โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แพร่งนรา

ดัชนี แพร่งนรา

แพร่งนราด้านถนนอัษฎางค์ แพร่งนรา เป็นย่านการค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างวัดสุทัศน์เทพวรารามกับวัดมหรรณพาราม ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ อยู่ทางทิศเหนือของแพร่งภูธร และอยู่ทางทิศใต้ของแพร่งสรรพศาสตร์ บริเวณนี้เดิมคือ วังวรวรรณ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุลวรวรรณ ต่อมาวังนี้ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน ตามโครงการขยายความเจริญของพระนครในสมัยนั้น คงเหลือเพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ซึ่งต่อมาถูกปรับให้เป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา และมีการแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ขายให้แก่เอกชน ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกย่านนั้นว่า แพร่งนรา ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ปัจจุบัน แพร่งนราเป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารที่หลากหลายขึ้นชื่อและหลายประเภท เช่นเดียวกับแพร่งภูธร, ถนนตะนาว และถนนมหรรณพที่อยู่ใกล้เคียง ของขึ้นชื่อของที่นี่ ได้แก่ ลูกชิ้นหมูปิ้ง, ขนมหวานไทย, กล้วยปิ้ง และขนมเบื้อง.

13 ความสัมพันธ์: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์พินิจนครวัดมหรรณพารามวรวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารวังวรวรรณถนนมหรรณพถนนอัษฎางค์ถนนตะนาวขนมไทยขนมเบื้องแพร่งภูธรแพร่งสรรพศาสตร์โรงเรียนตะละภัฏศึกษา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวรวรรณากร เป็นพระบิดาแห่งการละครร้อง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ เจ้าจอมมารดาเขียน ทรง เป็นกวีและนักประพันธ์ ทรงเข้ารับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งรองเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงเป็นต้นราชสกุลวรวรรณ.

ใหม่!!: แพร่งนราและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

พินิจนคร

นิจนคร เป็นรายการสารประโยชน์ประเภทสารคดี ผลิตโดย บริษัท SANFAH television ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ทุกวันพุธเวลา 20.25 น. - 21.10 น.(เริ่มวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป) (เคยออกอากาศทุกวันจันทร์เวลา 20.20 - 21.10 น.) มี นิธิ สมุทรโคจร เป็นพิธีกร และออกอากาศซ้ำในวันเสาร์เวลา 11.05 น. - 12.00 น. (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป - พฤษภาคม) ส่วนที่ออกอากาศตั้งแต่เดือนตุลาคมออกอากาศซ้ำในวันอาทิตย์เวลา 11.05 น. - 12.00 น. รายการพินิจนคร มีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยและมาพินิจพิเคราะห์ให้เห็นว่าสถานที่เหล่านั้นมีความสำคัญกับคนไทยอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์เอาไว้ โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 จนถึง 27 เมษายน พ.ศ. 2552 และจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไปทุกคืนวันจันทร์เวลา 21.10 - 22.00 น.และย้ายวันออกอากาศเป็นวันอังคาร เวลาเดิม ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: แพร่งนราและพินิจนคร · ดูเพิ่มเติม »

วัดมหรรณพารามวรวิหาร

วัดมหรรณพารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยกรมหมื่นอุดมรัตนราษีที่มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าอรรณพ เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 หลังจากกรมหมื่นอุดมรัตนราษีได้สิ้นพระชนม์แล้ว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดมหรรณพาราม สถาปัตยกรรมภายในวัดมีทั้งแบบไทยและแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน หลังคาของพระอุโบสถไม่มีช่อฟ้า ใบระกา มีพระประธานปั้นด้วยปูน ลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระวิหารมีขนาดเท่ากับพระอุโบสถ รวมทั้งมีศิลปะแบบเดียวกัน มีพระพุทธรูปหล่อสมัยสุโขทัยนามว่า พระร่วงทองคำ ประดิษฐานอยู่ ปัจจุบันมี พระเทพสุตเมธี (บุญธรรม สุตธมฺโม) เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน.

ใหม่!!: แพร่งนราและวัดมหรรณพารามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวั.

ใหม่!!: แพร่งนราและวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วังวรวรรณ

ระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก วังวรวรรณ วังวรวรรณ หรือ วังแพร่งนรา เป็นวังที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุลวรวรรณ อยู่ทางทิศเหนือของวังสะพานช้างโรงสี ต่อมาวังนี้ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน ตามโครงการขยายความเจริญของพระนครในสมัยนั้น คงเหลือเพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ภายหลังเมื่อกรมพระนราธิปฯ ได้สิ้นพระชนม์แล้วก็ตก เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และได้ให้เช่าต่อเป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา(ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานทนายความตะละภัฏ และมีการแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ขายให้แก่เอกชน ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกย่านนั้นว่า แพร่งนรา ตามพระนามของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และเรียกถนนที่ตัดใหม่นั้นว่า ถนนแพร่งนร.

ใหม่!!: แพร่งนราและวังวรวรรณ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมหรรณพ

นนมหรรณพ (Thanon Mahannop) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตพระนคร ถนนมหรรณพเป็นถนนที่เชื่อมถนนตะนาวกับถนนดินสอไว้ด้วยกัน เป็นถนนสายสั้น ๆ โดยมีจุดเริ่มต้นที่ถนนดินสอบริเวณศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ไปสิ้นสุดที่ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี..

ใหม่!!: แพร่งนราและถนนมหรรณพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอัษฎางค์

นมอญ ถนนอัษฎางค์ (Thanon Atsadang) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้นในแบบตะวันตก หลังจากเสด็จประพาสชวา โดยทรงให้สร้างถนนริมกำแพงรอบพระนครใหม่ ซึ่งแต่เดิมเป็นทางเดินเล็ก ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแล้วเสร็จจึงพระราชทานนามว่า "ถนนอัษฎางค์" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติของ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถนนอัษฎางค์ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินใน ด้านสนามหลวง กับถนนจักรเพชร ด้านปากคลองตลาด โดยขนานไปกับคลองรอบกรุง หรือคลองหลอดวัดราชบพิธ และถนนราชินี ที่อยู่ฝั่งตรงกันข้าม ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงกลาโหม, สุสานหลวงวัดราชบพิธ, วัดบุรณศิริมาตยาราม เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว อาคารบ้านเรือนตลอดจนห้องแถวริมถนนอัษฎางค์ มีความสวยงามและควรค่าแก่การอนุรักษ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเก.

ใหม่!!: แพร่งนราและถนนอัษฎางค์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนตะนาว

นนตะนาวช่วงบางลำพู ใกล้ถนนข้าวสาร ถนนตะนาว (Thanon Tanao) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมืองที่สี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงศาลเจ้าพ่อเสือกับแขวงเสาชิงช้า ข้ามคลองหลอดวัดราชนัดดาเข้าสู่ท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ จากนั้นตัดข้ามถนนราชดำเนินกลางที่สี่แยกคอกวัว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดบวรนิเวศกับแขวงตลาดยอด จนไปจดแยกที่ถนนบวรนิเวศน์ ถนนสิบสามห้าง และถนนตานีบรรจบกัน แต่เดิมถนนตะนาวเป็นส่วนหนึ่งของถนนเฟื่องนครที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2406-2407 มีการสันนิษฐานว่าชื่อถนนตะนาวน่าจะตั้งตามชาวตะนาวศรีที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้มาตั้งถิ่นฐาน เรียกกันว่า ถนนบ้านตะนาวศรี ถนนบ้านตะนาวหรือถนนตะนาว ปัจจุบัน ถนนตะนาวเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ศาลเจ้าจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และยังได้รับความนับถือแม้กระทั่งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และยังเป็นแหล่งของร้านอาหารอร่อยที่ขึ้นชื่ออีกจำนวนมากเช่นเดียวกับถนนมหรรณพ, แพร่งภูธร และแพร่งนรา ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาและเย็นตาโฟ, ราดหน้าและหมูสะเต๊ะ, เผือกทอด, กวยจั๊บ บางร้านยังเป็นร้านที่ได้รับการแนะนำหรือบีบกูร์ม็องจากมิชลินไกด์อีกด้ว.

ใหม่!!: แพร่งนราและถนนตะนาว · ดูเพิ่มเติม »

ขนมไทย

นมไทยหลายชนิด อาทิ ทองหยอด, ทองหยิบ, ฝอยทอง ซึ่งเป็นขนมที่มีที่มาจากโปรตุเกส โดย ท้าวทองกีบม้า ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง.

ใหม่!!: แพร่งนราและขนมไทย · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเบื้อง

นมเบื้องไทย ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ มีหลักฐานกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง" ขนมเบื้องมีหลายแ.

ใหม่!!: แพร่งนราและขนมเบื้อง · ดูเพิ่มเติม »

แพร่งภูธร

ปากทางเข้าแพร่งภูธรด้านถนนอัษฎางค์ แลเห็นสุขุมาลอนามัย แพร่งภูธร เป็นย่านการค้าที่อยู่ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด เชิงสะพานช้างโรงสี เดิมคือ วังสะพานช้างโรงสี วังเหนือ อยู่ทางทิศใต้ของแพร่งนรา ซึ่งเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ ต้นราชสกุลไพฑูรย์ เมื่อกรมหมื่นสนิทนเรนทร์สิ้นพระชนม์ จึงเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา พระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา ต้นราชสกุลชุมแสง เมื่อกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานวังนี้เป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ต่อมาเมื่อเมื่อกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถว พระราชทานชื่อถนนย่านนั้นว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ปัจจุบัน ใจกลางแพร่งภูธรเป็นลานสาธารณะสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารที่มีชื่อเสียงจำนวนหลากหลายร้าน หลากหลายประเภท เช่น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ, บะหมี่และเกี๊ยว, ต้มสมองหมู, เปาะเปี๊ยะสด, ข้าวหมูแดง, ข้าวแกงกะหรี่เนื้อและสตูว์เนื้อ, ไอศกรีมแบบไทย, ขนมเบื้อง, ผัดไทย รวมถึงอาหารตามสั่ง เช่นเดียวกับถนนตะนาว, ถนนมหรรณพ และแพร่งนราที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งบางร้านยังมีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย สุขุมาลอนามัย ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: แพร่งนราและแพร่งภูธร · ดูเพิ่มเติม »

แพร่งสรรพศาสตร์

ซุ้มประตูวังสรรพสาตรศุภกิจ แพร่งสรรพศาสตร์ หรือ แพร่งสรรพสาตร เป็นย่านการค้าที่อยู่ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ อยู่ทางทิศเหนือของแพร่งนรา บริเวณนี้เดิมเป็น วังสรรพสาตรศุภกิจ เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต้นราชสกุลทองแถม ซึ่งก่อสร้างขึ้นอย่างวิจิตรบรรจงเมื่อ..

ใหม่!!: แพร่งนราและแพร่งสรรพศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนตะละภัฏศึกษา

อาคารโรงเรียนตะละภัฏศึกษา อาคารที่ตั้งเดิมของโรงละครปรีดาลัย ปัจจุบันปิดทำการแล้ว โรงเรียนตะละภัฏศึกษา เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 63 ถนนแพร่งนรา แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก 2 ชั้น เดิมเคยใช้เป็นโรงละครปรีดาลัย โรงละครที่จัดแสดงละครร้องโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างยิ่งในรัสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีบทละครที่ทรงประพันธ์เสร็จ ณ ที่นี่หลายเรื่อง รวมถึงเปิดแสดงด้วย เช่น สาวเครือฟ้า ที่ดัดแปลงมาจากบทอุปรากรเรื่อง Madame Butterfly ของคีตกวีชาวอิตาลี จาโกโม ปุชชีนี หรือ อีนากพระโขนง ที่ต่อเติมมาจากตำนานเมืองอันโด่งดังของแม่นากพระโขนง (สำหรับเรื่องนี้เมื่อทรงประพันธ์ ทรงใช้นามแฝงว่า "หมากพญา") ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเมื่อจัดแสดง ถึงกับมีการแสดงซ้ำต่อเนื่องกันถึง 24 คืน เป็นต้น โดยแต่เดิมโรงละครปรีดาลัย เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังวรวรรณ วังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของวังวรวรรณ ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน และอาคารพาณิชย์ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งปัจจุบันนี้คือ ถนนแพร่งนรา คงเหลือแต่อาคารโรงเรียนตะละภัฏศึกษา ประวัติของโรงเรียนตะละภัฏศึกษา เริ่มต้นหลังจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้ปลีกวิเวกไปใช้พระชนม์ชีพบั้นปลายที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่นั่น เมื่อปี..

ใหม่!!: แพร่งนราและโรงเรียนตะละภัฏศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วังแพร่งนราฯถนนแพร่งนรา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »