โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)

ดัชนี ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)

รียงลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ 1 มกราคม 1945 จนถึงญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามอย่างเป็นทางการเมื่อ 2 กันยายน 1945.

43 ความสัมพันธ์: บูดาเปสต์กฎบัตรสหประชาชาติกามิกาเซ่การบุกครองหมู่เกาะคูริลการบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียตกดัญสก์ภูมิศาสตร์ไต้หวันมะนิลายุทธการที่อิโวะจิมะยุทธการที่โอกินาวะย่างกุ้งรายนามประธานาธิบดีสหรัฐวอร์ซอวันชัยในทวีปยุโรปอาวุธนิวเคลียร์ฮิโระชิมะจักรพรรดิโชวะดักลาส แมกอาเธอร์ซานฟรานซิสโกประเทศฟิลิปปินส์ประเทศออสเตรียประเทศฮังการีประเทศโปแลนด์ประเทศเบลเยียมประเทศเชโกสโลวาเกียประเทศเดนมาร์กประเทศเนเธอร์แลนด์นายกรัฐมนตรีเยอรมนีนางาซากินาซีเยอรมนีนาโงยะแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์แฟรงก์เฟิร์ตแมนจูเรียแม่น้ำโอเดอร์แม่น้ำไรน์โยโกฮามะโอกินาวะโอซากะไต้ฝุ่นเบอร์ลินเกาะลูซอนเรือประจัญบานยะมะโตะ

บูดาเปสต์

กรุงบูดาเปสต์มองจากมุมสูงทางทิศเหนือ "แป็ชต์" อยู่ทางฝั่งซ้ายและ "บูดอ" อยู่ทางฝั่งขวา; เกาะมาร์กาเรตอยู่ทางด้านหน้าของรูป ส่วนเกาะเซเปลอยู่ไกลออกไปทางด้านหลัง บูดาเปสต์ (Budapest; Budapest) เป็นเมืองหลวงของประเทศฮังการี และเป็นศูนย์กลางการปกครอง อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการคมนาคมขนส่งของประเทศ มีประชากรมากกว่า 1.7 ล้านคน มีจำนวนลดลงจากกลางทศวรรษ 1980 ซึ่งมีประชากรถึง 2.07 ล้านคน บูดาเปสต์กลายเป็นเมืองเดี่ยวที่มีอาณาเขตครอบคลุมทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำดานูบหลังจากการรวมกันในพ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873) ของเมืองทางฝั่งขวา ได้แก่ เมืองบูดอ (Buda) และโอบูดอ (Óbuda) เข้ากับเมืองแป็ชต์ (Pest) ทางฝั่งซ้าย (ฝั่งตะวันออก) ปัจจุบันบูดาเปสต์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และบูดาเปสต์ · ดูเพิ่มเติม »

กฎบัตรสหประชาชาติ

กฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations)คือ ข้อตกลงที่บรรดาประเทศผู้ก่อตั้งและร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ให้สัตยาบันเข้าผูกพัน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และหลักการ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานและบริหารงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ ถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นตราสารก่อตั้งที่สถาปนาองค์การให้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ องค์การสหประชาชาติจึงก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ซึ่งเป็นวันที่ประเทศจีน ประเทศฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ได้มีการให้สัตยาบันต่อกฎบัตรสหประชาชาติ โดยทุกประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติอย่างเคร่งครัด ยกเว้นเพียงแต่นครรัฐวาติกันที่เป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ซึ่งเป็นข้อยกเว้น.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และกฎบัตรสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

กามิกาเซ่

กามิกาเซ่ เป็นค่ายเพลงย่อยในสังกัดอาร์เอส ก่อตั้งใน พ.ศ. 2550 จากแนวคิดของสุทธิพงษ์ วัฒนจัง และณรงค์ศักดิ์ ศรีบรรฎาศักดิ์วัชรากรณ์ ที่ต้องการทำค่ายเพลงสำหรับกลุ่มประชากรวัยก่อนวัยรุ่นโดยเฉ.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และกามิกาเซ่ · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองหมู่เกาะคูริล

การบุกครองหมู่เกาะคูริล หรือเรียก ปฏิบัติการขึ้นบกหมู่เกาะคูริล (Курильская десантная операция) เป็นปฏิบัติการทางทหารของโซเวียต มีจุดมุ่งหมายเพื่อยึดหมู่เกาะคูริลจากญี่ปุ่นในปี 1945 โดยเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการการรุกทางยุทธศาสตร์แมนจูเรีย เมื่อแผนการขึ้นฝั่งฮกไกโดถูกยกเลิก ปฏิบัติการดังกล่าวมีขึ้นระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม และ 1 กันยายน โดยเหล่าปืนเล็กยาวที่ 87 แห่งกองทัพที่ 16 จากแนวรบตะวันออกไกลที่ 2 ซึ่งรวมพื้นที่ป้องกันคัมชัตกา เรือและการขนส่งจากฐานทัพเปโตรปัฟลอฟสก์ และการสนับสนุนจากกองพลส่งทางอากาศที่ 128 ฝ่ายญี่ปุ่นมีกองพลทหารราบที่ 91 กองพลที่ 42 กรมสนับสนุนที่ 41 กองพลน้อยสนับสนุนที่ 129 และกองพลทหารราบที่ 89 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม กองทหารรักษาการณ์ของญี่ปุ่นซึ่งมีกำลังพล 20,000 นาย ณ หมู่เกาะคูริลยอมจำนน โดยเป็นส่วนหนึ่งของการที่ประเทศญี่ปุ่นยอมจำนน ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน ฝ่ายโซเวียตยึดครองหมู่เกาะคูริลทั้งหมดโดยปราศจากการต้านทานใ.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และการบุกครองหมู่เกาะคูริล · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต

การบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต ยังเป็นที่รู้จักในฐานะกลยุทธปฏิบัติการรุกแมนจูเรีย (Манчжурская стратегическая наступательная операция, lit. Manchzhurskaya Strategicheskaya Nastupatelnaya Operaciya) หรือปฏิบัติการแมนจูเรีย (Маньчжурская операция) เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 1945 กองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตได้รุกรานรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่นคือรัฐแมนจูกัว มันเป็นการทัพครั้งสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองและใหญ่ที่สุดของสงครามโซเวียต-ญี่ปุ่น ในปี 1945 ที่ได้กลับมาสู้รบกันอีกครั้งระหว่างสหภาพโซเวียตและจักรวรรดิญี่ปุ่น หลังจากสงบศึกกันเป็นเวลาเกือบหกปี ผลประโยชน์ที่ได้รับของโซเวียตคือ แมนจูกัว, เหม่งเจียง (มองโกลเลีย), ดินแดนเกาหลีทางตอนเหนือ.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และการบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

กดัญสก์

กดัญสก์ (Gdańsk) หรือชื่อเดิม ดันซิก (Danzig) เป็นเมืองบนชายฝั่งบอลติก ในตอนเหนือของประเทศโปแลนด์ เป็นเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 เป็นเมืองท่าที่สำคัญของโปแลนด์ และยังเป็นเมืองหลักของจังหวัดปอมอแช (พอเมอเรเนีย) ตั้งอยู่บนอ่าวกดัญสก์ (ทะเลบอลติก) และปากแม่น้ำมอตลาว.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และกดัญสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์ไต้หวัน

กาะไต้หวัน เกาะไต้หวัน (ไถวาน; ภาษาไต้หวัน: Tâi-oân) เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้จีนแผ่นดินใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันปกครองโดยสาธารณรัฐจีน แยกเป็นเอกเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือว่าสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช แม้เรามักจะเรียกกันติดปากว่าประเทศไต้หวันก็ตาม แต่เดิมเกาะไต้หวันมีชื่อว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) หรือ Ilha Formosa ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า "เกาะสวยงาม" เนื่องจากประเทศโปรตุเกสเคยเดินทางมายังเกาะนี้และได้ตั้งชื่อเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ยึดเอามาเป็นอาณานิคม.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และภูมิศาสตร์ไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

มะนิลา

มะนิลา (Manila; Maynila) เป็นเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยุ่บนชายฝั่งตะวันออกของอ่าวมะนิลา (Manila Bay) บนเกาะลูซอนซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์ บางส่วนของเมืองมีความยากจน อย่างไรก็ดี มะนิลาเป็นเมืองที่มีชนชาติรวมกันอยู่มากมาย และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา และอุตสหากรรมของประเทศ มะนิลาคือศูนย์กลางของเขตมหานครที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน เขต เมโทรมะนิลา (Metro Manila) เป็นมหานครที่ใหญ่กว่า ประกอบด้วยเมืองและเทศบาล 17 แห่ง เฉพาะเมืองมะนิลาเองเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน เมืองเดียวที่มีประชากรมากกว่าคือเมืองเกซอนซิตี (Quezon City) ชานเมืองและอดีตเมืองหลวง มะนิลาตั้งอยูที่ 14°35' เหนือ 121°0' ตะวันออก.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และมะนิลา · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่อิโวะจิมะ

ทธการที่อิโวะจิมะ (19 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม ค.ศ. 1945) เป็นยุทธการสำคัญซึ่งกองทัพสหรัฐอเมริกาขึ้นบกและยึดเกาะอิโวะจิมะจากกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้ในที่สุด การบุกครองของอเมริกา ชื่อรหัส ปฏิบัติการดีแทชเมนต์ (Operation Detachment) มีเป้าหมายยึดทั้งเกาะ ซึ่งรวมสนามบินที่ญี่ปุ่นยึดสามแห่ง (รวมสนามใต้และสนามกลาง) เพื่อเป็นพื้นที่พักพลสำหรับเข้าตีหมู่เกาะหลักของญี่ปุ่น ยุทธการนานห้าสัปดาห์นี้มีการสู้รบที่ดุเดือดและนองเลือดที่สุดในสงครามแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง หลังเกิดการสูญเสียอย่างหนักในยุทธการ คุณค่าทางยุทธศาสตร์ของเกาะกลายเป็นข้อพิพาท เกาะนี้ไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพบกสหรัฐที่จะใช้เป็นพื้นที่พักพลและไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพเรือสหรัฐที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือ ทว่า ผึ้งทะเล (seabee) กองทัพเรือสร้างลานบินขึ้นใหม่ ซึ่งใช้เป็นลานลงจอดฉุกเฉินสำหรับบี-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐ ที่ตั้งของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเกาะมีป้อมค่ายหนาแน่น โดยมีเครือข่ายบังเกอร์ ที่มั่นปืนใหญ่ซ่อน และอุโมงค์ใต้ดิน 18 กิโลเมตร ทหารอเมริกันภาคพื้นได้รับการสนับสนุนจากปืนใหญ่กองทัพเรืออย่างกว้างขวางและความเป็นเจ้าอากาศเบ็ดเสร็จเหนืออิโวะจิมะตั้งแต่เริ่มยุทธการโดยนักบินของกองทัพเรือสหรัฐและเหล่านาวิกโยธิน อิโวะจิมะยังเป็นยุทธการเดียวสำหรับเหล่านาวิกโยธินสหรัฐที่กำลังพลสูญเสียของฝ่ายอเมริกันสูงกว่าญี่ปุ่น แม้การเสียชีวิตจากการสู้รบของฝ่ายญี่ปุ่นคิดเป็นสามเท่าของจำนวนผู้เสียชีวิตฝ่ายอเมริกัน จากทหารญี่ปุ่น 22,000 นายบนอิโวะจิมะ มีถูกจับเป็นเชลยเพียง 216 นาย ซึ่งบางส่วนถูกจับเพราะถูกทำให้หมดสติไม่ก็ถูกทำให้พิการBurrell 2006, p. 83.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และยุทธการที่อิโวะจิมะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่โอกินาวะ

ทธการโอกินาวะ หรือชื่อรหัส ปฏิบัติการภูเขาน้ำแข็ง (Operation Iceberg) เป็นการสู้รบบนหมู่เกาะรีวกีวของโอกินาวะและเป็นสงครามสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่ที่สุดในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก การรบกินเวลาถึง 82 วันจากต้นเดือนเมษายนถึงกลางเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และยุทธการที่โอกินาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ย่างกุ้ง

งกุ้ง หรือ ยานโกน (ရန်ကုန်, MLCTS rankun mrui, ยานโกน มโย; "อวสานสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (Rangoon) เป็นเมืองหลวงของเขตย่างกุ้ง ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของพม่าจนถึงปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

รายนามประธานาธิบดีสหรัฐ

ทำเนียบขาวเป็นสถานที่ทำงานของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นตำแหน่งประมุขในการปกครองของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าของทุกสาขาของรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐ โดยมีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่เขียนโดยสภาคองเกรสมาตราที่ 2 ของรัฐธรรมนูญนั้นบัญญัติว่า ประธานาธิบดีต้องเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองกำลังทหาร และกระจายอำนาจที่เป็นของประธานาธิบดีออกไป รวมไปถึงอำนาจเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างกฎหมาย ที่ผ่านมาจากสภาคองเกรส นอกจากนั้น ประธานาธิบดียังมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นที่ปรึกษาและอำนาจในการลดโทษหรือให้รอลงอาญาได้ ท้ายที่สุดแล้ว หากประธานาธิบดีได้รับคำแนะนำและการยอมรับจากวุฒิสภา แล้วจะมีอำนาจในการทำสนธิสัญญา, แต่งตั้งเอกอัครราชทูตและศาลตัดสินของประเทศ รวมไปถึงศาลสูงสุดด้วย การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 22 กำหนดให้สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ไม่เกินสองสมัย รายนามนี้รวมเฉพาะบุคคลที่ได้สาบานตนเป็นประธานาธิบดีตามการลงนามในรัฐธรรมนูญสหรัฐ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และรายนามประธานาธิบดีสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

วอร์ซอ

วอร์ซอ (Warszawa) แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงวอร์ซอ วอร์ซอ (อังกฤษ: Warsaw; โปแลนด์: Warszawa วารฺชาวา) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศโปแลนด์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวิสทูลา ห่างจากชายฝั่งทะเลบอลติกประมาณ 370 กิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ในตัวเมืองประมาณ 1,726,581 (2014) คน และรวมเขตเมืองด้วยจะประมาณ 2,760,000 คน (ข้อมูล พ.ศ. 2548) ตัวเมืองวอร์ซอมีพื้นที่ 517.24 ตร.กม.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และวอร์ซอ · ดูเพิ่มเติม »

วันชัยในทวีปยุโรป

วันชัยในทวีปยุโรป (Victory in Europe Day หรือ VE Day) หมายถึง วันที่ 7 ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 คือ วันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของนาซีเยอรมนี ในวันที่ 30 เมษายน หลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายที่หลุมหลบภัยในกรุงเบอร์ลิน ตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมนีตกเป็นของ คาร์ล เดอนิทซ์ เขาได้ลงนามในสนธิสัญญายอมจำนนในวันที่ 7 พฤษภาคม ในเมืองแรมส์ ฝรั่งเศส นอกจากนั้นวิลเฮล์ม ไคเทล ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเวร์มัคได้ลงนามในสนธิสัญญายอมจำนนต่อสหภาพโซเวียตในวันที่ 8 พฤษภาคม ในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และวันชัยในทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธนิวเคลียร์

ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาฟิชชัน(atomic bomb)อย่างเดียว หรือ ฟิชชันและฟิวชัน(hydrogen bomb)รวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ระเบิดไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดจามทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิด ไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และอาวุธนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิโระชิมะ

ระชิมะ หรือ ฮิโรชิม่า (広島) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และฮิโระชิมะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโชวะ

มเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ หรือพระนามตามชื่อรัชสมัย คือ จักรพรรดิโชวะ (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2532 (63 ปี) ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ จักรวรรดิญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจของโลกแล้ว ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก จักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ในรัชสมัยของพระองค์ ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งทำให้ในห้วงเวลานั้น จักรวรรดิญี่ปุ่นแผ่อำนาจและดินแดนไปทั่วเอเชียบูรพาโดยที่ไม่มีชาติใด ๆ จะสามารถต้านทาน ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงบนความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น พระองค์ไม่ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาอาชญากรสงครามดังเช่นผู้นำคนอื่น ๆ ของชาติฝ่ายอักษะ และภายหลังสงคราม พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐใหม่ในการกอบกู้ประเทศชาติที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ในตอนปลายรัชกาล ประเทศญี่ปุ่นก็สามารถกลับมายืนหยัดในฐานะชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และจักรพรรดิโชวะ · ดูเพิ่มเติม »

ดักลาส แมกอาเธอร์

ลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์ (ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2486 หรือ 2487) พลเอกแมกอาร์เธอร์กลับคืนสู่ฟิลิปปินส์ในการรบที่อ่าวเลเต หลังจากถอยจากการบุกของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพลดักลาส แมกอาร์เธอร์ (Douglas MacArthur; 26 มกราคม พ.ศ. 2423 - 5 เมษายน 2507) เป็นพลเอกชาวอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงในการบัญชาการรบภาคพื้นแปซิฟิก ในสมัยสงครามสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้บัญชาการผู้ที่ให้ญี่ปุ่นจดสนธิสัญญาพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายพันธมิตร ณ เรือประจัญบานยูเอสเอส มิสซูรี นอกจากนี้เขายังเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ ญี่ปุ่น พัฒนาอย่างรวดเร็ว และยังเป็นผู้บัญชาการสมัยสงครามเย็น ในสงครามเกาหลี อีกด้ว.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และดักลาส แมกอาเธอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซานฟรานซิสโก

ซานฟรานซิสโก หรือ แซนแฟรนซิสโก (San Francisco) คือเมืองในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีประชากร ประมาณ 808,976 คน ซึ่งเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นประชากรเป็นอันดับสองของประเทศ เมืองซานฟรานซิสโกตั้งอยู่บริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่มาตั้งรกรากในซานฟรานซิสโกคือชาวสเปน โดยในปี ค.ศ. 1776 เมืองมีชื่อว่า เซนต์ฟรานซิส (St. Francis) ในภายหลังจากช่วงยุคตื่นทองในปี ค.ศ. 1848 ทำให้ประชากรในซานฟรานซิสโกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมืองเติบโตอย่างมาก ถึงแม้ว่าซานฟรานซิสโกจะประสบปัญหา แผ่นดินไหวและไฟไหม้ขนาดใหญ่ในช่วงปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และซานฟรานซิสโก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และประเทศฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเชโกสโลวาเกีย

right right เชโกสโลวาเกีย เป็นอดีตประเทศในยุโรปกลาง ปัจจุบันแยกออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและประเทศสโลวาเกี.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และประเทศเชโกสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเดนมาร์ก

นมาร์ก (Denmark; แดนมาก) (Danmark) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิก มีแผ่นดินหลักตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ ทางทิศเหนือของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางบกเพียงประเทศเดียว ทางทิศใต้ของประเทศนอร์เวย์ และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน มีพรมแดนจรดทะเลเหนือและทะเลบอลติก เดนมาร์กมีดินแดนนอกชายฝั่งห่างไกลออกไปสองแห่ง คือหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ ซึ่งแต่ละแห่งมีอำนาจปกครองตนเอง เดนมาร์กเป็นประเทศองค์ประกอบที่มีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโร เดนมาร์กเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และประเทศเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีเยอรมนี

นายกรัฐมนตรี (Bundeskanzler; Chancellor) เป็นตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารประเทศเยอรมนี เป็นชื่อเรียกตำแหน่งเก่าแก่ เกิดขึ้นในสมัยที่เยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน (Constitution of the German Empire 1871 AD) ในสมัยบิสมาร์คในปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และนายกรัฐมนตรีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นางาซากิ

มืองนางาซากิ เป็นเมืองเอกและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆเพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิ ยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว" ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และนางาซากิ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นาโงยะ

นครนาโงยะ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคชูบุ และมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบนเกาะฮนชู เป็นเมืองเอกของจังหวัดไอชิและเป็นหนึ่งในเมืองท่าหลักของญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย โตเกียว, โอซะกะ, โคเบะ, โยะโกะฮะมะ, ชิบะ และ คิตะกีวชู นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับสามของญี่ปุ่นที่เรียกว่า เขตมหานครชูเกียว ซึ่งมีประชากรกว่า 9.1 ล้านคน.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และนาโงยะ · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์

แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ (อังกฤษ: Franklin Delano Roosevelt) เกิดวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) เสียชีวิตวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด (พ.ศ. 2476-2488) และเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับเลือกถึงสี่สมัย ก่อนการประกาศญัตติข้อที่ 22 ในปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์เฟิร์ต

แฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt) หรือ ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ (Frankfurt am Main) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐเฮสส์และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไมน์ (Main river) และเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ตและธนาคารกลางยุโรป แฟรงก์เฟิร์ตเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยในเขตเมืองและปริมณฑลมีประชากรประมาณ 5 ล้านคน ชื่อเมืองแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี นิยมเรียกชื่อเต็มคือ "ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์" หมายถึงเมืองแฟรงก์เฟิร์ตที่อยู่บนแม่น้ำไมน์ เพื่อแยกความแตกต่างจากเมืองฟรังค์ฟวร์ทอันเดอร์โอเดอร์ (Frankfurt an der Oder) ริมฝั่งแม่น้ำโอเดอร์ในรัฐบรันเดนบูร์กทางด้านตะวันออกของประเท.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และแฟรงก์เฟิร์ต · ดูเพิ่มเติม »

แมนจูเรีย

นแดนแมนจูเรีย แมนจูเรีย เป็นแคว้นหนึ่งทางเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ในบางบริบทอาจหมายถึงแคว้นหนึ่งของประเทศจีน (ปัจจุบันเรียกว่าจีนตะวันออกเฉียงเหนือ) หรือครอบคลุมถึงประเทศรัสเซีย ดินแดนนี้เป็นถิ่นอาศัยของชาวเซียนเปย์ ชาวชี่ตัน และชาวแมนจู (ชื่อแคว้นมาจากชื่อชนกลุ่มนี้) ซึ่งสถาปนารัฐของตนขึ้นหลายรัฐในดินแดนนี้.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และแมนจูเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโอเดอร์

แม่น้ำโอเดอร์ หรือ แม่น้ำโอดรา (เช็ก/โปแลนด์: Odra) เป็นแม่น้ำในยุโรปตอนกลาง ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาทางตะวันออกของสาธารณรัฐเช็ก ไหลไปทางเหนือผ่านด้านตะวันตกของประเทศโปแลนด์ มีแม่น้ำไนเซอไหลมารวมด้วย ใกล้เมืองฟรังค์ฟูร์ท จากนั้นไหลขึ้นไปทางเหนือเป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศโปแลนด์และเยอรมนี จนไปลงทะเลบอลติก แม่น้ำมีความยาว 854 กิโลเมตร แควสำคัญทางด้านฝั่งซ้ายของแม่น้ำได้แก่ แม่น้ำนีซา แม่น้ำคาชาวาบูเบอร์ และแม่น้ำไนเซอ และแควด้านฝั่งขวา สายสำคัญ คือ แม่น้ำวาร์ตา หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศโปแลนด์ หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศเยอรมนี หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศเช็กเกีย.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และแม่น้ำโอเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไรน์

แผนที่แดงเส้นทางแม่น้ำจากเทือกเขาแอลป์สู่ทะเลเหนือ ไรน์ (Rhine; Rein; Rhein; Rhin; Rijn) เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 1,230 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับสองรองจากแม่น้ำดานูบ มีต้นน้ำจากเทือกเขาแอลป์ ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, ออสเตรีย, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ไปออกทะเลเหนือ แม่น้ำไรน์เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญ สามารถขนสินค้าเข้าสู่ภายในแผ่นดินยุโรปได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และภูมิศาสตร์ในการเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่สำคัญของยุโรป ร ร ร ร ร ร ร หมวดหมู่:แม่น้ำในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และแม่น้ำไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

โยโกฮามะ

นครโยโกฮามะ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองเรียงตามประชากรของประเทศญี่ปุ่นรองจากกรุงโตเกียว และยังถือเป็นเขตเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดของญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองเอกของจังหวัดคานางาวะ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวโตเกียวทางใต้ของกรุงโตเกียวในภาคคันโตบนเกาะหลักฮนชู โยโกฮามะถือเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่สำคัญของเขตอภิมหานครโตเกียว.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และโยโกฮามะ · ดูเพิ่มเติม »

โอกินาวะ

อกินาวะ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และโอกินาวะ · ดูเพิ่มเติม »

โอซากะ

อซากะ เป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิง ตั้งอยู่ในภาคคันไซบนเกาะฮนชู ในเขตจังหวัดโอซากะ เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่มีสถานะเป็นนครโดยข้อบัญญัติรัฐบาลญี่ปุ่น นครโอซากะมีประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน ซึ่งเป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยะโดะ อ่าวโอซากะ และทะเลเซะโตะ โอซากะเป็นเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอะโดะ และปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และโอซากะ · ดูเพิ่มเติม »

ไต้ฝุ่น

ต้ฝุ่นสามลูกขณะหมุนอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 พายุไต้ฝุ่น เป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ซึ่งก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่าง 180° กับ 100° ตะวันออก ซึ่งภูมิภาคนี้ถูกตั้งชื่อว่า "แอ่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ" สำหรับจุดประสงค์เกี่ยวกับองค์กร มหาสมุทรแปซฟิกตอนเหนือถูกแบ่งออกเป็นสามเขต ได้แก่ ทางตะวันออก (ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงลองติจูด 140° ตะวันตก) ตอนกลาง (140° ตะวันตกถึง 180°) และทางตะวันตก (180° ถึง 100° ตะวันออก) ปรากฏการณ์พายุแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกจะถูกเรียกว่า เฮอร์ริเคน และพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกจะถูกเรียกว่า ไต้ฝุ่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ซึ่งมีหน้าที่พยากรณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนอื่น ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งอยู่ในโฮโนลูลู (ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น) ฟิลิปปินส์และฮ่องกง ขณะที่ RSMC ตั้งชื่อในแต่ละระบบ ตัวรายชื่อหลักนั้นเป็นความร่วมมือกันระหว่าง 18 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นทุกปี ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ พายุไต้ฝุ่นไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับพายุหมุนเขตร้อนทั่วไป ปัจจัยที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นก่อตัวและมีความเร็วเพิ่มขึ้นนั้นมีหกประการ ได้แก่ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อุ่นเพียงพอ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ระดับความชื้นสัมพัทธ์สูงในชั้นโทรโพสเฟียร์ระดับล่างถึงกลาง แรงโคริโอลิสที่มากพอที่จะสร้างศูนย์ความดันอากาศต่ำ การรบกวนหรือจุดรวมระดับต่ำที่มีอยู่แล้ว และวินเชียร์แนวดิ่งต่ำ พายุไต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายน ขณะที่พายุหมุ่นเขตร้อนก่อตัวขึ้นอย่างน้อยก็ระหว่างเดือนธันวาคมและพฤษภาคม โดยเฉลี่ยแล้ว มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุดและรุนแรงที่สุดในโลก เช่นเดียวกับแอ่งอื่น ๆ พายุจะถูกนำทางโดยลิ่มความกดอากาศสูงเหนือเขตร้อนไปทางตะวันตกหรือตะวันตกเฉยงเหนือ โดยมีบางลูกที่ย้อนกลับมาใกล้ทางตะวันออกของญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการขึ้นฝั่ง จีนและญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยกว่าบ้าง พายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ได้พัดเข้าถล่มจีน ทางตอนใต้ของจีนมีบันทึกผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นที่ยาวนานที่สุด ซึ่งสามารถย้อนหลังไปได้นับพันปีผ่านเอกสารในหอจดหมายเหตุ ไต้หวันเคยประสบกับพายุไต้ฝุ่นที่เปียกที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และไต้ฝุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลูซอน

ลูซอน (Luzon) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองมากที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเกาะทั้งสามกลุ่มของประเทศ (อีกสองกลุ่มได้แก่ วีซายันและมินดาเนา) โดยกลุ่มเกาะลูซอน ได้แก่ ตัวเกาะลูซอนเอง รวมทั้งหมู่เกาะบาตันและหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือ และเกาะต่าง ๆ ทางทิศใต้ ได้แก่ เกาะกาตันดัวเนส เกาะมารินดูเก เกาะมัสบาเต เกาะรอมบลอน และเกาะมินโดโร เกาะลูซอนปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในชื่อว่า "จักรวรรดิซ้องน้อย" (Lesser Song Empire) หรือ Lusong Kok จากนั้นนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้บันทึกเกาะนี้ไว้ในแผนที่ของพวกเขาในชื่อ "ลูโซเนีย" (Luçonia) หรือ "ลูซอน" (Luçon) ชาวสเปนเข้ามาถึงเกาะนี้และอ้างกรรมสิทธิ์เพื่อครอบครองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้การปกครองของสเปน ลูซอนยังมีชื่อเรียกว่า นวยบากัสตียา (Nueva Castilla) หรือ นิวคาสตีล (New Castile) อีกด้วย ต่อมาในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ เอมีลีโอ อากีนัลโดได้ประกาศเอกราชจากสเปนและจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ที่เกาะแห่งนี้ แต่หลังจากนั้นทั้งหมู่เกาะก็ตกไปอยู่ในการปกครองของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกาะลูซอนและเกาะอื่น ๆ ได้เอกราชอย่างสมบูรณ์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1946 ลูซอน.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และเกาะลูซอน · ดูเพิ่มเติม »

เรือประจัญบานยะมะโตะ

รือประจัญบานยะมะโตะ เป็นเรือประจัญบานขนาดยักษ์ ตั้งตามชื่อ "ยะมะโตะ" ซึ่งเป็นจังหวัดโบราณในประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะลำแรกของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น เรือประจัญบานยะมะโตะและเรือประจัญบานมูซาชิที่อยู่ในชั้นเดียวกัน เป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ที่สุดและมีอาวุธทรงประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้ ด้วยระวางขับน้ำ 72,800 ตันและปืนใหญ่ขนาดปากลำกล้อง 460 มิลลิเมตร (18 นิ้ว) ทั้งคู่จมลงในระหว่างสงคราม เรือรบลำนี้มีความหมายอันยิ่งใหญ่สำหรับจักรวรรดิญี่ปุ่นในฐานะสัญลักษณ์ด้านนาวิกานุภาพของชาติ (คำว่า "ยะมะโตะ บางครั้งก็หมายถึงประเทศญี่ปุ่น) และถูกเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันจมช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปฏิบัติการฆ่าตัวตายเท็งโง ซึ่งการจมของเรือรบยะมะโตะ บางครั้งถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นด้ว.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1945)และเรือประจัญบานยะมะโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เส้นเวลาของสงครามโลกครั้งทีสอง (1945)เส้นเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง (1945)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »