เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ยุทธนาวีที่ซาลามิส

ดัชนี ยุทธนาวีที่ซาลามิส

การรุกรานครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย ยุทธนาวีที่ซาลามิส (Ναυμαχία τῆς Σαλαμῖνος, เนามาเคีย แตส ซาลามินอส) เป็นยุทธนาวีระหว่างฝ่ายพันธมิตรนครรัฐกรีก ภายใต้การนำของเธมิสโตคลีส กับจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้จักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราช เมื่อ ปีที่ 480 ก่อนคริสต์ศักราช โดยฝ่ายกรีกที่จำนวนเรือรบน้อยกว่าได้รับชัยชนะแบบเด็ดขาด ยุทธนาวีนี้เกิดขึ้นที่ช่องแคบระหว่างดินแดนใหญ่ของกรีซ กับเกาะซาลามิสในอ่าวซาโรนิค ใกล้กรุงเอเธนส์ และถือเป็นจุดสูงสุดของการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย ในการทัพรุกรานกรีกครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย กองกำลังเล็กๆของกรีก นำโดยทหารสปาร์ตา เข้าขวางทางเดินทัพของเปอร์เซียที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี (Thermopylae) ในขณะที่กองกำลังพันธมิตรทางนาวี ประกอบด้วยกองเรือของเอเธนส์เป็นหลัก เข้าปะทะกองเรือเปอร์เซียน ที่ช่องแคบอาร์เตมีเซียม (Artemisium) ห่างออกไปไม่ไกล กองกำลังระวังหลังของกรีกถูกสังหารหมดสิ้นในยุทธการที่เทอร์มอพิลี ในขณะที่ฝ่ายพันธมิตรกรีกในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม ก็ได้รับความเสียหายหนัก และต้องถอยกลับไปเมื่อช่องเขาเทอร์มอพิลีเสียให้แก่ข้าศึก ทัพเปอร์เซียจึงสามารถเข้ายึดครองบีโอเชีย (Boeotia, Βοιωτία, บอยยอเทีย) และแอตทิกาได้ เมืองเอเธนส์ถูกกองทัพเปอร์เชียเผาราบ ประชาชนต้องอพยพทิ้งเมือง แต่กำลังฝ่ายพันธมิตรกรีกสามารถเข้าป้องกันคอคอดคอรินท์ ซึ่งเชื่อมแอตทิกากับเพโลพอนนีสไว้ได้ ระหว่างนั้นทัพเรือของกรีกถูกถอยไปใช้เกาะซาลามิสเป็นฐานปฏิบัติการ แม้ว่ากำลังทางนาวีของกรีกจะน้อยกว่าเปอร์เซียมาก แต่เธมิสโตคลีสแม่ทัพชาวเอเธนส์ สามารถหว่างล้อมให้กองกำลังพันธมิตรเข้าทำศึกกับทัพเรือเปอร์เซียอีกครั้ง โดยหวังว่าชัยชนะจะป้องกันคาบสมุทรเพโลพอนนีสอันเป็นแผ่นดินใหญของกรีกไว้ได้ พระเจ้าเซอร์ซีสกษัตริย์เปอร์เซีย ทรงกระหายจะได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเช่นกัน ทำให้ติดกับแผนลวงพรางของเธมิสโตคลีส ซึ่งล่อทัพเรือของเปอร์เซียให้ออกมาปิดกั้นทางเข้า-ออกของช่องแคบซาลามิส แต่ด้วยสภาพที่คับแคบของพื้นที่ ทัพเรือใหญ่ของเปอร์เซียไม่อาจแปรขบวนได้และตกอยู่ในสภาพขาดระเบียบ กองเรือพันธมิตรกรีกฉวยโอกาสจัดแถวเป็นแนวประจัญบานเข้าโจมตีและได้รับชัยชนะแบบพลิกความคาดหมาย ยุทธนาวีที่ซาลามิสกลายเป็นการรบที่มีความสำคัญต่ออารยธรรมกรีกในระดับเดียวกับ ยุทธการที่มาราธอน และยุทธการที่เทอมอพิลี โดยเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามกรีก-เปอร์เซีย หลังยุทธการซาลามิส คาบสมุทรเพโลพอนนีสและอารยธรรมกรีก ก็ปลอดภัยจากการรุกรานของเปอร์เซีย ในขณะที่อาณาจักรเปอร์เซียต้องสูญเสียทรัพยากรมหาศาล ขวัญกำลังใจตกต่ำ และเสียความน่าเกรงขาม หลังการศึกในยุทธการที่พลาตีอา (Πλάταια) และยุทธการที่มิกาลี (Μυκάλη) ทัพของเปอร์เซียก็ไม่เป็นภัยคุกคามอีกต่อไป ฝ่ายพันธมิตรกรีกจึงรุกกลับได้ และยังส่งผลให้อาณาจักรมาเซดอนลุกฮือเพื่อปลดแอกตนเองจากการปกครองของเปอร์เซีย โดยเธรซ หมู่เกาะในทะเลอีเจียน และไอโอเนีย จะทยอยหลุดจากความควบคุมของเปอร์เซียในอีกสามสิบปีต่อมา เนื่องจากการเกิดขึ้นของสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำโดยเอเธนส์ Achilleas Vasileiou ยุทธนาวีที่ซาลามิสจึงนับว่าเป็นการเปลี่ยนสมการของอำนาจให้มาอยู่ที่ฝ่ายกรีก โดยลดอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลงอย่างเฉียบพลัน พร้อมๆกับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งความมั่งคั่ง และความเป็นมหาอำนาจทางทะเลของจักรวรรดิเอเธน.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 18 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 64พลูทาร์กการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียราชอาณาจักรมาเกโดนีอาสงครามกรีก-เปอร์เซียสปาร์ตาจักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราชจักรวรรดิอะคีเมนิดทะเลอีเจียนคอคอดคอรินท์คัลซีสนครรัฐโกรโตเนไอโอเนียเพโลพอนนีสเอเธนส์เธมิสโตคลีสเธรซ

  2. 480 ปีก่อนคริสตกาล

พ.ศ. 64

ทธศักราช 64 ใกล้เคียงกับ ก่อน คริสต์ศักราช 480.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและพ.ศ. 64

พลูทาร์ก

ลูทาร์ก (Plutarch) เมื่อเกิดมีชื่อว่า ปลูตาร์โคส (Πλούταρχος) ต่อมาเมื่อเป็นพลเมืองโรมันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลูกิอุส แม็สตริอุส ปลูตาร์คุส (Lvcivs Mestrivs Plvtarchvs; ราว ค.ศ.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและพลูทาร์ก

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย เกิดขึ้นในช่วงสงครามกรีก-เปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480–479 ก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราชต้องการพิชิตกรีซทั้งหมด หลังความพยายามครั้งแรกของจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช พระราชบิดา ในการบุกกรีซล้มเหลว เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเซอร์ซีสใช้เวลาหลายปีในการวางแผนและรวบรวมกำลังพล ส่วนฝ่ายกรีกนำทัพโดยเอเธนส์และสปาร์ตา ร่วมด้วยนครรัฐอื่น ๆ กว่า 70 แห่ง อย่างไรก็ตาม นครรัฐกรีกส่วนใหญ่วางตัวเป็นกลางหรือสวามิภักดิ์ต่อฝ่ายเปอร์เซีย การบุกครองเริ่มในฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 480 ก่อนคริสตกาล ทัพเปอร์เซียข้ามช่องแคบเฮลเลสปอนต์ (ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ในปัจจุบัน) ผ่านเธรซ มาซิดอนและเธสซาลี ก่อนจะพบกับกองทัพกรีก นำโดยพระเจ้าลีออนิดัสที่ 1 ที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี ในขณะที่ทัพเรือเปอร์เซียถูกทัพเรือกรีกปิดกั้นไว้ที่ช่องแคบอาร์เตมิเซียม ทัพของพระเจ้าลีออนิดัสต้านทานทัพเปอร์เซียได้นาน 7 วันก่อนจะพ่ายแพ้ ส่วนทัพเรือกรีกต้านทานทัพเรือเปอร์เซียได้นาน 2 วัน ก่อนจะล่าถอยไปที่เกาะซาลามิส เมื่อทราบข่าวความพ่ายแพ้ที่เทอร์มอพิลี ชัยชนะที่เทอร์มอพิลีทำให้บีโอเชียและแอตติกาตกเป็นของเปอร์เซีย ทัพเปอร์เซียยกไปถึงเอเธนส์และเผาเมือง ในขณะที่ทัพกรีกวางกำลังที่คอคอดคอรินท์เพื่อปกป้องคาบสมุทรเพโลพอนนีส เธมิสโตคลีส แม่ทัพชาวเอเธนส์ล่อทัพเรือเปอร์เซียให้เข้ามาในช่องแคบแซลามิสก่อนจะให้ทัพเรือกรีกโจมตี ชัยชนะของฝ่ายกรีกในยุทธนาวีที่ซาลามิสทำให้การบุกครองของเปอร์เซียชะงัก จักรพรรดิเซอร์ซีสสั่งถอนทัพกลับเอเชีย โดยปล่อยให้แม่ทัพมาร์โดเนียสและทหารฝีมือดีทำสงครามต่อ ในปีที่ 479 ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกรวบรวมทัพฮอปไลต์จำนวนมากที่สุดแล้วยกทัพขึ้นเหนือ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่เมืองพลาเทีย โดยทัพกรีกเป็นฝ่ายชนะ สังหารแม่ทัพมาร์โดเนียสและปลดปล่อยบีโอเชียและแอตติกา ในวันเดียวกัน ทัพเรือกรีกทำลายกองเรือเปอร์เซียในยุทธนาวีที่มิเคลี ชัยชนะสองครั้งในวันเดียวทำให้การบุกครองสิ้นสุด ส่งผลให้อำนาจของเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลดน้อยลง ต่อมาทัพกรีกได้โต้กลับและขับไล่เปอร์เซียออกจากหมู่เกาะอีเจียนและไอโอเนีย ระหว่างปีที่ 479–478 ก่อนคริสตกาล.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

สงครามกรีก-เปอร์เซีย

งครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา เพื่อป้องกันการกบฏครั้งใหม่และการแทรกแซง รวมถึงลงโทษการกระทำของเอเธนส์และอีรีเทรีย จักรพรรดิดาไรอัสจึงทำสงครามต่อเพื่อพิชิตกรีซทั้งหมด ฝ่ายเปอร์เซียเริ่มบุกกรีซในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล และประสบความสำเร็จในการยึดเธรซและมาซิดอน ต่อมาในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียข้ามทะเลอีเจียน ยึดซิคละดีสและทำลายอีรีเทรีย แต่พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเอเธนส์ในยุทธการที่มาราธอน เมื่อจักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล เซอร์ซีส พระราชโอรส ได้นำกำลังบุกกรีซอีกครั้ง ชัยชนะที่ช่องเขาเทอร์มอพิลีทำให้ฝ่ายเปอร์เซียสามารถยึดและเผาทำลายเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม กองเรือเปอร์เซียพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธนาวีที่ซาลามิส และปีต่อมาพ่ายแพ้ในยุทธการที่พลาตีอา จึงเป็นการสิ้นสุดการบุกครองของฝ่ายเปอร์เซีย หลังจากนั้นกองทัพกรีกฉวยโอกาสนำกองเรือเข้าโจมตีฝ่ายเปอร์เซียต่อในยุทธนาวีที่มิเคลีและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเซสทอสและบิแซนเทียม การกระทำของแม่ทัพพอสซาเนียสในยุทธการที่บิแซนเทียมทำให้เกิดความบาดหมางในหมู่นครรัฐกรีกและสปาร์ตาและก่อให้เกิด "สันนิบาตดีเลียน" ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านฝ่ายเปอร์เซียที่นำโดยเอเธนส์ ฝ่ายสันนิบาตทำสงครามกับฝ่ายเปอร์เซียต่อเป็นเวลา 30 ปี หลังชัยชนะที่แม่น้ำยูรีมีดอนในปีที่ 466 ก่อนคริสตกาล เมืองในภูมิภาคไอโอเนียก็เป็นอิสระจากเปอร์เซีย แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายสันนิบาตในการกบฏที่อียิปต์ทำให้การสงครามกับเปอร์เซียหยุดชะงัก การรบครั้งต่อ ๆ มาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งชี้ว่าในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาล ทั้งสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัส ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและสงครามกรีก-เปอร์เซีย

สปาร์ตา

แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและสปาร์ตา

จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช

ักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช (Xerxes the Great) หรือ จักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1 (Xerxes I; 519 – 465 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช เมื่อพระราชบิดาสวรรคตเมื่อ 485 ปีก่อน..

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและจักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและจักรวรรดิอะคีเมนิด

ทะเลอีเจียน

แผนที่ตำแหน่งทะเลอีเจียน ทะเลอีเจียน (Aegean Sea) เป็นทะเลที่ติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อยู่ระหว่างประเทศกรีซกับตุรกี ทางด้านตะวันออกของกรีก เป็นแหล่งอารยธรรมของโลกสมัยหนึ่ง.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและทะเลอีเจียน

คอคอดคอรินท์

ณะแล่นเรือทะลุคอคอดคอรินท์ โดยใช้คลองคอรินท์ คอคอดคอรินท์ (Isthmus of Corinth) เป็นผืนดินแคบ ๆ ซึ่งเชื่อมระหว่างเพโลพอนนีสและส่วนที่เหลือของกรีซแผ่นดินใหญ่ ใกล้กับเมืองคอรินท์ มีอาณาเขตติดต่อกับอ่าวคอรินท์ทางตะวันตก และอ่าวซาโรนิกทางตะวันออก นับตั้งแต..

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและคอคอดคอรินท์

คัลซีส

มืองคัลซีส คัลซีส หรือ คัลคิดา (กรีกสมัยใหม่: Χαλκίδα; Chalcis, Chalkida) เป็นเมืองบนเกาะยูบีอา ในจังหวัดยูบีอา ประเทศกรีซ ตั้งอยู่ริมช่องแคบเอวรีพอส เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญตั้งแต่ประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นส่วนหนึ่งของกรีซตั้งแต..

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและคัลซีส

นครรัฐ

โมนาโก ถือเป็นนครรัฐแห่งหนึ่ง นครรัฐ (city state) คือภูมิภาคที่ควบคุมโดยสมบูรณ์โดยเมืองเพียงเมืองเดียว ส่วนใหญ่จะมีเอกราช โดยประวัติศาสตร์แล้ว นครรัฐมักจะเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ใหญ่กว่า ดังเช่นนครรัฐในกรีกโบราณ (เช่น เอเธนส์ สปาร์ตา และโครินธ์) เมืองในเอเชียกลางตามเส้นทางสายไหม นครรัฐในอิตาลีเหนือ (โดยเฉพาะ ฟลอเรนซ์และเวนิซ) ปัจจุบันประเทศที่เป็นนครรัฐมีอยู่ทั้งหมด 3 ประเทศ คือ สาธารณรัฐสิงคโปร์, ราชรัฐโมนาโก และนครรัฐวาติกัน แต่บางแห่งก็ถูกจัดว่าเป็นนครรัฐด้วย อาทิ สาธารณรัฐมอลตา สาธารณรัฐซานมารีโนMogens, Hansen.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและนครรัฐ

โกรโตเน

กรโตเน (Crotone) เป็นเมืองในแคว้นคาลาเบรีย ประเทศอิตาลี ริมอ่าวตารันโต ทะเลไอโอเนียน ก่อตั้งเมื่อประมาณ 710 ปีก่อนคริสต์ศักราช เริ่มแรกเป็นอาณานิคมที่ก่อตั้งขึ้นโดยพวกกรีก หรือชาวอะเคียน (Achaeans) ชาวกรีกโบราณเรียกเมืองนี้ว่า "โครตอน" Κρότων เริ่มใช้ชื่อโกโตรเนตั้งแต่ยุคกลาง จนถึงปี..

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและโกรโตเน

ไอโอเนีย

อโอเนีย (ภาษากรีกโบราณ: Ἰωνία หรือ Ἰωνίη, Ionia) หรือเยาวนะ เป็นภูมิภาคโบราณที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งทะเลอานาโตเลียในประเทศตุรกีปัจจุบัน ไอโอเนียเป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ติดกับอิซเมียร์ที่เดิมคือสเมอร์น.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและไอโอเนีย

เพโลพอนนีส

มุทรเพโลพอนนีส เพโลพอนนีส (Πελοπόννησος, Peloponnese หรือ Peloponnesus) เดิมเรียกว่า "มอเรีย" เป็นคาบสมุทรใหญ่ (หรือเกาะ หลังจากการตัดคลองคอรินท์ ซึ่งแยกเพโลพอนนีสออกจากส่วนที่เหลือของกรีซแผ่นดินใหญ่) ทางตอนใต้ของประเทศกรีซทางตอนใต้ของอ่าวคอรินท์ ที่มีเนื้อที่ทั้งหมดราว 21,549 ตารางกิโลเมตร คาบสมุทรเพโลโพนีสแบ่งเป็นเขตการปกครองสามเขต (periphery) เขตเพโลโพนีส ส่วนหนึ่งของกรีซตะวันตก และเขตอัตติกา เมื่อขุดคลองคอรินท์ในปี ค.ศ.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและเพโลพอนนีส

เอเธนส์

อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและเอเธนส์

เธมิสโตคลีส

มิสโตคลีส หรือ เธมิสโตเคลส (Themistocles; Θεμιστοκλῆς เธ-มิส-ตอ-แคลส; "ชัยชนะแห่งกฎหมาย") c. 524–459 BC) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพชาวเอเธนส์ เธมิสโตคลีสเป็นนักการเมืองสายพันธ์ใหม่ของเอเธนส์ในยุคที่ประชาธิปไตยก่อตัว โดยไม่ได้มาจากครอบครัวชนชั้นสูง โดยเขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองประชานิยมที่มีฐานเสียงเป็นพลเมืองชั้นล่างของเอเธนส์ และมักขัดแย้งกับอภิสิทธิชนในเอเธนส์ เธมิสโตคลีสถูกเลือกให้เป็น อาร์คอน (กรีก: ἄρχων) หรือตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของเมือง ในปี 493 ก่อนคริสตกาล เขามีทัศนะวิสัยเห็นว่าเอเธนส์มีศักยภาพทางภูมิศาสตร์ที่จะเป็นมหาอำนาจทางทะเลได้ และเกลี้ยกล่อมให้สภาของเอเธนส์เพิ่มกำลังรบทางเรือ ในระหว่างการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย เธมิสโตคลีสเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพกรีกที่สมรภูมิมาราธอน และน่าเชื่อว่าคงจะเป็นหนึ่งในสิบนายพลของเอเธนส์ หรือ สตราเตกอส ในยุทธการนั้น หลังจากกลายเป็นฮีโร่ของยุทธการที่มาราธอน จนถึงการรุกรานครั้งที่สองของเปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480-490 กอ่นคริสตศักราช เธมิสโตคลีสกลายเป็นแม่ทัพที่โดดเด่นที่สุดของเอเธนส์ และยังคงสนับสนุนให้เอเธนส์จัดหากำลังทางน้ำเพิ่ม โดยในปีที่ 483 กอ่นคริสตศักราช เขาอ้างคำทำนายของเทพพยากรณ์เดลฟี ซึ่งแนะนำให้ชาวเอเธนส์สร้าง "กำแพงไม้" (wooden wall) และโน้มน้าวให้ชาวเมืองอนุมัติทุนเพื่อสร้างกองเรือไม้ ไตรรีม (triremes) สองร้อยลำ สำหรับต้านทานการบุกรุกของกองทัพเปอร์เซียที่กำลังจะมาถึง; เธมิสโตคลีสนำทัพเรือเอเธนส์และพันธมิตรกรีก เข้าสู้ทัพเรือของเปอร์เซียในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม และที่ซาลามิส ในปีที่ 480 BC.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและเธมิสโตคลีส

เธรซ

ในที่บรรจุศพ เธรซ (Thrace, Тракия, Trakiya, Θράκη, Thráki, Trakya) เป็นบริเวณประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ในปัจจุบันเธรซหมายถึงบริเวณที่ครอบคลุม ตอนใต้ของบัลแกเรีย (เธรซเหนือ), ทางตะวันออกเฉียงเหนือของGreece (เธรซตะวันตก), และตุรกีในยุโรป (เธรซตะวันออก) พรมแดนเธรซติดกับทะเลสามทะเล: ทะเลดำ, ทะเลอีเจียน และทะเลมาร์มารา บางครั้งเธรซก็เรียกว่า “รูเมเลีย” (Rumelia) หรือ “ดินแดนของโรมัน”.

ดู ยุทธนาวีที่ซาลามิสและเธรซ

ดูเพิ่มเติม

480 ปีก่อนคริสตกาล