โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไต้ฝุ่น

ดัชนี ไต้ฝุ่น

ต้ฝุ่นสามลูกขณะหมุนอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 พายุไต้ฝุ่น เป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ซึ่งก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่าง 180° กับ 100° ตะวันออก ซึ่งภูมิภาคนี้ถูกตั้งชื่อว่า "แอ่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ" สำหรับจุดประสงค์เกี่ยวกับองค์กร มหาสมุทรแปซฟิกตอนเหนือถูกแบ่งออกเป็นสามเขต ได้แก่ ทางตะวันออก (ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงลองติจูด 140° ตะวันตก) ตอนกลาง (140° ตะวันตกถึง 180°) และทางตะวันตก (180° ถึง 100° ตะวันออก) ปรากฏการณ์พายุแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกจะถูกเรียกว่า เฮอร์ริเคน และพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกจะถูกเรียกว่า ไต้ฝุ่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ซึ่งมีหน้าที่พยากรณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนอื่น ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งอยู่ในโฮโนลูลู (ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น) ฟิลิปปินส์และฮ่องกง ขณะที่ RSMC ตั้งชื่อในแต่ละระบบ ตัวรายชื่อหลักนั้นเป็นความร่วมมือกันระหว่าง 18 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นทุกปี ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ พายุไต้ฝุ่นไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับพายุหมุนเขตร้อนทั่วไป ปัจจัยที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นก่อตัวและมีความเร็วเพิ่มขึ้นนั้นมีหกประการ ได้แก่ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อุ่นเพียงพอ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ระดับความชื้นสัมพัทธ์สูงในชั้นโทรโพสเฟียร์ระดับล่างถึงกลาง แรงโคริโอลิสที่มากพอที่จะสร้างศูนย์ความดันอากาศต่ำ การรบกวนหรือจุดรวมระดับต่ำที่มีอยู่แล้ว และวินเชียร์แนวดิ่งต่ำ พายุไต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายน ขณะที่พายุหมุ่นเขตร้อนก่อตัวขึ้นอย่างน้อยก็ระหว่างเดือนธันวาคมและพฤษภาคม โดยเฉลี่ยแล้ว มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุดและรุนแรงที่สุดในโลก เช่นเดียวกับแอ่งอื่น ๆ พายุจะถูกนำทางโดยลิ่มความกดอากาศสูงเหนือเขตร้อนไปทางตะวันตกหรือตะวันตกเฉยงเหนือ โดยมีบางลูกที่ย้อนกลับมาใกล้ทางตะวันออกของญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการขึ้นฝั่ง จีนและญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยกว่าบ้าง พายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ได้พัดเข้าถล่มจีน ทางตอนใต้ของจีนมีบันทึกผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นที่ยาวนานที่สุด ซึ่งสามารถย้อนหลังไปได้นับพันปีผ่านเอกสารในหอจดหมายเหตุ ไต้หวันเคยประสบกับพายุไต้ฝุ่นที่เปียกที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ.

8 ความสัมพันธ์: พายุหมุนเขตร้อนมหาสมุทรแปซิฟิกศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคความชื้นสัมพัทธ์ประเทศไต้หวันแรงคอริออลิสโฮโนลูลูโทรโพสเฟียร์

พายุหมุนเขตร้อน

รนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากอวกาศ พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก.

ใหม่!!: ไต้ฝุ่นและพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ไต้ฝุ่นและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค

ูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (Regional Specialized Meteorological Center, ย่อว่า RSMC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการเผยแพร่ข้อมูล คำแนะนำ และคำเตือนทางอุตุนิยมวิทยาในภูมิภาคที่ตนเองตั้งอยู่ ได้รับการยอมรับโดยความเห็นพ้องที่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในฐานะส่วนหนึ่งของหน่วยงานการเฝ้าระวังสภาพอากาศโลก.

ใหม่!!: ไต้ฝุ่นและศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค · ดูเพิ่มเติม »

ความชื้นสัมพัทธ์

กรมิเตอร์สำหรับวัดความชื้นในอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity - rH) เป็นหน่วยวัดหนึ่งที่นิยมใช้วัดระดับความชื้นในอากาศ มีนิยามคือ อัตราส่วนโดยมวลของไอน้ำในอากาศในขณะหนึ่ง(ที่อุณหภูมิหนึ่ง) ต่อ ไอน้ำสูงสุดที่อากาศ (ที่อุณหภูมินั้น) สามารถแบกรับไว้ได้.

ใหม่!!: ไต้ฝุ่นและความชื้นสัมพัทธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: ไต้ฝุ่นและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

แรงคอริออลิส

แรงคอริออลิส (coriolis force) เป็นแรงเสมือนซึ่งเกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเอง แรงโคริออริสไม่มีอิทธิพลต่อกระแสลมที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร แต่จะมีอิทธิพลมากขึ้นในละติจูดสูงเข้าใกล้ขั้วโลก แรงโคริออริสทำให้ลมในซีกโลกเหนือเบี่ยงเบนไปทางขวา และทำให้ลมในซีกโลกใต้เบี่ยงเบนไปทางซ้าย ในบริเวณซีกโลกเหนือ ไซโคลนหมุนตัวทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลาง ในบริเวณซีกโลกใต้ ไซโคลนหมุนตัวตามเข็มนาฬิกา สำหรับประเทศไทยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรจึงทำให้ไซโคลนหมุนทวนเข็มนาฬิกา ค้นพบครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ กัสปาร์-กุสตาฟว์ เดอ กอรียอล.

ใหม่!!: ไต้ฝุ่นและแรงคอริออลิส · ดูเพิ่มเติม »

โฮโนลูลู

นลูลู (Honolulu) เป็นเมืองหลวงรัฐและเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา แม้ว่า โฮโนลูลู จะหมายถึงเมืองที่ทอดตัวยาวไปตามชายฝั่งด้านทิศใต้ของเกาะ แต่โดยทั่วไปแล้วชื่อนี้มักเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงเกาะโอวาฮูทั้งเกาะ โฮโนลูลูมีความหมายในภาษาฮาวายว่า "อ่าวแห่งความสงบ" หรือ "สถานที่แห่งความสงบ" โดย "สงบ" ในที่นี้หมายถึง ความสงบจากเรื่องร้าย ๆ ต่าง ๆ ในชีวิตของผู้คนชาวเมือง เมืองโฮโนลูลูทอดยาวไปตามชายฝั่งด้านทิศใต้ของเกาะโอวาฮู การสำมะโนประชากรปี..

ใหม่!!: ไต้ฝุ่นและโฮโนลูลู · ดูเพิ่มเติม »

โทรโพสเฟียร์

แสดงชั้นบรรยากาศของโลก โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) (คำว่าโทรโพ (Tropo) มาจากภาษากรีกแปลว่า หมุน หรือ ผสม) บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ เมฆ  พายุ  ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ  เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้  อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆอยู่ระหว่าง 0-10 กม.

ใหม่!!: ไต้ฝุ่นและโทรโพสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พายุไต้ฝุ่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »