โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การแยกศาสนจักรกับอาณาจักร

ดัชนี การแยกศาสนจักรกับอาณาจักร

การแยกศาสนจักรกับอาณาจักร (separation of church and state) เป็นแนวคิดทางปรัชญาและนิติปรัชญาที่กำหนดให้มีระยะห่างทางการเมืองในความสัมพันธ์ขององค์การศาสนาและรัฐชาติ โดยเนื้อหาแล้ว แนวคิดนี้หมายถึงการสร้างรัฐที่เป็นฆราวาส (ไม่ว่าจะมีการแบ่งแยกระหว่างฝ่ายศาสนากับฝ่ายรัฐไว้โดยชัดแจ้งตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม) รวมถึงการยุบเลิกหรือเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์มีอยู่อย่างเป็นทางการในระหว่างศาสนากับรัฐ ในสังคมหนึ่ง ๆ ระดับการแบ่งแยกทางการเมืองระหว่างศาสนากับรัฐนั้นย่อมกำหนดตามโครงสร้างทางกฎหมายและแนวคิดทางกฎหมายที่นิยมอยู่ในเวลานั้น เช่น หลักความยาวแขน (arm's length principle) ซึ่งนำเสนอรูปแบบความสัมพันธ์ที่ทั้งสองมีปฏิสัมพันธ์กันในฐานะหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ต่างหากจากกัน แนวคิดเรื่องการแยกศาสนจักรกับอาณาจักรนั้นเป็นปรัชญาคู่ขนานกับแนวคิดฆราวาสนิยม (secularism), คตินิยมยุบเลิกศาสนจักร (disestablishmentarianism), เสรีภาพทางศาสนา (religious liberty), และพหุนิยมทางศาสนา (religious pluralism) ซึ่งด้วยแนวคิดเหล่านี้ รัฐในยุโรปจึงรับเอาบทบาทบางอย่างในทางสังคมขององค์การศาสนามาเป็นของตน เป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ทางสังคมที่ก่อให้เกิดประชากรและพื้นที่สาธารณะที่เป็นฆราวาสในทางวัฒนธรรม ในทางปฏิบัติแล้ว การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ บางประเทศ เช่นฝรั่งเศส ใช้แนวคิดความเป็นฆราวาสอย่างเคร่งครัด บางประเทศแยกศาสนากับรัฐจากกันอย่างสิ้นเชิงโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น อินเดีย และสิงคโปร์ ขณะที่บางประเทศ เช่น เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และมัลดีฟส์ ยังยอมรับนับถือศาสนาประจำรัฐอยู่ในทางรัฐธรรมนูญ.

7 ความสัมพันธ์: พหุนิยมทางศาสนารัฐชาติรัฐโลกวิสัยศาสนาประจำชาติฆราวาสนิยมปริมณฑลสาธารณะเสรีภาพทางศาสนา

พหุนิยมทางศาสนา

หุนิยมทางศาสนา เป็นทฤษฎีหนึ่งที่นักวิชาการและนักเทวะวิทยาตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากการทัศนะเฉพาะในการให้คำตอบแก่บางคำถามเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อและนำเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม พหุนิยมทางศาสนาได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายศตวรรษโดยการนำเสนอของจอห์นฮิกในโลกแห่งคริสตจักร เขาเห็นว่าชาวคริสต์จำนวนมากได้รับอิทธิพลจากศาสนาต่างๆ ที่มีคนดีสะอาดบริสุทธิ์เกิดขึ้น เขาจึงกล่าวว่า ดังนั้นเราต้องไม่กล่าวว่ามะซีห์คือพระเจ้า และเฉพาะท่านเท่านั้นที่จะเป็นสื่อให้เข้าสู่สรวงสวรรค์ หากเฉพาะชาวคริสต์เท่านั้นที่จะได้เข้าสวรรค์แล้วความดีงามต่างๆ จากศาสนิกอื่นเล่าจะเป็นเช่นไร? Pluralism เป็นศัพท์วิชาการที่ได้รับมาจากวัฒนธรรมตะวันตก ที่เริ่มขึ้นในจารีตของคริสตจักร โดยใช้ศัพท์คำนี้เรียกคนที่หลายตำแหน่งในคริสตจักร ปัจจุบันในวัฒนธรรมศาสนาให้ความหมายว่าการมีแนวคิดหนึ่งที่ยอมรับความเชื่อและแนวทางที่หลากหลาย  จากตรงนี้เองที่พหุนิยมศาสนาถูกนำมากล่าวถึง ดังนั้นพหุนิยมศาสนาจึงเป็นผลพวงและการค้นพบในยุคสมัยใหม่นั่นเอง.

ใหม่!!: การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรและพหุนิยมทางศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชาติ

การทำสัตยาบันในสนธิสัญญามึนสเตอร์ นำไปสู่สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมโนทัศน์ "รัฐชาติ" รัฐชาติ (nation state) หรือเดิมเรียก รัฐประชาชาติ (national state) เป็นรูปแบบหนึ่งอันแน่นอนของหน่วยการปกครองระดับประเทศในปัจจุบัน เป็นมโนทัศน์ทางรัฐศาสตร์ที่กำหนดว่าประเทศนั้นมีองค์ประกอบสามประการ คือ มีประชากรแน่นอน มีดินแดนแน่นอน และมีรัฐบาลหรือมีอำนาจอธิปัตย์แน่นอนเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่จำแนกประเทศในอดีตออกจากประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากในอดีตนั้นมโนทัศน์เช่นนี้หามีความแน่นอนไม่ อาทิ สยามเดิมมิได้มีอาณาเขตแน่นอน ขยายออกหรือหดเข้าได้ตามอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล กับทั้งประชากรก็ไม่แน่นอน ในยามชนะสงครามมักมีการอพยพเทครัวชนชาติอื่นเข้ามาในแว่นแคว้นของตัว เป็นต้น เนื่องจากความหลากความหมายของคำ "รัฐ" เช่น รัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีระดับเป็นหน่วยการปกครองย่อย ๆ จึงมีการประดิษฐ์คำ "รัฐชาติ" ขึ้นให้หมายถึงประเทศที่เป็นหน่วยการปกครองใหญ่ดังมีองค์ประกอบข้างต้นเท่านั้น หมวดหมู่:รัฐศาสตร์ หมวดหมู่:รัฐ.

ใหม่!!: การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรและรัฐชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐโลกวิสัย

รัฐโลกวิสัย หรือ รัฐฆราวาส (secular state) เป็นแนวคิดสืบเนื่องมาจากหลักฆราวาสนิยม (secularism) ที่ให้รัฐมีหรือแสดงความเป็นกลางในประเด็นทางศาสนา โดยไม่สนับสนุนทั้งศาสนาและการไม่มีศาสนา รัฐฆราวาสยังพึงปฏิบัติกับพลเมืองทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาเหล่านั้นถือศาสนาใด ในการนี้ รัฐพึงเลี่ยงการให้ความสำคัญแก่พลเมืองเพราะถือหรือไม่ถือศาสนาใด รัฐฆราวาสไม่พึงมีศาสนาประจำรัฐ ถึงแม้ว่าการไม่มีศาสนาประจำรัฐจะไม่ได้หมายความว่ารัฐนั้นเป็นฆราวาสเต็มตัวก็ตาม อย่างไรก็ดี รัฐที่เป็นฆราวาสอย่างแท้จริงนั้นพึงดำเนินการปกครองบ้านเมืองโดยปราศจากอิทธิพลจากศาสนา และพึงให้องค์การศาสนาปกครองตนเองโดยปราศจากอิทธิพลของรัฐ ตามหลักการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร.

ใหม่!!: การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรและรัฐโลกวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาประจำชาติ

นาประจำรัฐ หรือ ศาสนาประจำชาติ (state religion) บางทีเรียก ศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับ (established religion) หรือ ศาสนาทางการ (official religion) เป็นคณะหรือลัทธิทางศาสนาที่รัฐอธิปไตยรัฐหนึ่ง ๆ อนุมัติอย่างเป็นทางการ รัฐที่มีศาสนาอย่างเป็นทางการนั้น แม้ไม่ใช่รัฐฆราวาส ก็ไม่จำต้องเป็นรัฐแบบเทวาธิปไตยเสมอไป เช่น รัฐที่ผู้ปกครองควบตำแหน่งทั้งทางโลกและทางสงฆ์ ส่วนศาสนาประจำรัฐนั้น แม้ได้รับอนุมัติจากรัฐ ก็ไม่จำเป็นที่รัฐจะอยู่ในความควบคุมของศาสนา หรือศาสนาจะอยู่ในความควบคุมของรัฐเสมอไป ศาสนาประจำรัฐนั้นปรากฏโฉมอยู่ทั่วทุกวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างลัทธิศาสนาและรัฐนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาแต่โบราณ เช่น ในงานของแวร์โร (Varro) ที่เรียกศาสนาประจำรัฐว่า ศาสนาของพลเมือง (theologia civilis) สำหรับศาสนาคริสต์นั้น คริสตจักรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเป็นแห่งแรก คือ คริสตจักรอัครทูตอาร์เมเนีย (Armenian Apostolic Church) ซึ่งตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรและศาสนาประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ฆราวาสนิยม

ราวาสนิยม (secularism) คือ แนวปรัชญาที่ว่าสถาบันการปกครองหรือสถาบันการเมือง หรือ สถาบันในรูปอื่นควรจะดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากการอำนาจการควบคุมของสถาบันศาสนา และหรือความเชื่อทางศาสนา ในแง่หนึ่งสถาบันที่ดำเนินนโยบาย “ฆราวาสนิยม” จะเป็นสถาบันที่ยึดนโยบายดำรงความเป็นกลางในทางด้านความเชื่อทางศาสนาของประชาชนและ/หรือผู้อยู่ใต้การปกครอง, ดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากกฎและคำสอน หรือ ความเชื่อทางศาสนา, ไม่ใช้อำนาจตามหลักความเชื่อทางศาสนาในการบังคับประชาชน และ ไม่มีการมอบอภิสิทธิพิเศษหรือให้การช่วยเหลือแก่สถาบันศาสนา ส่วนในอีกแง่หนึ่ง “ฆราวาสนิยม” หมายถึงมุมมองที่เกี่ยวกับกิจกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมและการตัดสินใจทางการเมือง ว่าควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติอันเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา ฆราวาสนิยมในรูปแบบที่แท้จริงแล้วจะติเตียนความเป็นอนุรักษนิยมของศาสนา และมีความเห็นว่าศาสนาเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของมนุษย์เพราะเป็นสิ่งที่เน้นความเชื่องมงาย และ สิทธันต์ (dogma) เหนือเหตุผลและกระบวนการในสิ่งที่พิสูจน์ได้ (scientific method) พื้นฐานของปรัชญาฆราวาสนิยมมาจากหลักการคิดของนักปรัชญากรีกและโรมันเช่นมาร์คัส ออเรลิอัส และ เอพิคารัส, จากผู้รู้รอบด้านของปรัชญามุสลิมของยุคกลาง เช่น อิบุน รัชด์, จากนักคิดของยุคเรืองปัญญา เช่น เดอนีส์ ดิเดอโรต์, วอลแตร์, จอห์น ล็อก, เจมส์ แมดิสัน, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน และ ทอมัส เพน และ จากนักคิดเสรี (freethinkers), นักอไญยนิยม (Agnosticism) หรือ นักอเทวนิยม เช่น เบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์ และ โรเบิร์ต อิลเกอร์โซลล.

ใหม่!!: การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรและฆราวาสนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ปริมณฑลสาธารณะ

ปริมณฑลสาธารณะ (Public Sphere) หมายถึง พื้นที่ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปพบปะพูดคุยกันในประเด็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ หรือ ประเด็นสาธารณะ (Habermas, 1989).

ใหม่!!: การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรและปริมณฑลสาธารณะ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพทางศาสนา

ทพีมิเนอร์วาถือเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองทางปัญญาที่ปกป้องผู้นับถือทุกศาสนา เสรีภาพทางศาสนา (Freedom of Religion) ในประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีการปกครองรูปแบบใดก็ให้ความสำคัญแก่เสรีภาพในศาสนาของประชาชนทั้งสิ้น โดยตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการ คือ.

ใหม่!!: การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรและเสรีภาพทางศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Separation of church and stateการปฏิรูปสถาบันศาสนาคริสต์การปฏิรูปสถาบันคริสต์ศาสนาการแยกฝ่ายอาณาจักรออกจากฝ่ายศาสนจักรการแบ่งแยกระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรการแบ่งแยกระหว่างคริสตจักรกับรัฐ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »