เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เอสคิลัส

ดัชนี เอสคิลัส

อสคีลัส (Aeschylus; Αἰσχύλος ไอส-คู-ลอส;; ราว 525/524 – 456/455 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชาวกรีกโบราณ และได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งโศกนาฏกรรม งานประพันธ์ของเอสคีลัสเป็นงานโศกนาฏกรรมชุดแรกสุดที่เหลือรอดมาจากยุคโบราณ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานประเภทนี้ในสมัยแรกเริ่ม ล้วนแต่ได้มาจากการอนุมานผ่านงานที่หลงเหลืออยู่ของท่าน เอสคีลัสจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์วรรณกรรมกรีกโบราณ อริสโตเติลให้เครดิตเอสคีลิสในฐานะเป็นศิลปินคนแรกที่ขยายจำนวนนักแสดงบนเวทีการละครของกรีก ทำให้สามารถนำเสนอความขัดแย้งระหว่างตัวละครได้ ในขณะที่ก่อนหน้านั้นการละครของกรีกมีแค่ตัวนักแสดงนำกับกลุ่มประสานเสียง (คอรัส) ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เอสคีลัสประพันธ์บทละครไว้ระหว่าง 70 ถึง 90 เรื่อง แต่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียง 7 เรื่อง หนึ่งในนั้น พันธนาการโพรมีเทียส (Prometheus Bound) ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องตัวตนของผู้ประพันธ์ (บ้างเชื่อว่า ยูฟอเรียน บุตรชายของเอสคีลัส เป็นผู้แต่งขึ้น) งานนาฎกรรมบทละครที่เอสคีลัสประพันธ์ขึ้น เป็นงานที่แต่งเพื่อเข้าแข่งขันในงานเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเทศกาลไดโอไนซัส ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูใบไม้ผลิ ที่เมืองไดโอไนเซีย (Dionysia) ซึ่งมีการแข่งขันสองรอบ คือ รอบแข่งขันงานโศกนาฏกรรม และรอบแข่งขันงานสุขนาฏกรรม (comedies) งานทั้งหมดที่เหลือรอดมาของเอสคิลัส ได้แก่ ชาวเปอร์เซีย, ศึกเจ็ดขุนพลชิงธีบส์, ดรุณีร้องทุกข์, ไตรภาคโศกนาฏกรรม โอเรสเตอา ประกอบด้วย: อะกาเมมนอน, ผู้ถือทักษิโณทก (the Libation Bearers), และ ยูเมนิดีส (the Eumenides) เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันละครโศกนาฏกรรม ที่เมืองไดโอไนเซียมาแล้วทั้งสิ้น เว้นก็แต่ พันธนาการโพรมีเทียส เท่านั้น นอกจากนี้เอสคิลัสอาจเป็นนาฏศิลปินเพียงท่านเดียว (เท่าที่ทราบ) ที่เคยนำเสนอละครเป็นโศกนาฏการมไตรภาค ละครเรื่อง โอเรสเตอา เป็นตัวอย่างเดียวของบทประพันธ์ไตรภาคที่หลงเหลือมาจากยุคโบราณ ในวัยหนุ่มเอสคีลัสเคยเป็นทหารที่ร่วมรบในสงครามระหว่างกรีซกับเปอร์เซียทั้งสองครั้ง ในตอนต้นของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ในปีที่ 490 ก่อน..

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียยุทธนาวีที่ซาลามิสวรรณกรรมกรีกโบราณจักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราชดาไรอัสมหาราชไดอะไนซัสเจลา

  2. ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย เกิดขึ้นในช่วงสงครามกรีก-เปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480–479 ก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราชต้องการพิชิตกรีซทั้งหมด หลังความพยายามครั้งแรกของจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช พระราชบิดา ในการบุกกรีซล้มเหลว เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเซอร์ซีสใช้เวลาหลายปีในการวางแผนและรวบรวมกำลังพล ส่วนฝ่ายกรีกนำทัพโดยเอเธนส์และสปาร์ตา ร่วมด้วยนครรัฐอื่น ๆ กว่า 70 แห่ง อย่างไรก็ตาม นครรัฐกรีกส่วนใหญ่วางตัวเป็นกลางหรือสวามิภักดิ์ต่อฝ่ายเปอร์เซีย การบุกครองเริ่มในฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 480 ก่อนคริสตกาล ทัพเปอร์เซียข้ามช่องแคบเฮลเลสปอนต์ (ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ในปัจจุบัน) ผ่านเธรซ มาซิดอนและเธสซาลี ก่อนจะพบกับกองทัพกรีก นำโดยพระเจ้าลีออนิดัสที่ 1 ที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี ในขณะที่ทัพเรือเปอร์เซียถูกทัพเรือกรีกปิดกั้นไว้ที่ช่องแคบอาร์เตมิเซียม ทัพของพระเจ้าลีออนิดัสต้านทานทัพเปอร์เซียได้นาน 7 วันก่อนจะพ่ายแพ้ ส่วนทัพเรือกรีกต้านทานทัพเรือเปอร์เซียได้นาน 2 วัน ก่อนจะล่าถอยไปที่เกาะซาลามิส เมื่อทราบข่าวความพ่ายแพ้ที่เทอร์มอพิลี ชัยชนะที่เทอร์มอพิลีทำให้บีโอเชียและแอตติกาตกเป็นของเปอร์เซีย ทัพเปอร์เซียยกไปถึงเอเธนส์และเผาเมือง ในขณะที่ทัพกรีกวางกำลังที่คอคอดคอรินท์เพื่อปกป้องคาบสมุทรเพโลพอนนีส เธมิสโตคลีส แม่ทัพชาวเอเธนส์ล่อทัพเรือเปอร์เซียให้เข้ามาในช่องแคบแซลามิสก่อนจะให้ทัพเรือกรีกโจมตี ชัยชนะของฝ่ายกรีกในยุทธนาวีที่ซาลามิสทำให้การบุกครองของเปอร์เซียชะงัก จักรพรรดิเซอร์ซีสสั่งถอนทัพกลับเอเชีย โดยปล่อยให้แม่ทัพมาร์โดเนียสและทหารฝีมือดีทำสงครามต่อ ในปีที่ 479 ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกรวบรวมทัพฮอปไลต์จำนวนมากที่สุดแล้วยกทัพขึ้นเหนือ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่เมืองพลาเทีย โดยทัพกรีกเป็นฝ่ายชนะ สังหารแม่ทัพมาร์โดเนียสและปลดปล่อยบีโอเชียและแอตติกา ในวันเดียวกัน ทัพเรือกรีกทำลายกองเรือเปอร์เซียในยุทธนาวีที่มิเคลี ชัยชนะสองครั้งในวันเดียวทำให้การบุกครองสิ้นสุด ส่งผลให้อำนาจของเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลดน้อยลง ต่อมาทัพกรีกได้โต้กลับและขับไล่เปอร์เซียออกจากหมู่เกาะอีเจียนและไอโอเนีย ระหว่างปีที่ 479–478 ก่อนคริสตกาล.

ดู เอสคิลัสและการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย

ยุทธนาวีที่ซาลามิส

การรุกรานครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย ยุทธนาวีที่ซาลามิส (Ναυμαχία τῆς Σαλαμῖνος, เนามาเคีย แตส ซาลามินอส) เป็นยุทธนาวีระหว่างฝ่ายพันธมิตรนครรัฐกรีก ภายใต้การนำของเธมิสโตคลีส กับจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้จักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราช เมื่อ ปีที่ 480 ก่อนคริสต์ศักราช โดยฝ่ายกรีกที่จำนวนเรือรบน้อยกว่าได้รับชัยชนะแบบเด็ดขาด ยุทธนาวีนี้เกิดขึ้นที่ช่องแคบระหว่างดินแดนใหญ่ของกรีซ กับเกาะซาลามิสในอ่าวซาโรนิค ใกล้กรุงเอเธนส์ และถือเป็นจุดสูงสุดของการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย ในการทัพรุกรานกรีกครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย กองกำลังเล็กๆของกรีก นำโดยทหารสปาร์ตา เข้าขวางทางเดินทัพของเปอร์เซียที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี (Thermopylae) ในขณะที่กองกำลังพันธมิตรทางนาวี ประกอบด้วยกองเรือของเอเธนส์เป็นหลัก เข้าปะทะกองเรือเปอร์เซียน ที่ช่องแคบอาร์เตมีเซียม (Artemisium) ห่างออกไปไม่ไกล กองกำลังระวังหลังของกรีกถูกสังหารหมดสิ้นในยุทธการที่เทอร์มอพิลี ในขณะที่ฝ่ายพันธมิตรกรีกในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม ก็ได้รับความเสียหายหนัก และต้องถอยกลับไปเมื่อช่องเขาเทอร์มอพิลีเสียให้แก่ข้าศึก ทัพเปอร์เซียจึงสามารถเข้ายึดครองบีโอเชีย (Boeotia, Βοιωτία, บอยยอเทีย) และแอตทิกาได้ เมืองเอเธนส์ถูกกองทัพเปอร์เชียเผาราบ ประชาชนต้องอพยพทิ้งเมือง แต่กำลังฝ่ายพันธมิตรกรีกสามารถเข้าป้องกันคอคอดคอรินท์ ซึ่งเชื่อมแอตทิกากับเพโลพอนนีสไว้ได้ ระหว่างนั้นทัพเรือของกรีกถูกถอยไปใช้เกาะซาลามิสเป็นฐานปฏิบัติการ แม้ว่ากำลังทางนาวีของกรีกจะน้อยกว่าเปอร์เซียมาก แต่เธมิสโตคลีสแม่ทัพชาวเอเธนส์ สามารถหว่างล้อมให้กองกำลังพันธมิตรเข้าทำศึกกับทัพเรือเปอร์เซียอีกครั้ง โดยหวังว่าชัยชนะจะป้องกันคาบสมุทรเพโลพอนนีสอันเป็นแผ่นดินใหญของกรีกไว้ได้ พระเจ้าเซอร์ซีสกษัตริย์เปอร์เซีย ทรงกระหายจะได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเช่นกัน ทำให้ติดกับแผนลวงพรางของเธมิสโตคลีส ซึ่งล่อทัพเรือของเปอร์เซียให้ออกมาปิดกั้นทางเข้า-ออกของช่องแคบซาลามิส แต่ด้วยสภาพที่คับแคบของพื้นที่ ทัพเรือใหญ่ของเปอร์เซียไม่อาจแปรขบวนได้และตกอยู่ในสภาพขาดระเบียบ กองเรือพันธมิตรกรีกฉวยโอกาสจัดแถวเป็นแนวประจัญบานเข้าโจมตีและได้รับชัยชนะแบบพลิกความคาดหมาย ยุทธนาวีที่ซาลามิสกลายเป็นการรบที่มีความสำคัญต่ออารยธรรมกรีกในระดับเดียวกับ ยุทธการที่มาราธอน และยุทธการที่เทอมอพิลี โดยเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามกรีก-เปอร์เซีย หลังยุทธการซาลามิส คาบสมุทรเพโลพอนนีสและอารยธรรมกรีก ก็ปลอดภัยจากการรุกรานของเปอร์เซีย ในขณะที่อาณาจักรเปอร์เซียต้องสูญเสียทรัพยากรมหาศาล ขวัญกำลังใจตกต่ำ และเสียความน่าเกรงขาม หลังการศึกในยุทธการที่พลาตีอา (Πλάταια) และยุทธการที่มิกาลี (Μυκάλη) ทัพของเปอร์เซียก็ไม่เป็นภัยคุกคามอีกต่อไป ฝ่ายพันธมิตรกรีกจึงรุกกลับได้ และยังส่งผลให้อาณาจักรมาเซดอนลุกฮือเพื่อปลดแอกตนเองจากการปกครองของเปอร์เซีย โดยเธรซ หมู่เกาะในทะเลอีเจียน และไอโอเนีย จะทยอยหลุดจากความควบคุมของเปอร์เซียในอีกสามสิบปีต่อมา เนื่องจากการเกิดขึ้นของสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำโดยเอเธนส์ Achilleas Vasileiou ยุทธนาวีที่ซาลามิสจึงนับว่าเป็นการเปลี่ยนสมการของอำนาจให้มาอยู่ที่ฝ่ายกรีก โดยลดอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลงอย่างเฉียบพลัน พร้อมๆกับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งความมั่งคั่ง และความเป็นมหาอำนาจทางทะเลของจักรวรรดิเอเธน.

ดู เอสคิลัสและยุทธนาวีที่ซาลามิส

วรรณกรรมกรีกโบราณ

หน้ากระดาษจากหนังสือเรื่อง ''งานและวัน'' ของเฮสิโอด ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1539 วรรณกรรมกรีกโบราณ คือ วรรณคดีที่เขียนด้วยภาษากรีกโบราณ ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีการจารึกเป็นภาษากรีกต่อมาจนถึงสมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์ งานวรรณคดีภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือตกทอดมา คือ มหากาพย์สองเรื่องที่กวีโฮเมอร์รจนาขึ้นในยุคอาร์เคอิก หรือประมาณศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้แก่ อีเลียด และโอดิสซี ซึ่งเล่าเหตุการที่เกิดขึ้นในยุคขุนศึกของอารยธรรมไมซีนี มหากาพย์สองเรื่องนี้ กับงานเขียนร้อยกรองในยุคเดียวกัน ได้แก่ เพลงสวดโฮเมอริค (Homeric Hymns) และบทกวีอีกสองเรื่องของเฮสิโอด คือ ธีออโกนี (Theogony) และ งานและวัน (works and days) ถือได้ว่าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและรากฐานของธรรมเนียมทางวรรณกรรมของชาวกรีก สืบต่อไปถึงยุคคลาสสิค, สมัยอารยธรรมเฮเลนิสติก และยังเป็นรากฐานให้กับวรรณคดีของชาวโรมันอีกด้วย งานวรรณกรรมกรีกโบราณ เริ่มต้นขึ้นจากบทกวีขับร้องประกอบการเล่นดนตรีอย่างเช่น มหากาพย์ของโฮเมอร์ และบทกวีไลริค (lyric poetry) ซึ่งมีกวีนามอุโฆษ เช่น แซพโพ อัลซีอัส และพินดาร์ เป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลในช่วงยุคบุกเบิกของศิลปะทางกวีนิพนธ์ ต่อมามีการพัฒนาศิลปะการละครขึ้น งานนาฏกรรมบทละครที่ตกทอดมาได้แก่ของ เอสคิลัส (ราว 525-456 ก.คริสต์) ซอโฟคลีส (497-406 ก.คริสต์) ยูริพิดีส (480-406 ก.คริสต์) และอริสโตฟานีส (446-436 ก.คริสต์) ในบรรดานาฏศิลปินทั้งสี่ เอสคิลัสเป็นนักประพันธ์ละครคนแรกสุดที่มีงานตกทอดมาถึงเราอย่างสมบูรณ์ ซอโฟคลีสเป็นนักแต่งบทละครที่มีชื่อเสียงจากงานโศกนาฏกรรมไตรภาคเกี่ยวกับอีดิปัส โดยเฉพาะเรื่องพระเจ้าอีดิปัส (Oedipus Rex) และแอนติโกเน่ฯ ยูริพิดีสมีชื่อเสียงจากการสร้างงานประพันธ์ที่พยายามท้าทายขอบเขตของโศกนาฏกรรม ส่วนนักประพันธ์สุขนาฏกรรม (หรือ หัสนาฏกรรม) อริสโตฟานีสมีปรีชาสามารถในสาขางานสุขนาฏกรรมแบบดั้งเดิม (old comedy) ในขณะที่เมแนนเดอร์เป็นผู้บุกเบิกสุขนาฏกรรมใหม่ ภาพวาดจากซีนในบทสนทนา ซิมโพเซียม (ปรัชญาว่าด้วยความรัก) ของเพลโต (Anselm Feuerbach, 1873) สำหรับงานร้อยแก้วมีเฮโรโดตัส และธิวซิดิดีส เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกรีซในช่วงศตวรรษที่ 5 (และความเป็นมาก่อนหน้านั้น) ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งสองท่านมีชีวิตอยู่ เพลโตถ่ายทอดความคิดเชิงปรัชญาผ่านบทสนทนา ซึ่งมีโสเครตีสผู้เป็นอาจารย์ของท่านเป็นจุดศูนย์กลาง ในขณะที่อริสโตเติ้ลลูกศิษย์ของเพลโตบุกเบิกสาขาปรัชญาใหม่ๆ รวมทั้งพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง รวมทั้งการจำแนกหมวดหมู่สัตว์ และทฤษฎีทางกลศาสตร์ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่สังคมตะวันตกยึดถือกันต่อมาอีกเกือบสองพันปีจนกระทั่งถูกเปลี่ยนแปลงในสมัยของไอแซก นิวตัน.

ดู เอสคิลัสและวรรณกรรมกรีกโบราณ

จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช

ักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช (Xerxes the Great) หรือ จักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1 (Xerxes I; 519 – 465 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช เมื่อพระราชบิดาสวรรคตเมื่อ 485 ปีก่อน..

ดู เอสคิลัสและจักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช

ดาไรอัสมหาราช

ระเจ้าดาไรอัสที่ 1 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ดาไรอัสมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์เปอร์เซียองค์ที่ 2 ต่อจาก พระเจ้าไซรัสมหาราช เป็นพระโอรสของเจ้าชายองค์หนึ่งใน ราชวงศ์อคีเมนียะห์ โดยทรงครองราชย์เมื่อ 522 ปี ก่อน..

ดู เอสคิลัสและดาไรอัสมหาราช

ไดอะไนซัส

อะไนซัส (Dionysus, /daɪ.əˈnaɪsəs/; Διόνυσος, Dionysos) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวองุ่น การทำไวน์และไวน์ ความบ้าคลั่งทางพิธีกรรมและปีติศานติ์ในเทพปกรณัมกรีก พระนามของพระองค์ในแผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บี แสดงว่าชาวกรีกไมซีเนียนอาจมีการบูชาพระองค์ตั้งแต่ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน..

ดู เอสคิลัสและไดอะไนซัส

เจลา

หาดเมืองเจลา เจลา (Gela) เป็นเมืองหนึ่งในจังหวัดกัลตานิสเซตตา แคว้นปกครองตนเองซิซิลี มีฐานะเป็นเทศบาล (comune) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกัลตานิสเซตตาซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดประมาณ 84 กิโลเมตร เมืองเจลามีประชากร 77,051 คน (มิถุนายน 2551) ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่าเมืองหลวงของจังหวัด และมีพื้นที่ 276 ตารางกิโลเมตร เมืองเจลาเป็นเมืองท่าและเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญ อุตสาหกรรมหนึ่งที่สำคัญมากก็คือที่นี่มีโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม.

ดู เอสคิลัสและเจลา

ดูเพิ่มเติม

ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล