เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วังวรวรรณ

ดัชนี วังวรวรรณ

ระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก วังวรวรรณ วังวรวรรณ หรือ วังแพร่งนรา เป็นวังที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุลวรวรรณ อยู่ทางทิศเหนือของวังสะพานช้างโรงสี ต่อมาวังนี้ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน ตามโครงการขยายความเจริญของพระนครในสมัยนั้น คงเหลือเพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ภายหลังเมื่อกรมพระนราธิปฯ ได้สิ้นพระชนม์แล้วก็ตก เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และได้ให้เช่าต่อเป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา(ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานทนายความตะละภัฏ และมีการแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ขายให้แก่เอกชน ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกย่านนั้นว่า แพร่งนรา ตามพระนามของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และเรียกถนนที่ตัดใหม่นั้นว่า ถนนแพร่งนร.

สารบัญ

  1. 4 ความสัมพันธ์: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์วังสะพานช้างโรงสีแพร่งนราโรงเรียนตะละภัฏศึกษา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวรวรรณากร เป็นพระบิดาแห่งการละครร้อง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ เจ้าจอมมารดาเขียน ทรง เป็นกวีและนักประพันธ์ ทรงเข้ารับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งรองเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงเป็นต้นราชสกุลวรวรรณ.

ดู วังวรวรรณและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

วังสะพานช้างโรงสี

วังสะพานช้างโรงสี หรือ วังริมสะพานช้างโรงสี เป็นกลุ่มวังที่ประทับของเจ้านายในย่านถนนตะนาว และถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด เชิงสะพานช้างโรงสี ถัดไปทางทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง สร้างมาแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเป็นที่ประทับของเจ้านายมาอีกหลายพระองค์ต่อเนื่องกันมา จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย 2 วัง คือ.

ดู วังวรวรรณและวังสะพานช้างโรงสี

แพร่งนรา

แพร่งนราด้านถนนอัษฎางค์ แพร่งนรา เป็นย่านการค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างวัดสุทัศน์เทพวรารามกับวัดมหรรณพาราม ระหว่างถนนตะนาวกับถนนอัษฎางค์ อยู่ทางทิศเหนือของแพร่งภูธร และอยู่ทางทิศใต้ของแพร่งสรรพศาสตร์ บริเวณนี้เดิมคือ วังวรวรรณ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุลวรวรรณ ต่อมาวังนี้ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน ตามโครงการขยายความเจริญของพระนครในสมัยนั้น คงเหลือเพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ซึ่งต่อมาถูกปรับให้เป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา และมีการแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ขายให้แก่เอกชน ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกย่านนั้นว่า แพร่งนรา ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ปัจจุบัน แพร่งนราเป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารที่หลากหลายขึ้นชื่อและหลายประเภท เช่นเดียวกับแพร่งภูธร, ถนนตะนาว และถนนมหรรณพที่อยู่ใกล้เคียง ของขึ้นชื่อของที่นี่ ได้แก่ ลูกชิ้นหมูปิ้ง, ขนมหวานไทย, กล้วยปิ้ง และขนมเบื้อง.

ดู วังวรวรรณและแพร่งนรา

โรงเรียนตะละภัฏศึกษา

อาคารโรงเรียนตะละภัฏศึกษา อาคารที่ตั้งเดิมของโรงละครปรีดาลัย ปัจจุบันปิดทำการแล้ว โรงเรียนตะละภัฏศึกษา เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 63 ถนนแพร่งนรา แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก 2 ชั้น เดิมเคยใช้เป็นโรงละครปรีดาลัย โรงละครที่จัดแสดงละครร้องโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างยิ่งในรัสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีบทละครที่ทรงประพันธ์เสร็จ ณ ที่นี่หลายเรื่อง รวมถึงเปิดแสดงด้วย เช่น สาวเครือฟ้า ที่ดัดแปลงมาจากบทอุปรากรเรื่อง Madame Butterfly ของคีตกวีชาวอิตาลี จาโกโม ปุชชีนี หรือ อีนากพระโขนง ที่ต่อเติมมาจากตำนานเมืองอันโด่งดังของแม่นากพระโขนง (สำหรับเรื่องนี้เมื่อทรงประพันธ์ ทรงใช้นามแฝงว่า "หมากพญา") ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเมื่อจัดแสดง ถึงกับมีการแสดงซ้ำต่อเนื่องกันถึง 24 คืน เป็นต้น โดยแต่เดิมโรงละครปรีดาลัย เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังวรวรรณ วังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของวังวรวรรณ ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน และอาคารพาณิชย์ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งปัจจุบันนี้คือ ถนนแพร่งนรา คงเหลือแต่อาคารโรงเรียนตะละภัฏศึกษา ประวัติของโรงเรียนตะละภัฏศึกษา เริ่มต้นหลังจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้ปลีกวิเวกไปใช้พระชนม์ชีพบั้นปลายที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่นั่น เมื่อปี..

ดู วังวรวรรณและโรงเรียนตะละภัฏศึกษา