โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไทรโลไบต์

ดัชนี ไทรโลไบต์

ทรโลไบต์ (Trilobite; สามพู) เป็นสัตว์ทะเลที่มีรยางค์เป็นข้อปล้องในไฟลัมอาร์โธรโพดา ในชั้น “ไทรโลไบตา” เริ่มปรากฏครั้งแรกในยุคแคมเบรียนตอนต้นและชุกชุมในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้นก่อนที่จะเริ่มต้นลดจำนวนลงและสูญพันธุ์ไปในที่สุด โดยระหว่างช่วงเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคดีโวเนียนตอนปลายไทรโลไบต์ทุกอันดับได้สูญพันธุ์ไปยกเว้นแต่เพียงอันดับพรีเอตทิดา และไทรโลไบต์ก็ได้สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปทั้งหมดเมื่อสิ้นยุคเพอร์เมียนประมาณ 250 ล้านปีมาแล้ว ไทรโลไบต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางและอาจจะเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับสองรองจากไดโนเสาร์ เมื่อไทรโลไบต์ได้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นของยุคแคมเบรียนก็เกิดการแตกแขนงเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็วและแผ่ขยายแพร่พันธุ์ไปกว้างขวาง เนื่องด้วยความหลากหลายในสายพันธุ์และมีเปลือกกระดองที่ง่ายต่อการกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์จึงได้พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้มากกว่า 17,000 ชนิดในช่วงตลอดมหายุคพาลีโอโซอิก ไทรโลไบต์มีความสำคัญในการวิจัยทางด้านการลำดับชั้นหินทางชีวภาพ บรรพชีวินวิทยา และเพลทเทคโทนิก ไทรโลไบต์ถูกจัดให้อยู่ในไฟลัมอาร์โธรโพดา ไฟลัมย่อยชีสโซราเมีย อยู่ในเหนือชั้นอะราชโนมอร์ฟา (เทียบเคียงได้กับ อะราชนาต้า) แต่ก็พบว่ามีผู้จัดจำแนกที่แตกต่างไปจากนี้ ไทรโลไบต์ต่างชนิดกันก็มีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป บางกลุ่มก็อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล อาจเป็นนักล่า กินของเน่า หรือดูดกรองอาหารจากน้ำทะเล บางกลุ่มก็ดำรงชีวิตด้วยการว่ายน้ำและกินแพลงตอนเป็นอาหาร การดำรงชีวิตทั้งหลายก็จะคล้ายกับสัตว์ทะเลปัจจุบันที่อยู่ในไฟลั่มนี้ทั้งหลายยกเว้นไม่เป็นพวกพาราสิต ไทรโลไบต์บางกลุ่ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อยู่ในวงศ์โอลีนิดา) ถูกเข้าใจว่าได้วิวัฒนาการมีความสัมพันธ์แบบซิมไบโอติกกับแบคทีเรียที่กินกำมะถันจากอาหารที่ตนได้รับม.

33 ความสัมพันธ์: ชั้นเซฟาโลพอดพรีแคมเบรียนยุคแคมเบรียนยุคไซลูเรียนยุคเพอร์เมียนรัฐโอไฮโอวิฆเนศ ทรงธรรมสหราชอาณาจักรสัตว์สัตว์ขาปล้องอำเภอวังสะพุงอำเภอทุ่งหว้าอำเภอควนขนุนอำเภอเชียงคานอนุกรมวิธานอ่าวฮัดสันจังหวัดสตูลจังหวัดเลยธรณีกาลธรณีวิทยาซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยซากดึกดำบรรพ์ดัชนีประเทศรัสเซียประเทศอังกฤษประเทศโมร็อกโกปลาฉลามปะการังแบรคิโอพอดแมงดาไดโนเสาร์ไครนอยด์ไคทินเกาะตะรุเตา

ชั้นเซฟาโลพอด

ั้น เซฟาโลพอด (Cephalopod) เป็นชั้นในไฟลัมมอลลัสคา เซฟาโลพอดมีลักษณะเด่นตรงที่ร่างกายสมมาตร มีส่วนศีรษะเด่นออกมา การดัดแปลงส่วนเท้าของมอลลัสคา (muscular hydrostat) ไปเป็นแขนหรือหนว.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และชั้นเซฟาโลพอด · ดูเพิ่มเติม »

พรีแคมเบรียน

รีแคมเบรียน (Precambrian) คืออภิมหาบรมยุค (Supereon) ที่อยู่ก่อนหน้าบรมยุคฟาเนอโรโซอิก เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลกกินเวลา 88% ของธรณีกาล แบ่งเป็นเป็น 3 บรมยุค (Eon) คือ บรมยุคเฮเดียน บรมยุคอาร์เคียน และบรมยุคโพรเทอโรโซอิก พรีแคมเบรียนกินเวลาตั้งแต่กำเนิดโลกเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีที่แล้วจนถึงจุดเริ่มต้นของยุคแคมเบรียนประมาณ 541 ล้านปีที่แล้ว เมื่อสิ่งมีชีวิตเปลือกแข็งปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกอย่างมากมาย ที่ได้ชื่อว่าพรีแคมเบรียนเป็นเพราะอยู่ก่อนหน้ายุคแคมเบรียนซึ่งเป็นยุคแรกในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก ซึ่งชื่อยุคแคมเบรียน (Cambrian) ตั้งชื่อจากแคมเบรีย (Cambria) ชื่อแบบโบราณของเวลส์ (Wales) ที่ซึ่งหินจากยุคนี้ถูกศึกษาเป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และพรีแคมเบรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคแคมเบรียน

อีดีแอคารัน←ยุคแคมเบรียน→ยุคออร์โดวิเชียน ยุคแคมเบรียน (Cambrian) เป็นธรณีกาลยุคแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ในช่วง 542 ± 0.3 ล้านปีมาแล้วถึง 488.3 ± 1.7 ล้านปีมาแล้ว ก่อนจะเข้าสู่ยุคออร์โดวิเชียน คำว่าแคมเบรียนตั้งโดย อดัม ซิดก์วิค (Adam Sedgwick) เป็นชื่อโรมันของเวลส์ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบหินยุคแคมเบรียนดีที่สุดของอังกฤษ ยุคแคมเบรียนเป็นช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตบนโลก ก่อนยุคแคมเบรียน สิ่งมีชีวิตนั้นมีขนาดเล็กและเรียบง่าย ก่อนจะค่อยๆเป็นองค์ประกอบซับซ้อนในอีกล้านปีถัดมาก่อนหน้ายุคแคมเบรียนButterfield, N. J. (2007).

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และยุคแคมเบรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไซลูเรียน

ออร์โดวิเชียน←ยุคไซลูเรียน→ยุคดีโวเนียน ยุคไซลูเรียน (Silurian) เป็นยุคที่สามของมหายุคพาลีโอโซอิกในธรณีกาล ยุคนี้เริ่มขึ้นหลังจากจุดสิ้นสุดของยุคออร์โดวิเชียน ประมาณ 443.8 ± 1.5 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดในช่วงก่อนเริ่มยุคดีโวเนียน ประมาณ 419.2 ± 0.2 ล้านปีก่อน นักธรณีวิทยาได้ใช้การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน-ไซลูเรียน เป็นตัวแบ่งยุคไซลูเรียนกับออร์โดวิเชียน ซึ่งจากการสูญพันธุ์นั้น ทำให้สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลกว่า 60 % หายไป ในยุคนี้พืชน้ำและสาหร่าย ได้ปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ โดยวิวัฒนาการมาเป็นพืชบก แต่พืชบกนี้พบได้แค่ตามชายทะเลเท่านั้น ในปลายยุคไซลูเรียนมีสัตว์บกเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดเล็ก แต่มันก็ยังมีจำนวนไม่มากและยังไม่ได้ขึ้นมาอาศัยบนบกทั้งหมด จนกระทั่งถึงยุคดีโวเนียน.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และยุคไซลูเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเพอร์เมียน

ร์บอนิเฟอรัส←ยุคเพอร์เมียน→ยุคไทรแอสซิก ยุคเพอร์เมียน(permian)เป็นยุคสุดท้ายในมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่าง299±0.5ล้านปีมาแล้วถึง251±0.16ล้านปีมาแล้วมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอยู่มากมาย พืชตระกูลสน เฟิร์นมีมากในช่วงนี้ สัตว์เลื้อยคลานในช่วงนี้คล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ แต่เกิดการสูญพันธ์ช่วงปลายยุค ซึ่งเป็นการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ที่สุดที่พบบนโลก สิ่งมีชีวิตบนโลกได้สูญพันธ์ไปถึง 96-97%.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และยุคเพอร์เมียน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐโอไฮโอ

ป้ายต้อนรับ รัฐโอไฮโอ (Ohio) รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 17 ในปี พ.ศ. 2346 อักษรย่อของที่ทำการไปรษณีย์สหรัฐคือ OH และเป็นรัฐที่มีป่าไม้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา รองจากรัฐอะแลสก.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และรัฐโอไฮโอ · ดูเพิ่มเติม »

วิฆเนศ ทรงธรรม

วิฆเนศ ทรงธรรม (Wickanet Songtham)(14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 —) เป็นนักธรณีวิทยาและ นักบรรพชีวินวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์พืช มีภูมิลำเนาเกิดที่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 จากจำนวน 5 คน ของนายจินดา ทรงธรรม และนางสวงค์ ทรงธรรม (สง่าเนตร).

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และวิฆเนศ ทรงธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอวังสะพุง

อำเภอวังสะพุง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเล.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และอำเภอวังสะพุง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอทุ่งหว้า

ทุ่งหว้า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสตูล.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และอำเภอทุ่งหว้า · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอควนขนุน

วนขนุน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และอำเภอควนขนุน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเชียงคาน

อำเภอเชียงคาน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเล.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และอำเภอเชียงคาน · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวฮัดสัน

อ่าวฮัดสัน (Hudson Bay) เป็นทะเลภายในน้ำเค็มขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศแคนาดา มีเนื้อที่ 4,041,400 ตร.กม.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และอ่าวฮัดสัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสตูล

ตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูเกดะห์ว่า เซอตุล (ستول) (ภาษามาเลย์ว่า เซอตุล (setul)) แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และจังหวัดสตูล · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเลย

ังหวัดเลย เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 540 กิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศที่งดงาม อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้ว.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และจังหวัดเลย · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีกาล

รณีกาล (Geologic Time) ตามความหมายทางธรณีวิทยานั้น เป็นชื่อเรียกของระยะช่วงเวลา ซึ่งได้แบ่งลงมาเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และช่วงอายุ (Age) ตามลำดับ มาตราเวลาทางธรณีวิทยา ใช้โดยนักธรณีวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่ออธิบายเวลาที่จุดต่างๆ และอธิบายความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตของประวัติของโลก ตัวอย่างของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตราเวลาทางธรณีวิทยา มี International Commission on Stratigraphy กำหนดชื่อของเวลาและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (stratigraphy เป็นการศึกษาธรณีวิทยาในเรื่องชั้นต่างๆของโลก เช่นเปลือกโลก/ผิวโลกและชั้นอื่นๆใต้ผิวโลกลงไป), US Geological Survey กำหนดสีมาตรฐานของเวลาทางธรณีวิทยาที่ห้วงเวลาต่างๆ จากวิธีการหาเวลาในอดีตโดยการวัดการสลายของกัมมันตภาพรังสี (radiometric dating) พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และธรณีกาล · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และธรณีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย

ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย (trace fossils หรือ ichnofossils) เป็นหลักฐานทางธรณ๊วิทยาที่เกิดจากการกระทำของสิ่งมีชีวิต เช่น รูที่อยู่อาศัย รอยขุดคุ้ย รอยตีน และร่องรอยรากไม้ ทั้งนี้ ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยได้รวมถึงอินทรีย์วัตถุที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น มูลสัตว์ (coprolites) และ สโตรมาโทไลต์ (stromatolites) อย่างไรก็ตาม โครงสร้างทางตะกอนวิทยา อย่างเช่น ร่องรอยที่เกิดจากการกลิ้งของเปลือกหอยตามพื้นท้องทะเลซึ่งไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต จึงไม่จัดให้เป็นซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย การศึกษาร่องรอยเรียกว่า ร่องรอยวิทยา (ichnology) โดยวิชาที่ศึกษาซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยเรียกว่า Paleoichnology และวิชาที่ศึกษาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเรียกว่า Neoichnology โดยการศึกษารูปร่างลักษณะของร่องรอยต่างๆโดยหวังที่จะทำให้ทราบถึงกิจกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันอาจทำให้เกิดร่องรอยที่คล้ายกันได้ การจำแนกซากดึกดำบรรพ์ร่องรอยจึงเป็นสิ่งยากและอาจแตกต่างไปจากการจำแนกทางอนุกรมวิธานของซากดึกดำบรรพ์ซากเหลือ (body fossils) เอดอล์ฟ เซลาสเชอร์ (Adolf Seilacher) เป็นผู้ศึกษาและจำแนกชนิดของซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย โดยเอดอล์ฟ เซลาสเชอร์ ได้สังเกตเห็นร่องรอยการกระทำของสัตว์ออกเป็น 5 กลุ่มตามพฤติกรรมของสัตว์ ดังนี้.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี

ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี(index fossil) คือ ซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกใช้เป็นตัวกำหนดและระบุระยะเวลาทางธรณีวิทยา เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป เช่น ไตรโลไบท์ แกรพโตไลท์ ฟิวซิลินิด เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น การพบซากดึกดำบรรพ์ไตรโลไบต์ในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่าหินทรายแดงนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 570 - 505 ล้านปี หรือการพบซากดึกดำบรรพ์ฟิวซิลินิดในหินปูนที่บริเวณจังหวัดสระบุรี ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่า หินปูนนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 286 - 245 ล้านปี เป็นต้น ตารางแสดงซากดึกดำบรรพ์ดัชนีในแต่ละยุค ไฟล์:Index_fossils.gif.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และซากดึกดำบรรพ์ดัชนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโมร็อกโก

มร็อกโก (ชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก, เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมาเกร็บในแอฟริกาเหนือ เป็นหนึ่งในถิ่นกำเนินชนเบอร์เบอร์ ในทางภูมิศาสตร์โมร็อกโกมีเทือกเขาหินขรุขระตรงกลาง มีทะเลทรายขนาดใหญ่และมีชายฝั่งยาวมาตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน โมร็อกโกมีพื้นที่ประมาณ 710,850 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 33.8 ล้านคน เมืองหลวงชื่อราบัตและมีเมืองใหญ่สุดชื่อกาซาบล็องกา นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกอาทิมาร์ราคิช แทงเจียร์ ซาเล่ห์ แฟ็ส แม็กแน็สและ วัจด้า ในทางประวัติศาสตร์โมร็อกโกเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคมีความเป็นอิสระและไม่ได้ถูกยุ่งเกียวหรือรุกรานโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่สุลต่าน โมเลย์ อิดริส ที่ 1ก่อตั้งรัฐโมร็อกโกครั้งแรกใน พ.ศ. 1332 ประเทศถูกปกครองโดยระบบราชวงศ์และเจริญสุดขีดในช่วงราชวงศ์อัลโมราวิดและราชวงศ์อัลโลฮัดซึ่งครอบครองส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ราชวงศ์มารีนิดและราชวงศ์ซาดีได้ยืนหยัดต่อต้านการรุกร่านจากต่างประเทศ อีกทั้งโมร็อกโกเป็นประเทศในแอฟริกาเหนือประเทศเดียวที่เลี่ยงการยึดครองจากจักรวรรดิออตโตมันได้ ราชวงศ์อเลาอัวซึ่งปกครองประเทศอยู่ในปัจุบันนั้นขึ้นมามีอำนาจในโมร็อกโกตั้งแต่ พ.ศ. 2174 ใน พ.ศ. 2455 โมร็อกโกถูกแบ่งเป็นโมร็อกโกในอารักขาของฝรั่งเศส โมร็อกโกในอารักขาของสเปนกับเขตสากลในแทนเจียร์และกลับมาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2499 วัฒนธรรมชาวโมร็อกโกจะเป็นแบบผสมผสานตามอิทธิพลของเบอร์เบอร์ อาหรับ แอฟริกาตะวันตกและยุโรป โมร็อกโกอ้างว่าเวสเทิร์นสะฮาราซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองซึ่งเคยเป็นสะฮาราของสเปนนั้นเป็นจังหวัดทางใต้ของโมร็อกโก หลังจากสเปนตกลงที่จะปลดปล่อยดินแดนนี้ให้โมร็อกโกและมอริเตเนียใน พ.ศ. 2518 ชาวซาห์ราวีได้ทำสงครามแบบกองโจร มอริเตเนียถอนตัวออกจากดินแดนที่มีสิทธิครอบครองใน พ.ศ. 2522 และสงครามอันยืดเยื้อก็ยุติจากการหยุดยิงใน พ.ศ. 2534 ปัจจุบันโมร็อกโกครอบครองดินแดนสองในสาม โมร็อกโกปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง กษัตริย์โมร็อกโกมีอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติอย่างมาก โดยเฉพาะการทหาร นโยบายต่างประเทศและศาสนา อำนาจบริหารออกใช้โดยรัฐบาล ขณะที่สภานิติบัญญัติเป็นของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโกและราชมนตรีสภาทั้งสองสภา กษัตริย์สามารถออกพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่าดาฮีร์ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย นอกจากนี้กษัตริย์สามารถยุบสภาหลังจากปรึกษานายกรัฐมนตรีและประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชาวโมร็อกโกส่วนมากนับถือศาสนาอิสลามมีภาษาราชการคือภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ ภาษาเบอร์เบอร์เป็นภาษาหลักของโมร็อกโกก่อนที่อาหรับจะมามีบทบาทในคริสศ์ศตวรรษที่ 600 ภาษาอาหรับในโมร็อกโกเรียกว่า Darija โมร็อกโกเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ สหภาพเมดิเตอร์เรเนียนและสหภาพแอฟริกา และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของแอฟริก.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และประเทศโมร็อกโก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

ปะการัง

ปะการัง หรือ กะรัง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยว ๆ จำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ หัวของปะการังหนึ่ง ๆ โดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆอันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพัน ๆ โพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยการใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อม ๆ กันตลอดหนึ่งคืนหรือหลาย ๆ คืนในช่วงเดือนเพ็ญ แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็ก ๆ ขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้น ๆ โดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งรัฐวอชิงตันและที่หมู่เกาะอะลูเชียนของอะแลสก.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

แบรคิโอพอด

''Spiriferina rostrata'' แบรคิโอพอด เป็นคำจากภาษาลาติน brachium หมายถึงแขน + ภาษาลาตินใหม่ -poda หมายถึงตีน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่บนท้องน้ำรู้จักกันอีกชื่อหนึงว่า หอยตะเกียง เป็นสัตว์ทะเลมีสองฝาด้วยลักษณะภายนอกมีความละม้ายกับหอยกาบคู่ซึ่งที่แท้จริงแล้วไม่ได้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างใดเลย นักบรรพชีวินวิทยาได้ประมาณว่าหลักฐานของแบรคิโอพอดที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วถึงร้อยละ 99 แม้ว่าหอยกาบคู่และแบรคิโอพอดจะมีลักษณะภายนอกละม้ายคล้ายคลึงกัน แต่ที่แท้จริงแล้วมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยปรกติแล้วหอยกาบคู่จะมีระนาบสมมาตรอยู่ระหว่างเปลือกฝาทั้งสอง ขณะที่แบรคิโอพอดจะมีระนาบสมมาตรแบบสมมาตรด้านข้าง คือระนาบสมมาตรจะตั้งฉากกับแนวหับเผย (hinge) เปลือกฝาทั้งสองของแบรคิโอพอดแตกต่างกันทั้งขนาดและรูปร่าง หอยกาบคู่ใช้กล้ามเนื้อแอดดักเตอร์ในการทำให้เปลือกฝาทั้งสองมาปะกบกันและจะเปิดอ้าออกโดยใช้ลิกาเมนต์ด้านนอกหรือด้านในทันทีที่กล้ามเนื้อแอดดักเตอร์คลายตัว ขณะที่แบรคิโอพอดใช้กล้ามเนื้อดิดักเตอร์ด้านในดึงให้ฝาทั้งสองเปิดออก และจะปิดปะกบเข้าหากันด้วยกล้ามเนื้อแอดดักเตอร์ ความแตกต่างที่ชัดเจนอีกลักษณะหนึ่งคือ แบรคิโอพอดทั้งหลายจะอาศัยอยู่ด้วยการยึดเกาะกับพื้นท้องทะเลโดยอาศัยอวัยวะที่มีลักษณะเป็นก้านเนื้อเยื่อยื่นออกไป ในทางตรงกันข้ามหอยกาบคู่ทั้งหลายจะเคลื่อนที่ไปอย่างอิสระด้วยอวัยวะเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เป็นเท้า ทั้งนี้ยกเว้นหอยพวกหอยนางรม หอยแมลงภู่ และหอยรูดิสต์ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วที่ยึดเกาะกับพื้นท้องทะเล นอกจากนี้ เปลือกฝาของแบรคิโอพอดถ้าไม่ประกอบด้วยสารแคลเซี่ยมฟอสเฟตก็เป็นสารแคลเซียมคาร์บอเนต ขณะที่เปลือกฝาของหอยกาบคู่ทั่วไปจะประกอบด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต และท้ายสุดที่แบรคิโอพอดไม่เหมือนกับหอยกาบคู่ก็คือ แบรคิโอพอดบางกลุ่มมีเปลือกฝาเป็นปีกคล้ายครีบยื่นออกไปและรวมถึงมีหนามบนพื้นเปลือกฝ.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และแบรคิโอพอด · ดูเพิ่มเติม »

แมงดา

การผสมพันธุ์ของแมงดา แมงดา หรือที่บางครั้งเรียกว่า แมงดาทะเล จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธรพอด โดยที่ไม่ใช่ครัสเตเชียน แต่เป็นเมอโรสโทมาทา อยู่ในอันดับ Xiphosura และวงศ์ Limulidae.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และแมงดา · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไครนอยด์

รนอยด์ (Crinoidea) เป็นชั้นหนึ่งในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา ได้แก่พลับพลึงทะเลและดาวขนนก ลักษณะโดยทั่วไป ลำตัวมีก้านยึดติดกับวัตถุใต้น้ำ.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และไครนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไคทิน

''N''-acetylglucosamineสองหน่วยที่จะเรียงซ้ำกันจนเป็นสายยาวด้วยพันธะแบบ β-1, 4 ไคทิน (Chitin;C8H13O5N) n เป็นโครงสร้างภายนอกของเซลล์สัตว์ พบในเปลือกหอย กุ้ง ปู และแมลง เป็นโฮโมโพลีแซคคาไรด์ของ N-acetyl-D-glucosamine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกลูโคส ต่อกันด้วยพันธะ β ไคทินเป็นสารที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรม.

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และไคทิน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะตะรุเตา

หาดของเกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา เป็นเกาะหลัก เกาะใหญ่ที่สุดในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ห่างจากเกาะลังกาวี ของมาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร รวมทั้งพื้นที่บนเกาะและทะเลประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร คำว่า "ตะรุเตา" เป็นภาษามลายู เพี้ยนมาจากคำว่า ตือโละตาวาร์ (Teluk Tawar) แปลว่า "อ่าวจืด" หรือ "อ่าวน้ำจืด" เพราะบนเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่เดียวที่มีธารน้ำจืดอยู่ด้วย ในทางประวัติศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: ไทรโลไบต์และเกาะตะรุเตา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

TrilobitaTrilobiteไตรโลไบต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »