โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แมงดา

ดัชนี แมงดา

การผสมพันธุ์ของแมงดา แมงดา หรือที่บางครั้งเรียกว่า แมงดาทะเล จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธรพอด โดยที่ไม่ใช่ครัสเตเชียน แต่เป็นเมอโรสโทมาทา อยู่ในอันดับ Xiphosura และวงศ์ Limulidae.

39 ความสัมพันธ์: พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานการลอกคราบการสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การฉีดเข้าหลอดเลือดดำการแผ่รังสียุคออร์โดวิเชียนยุคเพอร์เมียนรังสีอัลตราไวโอเลตรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบวัคซีนสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์พวกกุ้งกั้งปูสัตว์ขาปล้องสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังสำนักงานราชบัณฑิตยสภาสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสสปีชีส์ทองแดงซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตประเทศไทยน้ำทะเลน้ำขึ้นลงแมงมุมแมงดา (แก้ความกำกวม)แมงดาญี่ปุ่นแมงดาจานแมงดาถ้วยแมงดาแอตแลนติกแมงป่องไฟลัมไทรโลไบต์ไซโฟซูราเชลิเซอราตาเมอโรสโทมาทาเม็ดเลือดขาวเต่าทะเลTachypleus

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ห้องประชุมภายในราชบัณฑิตยสถาน (ที่ทำการเดิม) หลังการประชุมชำระพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นพจนานุกรมอธิบายศัพท์ภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสภา (หรือราชบัณฑิตยสถานเดิม) จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน ไม่ลักลั่น โดยมีการปรับปรุงแก้ไขตามลำดับเรื่อยมา เมื่อราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์พจนานุกรมรุ่นหนึ่ง ๆ แล้วเสร็จ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ออก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด ให้หนังสือราชการและการศึกษาเล่าเรียนใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรมรุ่นนั้น ๆ เสมอไป.

ใหม่!!: แมงดาและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน · ดูเพิ่มเติม »

การลอกคราบ

ักจั่นลอกคราบ ลอกคราบ หรือ สลัดขน (spelling differences.) เป็นศัพท์ทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นกับสัตว์บางสปีชีส์ - ecdysis ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสัตว์ลอกส่วนของร่างกายที่มักจะเป็นเปลือกนอก (แต่ก็ไม่เสมอไป) ออกไป หรือเปลี่ยนส่วนที่ปกคลุมภายนอกเช่นขนใหม่ การลอกคราบหรือสลัดขนอาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปี หรืออาจจะเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของสัตว์ก็ได้ การลอกคราบ หรือ การสลัดขนเป็นการเปลี่ยนหนังหนังกำพร้า (Epidermis), ขนสัตว์ (pelage) หรือเปลือกนอกของร่างกายที่มีลักษณะอื่น ในบางสปีชีส์บางส่วนของร่างกายอาจจะถูกสลัดตามไปด้วยเช่นปีกของแมลงบางสปีชีส์ ตัวอย่างของการลอกคราบ หรือ การสลัดขนก็ได้แก่การสลัดขนของนก หรือ การสลัดขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะสุนัข หรือ หมาจิ้งจอก) หรือการลอกคราบของสัตว์เลื้อยคลาน หรือการเปลี่ยนทั่งร่างสัตว์ขาปล้อง.

ใหม่!!: แมงดาและการลอกคราบ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: แมงดาและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: แมงดาและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: แมงดาและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

การแผ่รังสี

ในทางฟิสิกส์ การแผ่รังสี (อังกฤษ: radiation) หมายถึงกระบวนการที่อนุภาคพลังงานหรือคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหรืออวกาศ รังสีสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ รังสีที่แตกตัวได้และรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัวของประจุ อย่างไรก็ตาม คำว่า "รังสี" มักหมายถึงกัมมันตภาพรังสีเพียงอย่างเดียว (คือ รังสีที่มีพลังงานเพียงพอที่จะทำให้อะตอมเปลี่ยนเป็นไอออน) แต่ความเป็นจริงแล้วก็สามารถหมายถึงรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัวของประจุด้วยเช่นกัน (เช่น คลื่นวิทยุหรือแสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า รูปแบบเรขาคณิตของการแผ่รังสีออกจากตัวกลาร่รร่คียยเมวังนำไปสู่ระบบของหน่วยวัดและหน่วยทางฟิสิกส์ที่สามารถใช้ได้กับรังสีทุกประเภท รังสีทั้งสองประเภทล้วนสามารถเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ) การแผ่รังสี สามารถนำไปใช้งานในงานทางด้านความร้อนต่าง ๆ เช่น แผ่นรองหัวเตาแก๊สอินฟาเรด การถ่ายเทความร้อนในอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อน การแผ่รังสี หมวดหมู่:ฟิสิกส์ หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

ใหม่!!: แมงดาและการแผ่รังสี · ดูเพิ่มเติม »

ยุคออร์โดวิเชียน

แคมเบรียน←ยุคออร์โดวิเชียน→ยุคไซลูเรียน ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician) เป็นธรณีกาลยุคที่สองของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่าง 488.3±1.7 ล้านปีมาแล้ว ถึง 443.7±1.5 ล้านปีมาแล้ว และอยู่ระหว่างยุคแคมเบรียนและยุคไซลูเรียน.

ใหม่!!: แมงดาและยุคออร์โดวิเชียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเพอร์เมียน

ร์บอนิเฟอรัส←ยุคเพอร์เมียน→ยุคไทรแอสซิก ยุคเพอร์เมียน(permian)เป็นยุคสุดท้ายในมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่าง299±0.5ล้านปีมาแล้วถึง251±0.16ล้านปีมาแล้วมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอยู่มากมาย พืชตระกูลสน เฟิร์นมีมากในช่วงนี้ สัตว์เลื้อยคลานในช่วงนี้คล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ แต่เกิดการสูญพันธ์ช่วงปลายยุค ซึ่งเป็นการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ที่สุดที่พบบนโลก สิ่งมีชีวิตบนโลกได้สูญพันธ์ไปถึง 96-97%.

ใหม่!!: แมงดาและยุคเพอร์เมียน · ดูเพิ่มเติม »

รังสีอัลตราไวโอเลต

แสงออโรราจากดาวพฤหัสบดีในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต ถ่ายโดยองค์การนาซา รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง.

ใหม่!!: แมงดาและรังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: แมงดาและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีน

็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

ใหม่!!: แมงดาและวัคซีน · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: แมงดาและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: แมงดาและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์พวกกุ้งกั้งปู

รัสเตเชียน หรือ กุ้ง-กั้ง-ปู เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ขาปล้อง ประกอบด้วยพวกกุ้ง กั้ง และปู สัตว์ในกลุ่มนี้มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ ตาประกอบเป็นก้าน มีขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัส ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งจนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย แบ่งย่อยเป็น.

ใหม่!!: แมงดาและสัตว์พวกกุ้งกั้งปู · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: แมงดาและสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

Invertebrata สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) หมายความรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังสำหรับยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกันของร่างกาย จัดเป็นสัตว์ประเภทที่ไม่มีกระดูก และไม่มีกระดูกอ่อนอยู่ภายในร่างกาย มีความแตกต่างจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในไฟลัมเดียวในอาณาจักรสัตว์ แต่สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีจำนวนมากมายหลากหลายไฟลัม และมีจำนวนมากกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลกบพิธ - นันทพร จารุพันธุ์, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล่ม 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 หน้า 1 สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น.

ใหม่!!: แมงดาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: แมงดาและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

นีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกอากาศแทนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ในวันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ก่อนแพร่ภาพอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนต่อม.

ใหม่!!: แมงดาและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: แมงดาและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

ทองแดง

ทองแดง (Copper) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: แมงดาและทองแดง · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต หรือ ฟอสซิลที่มีชีวิต (Living fossil) หมายถึงสิ่งมีชีวิตใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ ฟังไจ หรือสาหร่าย ที่ยังคงโครงสร้างร่างกายหรือสรีระแบบบรรพบุรุษดั้งเดิมที่เคยมีชีวิตอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ ซึ่งตรวจสอบได้จากการนำไปเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ (fossil) หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก จะถูกจัดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต โดยบุคคลแรกที่ใช้ศัพท์คำนี้ คือ ชาลส์ ดาร์วิน ที่กล่าวไว้ในหนังสือ The Origin of Species ที่ว่าถึงทฤษฎีวิวัฒนาการของตนเอง ตอนหนึ่งได้พูดถึงตุ่นปากเป็ด และปลาปอดเอาไว้ว่า โดยชนิดของซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด และมีความฮือฮามากเมื่อถูกค้นพบ คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ถูกค้นพบเมื่อปลายปี..

ใหม่!!: แมงดาและซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: แมงดาและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำทะเล

้อมูลจากแผนที่มหาสมุทรโลก แสดงค่าความเค็มในแต่ละพื้นที่ น้ำทะเล เป็นของเหลวที่ได้จากทะเลหรือมหาสมุทร โดยทั่วไปมหาสมุทรทั่วโลกมีความเค็ม (salinity) ประมาณ 3.5% หรือ 35 ส่วนต่อพันส่วน นั่นหมายความว่าในน้ำทะเลทุกๆ 1 กิโลกรัม จะพบเกลืออยู่ 35 กรัม (ส่วนมากจะพบในรูปของไอออนโซเดียมคลอไรด์ (Na+, Cl−) ความหนาแน่นเฉลี่ยที่ผิวน้ำของมหาสมุทรอยู่ที่ 1.025 กรัมต่อมิลลิลิตร น้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจืด (น้ำจืดมีความหนาแน่นสูงสุดที่ 1.000 กรัมต่อมิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส) เพราะน้ำทะเลมีความหนักของเกลือและ Electrostriction (ไฟฟ้าที่ไม่นำกระแส แต่อยู่ในเรื่องของสนามไฟฟ้า) จุดเยือกแข็งของน้ำทะเลอยู่ที่อุณหภูมิ −2 องศาเซลเซียสหรือ 28.4 องศาฟาเรนไฮต์ นัลว่ามากกว่าน้ำจืด ในน้ำทะเลที่มีความเข้มข้น 35 ส่วนต่อพันส่วน (35 ppt).

ใหม่!!: แมงดาและน้ำทะเล · ดูเพิ่มเติม »

น้ำขึ้นลง

น้ำขึ้นน้ำลง (อังกฤษ: tide) เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ (อิทธิพลของดวงอาทิตย์มีน้อยกว่าดวงจันทร์ประมาณครึ่งหนึ่ง) น้ำขึ้นเกิดใน 2 ส่วนของโลกคือ ส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ และส่วนที่อยู่ห่างจากซีกโลกด้านตรงข้าม และเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด หรือน้ำเกิด (Spring tide) เมื่อโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวเดียวกันหรือ ทุกๆ 2 อาทิตย์ คือ ขึ้น 15 ค่ำ และ แรม 15 ค่ำ และระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะเปลี่ยนแปลงน้อยหรือน้ำตาย (Neap tide)เมื่อดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ อยู่ในแนวตั้งฉากคือ วันขึ้น 7 ค่ำ และ แรม 7 ค่ำ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลก่อให้เกิดกระแสน้ำขึ้น - น้ำลง (tidal current) ซึ่งอาจมีความเร็ว 7-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตอนน้ำขึ้นกระแสน้ำที่ไหลท่วมชายฝั่งต่ำหรือท่วมลำน้ำสายเล็กๆนั้นเรียกว่า น้ำท่วมฝั่ง (flood tides) และช่วงกระแสน้ำลดต่ำลง จนบริเวณที่ถูกน้ำท่วมโผล่ขึ้นมาอีกเรียกกระแสน้ำนั้นว่า น้ำหนีฝั่ง (ebb tide) เราเรียกบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำทะเลท่วมถึงซึ่งอาจเป็นดินหรือทรายก็ได้ ว่า หาดโคลน (tidal flat หรือ mud flat) หาดโคลนที่ประกอบด้วยดินโคลนมักมีวัชพืชที่ทนต่อน้ำเค็มขึ้นปกคลุมอยู่เรียกที่รายชนิดนี้ว่า ลุ่มดินเค็ม (salt marsh) หาดโคลนบางแห่ง อาจมีสภาวะเหมาะสมจนเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของหอยหลอดได้.

ใหม่!!: แมงดาและน้ำขึ้นลง · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุม

แมงมุม จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ขาปล้อง หรืออาร์โธพอด เช่นเดียวกับแมลง, กิ้งกือ, ปู เป็นต้น จัดอยู่ในอันดับ Araneae (/อา-รัค-เน/) มีรูปทรง ลักษณะ และขนาดแตกต่างหลากหลายกันออกไป บางชนิดมีลำตัวที่กว้างมาก บางชนิดมีรูปร่างที่เพรียวยาว ขณะที่บางชนิดกลับมีรูปร่างที่คล้ายกับสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น เช่น มด หรือปู เพื่อใช้ในการพรางตัว โดยแมงมุมนั้นถูกค้นพบแล้วกว่า 40,000 ชนิด และก็ยังมีชนิดใหม่ ๆ ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าจำนวนที่ถูกค้นพบนี้เป็นเพียงแค่ครึ่งเดียวของทั้งหมดที่มีเท่านั้น โดยแมงมุมขนาดเล็กที่สุด พบที่โคลัมเบีย ในทวีปอเมริกาใต้ มีความยาวเพียง 0.4 มิลลิเมตรเท่านั้น และที่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงมุมกินนกโกไลแอท มีความยาวลำตัว 12–13 เซนติเมตร หรือขนาด 25–33 เซนติเมตรเลยทีเดียว แมงมุมพบได้ในแทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งในทะเลทรายที่แห้งแล้งและร้อนอบอ้าว หรือในถ้ำลึก หรือภูเขาสูง หรือในน้ำ แต่ทั้งหมดเป็นสัตว์กินเนื้อ แมงมุมกินอาหารจำพวก เพลี้ยอ่อน, ตัวหนอน, ผีเสื้อ, แมลงวัน, ยุง, ปลวก, ด้วง, มด เป็นตัน จึงมีความสำคัญในระบบนิเวศทางการเกษตร และระบบนิเวศทั่วไป โดยส่วนใหญ่เมื่อจะล่าเหยื่อจะสร้างใยเพื่อเป็นรังอาศัย และดักเหยื่อ ในขณะที่บางชนิดไม่สร้างใยก็มี ซึ่งก็จะมีการใช้เส้นใยที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการอยู่อาศัยของแมงมุมในแต่ละชนิดในพื้นที่นั้น.

ใหม่!!: แมงดาและแมงมุม · ดูเพิ่มเติม »

แมงดา (แก้ความกำกวม)

แมงดา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แมงดาและแมงดา (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

แมงดาญี่ปุ่น

แมงดาญี่ปุ่น หรือ แมงดาจีน (Japanese horseshoe crab, Chinese horseshoe crab; 鱟; カブトガニ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tachypleus tridentatus เป็นแมงดาหนึ่งในสองชนิดที่อยู่ในสกุล Tachypleus แมงดาญี่ปุ่นมีส่วนหางเป็นสันขึ้นมาเป็นเหมือนสามเหลี่ยม ตัวผู้มีรอยหยักสองรอยทำให้มีลักษณะโค้งเป็นลอนสามลอน บริเวณขอบด้านหน้าของกระดอง ขอจับพองออกเป็นกระเปาะสองคู่ ตัวเมียมีหนามบริเวณขอบด้านข้างของส่วนท้องขนาดยาวสามคู่แรก และขนาดสั้นสามคู่หลัง ส่วนในตัวผู้มีขนาดความยาวใกล้เคียงกัน ขนาดใหญ่สุดมีความยาวตลอดตัว ประมาณ 74 เซนติเมตร สีของกระดองเป็นสีเขียวและอ่อนกว่าแมงดาถ้วย (Carcinoscorpius rotundicauda) พบในชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณชายฝั่งของญี่ปุ่น, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, มาเลเซีย และบริเวณเกาะบอร์เนียวเหนือ โดยไม่พบในน่านน้ำไทย ในญี่ปุ่น เป็นแมงดาเพียงชนิดเดียวที่พบได้ที่นั่น โดยพบบริเวณชายฝั่งของทะเลเซโตะในฤดูใบไม้ผลิ จากนั้นในฤดูหนาวจะอพยพไปยังเกาะของเกาะฮนชูและเกาะคีวชูเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ แมงดาญี่ปุ่นหรือแมงดาจีนนั้นสามารถนำมารับประทานได้เช่นเดียวกับแมงดาจาน (T. gigas) ซึ่งเป็นแมงดาอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในสกุลเดียวกัน โดยในตำรับอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่นนิยมรับประทานเนื้อและไข่ แต่ก็ยังมีพิษอยู่บ้างในบางท้องที่และบางฤดูกาล เช่นในสิงคโปร์ เคยพบรายงานของแมงดาที่มีพิษ.

ใหม่!!: แมงดาและแมงดาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

แมงดาจาน

แมงดาจาน เป็นแมงดาเพียงหนึ่งในสองชนิดที่พบได้ในประเทศไทย และจัดเป็นหนึ่งในสองชนิดที่อยู่ในสกุล Tachypleus แมงดาจานมีลักษณะกระดองแบนราบและกว้างกว่าแมงดาถ้วย หางมีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาเป็นสามเหลี่ยม มีสันซึ่งมีหนามเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวตามความยาวอยู่ตรงกลางด้านบนของหาง ตัวผู้มีขอจับพองออกเป็นกระเปาะ 2 คู่ ตัวเมียมีหนามบริเวณขอบด้านข้างของส่วนท้องขนาดยาว 3 คู่แรก และสั้น 3 คู่หลังในตัวผู้มีขนาดความยาวใกล้เคียงกัน ด้านท้องมีสีน้ำตาลอ่อนและมีสีเข้มตอนขอบหน้า ขนาดใหญ่สุดมีความกว้างของกระดอง ไม่เกิน 25 เซนติเมตร หรือประมาณเท่าจานข้าวใบใหญ่ อันเป็นที่มาของชื่อ สีของกระดองอ่อนกว่าแมงดาถ้วย ความยาวของกระดองประมาณ 35–40 เซนติเมตร พบกระจายทั่วไปในเขตชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย, ทางตะวันออกของอ่าวเบงกอล, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ซาราวะก์, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย ไปจนถึงจีน สำหรับในประเทศไทยซึ่งพบแพร่กระจายชุกชุมทั้ง 2 ฟาก ในฝั่งทะเลอันดามันพบได้ตั้งแต่บริเวณจังหวัดสมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, เพชรบุรีถึงชุมพร ในฝั่งอ่าวไทยพบได้ที่ จังหวัดสมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรีจนถึงจันทบุรี แมงดาจานนั้น มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า แมงดาทะเลหางเหลี่ยม หรือ แมงดาทะเลหางสามเหลี่ยม ตามลักษณะของหาง จัดเป็นแมงดาชนิดที่รับประทานได้ โดยนิยมนำไข่และเนื้อมาย่าง หรือทำเป็นห่อหมก โดยที่พิษของแมงดาจานนั้น ในประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานพบ แต่ทว่าในต่างประเทศ มีรายงานพบประมาณร้อยละ 10 เช่นที่ สิงคโปร์ แมงดาจานอาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้นตามชายฝั่งทะเล โดยวางไข่ไว้บนหาดทรายด้วยการขุดหลุมประมาณ 8–12 หลุม วางไข่แต่ละครั้งประมาณ 9,000 ฟอง ช่วงต้นฤดูร้อนประมาณตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน โดยจะวางไข่ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุดประมาณ 2–3 วัน ทุก ๆ รอบ 15 วัน ไข่มีสีเหลืองอ่อน และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร.

ใหม่!!: แมงดาและแมงดาจาน · ดูเพิ่มเติม »

แมงดาถ้วย

แมงดาถ้วย หรือ แมงดาทะเลหางกลม เป็นแมงดาชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Carcinoscorpius มีรูปร่างกลมและกระดองนูนเหมือนชามหรือถ้วยคว่ำ ทางด้านหัวโค้งกลม หางเรียวยาวเป็นทรงกลม กระดองมีสีเขียวเหลือบเหลืองคล้ำ ใช้สำหรับปักลงกับพื้นท้องทะเล เมื่อต้องการนอนนิ่งอยู่กับที่ หรือใช้พลิกตัวเมื่อนอนหงายท้อง พบอาศัยในทะเลโคลนแถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ อาจพบได้ในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร (รวมหาง) ในบางครั้งแมงดาถ้วยบางตัวและในบางฤดูกาลอาจมีสีกระดองสีแดงเหลือบส้ม และมีขนที่กระดองและบางส่วนของลำตัว แมงดาถ้วยแบบนี้จะเรียกว่า เหรา (อ่านว่า), ตัวเหรา หรือ แมงดาไฟ แมงดาถ้วยพบกระจายไปทั่วในชายฝั่งทะเลอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ในประเทศไทยพบได้ทุกจังหวัดที่ติดกับทะเล แมงดาชนิดนี้ทั้งเนื้อและไข่มีพิษทุกฤดูกาล จึงไม่ควรนำมาบริโภคอย่างเด็ดขาด สันนิษฐานกันว่าการเกิดพิษในตัวแมงดามาจาก 2 สาเหตุ คือ เกิดจากการที่ตัวแมงดาไปกินแพลงก์ตอนที่มีพิษเข้าไป ทำให้สารพิษไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ และตัวแมงดาเองมีพิษซึ่งเกิดจากแบคทีเรียในลำไส้สร้างพิษขึ้นมาได้เอง อาการเมื่อรับพิษเข้าไป คือ ชาที่ริมฝีปาก มือ และเท้า เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ออก กลืนลำบาก หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจเป็นอัมพาต เนื่องจากเป็นพิษที่ผลต่อระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ในเด็กเล็กจะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จากการที่แมงดาถ้วยสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ จึงมักพบการค้าขายแมงดาถ้วยเป็นสัตว์เลี้ยงในตลาดปลาสวยงามเสมอ ๆ โดยผู้ขายมักหลอกผู้ซื้อว่า เลี้ยงในน้ำจืดได้ แต่ทว่าเมื่อนำมาเลี้ยงจริง ๆ แล้ว แมงดาจะอยู่ได้เพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นก่อนที่จะตายไปในที.

ใหม่!!: แมงดาและแมงดาถ้วย · ดูเพิ่มเติม »

แมงดาแอตแลนติก

แมงดาแอตแลนติก (Atlantic horseshoe crab) เป็นแมงดาชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Limulus polyphemus จัดอยู่ในสกุล Limulus ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้ และเป็นแมงดาเพียงชนิดเดียวด้วยที่พบในมหาสมุทรแอตแลนติก แมงดาแอตแลนติกมีลักษณะหางด้านบนนูนเป็นสามเหลี่ยมคล้ายแมงดาจาน แต่จะแตกต่างกันตรงที่ตัวผู้มีขาจับที่พองออกเป็นกระเปาะเพียงคู่เดียว แต่ในแมงดาจานจะมีสองคู่ ส่วนตัวเมียมีหนามบริเวณขอบด้านข้างของส่วนท้องขนาดยาวใกล้เคียงกันทั้ง 6 คู่เหมือนตัวผู้ ในขณะที่แมงดาจานมีหนามบริเวณขอบของส่วนท้องยาว 3 คู่แรก ส่วน 3 คู่หลังสั้น (ยกเว้นในระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่จะมีหนามยาวเท่า ๆ กันเช่นเดียวกับตัวผู้) ขนาดใหญ่สุดมีความยาวตลอดตัวมากกว่า 60 เซนติเมตร แมงดาชนิดนี้พบในมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแต่รัฐเมน, อ่าวเดลาแวร์ ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก.

ใหม่!!: แมงดาและแมงดาแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

แมงป่อง

แมงป่อง (ภาษาไทยถิ่นอีสาน: แมงงอด; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงเวา) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกสัตว์ขาปล้อง เป็นสัตว์มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมงป่องที่มีอายุถึง 440 ล้านปี ตั้งแต่ยุคซิลลูเรียน เช่น Archaeobuthus estephani หรือ Protoischnurus axelrodorum http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name.

ใหม่!!: แมงดาและแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: แมงดาและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไทรโลไบต์

ทรโลไบต์ (Trilobite; สามพู) เป็นสัตว์ทะเลที่มีรยางค์เป็นข้อปล้องในไฟลัมอาร์โธรโพดา ในชั้น “ไทรโลไบตา” เริ่มปรากฏครั้งแรกในยุคแคมเบรียนตอนต้นและชุกชุมในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้นก่อนที่จะเริ่มต้นลดจำนวนลงและสูญพันธุ์ไปในที่สุด โดยระหว่างช่วงเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคดีโวเนียนตอนปลายไทรโลไบต์ทุกอันดับได้สูญพันธุ์ไปยกเว้นแต่เพียงอันดับพรีเอตทิดา และไทรโลไบต์ก็ได้สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปทั้งหมดเมื่อสิ้นยุคเพอร์เมียนประมาณ 250 ล้านปีมาแล้ว ไทรโลไบต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางและอาจจะเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับสองรองจากไดโนเสาร์ เมื่อไทรโลไบต์ได้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นของยุคแคมเบรียนก็เกิดการแตกแขนงเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็วและแผ่ขยายแพร่พันธุ์ไปกว้างขวาง เนื่องด้วยความหลากหลายในสายพันธุ์และมีเปลือกกระดองที่ง่ายต่อการกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์จึงได้พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้มากกว่า 17,000 ชนิดในช่วงตลอดมหายุคพาลีโอโซอิก ไทรโลไบต์มีความสำคัญในการวิจัยทางด้านการลำดับชั้นหินทางชีวภาพ บรรพชีวินวิทยา และเพลทเทคโทนิก ไทรโลไบต์ถูกจัดให้อยู่ในไฟลัมอาร์โธรโพดา ไฟลัมย่อยชีสโซราเมีย อยู่ในเหนือชั้นอะราชโนมอร์ฟา (เทียบเคียงได้กับ อะราชนาต้า) แต่ก็พบว่ามีผู้จัดจำแนกที่แตกต่างไปจากนี้ ไทรโลไบต์ต่างชนิดกันก็มีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป บางกลุ่มก็อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล อาจเป็นนักล่า กินของเน่า หรือดูดกรองอาหารจากน้ำทะเล บางกลุ่มก็ดำรงชีวิตด้วยการว่ายน้ำและกินแพลงตอนเป็นอาหาร การดำรงชีวิตทั้งหลายก็จะคล้ายกับสัตว์ทะเลปัจจุบันที่อยู่ในไฟลั่มนี้ทั้งหลายยกเว้นไม่เป็นพวกพาราสิต ไทรโลไบต์บางกลุ่ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อยู่ในวงศ์โอลีนิดา) ถูกเข้าใจว่าได้วิวัฒนาการมีความสัมพันธ์แบบซิมไบโอติกกับแบคทีเรียที่กินกำมะถันจากอาหารที่ตนได้รับม.

ใหม่!!: แมงดาและไทรโลไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไซโฟซูรา

แมงดาทะเลโบราณในสกุล ''Mesolimulus'' ไซโฟซูรา เป็นอันดับของสัตว์ทะเลขาปล้องในชั้นเมอโรสโทมาทา (Merostomata) ที่นอกเหนือไปจากแมงป่องทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xiphosura ลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีรูปร่างคล้ายจานหรือถ้วยคว่ำ หรือครึ่งวงกลมแบบเกือกม้า ด้านบนมีตาข้าง 1 คู่เป็นตาประกอบ มีแอมมาทิเดียหลายร้อยหน่วยที่ไม่สามารถรับภาพได้ แต่สามารถจับการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ ได้ มีตากลาง ขนาดเล็กหลายอันทำหน้าที่รับแสง มีส่วนหางยาวเป็นแท่งใช้สำหรับจิ้มกับพื้นทรายให้พลิกตัวกลับมา เมื่อยามหงายท้องขึ้น เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคซิลลูเรียน แต่สูญพันธุ์ไปเกือบหมด คงเหลือเพียง 4 ชนิดเท่านั้นในโลก คือ แมงดาทะเล จึงจัดเป็นฟอสซิลที่มีชีวิตอย่างหนึ่ง พบในทะเลและน้ำกร่อยของบริเวณภาคตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น สำหรับชนิดที่พบในไทยจะมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ แมงดาจาน หรือ แมงดาหางเหลี่ยม (Tachypleus gigas) เป็นแมงดาขนาดใหญ่ หางเป็นสันแหลม รูปหน้าตัดของหางเป็นสามเหลี่ยม คาราแพดค่อนข้างเรียบและแทบจะไม่พบขนแข็ง ๆ บนคาราแพด สามารถกินได้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ แมงดาถ้วย หรือ แมงดาหางกลม หรือ เหรา (Carcinoscorpius rotundicauda) มีขนาดเล็กกว่าแมงดาหางเหลี่ยม หางโค้งมน รูปหน้าตัดของหางจะค่อนข้างกลม คาราแพดมีขนแข็งจำนวนมากและมีสีส้มหรือน้ำตาลเข้ม มีรายงานอยู่เสมอว่าผู้ที่กินไข่ของแมงดาชนิดนี้มักเป็นอันตรายต่อชีวิต เนื่องจากว่าแมงดาชนิดนี้ในบางฤดูกาลจะกินสาหร่ายและแพลงค์ตอนที่สร้างสารพิษได้ จึงมีพิษสะสมอยู่ในตัวแมงดาทะเล พิษที่ว่าจะมีผลต่อระบบประสาทต่อผู้ที่กินเข้าไป แมงดาทะเลจะขึ้นมาวางไข่บนพื้นหาดทรายชายทะเลพร้อม ๆ กัน โดยตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 200–3,300 ฟอง โดยมีตัวผู้เกาะเกี่ยวอยู่ที่หลัง โดยใช้ปล้องสุดท้ายของเพลดิพาลติเกาะกับโพรโซมาของตัวเมียเอาไว้และคลานตามกันไป โดยอาจมีตัวผู้ตัวอื่นมาเกาะท้ายร่วมด้วยเป็นขบวนยาวก็ได้ ตัวเมียจะขุดหลุมปล่อยไข่ออกมาแล้วตัวผู้ก็จะปล่อยสเปิร์มออกมาผสมกับไข่ หลังจากนั้นก็จะกลบไข่โดยไม่มีการดูแลไข่ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนที่เรียกว่าไตรโลไบต์ ลาวา ลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยเพียงแต่มีหางสั้นมาก แมงดาทะเลในยุคปัจจุบันมีความยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร (24 นิ้ว) iแต่ในยุคเพลลีโอโซอิก จะมีขนาดเล็กกว่านี้ โดยมีความยาวเพียง 1–3 เซนติเมตร (0.39–1.2 นิ้ว) เท่านั้น.

ใหม่!!: แมงดาและไซโฟซูรา · ดูเพิ่มเติม »

เชลิเซอราตา

ฟลัมย่อยเชลิเซอราตา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chelicerata) หรือ เชลิเซอเรต (Chelicerate) เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธพอดา (Arthropoda) หรือ อาร์โธพอด ถือกำเนิดมาแล้วกว่า 600 ล้านปี ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในไฟลัมย่อยนี้คือ ไม่มีกราม และไม่มีหนวด ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เซฟาโลทอแรกซ์ และส่วนท้อง เซฟาโลทอแรกซ์เป็นส่วนที่รวมส่วนหัวและส่วนอกเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีเปลือกแข็งชิ้นเดียวคลุมอยู่เรียก คาราเพช ระยางค์ทั้ง 6 คู่ ประกอบด้วยระยางคู่แรกเป็นระยางค์หนีบ ระยางค์คู่ที่ 2 คือ เพดิพาลพ์ ช่วยในการฉีกอาหาร ระยางค์อีก 4 คู่ เป็นขาเกิน ส่วนท้องไม่มีระยางค์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก.

ใหม่!!: แมงดาและเชลิเซอราตา · ดูเพิ่มเติม »

เมอโรสโทมาทา

มอโรสโทมาทา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Merostomata) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรโพดา ชั้นย่อยเชลิเซอราตา เป็นสัตว์น้ำที่แบ่งออกได้เป็น 2 อันดับ ได้แก่ Eurypterida หรือ แมงป่องทะเล ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว กับ Xiphosura หรือ แมงดาทะเล ที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยเมอโรสโมมาทาได้พัฒนาแยกออกมาจากอาร์โธรโพดาเมื่อกว่า 480 ล้านปีมาแล้ว แมงดาทะเล ในปัจจุบันเหลือเพียง 5 ชนิด จัดว่าเป็นเซริเชอราตาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวถึง 60 เซนติเมตร ที่พบเป็นฟอสซิลยาวถึง 2 เมตร ด้านหลังของคาราเพชมีตาประกอบ 1 คู่ ด้านล่างของเซฟาโรทอแรกซ์เป็นที่ตั้งของระยางค์ทั้ง 6 คู่ โดยระยางค์ขา 3 คู่ มีลักษณะเป็นก้ามหนีบ ยกเว้นขาคู่สุดท้ายใช้ในการกวาดโคลน ทราย ปล้องส่วนท้องจะรวมกัน ด้านท้ายสุดจะยื่นยาวออกเป็นหาง ด้านล่างของส่วนท้องเป็นที่ตั้งของเหงือก 5 คู่ และมีแผ่นปิดเหงือก แมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่ไม่เป็นอันตราย จะใช้ระยางค์ขาคู่สุดท้ายดันขุดดินไปด้านหลังเพื่อฝังตัวลงในโคลนหรือทราย การดำรงชีวิตเป็นทั้งกินพืชและกินซาก รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม.

ใหม่!!: แมงดาและเมอโรสโทมาทา · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

ใหม่!!: แมงดาและเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

เต่าทะเล

ต่าทะเล (Sea turtle) เป็นเต่าที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ Chelonioidea ซึ่งวิวัฒนาการจนสามารถอาศัยอยู่ได้ในทะเลตลอดเวลา โดยจะไม่ขึ้นมาบนบกเลย นอกจากการวางไข่ของตัวเมียเท่านั้น.

ใหม่!!: แมงดาและเต่าทะเล · ดูเพิ่มเติม »

Tachypleus

Tachypleus เป็นสกุลของแมงดาสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tachypleus โดยจัดอยู่ในวงศ์ Limulidae เป็นแมงดาที่พบในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก มีขนาดใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: แมงดาและTachypleus · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HorsefootHorseshoe crabLimulidaeSauce-panXiphosuridaeแมงดาทะเล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »