติน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอตะ

ปีเอตะ" โดย มีเกลันเจโล ปีเอตะโดยลุยส์ จิเมเนซ ปีเอตะ (Pietà; pietas) มาจากภาษาอิตาลี ที่แปลว่า ความสงสาร คือหัวเรื่องของศิลปะในศาสนาคริสต์ที่เป็นรูปพระแม่มารีย์ประคองร่างพระเยซูที่เพิ่งอัญเชิญลงจากกางเขน ส่วนใหญ่จะพบในงานประติมากรรม Pietà เป็นหัวเรื่องหนึ่งในชุด “แม่พระระทมทุกข์” (Our Lady of Sorrows) และเป็นฉากหนึ่งใน “พระทรมานของพระเยซู” ซึ่งเป็นฉากที่มีพระแม่มารีย์ นางมารีย์ชาวมักดาลา และบุคคลอื่นล้อมพระศพพระเยซู (หลังจากที่อัญเชิญลงจากกางเขน) ด้วยความความโศกเศร้า ฉากนี้ตามความเป็นจริงแล้วควรจะเรียกว่า “Lamentation” แต่บางที่ก็จะใช้คำว่า “Pietà” แทน คำว่า “pietas” สืบมาจากประเพณีของชาวโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่มีการตึอกชกหัวและ "แสดงอารมณ...ความรักอันใหญ่หลวงและความกลัวอำนาจของเทพเจ้าโรมัน" ปีเอตะเริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปีเอตะแบบเยอรมันและโปแลนด์จะเน้นรอยแผลของพระเยซู.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และปีเอตะ · ดูเพิ่มเติม »

แอบบีย์

“แอบบีย์คลูนี” ในประเทศฝรั่งเศส แอบบีย์ (Abbey) คืออารามหรือคอนแวนต์ในนิกายโรมันคาทอลิก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอธิการอาราม (Abbot) หรืออธิการิณีอาราม (Abbess) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อหรือแม่ฝ่ายจิตวิญญาณของเหล่านักพรตที่อาศัยในแอบบีย์ “แอบบีย์” เดิมมาจาก “abbatia” ในภาษาละติน (ซึ่งแผลงจากคำ “abba” ในภาษาซีเรียค ที่แปลว่า “พ่อ”) คำว่า “แอบบีย์” อาจจะหมายถึงคริสต์ศาสนสถานที่ในปัจจุบันไม่มีฐานะเป็นแอบบีแล้ว แต่ยังคงใช้ชื่ออยู่ ซึ่งบางครั้งก็ใช้ต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี เช่น แอบบีเวสต์มินสเตอร์ หรือใช้เรียกคฤหาสน์ชนบท หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เดิมเป็นแอบบี แต่มาเปลี่ยนมือเป็นของคฤหัสถ์หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบอารามโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่น มิสเซนเดนแอบบีย์ (Missenden Abbey).

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และแอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โอเบอร์ไบเอิร์น

อเบอร์ไบเอิร์น (Oberbayern) หรือในภาษาอังกฤษคือ อัปเปอร์บาวาเรีย (Upper Bavaria) เป็นหนึ่งในเจ็ดส่วนภูมิภาค (เรกีรุงชเบเซิร์ค) ของรัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของบาวาเรียรอบบริเวณเมืองมิวนิก อัปเปอร์บาวาเรียแบ่งย่อยออกเป็นสี่เขต (Planungsverband) คือ อิงโกลชตัดท์ (Ingolstadt), มิวนิก, อัปเปอร์บาวาเรีย (Bayerisches Oberland) และเซาท์อีสต์อัปเปอร์บาวาเรีย (Südostoberbayern) ที่เขตการปกครองนี้ว่า "อัปเปอร์บาวาเรีย" เพราะระดับของที่ตั้งเป็นภูมิภาคที่สูงมิใช่เพราะที่ตั้งบนแผนที่ ดัชชีโอเบอร์ไบเอิร์นก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในการแบ่งบาวาเรียในปี..

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และโอเบอร์ไบเอิร์น · ดูเพิ่มเติม »

โทษต้องห้าม

ทษต้องห้าม (interdict) ในนิกายโรมันคาทอลิกหมายถึงการตำหนิโทษโดยคริสตจักร โทษต้องห้ามอาจจะประกาศต่อ อาณาจักร ท้องถิ่น หรือ ต่อบุคคล บทประกาศโทษต่อบุคคลจะลงโทษผู้หนึ่งผู้ใดโดยการระบุชื่อ การประกาศโทษต้องห้ามต่ออาณาจักรหรือท้องถิ่นจะเป็นการห้ามเข้าร่วมพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ในคริสตจักรคือจากดินแดนหรืออาณาจักรที่ถูกบังคับโดยบทประกาศ โทษต้องห้ามท้องถิ่นต่ออาณาจักรเทียบเท่ากับการตัดขาดจากศาสนาที่ทำต่อบุคคล ที่จะเป็นการปิดทุกโบสถ์ในดินแดนดังกล่าว และไม่อนุญาตให้มีพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่รวมทั้งการแต่งงาน การสารภาพบาป และการโปรดศีลมหาสนิท ที่ยกเว้นก็จะมีการอนุญาตให้ทำพิธีรับศีลล้างบาปได้ และ การเจิมผู้ป่วย และ การทำศาสนพิธีเนื่องในวันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา การออกบทประกาศโทษเป็นเครื่องมือที่ใช้โดยพระสันตะปาปาในยุคกลางในการแสดงอิทธิพลต่อประมุขในยุโรป เช่นในกรณีที่สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ทรงออกประกาศโทษต้องห้ามเป็นเวลาห้าปีต่อราชอาณาจักรอังกฤษ ระหว่างปี..

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และโทษต้องห้าม · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

ใหม่!!: อารามอันเดชส์และเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Andechs Abbeyแอบบีอันเด็คส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »