โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัคซีน

ดัชนี วัคซีน

็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

46 ความสัมพันธ์: บาดทะยักชีววิทยาฟอร์มาลดีไฮด์ฟิสิกส์กฎหมายกล้ามเนื้อมาลาเรียยาปฏิชีวนะยีสต์ระบบภูมิคุ้มกันรังสีอัลตราไวโอเลตวัณโรควัคซีนป้องกันเชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบีวิทยาภูมิคุ้มกันสารภูมิต้านทานสาธารณสุขหลุยส์ ปาสเตอร์อหิวาตกโรคอะลูมิเนียมจุลินทรีย์ดีเอ็นเอคางทูมตับอักเสบ บีตับอักเสบ เอปอดบวมแบคทีเรียแอนติเจนแอนแทรกซ์โมเลกุลโรคฝีดาษโรคหวัดโรคหัดโรคหัดเยอรมันโรคทางพันธุกรรมโรคคอตีบโรคโปลิโอโรคไอกรนเบาหวานเภสัชอุตสาหกรรมเยื่อหุ้มสมองอักเสบเอชไอวีเอดส์เอดเวิร์ด เจนเนอร์เคมีเซลล์บีStaphylococcus

บาดทะยัก

ทะยักเป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นคืออาการกล้ามเนื้อเกร็ง ส่วนใหญ่การเกร็งจะเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อกราม จากนั้นจึงลุกลามไปยังกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ การเกร็งแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่นาที และเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ การเกร็งอาจมีความรุนแรงมากจนทำให้กระดูกหักได้ อาการอื่นที่อาจพบร่วมได้แก่ ไข้ เหงื่อออก ปวดศีรษะ กลืนลำบาก ความดันเลือดสูง และหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการหลังจากติดเชื้อเป็นเวลา 3-21 วัน การรักษาอาจใช้เวลาหลายเดือน ผู้ป่วยประมาณ 10% จะเสียชีวิต บาดทะยักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani ซึ่งพบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น และปุ๋ยมูลสัตว์ เชื้อมักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเช่นแผลบาดหรือแผลตำที่เกิดจากวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อเหล่านี้ผลิตสารพิษที่รบกวนกระบวนการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการดังกล่าวข้างต้น การวินิจฉัยทำได้โดยการดูจากอาการและอาการแสดง โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการให้วัคซีนบาดทะยัก ผู้ที่มีบาดแผลที่เข้าข่ายจะติดเชื้อและได้รับวัคซีนมาไม่ถึง 3 ครั้ง ควรได้รับทั้งวัคซีนบาดทะยักและภูมิคุ้มกันบาดทะยักในรูปแบบของอิมมูโนกลอบูลิน ควรได้รับการล้างแผลและนำเอาเนื้อตายออก ผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบาดทะยักแบบอิมมูโนกลอบูลิน หรืออาจรักษาด้วยอิมมูโนกลอบูลินแบบรวมได้ ยาคลายกล้ามเนื้ออาจช่วยควบคุมอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และหากผู้ป่วยมีปัญหาของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจร่วมด้วยอาจต้องใช้การช่วยหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจ บาดทะยักเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลกแต่มักพบบ่อยในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นซึ่งมีดินและสารอินทรีย์อยู่มาก ในปี..

ใหม่!!: วัคซีนและบาดทะยัก · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: วัคซีนและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ฟอร์มาลดีไฮด์

ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีสูตรเคมี CH2O หรือ HCHO มันเป็นอัลดีไฮด์รูปง่ายที่สุด และรู้จักในชื่อเป็นระบบว่า เมทานาล ชื่อสามัญของสารนี้ เช่น ฟอร์มาลิน ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง ไร้สี และมีกลิ่นฉุนระคายเคืองเป็นลักษณะเฉพาะตัว มันเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญของสารและสารประกอบเคมีหลายชนิด ในปี 2539 ขีดความสามารถที่ติดตั้งของการผลิตฟอร์มาลดีไฮด์ประเมินไว้ที่ 8.7 ล้านตันต่อปีGünther Reuss, Walter Disteldorf, Armin Otto Gamer, Albrecht Hilt “Formaldehyde” in Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry, 2002, Wiley-VCH, Weinheim.

ใหม่!!: วัคซีนและฟอร์มาลดีไฮด์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: วัคซีนและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ใหม่!!: วัคซีนและกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: วัคซีนและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

มาลาเรีย

มาลาเรีย (malaria) หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคติดเชื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นที่มียุงเป็นพาหะ มีสาเหตุจากปรสิตโปรโตซัว (จุลินทรีย์เซลล์เดียวประเภทหนึ่ง) ในสกุล Plasmodium (พลาสโมเดียม) อาการทั่วไปคือ มีไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนและปวดศีรษะ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ตัวเหลือง ชัก โคม่าหรือเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดของยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) และปกติอาการเริ่ม 10 ถึง 15 วันหลังถูกกัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลอาจมีอาการของโรคในอีกหลายเดือนให้หลัง ในผู้ที่เพิ่งรอดจากการติดเชื้อ การติดเชื้อซ้ำมักมีอาการเบากว่า การต้านทานบางส่วนนี้จะหายไปในเวลาเป็นเดือนหรือปีหากบุคคลไม่ได้สัมผัสมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง เมื่อถูกยุง Anopheles เพศเมียกัดจะนำเชื้อปรสิตจากน้ำลายของยุงเข้าสู่เลือดของบุคคล ปรสิตจะไปตับซึ่งจะเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ มนุษย์สามารถติดเชื้อและส่งต่อ Plasmodium ห้าสปีชีส์ ผู้เสียชีวิตส่วนมากเกิดจากเชื้อ P. falciparum เพราะ P. vivax, P. ovale และ P. malariae โดยทั่วไปก่อให้เกิดมาลาเรียแบบที่รุนแรงน้อยกว่า สปีชีส์รับจากสัตว์ P. knowlesi พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวินิจฉัยมาลาเรียตรงแบบทำโดยการตรวจเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้ฟิล์มเลือดหรือการวินิจฉัยชนิดรวดเร็ว (rapid diagnostic test) ที่อาศัยแอนติเจน มีการพัฒนาวิธีซึ่งใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสเพื่อตรวจจับดีเอ็นเอของปรสิต แต่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไปเนื่องจากราคาแพงและซับซ้อน ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง มียารักษาโรคหลายชนิดที่ป้องกันมาลาเรียในผู้ที่เดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคมาลาเรียทั่วไป แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีนบางครั้งในทารกและหลังไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ในบริเวณซึ่งมีโรคมาลาเรียอัตราสูง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีน แต่กำลังพัฒนา การรักษาโรคมาลาเรียที่แนะนำ คือ การใช้ยาต้านมาลาเรียหลายชนิดร่วมกันซึ่งรวมอาร์ตีมิซินิน ยาชนิดที่สองอาจเป็นเมโฟลควิน ลูมีแฟนทรีนหรือซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีน อาจใช้ควินินร่วมกับด็อกซีไซคลินได้หากไม่มีอาร์ติมิซินิน แนะนำว่าในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไป ให้ยืนยันโรคมาลาเรียหากเป็นไปได้ก่อนเริ่มการรักษาเนื่องจากความกังวลว่ามีการดื้อยาเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาการดื้อยาในปรสิตต่อยาต้านมาลาเรียหลายชนิด เช่น P. falciparum ซึ่งดื้อต่อคลอโรควินได้แพร่ไปยังพื้นที่ซึ่งมีการระบาดมากที่สุด และการดื้อยาอาร์ทีมิซินินเป็นปัญหาในบางพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรคนี้แพร่หลายในเขตร้อนและอบอุ่นซึ่งอยู่เป็นแถบกว้างรอบเส้นศูนย์สูตร ซึ่งรวมพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮารา ทวีปเอเชียและละตินอเมริกาบริเวณกว้าง โรคมาลาเรียมักสัมพันธ์กับความยากจนและยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในทวีปแอฟริกา มีการประเมินว่ามีการสูญเสีย 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเนื่องจากค่าใช้จ่ายสาธารณสุขเพิ่มขึ้น เสียความสามารถการทำงาน และผลเสียต่อการท่องเที่ยว องค์การอนามัยโลกประเมินว่ามีผู้ป่วย 198 ล้านคน ใน..

ใหม่!!: วัคซีนและมาลาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: วัคซีนและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ยีสต์

ีสต์ หรือ ส่าเหล้า (yeast) คือ รากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบมะนาว ฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติในดิน ในน้ำ ในส่วนต่างๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลง และในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อยๆ คือแหล่งที่มีน้ำตาลความเข้มข้นสูง เช่น น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มักจะปนลงไปในอาหาร เป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียได้ ยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (eukaryotic micro-organisms) จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกเห็ด รา (Fungi) มีทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษต่ออาหาร มีการนำยีสต์มาใช้ประโยชน์นานมาแล้ว โดยเฉพาะการผลิตอาหารที่มีแอลกอฮอล์ จากคุณสมบัติที่มีขนาดเล็กมาก สามารถเพาะเลี้ยงให้เกิดได้ในเวลาอันรวดเร็ว และวิธีการไม่ยุ่งยาก ทำให้ยีสต์เริ่มมีบทบาทที่สำคัญในวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงอาหารธรรมชาติที่สำคัญอีกทีหนึ่ง เช่น ไรแดง โรติเฟอร์ และอาร์ทีเมี.

ใหม่!!: วัคซีนและยีสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

ใหม่!!: วัคซีนและระบบภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

รังสีอัลตราไวโอเลต

แสงออโรราจากดาวพฤหัสบดีในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต ถ่ายโดยองค์การนาซา รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง.

ใหม่!!: วัคซีนและรังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50% อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน..

ใหม่!!: วัคซีนและวัณโรค · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีนป้องกันเชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบี

วัคซีนป้องกันเชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา (Haemophilus influenzae) ชนิดบี เป็นวัคซีนที่ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบี (ฮิบ) ในประเทศที่ได้กำหนดให้วัคซีนนี้เป็นวัคซีนพื้นฐาน อัตราการติดเชื้อฮิบขั้นรุนแรงนั้นได้ลดลงมากกว่า 90% ดังนั้นจึงส่งผลให้อัตราของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวมและฝากล่องเสียงอักเสบลดลงตามไปด้วย ทั้งองค์การอนามัยโลกและศูนย์ควบคุมโรคติดต่อได้แนะนำให้มีการใช้วัคซีนนี้ ทั้งนี้ควรให้วัคซีนจำนวนสองหรือสามเข็มก่อนที่เด็กจะอายุครบหกเดือน อายุที่แนะนำสำหรับการให้วัคซีนเข็มแรกคือประมาณหกสัปดาห์และระยะห่างระหว่างการให้วัคซีนแต่ละครั้งคือสี่สัปดาห์ ถ้ามีการให้วัคซีนเพียงสองครั้ง ก็แนะนำว่าควรให้วัคซีนอีกหนึ่งเข็มในภายหลัง การให้วัคซีนสามารถทำได้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงนั้นพบได้น้อยมาก การเกิดความเจ็บปวดที่ตำแหน่งการฉีดวัคซีนพบได้ประมาณ 20 ถึง 25% ส่วนการมีไข้มีเพียง 2% ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนของการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขั้นรุนแรง วัคซีนฮิบมีทั้งแบบวัคซีนเดี่ยวและวัคซีนรวมที่ให้ร่วมกับวัคซีนตัวอื่น ซึ่งได้แก่ วัคซีนโรคคอตีบ/บาดทะยัก/ไอกรน และการให้ร่วมกับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีและวัคซีนตัวอื่นๆ ปัจจุบันการให้วัคซีนฮิบทั้งหมดเป็นการให้ในฐานะวัคซีนควบคู่ การผลิตวัคซีนฮิบเกิดขึ้นครั้งเมื่อปี 2520 และหลังจากปี 2533 ก็ได้มีการเปลี่ยนไปใช้วัคซีนซึ่งมีสูตรผสมที่มีประสิทธิภาพมากกว่าแทน นับตั้งแต่ปี 2556 ประเทศต่างๆ จำนวน 184 ประเทศได้กำหนดให้วัคซีนนี้เป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับประเทศของตน วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดซึ่งจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน นับตั้งแต่ปี 2557 ราคาขายส่งของวัคซีนสำหรับห้าโรคสำคัญ (pentavalent vaccine) ซึ่งมีฮิบรวมอยู่ด้วยคือ 15.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหนึ่งเข็ม ในสหรัฐอเมริการาคาจะอยู่ที่ประมาณ 25 ถึง 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหนึ่งเข็ม.

ใหม่!!: วัคซีนและวัคซีนป้องกันเชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิดบี · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาภูมิคุ้มกัน

วิทยาภูมิคุ้มกัน หรือ วิทยาอิมมูน (immunology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ที่ครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในสิ่งมีชีวิต โดยมีเนื้อหาครอบคลุมกลไกการทำงานทางสรีรวิทยาของระบบภูมิคุ้มกันทั้งในสภาพร่างกายที่ปรกติและเมื่อเกิดพยาธิสภาพขึ้น พยาธิสภาพอาจจะเกิดจากสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกเช่น เชื้อโรคหรือจากสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ (allergen) รวมทั้งโรคที่มีความผิดปรกติทางระบบภูมิคุ้มกันเช่น โรคภูมิคุ้มกันต่อต้านร่างกายตัวเอง (autoimmune) โรคภูมิคุ้มกันไวผิดปรกติ (hypersensitivity) โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency) ภาวะการต่อต้านอวัยวะใหม่ (graft rejection) เป็นต้น นอกจากนี้วิชาภูมิคุ้มกันวิทยายังได้ศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับหน้าที่และคุณสมบัติต่างๆ ของระบบภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะการทำงานของแอนติบอดี ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์เช่น ในทางการแพทย์ใช้แอนตีบอดีในการวินิจฉัยจากปริมาณสารที่พบในโรคหรือสภาวะบางจากพลาสมาหรือเนื้อเยื่อ และทางการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้นำมาใช้ในการวัดปริมาณของโปรตีนในตัวอย่างทางชีวภาพต่างๆ หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: วัคซีนและวิทยาภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

สารภูมิต้านทาน

รภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับและทำลายฤทธิ์ของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen) แอนติบอดีส่วนใหญ่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์พลาสมา (plasma cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) การกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยการสร้างแอนติบอดีเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า humoral immune response การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเพปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป.

ใหม่!!: วัคซีนและสารภูมิต้านทาน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณสุข

รณสุข คือศาสตร์และศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและจัดการสุขภาพทั้งปวงของชุมชนโดยอิงตามการวิเคราะห์ด้านสุขภาพของประชากร คำว่าสุขภาพนั้นมีนิยามและจัดการในลักษณะต่างๆ กันจากหน่วยงานต่างๆ สำหรับองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานและเฝ้าระวังโรคทั่วโลก ได้นิยามคำว่า สุขภาพ ไว้ว่า "สภาพของการมีชีวิตทางกายภาพ ทางจิตใจ และทางสังคมที่สมบูรณ์ ไม่ใช้เพียงไม่มีโรคภัยหรือความแข็งแรงทางกายเท่านั้น" ประชากรที่กล่าวไว้ข้างต้นอาจมีเพียงน้อยนิด หรือปริมาณมหาศาลในระดับทวีปก็ได้ สาธารณสุขมีด้วยกันหลายสาขาย่อย แต่โดยทั่วไปจะแบ่งเป็นหมวดต่างๆ ได้แก่ ระบาดวิทยา (epidemiology), ชีวสถิติ (biostatistics) และบริการสุขภาพ (health services) นอกจากนี้แล้ว สุขภาพเชิงสิ่งแวดล้อม เชิงสังคม และเชิงพฤติกรรม รวมทั้งสุขภาพเชิงอาชีพ ก็เป็นสาขาที่สำคัญของสาธารณสุขด้ว.

ใหม่!!: วัคซีนและสาธารณสุข · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ ปาสเตอร์

หลุยส์ ปาสเตอร์ (27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 - 28 กันยายน ค.ศ. 1895) เป็นนักเคมีและนักจุลชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410 ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลไล ซึ่งเป็นเป็นสมมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอ.

ใหม่!!: วัคซีนและหลุยส์ ปาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่ว..

ใหม่!!: วัคซีนและอหิวาตกโรค · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียม

มื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass).

ใหม่!!: วัคซีนและอะลูมิเนียม · ดูเพิ่มเติม »

จุลินทรีย์

จุลินทรีย์ ''E coli'' ขนาด 10,000 เท่า จุลินทรีย์, จุลชีพ, จุลชีวัน หรือ จุลชีวิน (microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ (เช่น เชื้อรา) หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: วัคซีนและจุลินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: วัคซีนและดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

คางทูม

งทูมเป็นโรคติดเชื้อไวรัสอย่างหนึ่งเกิดกับมนุษย์ มีสาเหตุจากไวรัสคางทูม (mumps virus) เคยเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กทั่วโลกก่อนที่จะมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นใช้ ปัจจุบันยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศโลกที่สาม และมีการระบาดเป็นครั้งๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาการที่พบบ่อยที่สุดคือมีต่อมน้ำลายโตและเจ็บ ส่วนใหญ่เป็นต่อมน้ำลายพารอทิด (ต่อมน้ำลายหน้าหู) อาจพบมีอัณฑะอักเสบหรือผื่นได้ ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ในขณะที่ถ้าผู้ป่วยเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่เพศชายอาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่นเป็นหมันหรือมีบุตรยากได้ง่ายกว่าในเด็ก แต่โดยรวมก็ยังถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบน้อย ส่วนใหญ่โรคนี้เป็นแล้วหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจำเพาะที่นอกเหนือไปกว่าการบรรเทาอาการด้วยยาแก้ปวด อาการนำของคางทูมได้แก่ไข้และปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาการอื่นเช่น ปากแห้ง เจ็บหน้า เจ็บหู หรือหากเป็นรุนแรงอาจมีอาการเสียงแหบ ทั้งนี้ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสคางทูม เกือบ 20% ไม่มีอาการ จึงอาจแพร่เชื่อได้โดยไม่รู้ตัว.

ใหม่!!: วัคซีนและคางทูม · ดูเพิ่มเติม »

ตับอักเสบ บี

ตับอักเสบ บี (hepatitis B) เป็นโรคตับชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการ บางรายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลือง อ่อนเพลีย ปัสสาวะเข้ม และปวดท้องได้ ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ และมีเพียงส่วนน้อยที่อาการดำเนินไปอย่างรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตในการติดเชื้อครั้งแรกนี้ ระยะฟักตัวอาจยาวนานได้ถึง 30-180 วัน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้ตั้งแต่แรกเกิดจะเกิดตับอักเสบเรื้อรังได้ถึง 90% ในขณะที่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในภายหลังที่อายุมากกว่า 5 ปี จะเกิดตับอักเสบเรื้อรังเพียง 10% ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอยู่เป็นเวลานาน แต่ในระยะท้ายๆ อาจเกิดตับแข็งหรือมะเร็งตับขึ้นได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 15-25% ของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสบี เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ติดต่อผ่านการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง ในพื้นที่ที่มีความชุกสูง มักพบว่าผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุดคือทารกที่ติดเชื้อจากแม่ในขณะคลอด หรือเด็กที่ได้สัมผัสเลือดของผู้ที่มีเชื้อ ส่วนในพื้นที่ที่มีความชุกต่ำ ผู้ป่วยที่พบบ่อยได้แก่ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดและผู้ป่วยที่รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (เช่น ทำงานในโรงพยาบาล) การรับเลือด การฟอกเลือด การใช้ชีวิตอยู่กับผู้ติดเชื้อ การเดินทางไปยังประเทศที่มีความชุกของโรคสูง และการเป็นผู้อาศัยในสถานบำบัด ในสมัยคริสตทศวรรษ 1980 มีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับเชื้อผ่านการสักและการฝังเข็ม แต่ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีปลอดเชื้อเจริญรุดหน้ามากขึ้นก็พบผู้ติดเชื้อผ่านช่องทางเหล่านี้น้อยลง เชื้อไวรัสตับอักเสบบีไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการจับมือ ใช้อุปกรณ์ในการกินอาหารร่วมกัน การจูบ การกอด การไอ จาม หรือการให้นมบุตร ปัจจุบันสามารถตรวจพบเชื้อได้เร็วที่สุดประมาณ 30-60 วันหลังได้รับเชื้อ การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยการตรวจเลือดหาชิ้นส่วนของไวรัส (แอนติเจน) และการตรวจหาสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซึ่งสร้างโดยร่างกายของผู้ติดเชื้อ (แอนติบอดี) ไวรัสนี้เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดหนึ่งจากทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี ตั้งแต..

ใหม่!!: วัคซีนและตับอักเสบ บี · ดูเพิ่มเติม »

ตับอักเสบ เอ

รคไวรัสตับอักเสบ เอ (ชื่อเดิมคือ การติดเชื้อตับอักเสบ) เป็น โรคติดเชื้อ เฉียบพลัน ของ ตับ ซึ่งเกิดจากไวรัสตับอักเสบ (เอชเอวี) ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้มีอายุน้อย ในกลุ่มผู้ป่วยที่แสดงอาการของโรค ช่วงเวลาระหว่างการติดเชื้อและการเกิดอาการคือสองถึงหกสัปดาห์ เมื่อโรคแสดงอาการ มักเกิดขึ้นนานราวแปดสัปดาห์และอาการต่างๆ อาจได้แก่: การคลื่นไส้ การอาเจียน ท้องเสีย ผิวเหลือง เป็นไข้ และปวดท้อง ผู้ป่วยประมาณ 10–15% กลับมามีอาการอีกภายในหกเดือนหลังจากการติดเชื้อครั้งแรก ภาวะ ตับวายเฉียบพลัน พบได้น้อยมาก แต่พบบ่อยในผู้สูงอ.

ใหม่!!: วัคซีนและตับอักเสบ เอ · ดูเพิ่มเติม »

ปอดบวม

รคปอดบวม (pneumonia) หรือ โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ เชื้อแบคทีเรียชื่อ "นิวโมคอคคัส" (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลัก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31524 แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่นได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ ปอดบวมบางชนิดมีวัคซีนป้องกัน ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ในอดีตปอดบวมเป็นโรคที่ร้ายแรงมากจนเคยมีคำกล่าวว่าปอดบวมเป็น "นายของสาเหตุการตายของมนุษย์" (ศตวรรษที่ 19 วิลเลียม ออสเลอร์) แต่หลังจากที่มีการคิดค้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและวัคซีนในศตวรรษที่ 20 ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นมาก อย่างไรก็ดีปอดบวมยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยอายุน้อย และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยในโลกที่สามด้ว.

ใหม่!!: วัคซีนและปอดบวม · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: วัคซีนและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แอนติเจน

255px ในวิทยาภูมิคุ้มกัน แอนติเจน หรือ สารก่อภูมิต้านทาน คือสารใด ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว (adaptive immune response) แอนติเจนมักเป็นสารที่แปลกปลอมหรือเป็นพิษต่อร่างกาย (เช่น ตัวเชื้อแบคทีเรีย) ซึ่งเมื่อเข้ามาในร่างกายแล้วจะถูกจับโดยแอนติบอดีที่มีความจำเพาะ แอนติบอดีแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับแอนติเจนชนิดหนึ่ง ๆ เนื่องจากมีความแตกต่างอย่างจำเพาะในส่วนจับคอมพลีเมนท์ (complementary determining region) ของแอนติบอดีนั้น ๆ (มักเปรียบเทียบว่าเหมือนการจับคู่กันได้พอดีของลูกกุญแจกับแม่กุญแจ) ผู้เสนอให้ใช้คำว่าแอนติเจนคือ ลาสโล เดเทอร์ (László Detre) ซึ่งใช้ครั้งแรกในบทความวิชาการที่เขียนร่วมกับอีลี เมตช์นิคอฟ (Élie Metchnikoff) ในปี..

ใหม่!!: วัคซีนและแอนติเจน · ดูเพิ่มเติม »

แอนแทรกซ์

แอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นโรคเฉียบพลันซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย Bacillus anthracis รูปแบบส่วนใหญ่ของโรครุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต และมีผลต่อทั้งมนุษย์และสัตว์อื่น ปัจจุบันมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพต่อแอนแทรกซ์แล้ว และโรคบางรูปแบบสนองดีต่อการรักษาปฏิชีวนะ เช่นเดียวกับแบคทีเรียอีกหลายชนิดในจีนัสบาซิลลัส Bacillus anthracis สามารถสร้างเอนโดสปอร์พักตัว (มักเรียกสั้น ๆ ว่า "สปอร์" แต่ระวังสับสนกับสปอร์ของฟังไจ) ซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมโหดร้ายเป็นทศวรรษหรือกระทั่งศตวรรษ สปอร์เหล่านี้ถูกพบทั่วทุกทวีปของโลก ยกเว้นแอนตาร์กติกา เมื่อสปอร์ถูกสูดหรือกินเข้าไปในร่างกายสิ่งมีชีวิต หรือสัมผัสกับบาดแผลตรงผิวหนังของโฮสต์ (host) สปอร์เหล่านี้อาจมีปฏิกิริยาและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินพืชทั้งที่เป็นสัตว์ป่าและสัตว์บ้านพบติดเชื้อแอนแทรกซ์ที่รับสปอร์เข้าทางปากหรือจมูกขณะกำลังกินหญ้า คาดกันว่าการกินเป็นทางที่สัตว์กินพืชติดต่อกับแอนแทรกซ์มากที่สุด สัตว์กินพืชที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันอาจติดเชื้อจากการกินสัตว์ที่ติดเชื้อแล้ว สัตว์ที่ป่วยสามารถแพร่แอนแทรกซ์แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อโดยตรงหรือโดยการบริโภคเนื้อของสัตว์ที่ติดเชื้อ สปอร์แอนแทรกซ์สามารถผลิตแบบ in vitro (นอกร่างกาย) และใช้เป็นอาวุธชีวภาพได้ แอนแทรกซ์ไม่แพร่โดยตรงจากสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อไปยังอีกคนหรือตัวหนึ่ง แต่แพร่โดยสปอร์ สปอร์เหล่านี้สามารถส่งผ่านได้โดยเสื้อผ้าหรือรองเท้า ร่างกายของสัตว์ที่มีแอนแทรกซ์อยู่ในช่วงที่ตายสามารถเป็นแหล่งสปอร์แอนแทรกซ์ได้.

ใหม่!!: วัคซีนและแอนแทรกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุล

โครงสร้างสามมิติ (ซ้ายและกลาง) และโครงสร้างสองมิติ (ขวา) ของโมเลกุลเทอร์พีนอย โมเลกุล (molecule) เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังและยังคงความเป็นสารดังกล่าวไว้ได้ โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุมาเกิดพันธะเคมีกันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง ๆ ใน 1 โมเลกุล อาจจะประกอบด้วยอะตอมของธาตุทางเคมีตัวเดียว เช่น ออกซิเจน (O2) หรืออาจจะมีหลายธาตุก็ได้ เช่น น้ำ (H2O) ซึ่งเป็นการประกอบร่วมกันของ ไฮโดรเจน 2 อะตอมกับ ออกซิเจน 1 อะตอม หากโมเลกุลหลายโมเลกุลมาเกิดพันธะเคมีต่อกัน ก็จะทำให้เกิดสสารขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ เช่น (H2O) รวมกันหลายโมเลกุล เป็นน้ำ มโลเกุล มโลเกุล หมวดหมู่:โมเลกุล.

ใหม่!!: วัคซีนและโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

โรคฝีดาษ

ฝีดาษตามลำตัวของผู้ป่วย การระบาดของฝีดาษในยุโรป การติดเชื้อฝีดาษของชาวอเมริกันอินเดียนจากชาวยุโรป ฝีดาษ, ไข้ทรพิษ หรือ ไข้หัว (Smallpox) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจาก small poxvirus (Variolar) มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการทั่วไปรุนแรง โรคนี้ระบาดในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ. 2519 สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าระบาดครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2504 องค์การอนามัยโลกได้เลิกฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513.

ใหม่!!: วัคซีนและโรคฝีดาษ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหวัด

อหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (Acute nasopharyngitis) เรียกโดยทั่วไปว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Common cold) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการของโรคมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ ไวรัสกว่า 200 ชนิดเป็นสาเหตุของโรคหวัด โดยไรโนไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจำแนกได้หลวม ๆ ตามบริเวณที่ได้รับผลจากไวรัส โดยโรคหวัดกระทบต่อจมูก คอหอย (คอหอยอักเสบ) และโพรงจมูก (โพรงจมูกอักเสบ) เป็นหลัก ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก และหลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากอนามัย โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาอาการได้ โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ และอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงสิบสองครั้งต่อปี.

ใหม่!!: วัคซีนและโรคหวัด · ดูเพิ่มเติม »

โรคหัด

รคหัด (measles) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก เกิดจากเชื้อไวรัสหัด ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้ ซึ่งมักเป็นไข้สูง (>40 องศาเซลเซียส) ไอ น้ำมูกไหลจากเยื่อจมูกอักเสบ และตาแดงจากเยื่อตาอักเสบ ในวันที่ 2-3 จะเริ่มมีจุดสีขาวขึ้นในปาก เรียกว่าจุดของคอปลิก จากนั้นในวันที่ 3-5 จะเริ่มมีผื่นเป็นผื่นแดงแบน เริ่มขึ้นที่ใบหน้า จากนั้นจึงลามไปทั่วตัว อาการมักเริ่มเป็น 10-12 หลังจากรับเชื้อ และมักเป็นอยู่ 7-10 วันสามารถพบภาวะแทรกซ้อนได้ราว 30% ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้แก่ ท้องร่วง ตาบอด สมองอักเสบ ปอดอักเสบ และอื่นๆ โรคนี้เป็นคนละโรคกับโรคหัดเยอรมันและหัดกุหลาบ โรคหัดติดต่อทางอากาศ เชื้อหัดจะออกมาพร้อมกับการไอและการจามของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังอาจติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วยได้ด้วย หากมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันและอยู่ในที่เดียวกันกับผู้ติดเชื้อ จะเกิดการติดเชื้อถึงเก้าในสิบ ผู้ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนมีอาการ ไปจนถึง 4 วัน หลังเริ่มมีผื่น.

ใหม่!!: วัคซีนและโรคหัด · ดูเพิ่มเติม »

โรคหัดเยอรมัน

รคหัดเยอรมัน หรือโรคเหือด (Rubella, German measles) หรือโรคหัดสามวัน (three-day measles) เป็นการติดเชื้อเกิดจากไวรัสหัดเยอรมัน โรคนี้มักไม่ร้ายแรงโดยผู้ป่วยครึ่งหนึ่งไม่รู้สึกตัวว่าป่วย ผื่นอาจเริ่มมีราวสองสัปดาห์หลังสัมผัสเชื้อและอยู่นานสามวัน ปกติเริ่มบนหน้าแล้วแพร่ไปร่างกายที่เหลือ ผื่นของโรคหัดเยอรมันสีไม่สดเท่าผื่นของโรคหัดและบ้างคัน พบปุ่มน้ำเหลืองบวมได้ทั่วไปและอาจอยู่นานหลายสัปดาห์ นอกจากนี้ อาจมีไข้ เจ็บคอและความล้า ในผู้ใหญ่ อาการปวดข้อพบได้บ่อย อาการแทรกซ้อนอาจรวมปัญหาเลือดออก อัณฑะบวม และการอักเสบของเส้นประสาท การติดเชื้อระหว่างช่วงต้นของการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เด็กเกิดมามีกลุ่มอาการโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด (CRS) หรือแท้ง อาการของ CRS มีปัญหาเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก หู เช่น หูหนวก หัวใจและสมอง พบปัญหาน้อยหลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ โรคหัดเยอรมันปกติแพร่ผ่านอากาศโดยทางการไอของผู้ที่ติดเชื้อ บุคคลแพร่เชื้อได้ระหว่างหนึ่งสัปดาห์ก่อนและหลังผื่นปรากฏ ทารกที่เป็น CRS อาจแพร่ไวรัสได้กว่าหนึ่งปี มีเฉพาะมนุษย์ที่ติดเชื้อ แมลงไม่แพร่โรค เมื่อฟื้นตัวแล้ว บุคคลจะมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อในอนาคต มีการทดสอบซึ่งสามารถพิสูจน์ยืนยันภูมิคุ้มกันได้ ยืนยันการวินิจฉัยโดยการพบไวรัสในเลือด คอหรือปัสสาวะ การทดสอบเลือดหาแอนติบอดีอาจเป็นประโยชน์ด้วย โรคหัดเยอรมันป้องกันได้ด้วยวัคซีนโรคหัดเยอรมันเพียงขนาดยาเดี่ยว - วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน.

ใหม่!!: วัคซีนและโรคหัดเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

โรคทางพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรมเป็นโรคซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม แม้โรคบางชนิดเช่นมะเร็งจะมีสาเหตุส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับความผิดปกติของพันธุกรรม แต่ก็ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้วย โรคทางพันธุกรรมส่วนใหญ่เป็นโรคที่พบได้น้อย อาจมีผู้ป่วยเพียงหนึ่งในหลายพันหรือหลายล้านคน ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดเป็นลักษณะด้อยบางชนิด อาจทำให้ผู้ที่เป็นพาหะหรือเป็นเฮเทอโรไซกัสเกิดภาวะได้เปรียบทางพันธุกรรมในสภาพแวดล้อมบางแบบได้ เช่นที่พันธุกรรมทาลัสซีเมียทำให้มีโอกาสรอดชีวิตในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียมากขึ้น เป็นต้น หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:โรคทางพันธุกรรม หมวดหมู่:เวชพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: วัคซีนและโรคทางพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โรคคอตีบ

รคคอตีบ (diphtheria) เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae อาการมีได้หลากหลายตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 2-5 วัน ในช่วงแรกมักมีอาการเจ็บคอและมีไข้ หากเป็นรุนแรงผู้ป่วยจะมีแผ่นเนื้อเยื่อสีขาวหรือสีเทาที่คอหอย ซึ่งอาจอุดกั้นทางหายใจและทำให้เกิดอาการไอเสียงก้องเหมือนในโรคกล่องเสียงอักเสบ (ครุป) ได้ อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ทำให้มีคอบวม เชื้อนี้นอกจากทำให้มีอาการที่คอแล้วยังทำให้มีอาการที่ระบบอื่น เช่น ผิวหนัง ตา หรืออวัยวะเพศ ได้อีกด้วย ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ ไตอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น เชื้อคอตีบสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสโดยตรง ผ่านวัตถุที่เปื้อนเชื้อ หรือผ่านอากาศ ผู้รับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการ แต่มีเชื้อในร่างกาย และสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ เชื้อ C. diphtheriae มีชนิดย่อยอยู่ 3 ชนิด แต่ละชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงแตกต่างกัน อาการของโรคส่วนใหญ่เกิดจากพิษที่สร้างโดยเชื้อนี้ การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจร่างกายดูลักษณะของคอหอยของผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจยืนยันด้วยการเพาะเชื้อ การหายจากเชื้อนี้จะไม่ได้ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อครั้งถัดไป วัคซีนโรคคอตีบเป็นวิธีป้องกันโรคนี้ที่ได้ผลดี และมีให้ใช้ในหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่แนะนำให้เด็กทั่วไปได้รับวัคซีนนี้ร่วมกับวัคซีนบาดทะยักและไอกรน 3-4 ครั้ง หลังจากนั้นควรได้รับวัคซีนคอตีบและบาดทะยักร่วมกันทุกๆ 10 ปี สามารถตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในเลือดเพื่อยืนยันการมีภูมิคุ้มกันได้ การรักษาทำได้โดยให้ยาปฏิชีวนะเช่นอีริโทรมัยซิน หรือเบนซิลเพนิซิลลิน ยาปฏิชีวนะเหล่านี้นอกจากใช้รักษาโรคแล้วยังใช้ป้องกันการเกิดโรคในผู้ที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อได้ด้วย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงบางรายอาจมีทางเดินหายใจอุดกั้นรุนแรงจนต้องรับการรักษาด้วยการเจาะคอ ในปี..

ใหม่!!: วัคซีนและโรคคอตีบ · ดูเพิ่มเติม »

โรคโปลิโอ

รคโปลิโอ (poliomyelitis, polio, infantile paralysis) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันซึ่งติดต่อจากคนสู่คนทางอุจจาระ-ปาก ชื่อนี้มาจากภาษากรีกว่า (πολιός) หมายถึง สีเทา, (µυελός) หมายถึงไขสันหลัง และคำอุปสรรค -itis หมายถึงการอักเสบ การติดเชื้อโปลิโอกว่า 90% จะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดยผู้ติดเชื้ออาจมีอาการได้หลายอย่างหากได้รับไวรัสเข้ากระแสเลือด ผู้ป่วย 1% จะมีการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทกลาง ทำให้เซลล์ประสาทสั่งการถูกทำลาย ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอัมพาตอ่อนเปียก ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรงได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดคือโปลิโอไขสันหลัง ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนแรงแบบไม่สมมาตรมักเป็นที่ขา โปลิโอก้านสมองส่วนท้ายทำให้เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทสมอง โปลิโอไขสันหลังและก้านสมองส่วนท้ายจะทำให้มีอาการร่วมกันทั้งการอัมพาตก้านสมองส่วนท้ายและไขสันหลัง โรคโปลิโอค้นพบครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: วัคซีนและโรคโปลิโอ · ดูเพิ่มเติม »

โรคไอกรน

รคไอกรน (pertussis) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อได้ง่ายมากโรคหนึ่ง อาการแรกเริ่มมักคล้ายคลึงกับหวัด โดยผู้ป่วยจะมีไข้ น้ำมูกไหล และไอเล็กน้อย จากนั้นจึงมีอาการไอรุนแรงต่อเนื่องหลายสัปดาห์ และมีไอเสียงสูงหรือหายใจเฮือกขณะจะมีอาการไอ อาการไอในระยะนี้อาจเป็นต่อเนื่องได้ถึง 10 สัปดาห์หรือมากกว่า บางครั้งจึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคไอ 100 วัน" ผู้ป่วยอาจมีอาการไอรุนแรงมากจนอาเจียน ซี่โครงหัก หรืออ่อนเพลียอย่างมากจากการไอได้ ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีอาจมีอาการไอเพียงเล็กน้อยหรือไม่ไอเลย แต่มีอาการหยุดหายใจชั่วขณะแทน ระยะฟักตัวของโรคนี้มักอยู่ที่ 7-10 วัน ผู้ที่รับวัคซีนแล้วก็อาจป่วยด้วยโรคนี้ได้ แต่อาการอาจรุนแรงน้อยกว.

ใหม่!!: วัคซีนและโรคไอกรน · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: วัคซีนและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชอุตสาหกรรม

ัชอุตสาหกรรม (Pharmaceutical industry) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเภสัชกรรมเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาครั้งละปริมาณมากๆ ซึ่งจะแตกต่างจากการปรุงยาในร้านขายยาสมัยก่อนที่ปรุงยาเฉพาะคนไข้แต่ละคน ในอุตสาหกรรมยาจะผลิตยาออกมาหลายรูปแบบขนาดยา (Dosage Forms) โดยแบ่งตามสถานะของยา แบ่งเป็น.

ใหม่!!: วัคซีนและเภสัชอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมอง(และไขสันหลัง)อักเสบ (meningitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังซึ่งเรียกรวมว่าเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพอื่นๆ และบางครั้งเกิดจากยาบางชนิด เป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเป็นการอักเสบที่อยู่ใกล้เนื้อสมองและไขสันหลัง ดังนั้นจึงเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะและคอแข็งเกร็งพร้อมกับมีไข้ สับสนหรือซึมลง อาเจียน ทนแสงจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ บางครั้งอาจมีเพียงอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการไม่สบายตัวหรือง่วงซึมได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากมีผื่นร่วมด้วยอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุเฉพาะบางอย่างของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย''เมนิงโกคอคคัส'' ซึ่งมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ แพทย์อาจเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยหรือแยกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำโดยใช้เข็มเจาะเข้าช่องสันหลังเพื่อนำเอาน้ำหล่อสมองไขสันหลังออกมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโดยทั่วไปทำโดยให้ยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่รุนแรง เช่น หูหนวก โรคลมชัก โพรงสมองคั่งน้ำ และสติปัญญาเสื่อมถ่อย โดยเฉพาะหากรักษาไม่ทันท่วงที เยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดอาจสามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส, ''ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา'' ชนิดบี, ''นิวโมคอคคัส'' หรือไวรัสคางทูม เป็นต้น.

ใหม่!!: วัคซีนและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

เอชไอวี

วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV). เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปิ้อน การติดเชิ้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปิ้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการหนึ่ง นับจากภายหลังแบล็กเดธที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก.

ใหม่!!: วัคซีนและเอชไอวี · ดูเพิ่มเติม »

เอดส์

หมวดหมู่:กลุ่มอาการ หมวดหมู่:โรคระบาดทั่ว หมวดหมู่:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมวดหมู่:ไวรัส หมวดหมู่:ภัยพิบัติทางการแพทย์ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อไวรัส หมวดหมู่:วิทยาไวรัส หมวดหมู่:จุลชีววิทยา.

ใหม่!!: วัคซีนและเอดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอดเวิร์ด เจนเนอร์

วาดของเอดเวิร์ด เจนเนอร์ เอดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner; 17 พฤษภาคม 2292 — 26 มกราคม 2366) เป็นแพทย์ชนบทชาวอังกฤษผู้ซึ่งศึกษาธรรมชาติและสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก และได้รับการฝึกหัดทางการแพทย์ที่เมืองเบอร์คเลย์ มณฑลกลอสเตอร์เชอร์ สหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงในฐานะแพทย์คนแรกที่ศึกษาและค้นพบวัคซีน เพื่อใช้ป้องกันโรคไข้ทรพิษ.

ใหม่!!: วัคซีนและเอดเวิร์ด เจนเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมี

มี (chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: วัคซีนและเคมี · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์บี

ี เซลล์ มีหน้าที่สังเคราะห์แอนติบอดี ที่ถูกกระตุ้นจากแอนติเจน บีเซลล์ (B lymphocyte, B cell) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซต์ ซึ่งเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารแปลกปลอมหรือแอนติเจนจะพัฒนาเป็นพลาสมาเซลล์ที่มีหน้าที่หลั่งแอนติบอดีมาจับกับแอนติเจน บีเซลล์มีแหล่งกำเนิดในร่างกายจากสเต็มเซลล์ ที่ชื่อว่า "Haematopoietic Stem cell" ที่ไขกระดูก พบครั้งแรกที่ไขกระดูกบริเวณก้นกบของไก่ ที่ชื่อว่า Bursa of Fabricius จึงใช้ชื่อว่า "บีเซลล์" (บางแห่งอ้างว่า B ย่อมาจาก Bone Marrow หรือไขกระดูกซึ่งเป็นที่กำเนิดของบีเซลล์ แต่นี่เป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้น) ในขณะที่ ลิมโฟไซต์อีกชนิด คือ ทีเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกที่ไขกระดูกบริเวณไทมัส จึงใช้ชื่อว่า "ทีเซลล์" บีเซลล์เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive Immune System).

ใหม่!!: วัคซีนและเซลล์บี · ดูเพิ่มเติม »

Staphylococcus

Staphylococcus (มาจากσταφυλή, staphylē, "พวงองุ่น" และ κόκκος, kókkos, "แกรนูล") เป็นสกุลของแบคทีเรียแกรมบวก เมื่อมองใต้กล้องจุลทรรศน์มีรูปร่างกลม และจัดตัวเป็นรูปคล้ายพวงองุ่น สกุล Staphylococcus ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 40 สปีชีส์ มีอยู่ 9 สปีชีส์ที่แบ่งได้สองสับสปีชีส์ และอีก 1 สปีชีส์ที่มีสามสับสปีชีส์ ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย พบที่ผิวหนังและสารเมือกของมนุษย์ และพบเป็นส่วนน้อยในดิน.

ใหม่!!: วัคซีนและStaphylococcus · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »