สารบัญ
19 ความสัมพันธ์: บอลข่านพระเจ้าลีออนิดัสที่ 1กรีซโบราณการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซียยุทธการที่เทอร์มอพิลียุทธนาวีที่ซาลามิสราชอาณาจักรมาเกโดนีอาสงครามกรีก-เปอร์เซียสปาร์ตาฮอปไลต์จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราชจักรวรรดิอะคีเมนิดดาร์ดะเนลส์ดาไรอัสมหาราชคอคอดคอรินท์ประเทศกรีซเพโลพอนนีสเธมิสโตคลีสเธรซ
- 479 ปีก่อนคริสตกาล
- 480 ปีก่อนคริสตกาล
- สงครามกรีก-เปอร์เซีย
บอลข่าน
แผนที่ทางอากาศของคาบสมุทรบอลข่าน คาบสมุทรบอลข่าน (Balkans) เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ หมายถึงดินแดนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 550,000 ตร.กม.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและบอลข่าน
พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1
พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1 (Leonidas I; Doric Λεωνίδᾱς, Leōnídās; Ionic และ Attic: Λεωνίδης, เล-ออ-นี-แดส), สวรรคต 480 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระมหากษัตริย์นักรบกล้าหาญแห่งนครรัฐกรีกสปาร์ตา พระองค์ทรงนำกำลังทัพสปาร์ต้าระหว่างการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและทรงเป็นที่จดจำสำหรับการสวรรคตที่ยุทธการที่เทอร์มอพิลี หมวดหมู่:ชาวกรีก.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและพระเจ้าลีออนิดัสที่ 1
กรีซโบราณ
กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและกรีซโบราณ
การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย
การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย เกิดขึ้นในช่วงสงครามกรีก-เปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 492–490 ก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิดาไรอัสมหาราชต้องการลงโทษนครรัฐเอเธนส์และอีรีเทรียที่สนับสนุนการก่อกบฏของเมืองไอโอเนีย รวมถึงต้องการขยายจักรวรรดิไปในทวีปยุโรป การบุกแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกเริ่มในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล นำโดยแม่ทัพมาร์โดเนียส ทัพเปอร์เซียสามารถยึดเธรซคืนกลับมาและบังคับให้มาซิดอนอยู่ใต้อำนาจหลังเป็นประเทศราชมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม การบุกได้หยุดชะงักลงเมื่อทัพเรือเปอร์เซียถูกพายุซัดนอกชายฝั่งเขาแอทอส ปีต่อมา จักรพรรดิดาไรอัสส่งคณะทูตไปทั่วกรีซเพื่อสั่งให้ยอมสวามิภักดิ์ นครรัฐกรีกส่วนใหญ่ยอมสวามิภักดิ์ ยกเว้นเอเธนส์และสปาร์ตาที่สั่งประหารคณะทูต จักรพรรดิดาไรอัสจึงสั่งให้ยกทัพไปอีกครั้ง การบุกครั้งที่สองเริ่มในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล นำโดยแม่ทัพดาติสและอาร์ตาเฟอร์เนส ทัพเปอร์เซียยกไปที่เกาะนักซอสก่อนจะยึดและเผาเมือง ต่อมายึดหมู่เกาะซิคละดีสและทำลายเมืองอีรีเทรีย ระหว่างยกทัพต่อไปยังเอเธนส์ในแอตติกา ทัพเปอร์เซียได้ปะทะกับทัพกรีกที่มีจำนวนน้อยกว่าที่ที่ราบมาราธอน ทัพเปอร์เซียพ่ายแพ้และยกกลับเอเชีย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเปอร์เซียประสบความสำเร็จในการโจมตีนักซอส อีรีเทรียและแผ่อำนาจไปในภูมิภาคอีเจียน จักรพรรดิดาไรอัสได้รวบรวมกำลังพลเพื่อเตรียมบุกกรีซอีกครั้ง แต่ความขัดแย้งภายในจักรวรรดิทำให้แผนการดังกล่าวถูกเลื่อนออกไป จักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล ทิ้งแผนการให้เซอร์ซีส พระราชโอรสดำเนินการต่อ ซึ่งจักรพรรดิเซอร์ซีสสั่งบุกกรีซอีกครั้งในปีที่ 480 ก่อนคริสตกาล.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย
ยุทธการที่เทอร์มอพิลี
ทธการที่เทอร์มอพิลี (Battle of Thermopylae; Greek: Μάχη τῶν Θερμοπυλῶν, มาแค ตอน แธมอปูลอน) เกิดขึ้นในปี 480 ปีก่อนคริสตกาล พันธมิตรรัฐกรีกตั้งรับการรุกรานของจักรวรรดิเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเทอร์มอพิลีในกรีซตอนกลาง กองทัพกรีกเสียเปรียบด้านจำนวนอย่างมหาศาล แต่ก็ยังสามารถยันกองทัพเปอร์เซียได้เป็นเวลาสามวัน ยุทธการดังกล่าวเป็นหนึ่งในการรบจนตัวตายที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ กองทัพกรีกขนาดเล็กนำโดยกษัตริย์ลีออนิดัสที่ 1 แห่งสปาร์ตา ได้เข้าปิดช่องเขาเล็ก ๆ ซึ่งขัดขวางกองทัพมหึมาของจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้การนำของจักรพรรดิเซอร์ซีสที่ 1 ไว้ หลังจากการรบสามวัน เฮโรโดตุสเชื่อว่ามีคนทรยศที่บอกเส้นทางให้กับกองทัพเปอร์เซียซึ่งนำไปสู่ด้านหลังของกองทัพสปาร์ต้า และในวันที่สาม กองทัพกรีกได้ถอนตัวออกไปราว 2,300 นาย หลังเที่ยงวันของวันที่สาม กองทัพเปอร์เซียสามารถเจาะผ่านแนวกรีกได้ แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับความสูญเสียของกองทัพกรีก การต้านทานอย่างบ้าระห่ำของกองทัพกรีกได้ซื้อเวลาอันหาค่ามิได้ในการเตรียมกองทัพเรือ ซึ่งอาจตัดสินผลแพ้ชนะของสงคราม The 1913 edition (same page numbers) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Google Books,.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและยุทธการที่เทอร์มอพิลี
ยุทธนาวีที่ซาลามิส
การรุกรานครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย ยุทธนาวีที่ซาลามิส (Ναυμαχία τῆς Σαλαμῖνος, เนามาเคีย แตส ซาลามินอส) เป็นยุทธนาวีระหว่างฝ่ายพันธมิตรนครรัฐกรีก ภายใต้การนำของเธมิสโตคลีส กับจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้จักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราช เมื่อ ปีที่ 480 ก่อนคริสต์ศักราช โดยฝ่ายกรีกที่จำนวนเรือรบน้อยกว่าได้รับชัยชนะแบบเด็ดขาด ยุทธนาวีนี้เกิดขึ้นที่ช่องแคบระหว่างดินแดนใหญ่ของกรีซ กับเกาะซาลามิสในอ่าวซาโรนิค ใกล้กรุงเอเธนส์ และถือเป็นจุดสูงสุดของการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย ในการทัพรุกรานกรีกครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย กองกำลังเล็กๆของกรีก นำโดยทหารสปาร์ตา เข้าขวางทางเดินทัพของเปอร์เซียที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี (Thermopylae) ในขณะที่กองกำลังพันธมิตรทางนาวี ประกอบด้วยกองเรือของเอเธนส์เป็นหลัก เข้าปะทะกองเรือเปอร์เซียน ที่ช่องแคบอาร์เตมีเซียม (Artemisium) ห่างออกไปไม่ไกล กองกำลังระวังหลังของกรีกถูกสังหารหมดสิ้นในยุทธการที่เทอร์มอพิลี ในขณะที่ฝ่ายพันธมิตรกรีกในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม ก็ได้รับความเสียหายหนัก และต้องถอยกลับไปเมื่อช่องเขาเทอร์มอพิลีเสียให้แก่ข้าศึก ทัพเปอร์เซียจึงสามารถเข้ายึดครองบีโอเชีย (Boeotia, Βοιωτία, บอยยอเทีย) และแอตทิกาได้ เมืองเอเธนส์ถูกกองทัพเปอร์เชียเผาราบ ประชาชนต้องอพยพทิ้งเมือง แต่กำลังฝ่ายพันธมิตรกรีกสามารถเข้าป้องกันคอคอดคอรินท์ ซึ่งเชื่อมแอตทิกากับเพโลพอนนีสไว้ได้ ระหว่างนั้นทัพเรือของกรีกถูกถอยไปใช้เกาะซาลามิสเป็นฐานปฏิบัติการ แม้ว่ากำลังทางนาวีของกรีกจะน้อยกว่าเปอร์เซียมาก แต่เธมิสโตคลีสแม่ทัพชาวเอเธนส์ สามารถหว่างล้อมให้กองกำลังพันธมิตรเข้าทำศึกกับทัพเรือเปอร์เซียอีกครั้ง โดยหวังว่าชัยชนะจะป้องกันคาบสมุทรเพโลพอนนีสอันเป็นแผ่นดินใหญของกรีกไว้ได้ พระเจ้าเซอร์ซีสกษัตริย์เปอร์เซีย ทรงกระหายจะได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเช่นกัน ทำให้ติดกับแผนลวงพรางของเธมิสโตคลีส ซึ่งล่อทัพเรือของเปอร์เซียให้ออกมาปิดกั้นทางเข้า-ออกของช่องแคบซาลามิส แต่ด้วยสภาพที่คับแคบของพื้นที่ ทัพเรือใหญ่ของเปอร์เซียไม่อาจแปรขบวนได้และตกอยู่ในสภาพขาดระเบียบ กองเรือพันธมิตรกรีกฉวยโอกาสจัดแถวเป็นแนวประจัญบานเข้าโจมตีและได้รับชัยชนะแบบพลิกความคาดหมาย ยุทธนาวีที่ซาลามิสกลายเป็นการรบที่มีความสำคัญต่ออารยธรรมกรีกในระดับเดียวกับ ยุทธการที่มาราธอน และยุทธการที่เทอมอพิลี โดยเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามกรีก-เปอร์เซีย หลังยุทธการซาลามิส คาบสมุทรเพโลพอนนีสและอารยธรรมกรีก ก็ปลอดภัยจากการรุกรานของเปอร์เซีย ในขณะที่อาณาจักรเปอร์เซียต้องสูญเสียทรัพยากรมหาศาล ขวัญกำลังใจตกต่ำ และเสียความน่าเกรงขาม หลังการศึกในยุทธการที่พลาตีอา (Πλάταια) และยุทธการที่มิกาลี (Μυκάλη) ทัพของเปอร์เซียก็ไม่เป็นภัยคุกคามอีกต่อไป ฝ่ายพันธมิตรกรีกจึงรุกกลับได้ และยังส่งผลให้อาณาจักรมาเซดอนลุกฮือเพื่อปลดแอกตนเองจากการปกครองของเปอร์เซีย โดยเธรซ หมู่เกาะในทะเลอีเจียน และไอโอเนีย จะทยอยหลุดจากความควบคุมของเปอร์เซียในอีกสามสิบปีต่อมา เนื่องจากการเกิดขึ้นของสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำโดยเอเธนส์ Achilleas Vasileiou ยุทธนาวีที่ซาลามิสจึงนับว่าเป็นการเปลี่ยนสมการของอำนาจให้มาอยู่ที่ฝ่ายกรีก โดยลดอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลงอย่างเฉียบพลัน พร้อมๆกับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งความมั่งคั่ง และความเป็นมหาอำนาจทางทะเลของจักรวรรดิเอเธน.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและยุทธนาวีที่ซาลามิส
ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา
มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา
สงครามกรีก-เปอร์เซีย
งครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา เพื่อป้องกันการกบฏครั้งใหม่และการแทรกแซง รวมถึงลงโทษการกระทำของเอเธนส์และอีรีเทรีย จักรพรรดิดาไรอัสจึงทำสงครามต่อเพื่อพิชิตกรีซทั้งหมด ฝ่ายเปอร์เซียเริ่มบุกกรีซในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล และประสบความสำเร็จในการยึดเธรซและมาซิดอน ต่อมาในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียข้ามทะเลอีเจียน ยึดซิคละดีสและทำลายอีรีเทรีย แต่พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเอเธนส์ในยุทธการที่มาราธอน เมื่อจักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล เซอร์ซีส พระราชโอรส ได้นำกำลังบุกกรีซอีกครั้ง ชัยชนะที่ช่องเขาเทอร์มอพิลีทำให้ฝ่ายเปอร์เซียสามารถยึดและเผาทำลายเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม กองเรือเปอร์เซียพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธนาวีที่ซาลามิส และปีต่อมาพ่ายแพ้ในยุทธการที่พลาตีอา จึงเป็นการสิ้นสุดการบุกครองของฝ่ายเปอร์เซีย หลังจากนั้นกองทัพกรีกฉวยโอกาสนำกองเรือเข้าโจมตีฝ่ายเปอร์เซียต่อในยุทธนาวีที่มิเคลีและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเซสทอสและบิแซนเทียม การกระทำของแม่ทัพพอสซาเนียสในยุทธการที่บิแซนเทียมทำให้เกิดความบาดหมางในหมู่นครรัฐกรีกและสปาร์ตาและก่อให้เกิด "สันนิบาตดีเลียน" ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านฝ่ายเปอร์เซียที่นำโดยเอเธนส์ ฝ่ายสันนิบาตทำสงครามกับฝ่ายเปอร์เซียต่อเป็นเวลา 30 ปี หลังชัยชนะที่แม่น้ำยูรีมีดอนในปีที่ 466 ก่อนคริสตกาล เมืองในภูมิภาคไอโอเนียก็เป็นอิสระจากเปอร์เซีย แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายสันนิบาตในการกบฏที่อียิปต์ทำให้การสงครามกับเปอร์เซียหยุดชะงัก การรบครั้งต่อ ๆ มาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งชี้ว่าในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาล ทั้งสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัส ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและสงครามกรีก-เปอร์เซีย
สปาร์ตา
แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและสปาร์ตา
ฮอปไลต์
อปไลต์ (hoplite) เป็นพลเมือง-ทหารของนครรัฐกรีกโบราณ ซึ่งติดอาวุธด้วยหอกและโล่เป็นหลัก ยุทธวิธีหลัก คือ รูปขบวนแฟแลงซ์ ทหารเหล่านี้เป็นพลเมืองอิสระเป็นหลัก มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรและช่างศิลป์ซึ่งสามารถหาซื้อชุดเกราะและอาวุธสำริดได้ ซึ่งประเมินว่ามีหนึ่งในสามถึงกึ่งหนึ่งของประชากรชายผู้ใหญ่ฉกรรจ์ โดยทั่วไปฮอปไลต์ได้รับการฝึกทหารพื้นฐาน ใน 690 ปีก่อน..
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและฮอปไลต์
จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช
ักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช (Xerxes the Great) หรือ จักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1 (Xerxes I; 519 – 465 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช เมื่อพระราชบิดาสวรรคตเมื่อ 485 ปีก่อน..
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและจักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช
จักรวรรดิอะคีเมนิด
ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและจักรวรรดิอะคีเมนิด
ดาร์ดะเนลส์
องแคบดาร์ดะเนลส์ แผนที่แสดงสถานที่ตั้งของช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (สีเหลือง) ส่วนสีแดงคือช่องแคบบอสฟอรัส ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (Çanakkale Boğazı, Δαρδανέλλια, Dardanellia; Dardanelles) เป็นช่องแคบ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศตุรกี กั้นระหว่างคาบสมุทรกัลลิโพลีของตุรกีส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปกับตุรกีส่วนที่อยู่ในทวีปเอเชีย เชื่อมทะเลมาร์มะรากับทะเลอีเจียน ที่จุดพิกัด ช่องแคบมีความยาว 61 กิโลเมตร (38 ไมล์) แต่กว้างเพียง 1.2 ถึง 6 กิโลเมตร (0.75 ถึง 3.7 ไมล์) มีความลึก ลึกสุด 103 เมตร (338 ฟุต).
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและดาร์ดะเนลส์
ดาไรอัสมหาราช
ระเจ้าดาไรอัสที่ 1 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ดาไรอัสมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์เปอร์เซียองค์ที่ 2 ต่อจาก พระเจ้าไซรัสมหาราช เป็นพระโอรสของเจ้าชายองค์หนึ่งใน ราชวงศ์อคีเมนียะห์ โดยทรงครองราชย์เมื่อ 522 ปี ก่อน..
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและดาไรอัสมหาราช
คอคอดคอรินท์
ณะแล่นเรือทะลุคอคอดคอรินท์ โดยใช้คลองคอรินท์ คอคอดคอรินท์ (Isthmus of Corinth) เป็นผืนดินแคบ ๆ ซึ่งเชื่อมระหว่างเพโลพอนนีสและส่วนที่เหลือของกรีซแผ่นดินใหญ่ ใกล้กับเมืองคอรินท์ มีอาณาเขตติดต่อกับอ่าวคอรินท์ทางตะวันตก และอ่าวซาโรนิกทางตะวันออก นับตั้งแต..
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและคอคอดคอรินท์
ประเทศกรีซ
กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและประเทศกรีซ
เพโลพอนนีส
มุทรเพโลพอนนีส เพโลพอนนีส (Πελοπόννησος, Peloponnese หรือ Peloponnesus) เดิมเรียกว่า "มอเรีย" เป็นคาบสมุทรใหญ่ (หรือเกาะ หลังจากการตัดคลองคอรินท์ ซึ่งแยกเพโลพอนนีสออกจากส่วนที่เหลือของกรีซแผ่นดินใหญ่) ทางตอนใต้ของประเทศกรีซทางตอนใต้ของอ่าวคอรินท์ ที่มีเนื้อที่ทั้งหมดราว 21,549 ตารางกิโลเมตร คาบสมุทรเพโลโพนีสแบ่งเป็นเขตการปกครองสามเขต (periphery) เขตเพโลโพนีส ส่วนหนึ่งของกรีซตะวันตก และเขตอัตติกา เมื่อขุดคลองคอรินท์ในปี ค.ศ.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและเพโลพอนนีส
เธมิสโตคลีส
มิสโตคลีส หรือ เธมิสโตเคลส (Themistocles; Θεμιστοκλῆς เธ-มิส-ตอ-แคลส; "ชัยชนะแห่งกฎหมาย") c. 524–459 BC) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพชาวเอเธนส์ เธมิสโตคลีสเป็นนักการเมืองสายพันธ์ใหม่ของเอเธนส์ในยุคที่ประชาธิปไตยก่อตัว โดยไม่ได้มาจากครอบครัวชนชั้นสูง โดยเขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองประชานิยมที่มีฐานเสียงเป็นพลเมืองชั้นล่างของเอเธนส์ และมักขัดแย้งกับอภิสิทธิชนในเอเธนส์ เธมิสโตคลีสถูกเลือกให้เป็น อาร์คอน (กรีก: ἄρχων) หรือตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของเมือง ในปี 493 ก่อนคริสตกาล เขามีทัศนะวิสัยเห็นว่าเอเธนส์มีศักยภาพทางภูมิศาสตร์ที่จะเป็นมหาอำนาจทางทะเลได้ และเกลี้ยกล่อมให้สภาของเอเธนส์เพิ่มกำลังรบทางเรือ ในระหว่างการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย เธมิสโตคลีสเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพกรีกที่สมรภูมิมาราธอน และน่าเชื่อว่าคงจะเป็นหนึ่งในสิบนายพลของเอเธนส์ หรือ สตราเตกอส ในยุทธการนั้น หลังจากกลายเป็นฮีโร่ของยุทธการที่มาราธอน จนถึงการรุกรานครั้งที่สองของเปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480-490 กอ่นคริสตศักราช เธมิสโตคลีสกลายเป็นแม่ทัพที่โดดเด่นที่สุดของเอเธนส์ และยังคงสนับสนุนให้เอเธนส์จัดหากำลังทางน้ำเพิ่ม โดยในปีที่ 483 กอ่นคริสตศักราช เขาอ้างคำทำนายของเทพพยากรณ์เดลฟี ซึ่งแนะนำให้ชาวเอเธนส์สร้าง "กำแพงไม้" (wooden wall) และโน้มน้าวให้ชาวเมืองอนุมัติทุนเพื่อสร้างกองเรือไม้ ไตรรีม (triremes) สองร้อยลำ สำหรับต้านทานการบุกรุกของกองทัพเปอร์เซียที่กำลังจะมาถึง; เธมิสโตคลีสนำทัพเรือเอเธนส์และพันธมิตรกรีก เข้าสู้ทัพเรือของเปอร์เซียในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม และที่ซาลามิส ในปีที่ 480 BC.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและเธมิสโตคลีส
เธรซ
ในที่บรรจุศพ เธรซ (Thrace, Тракия, Trakiya, Θράκη, Thráki, Trakya) เป็นบริเวณประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ในปัจจุบันเธรซหมายถึงบริเวณที่ครอบคลุม ตอนใต้ของบัลแกเรีย (เธรซเหนือ), ทางตะวันออกเฉียงเหนือของGreece (เธรซตะวันตก), และตุรกีในยุโรป (เธรซตะวันออก) พรมแดนเธรซติดกับทะเลสามทะเล: ทะเลดำ, ทะเลอีเจียน และทะเลมาร์มารา บางครั้งเธรซก็เรียกว่า “รูเมเลีย” (Rumelia) หรือ “ดินแดนของโรมัน”.
ดู การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและเธรซ
ดูเพิ่มเติม
479 ปีก่อนคริสตกาล
- การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย
- พ.ศ. 65
480 ปีก่อนคริสตกาล
- การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย
- พ.ศ. 64
- ยุทธการที่เทอร์มอพิลี
- ยุทธนาวีที่ซาลามิส
สงครามกรีก-เปอร์เซีย
- การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย
- การบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย
- สงครามกรีก-เปอร์เซีย
- สงครามสันนิบาตดีเลียน