โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เวสต์แบงก์

ดัชนี เวสต์แบงก์

แผนที่เขตเวสต์แบงก์ เวสต์แบงก์ (West Bank; الضفة الغربية; הגדה המערבית หรือ יהודה ושומרון ซึ่งแปลว่า "จูเดียและซาแมเรีย") เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่งที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เวสต์แบงก์มีพรมแดนทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ร่วมกับรัฐอิสราเอล ส่วนทางทิศตะวันออกข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปจะเป็นอาณาเขตของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน นอกจากนี้ เวสต์แบงก์ยังมีชายฝั่งทะเลตลอดแนวฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซีอีกด้วย เขตเวสต์แบงก์ (รวมนครเยรูซาเลมส่วนตะวันออก) มีเนื้อที่บนบก 5,640 ตารางกิโลเมตร และมีเนื้อที่พื้นน้ำ 220 ตารางกิโลเมตรซึ่งได้แก่ส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซี ประมาณการกันว่ามีจำนวนประชากร 2,622,544 คน ณ เดือนมิถุนายน..

25 ความสัมพันธ์: ชาวยิวฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งราชอาณาจักรเยรูซาเลมราบัตสหราชอาณาจักรสหประชาชาติสงครามหกวันสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948สงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอาหรับองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ฮะมาสจักรวรรดิออตโตมันทะเลเดดซีดินแดนปาเลสไตน์คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศฉนวนกาซาประเทศอิสราเอลประเทศจอร์แดนปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)แม่น้ำจอร์แดนเยรูซาเลมตะวันออกเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

แผนที่โลกแสดงฝ่ายต่าง ๆ ของผู้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สีเขียวคือฝ่ายสัมพันธมิตร สีส้มคือฝ่ายมหาอำนาจกลาง และสีเทาคือประเทศที่เป็นกลาง พันธมิตรทางทหารในทวีปยุโรปก่อนเกิดสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (Forces de l'Entente / Alliés; Alleati; Союзники, Soyuzniki) เป็นประเทศที่ทำสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สมาชิกของข้อตกลงไตรภาคีได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส จักรวรรดิอังกฤษ และจักรวรรดิรัสเซีย ต่อมา อิตาลีเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายไตรภาคีในปี 1915 ส่วนญี่ปุ่น เบลเยียม เซอร์เบีย กรีซ มอนเตเนโกร โรมาเนีย และ ลีเจียนเชกโกสโลวาเกีย เป็นสมาชิกรองของข้อตกลง.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม หรือ ราชอาณาจักรละตินแห่งเยรูซาเลม (Kingdom of Jerusalem หรือ Latin Kingdom of Jerusalem) เป็นอาณาจักรคริสเตียนที่ก่อตั้งในบริเวณลว้าน (Levant) ในปี ค.ศ. 1099 หลังสงครามครูเสดครั้งที่ 1 และยืนยงต่อมาร่วมสองร้อยปีจนถึงปี ค.ศ. 1291 เมื่อเอเคอร์ดินแดนสุดท้ายที่เป็นของอาณาจักรถูกทำลายโดยมามลุค (Mamluk) ในระยะแรกราชอาณาจักรเป็นเพียงกลุ่มเมืองใหญ่และเล็กที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ระหว่างสงครามครูเสด ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาบริเวณที่ปัจจุบันคืออิสราเอล และอาณาดินแดนปาเลสไตน์ (Palestinian territory) ที่ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณเลบานอนปัจจุบันไปจนถึงทางเหนือของทะเลทรายไซนายทางด้านไต้ ไปยังจอร์แดน และซีเรียทางด้านตะวันออก ระหว่างนั้นก็มีการพยายามที่จะขยายดินแดนไปยังฟาติมิยะห์ (Fatimid) อียิปต์ นอกจากนั้นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็ยังมีอำนาจบางอย่างเหนืออาณาจักรครูเสดอื่นๆ, ตริโปลี, อันติโอค, และเอเดสสา ประเพณีและระบบต่างที่ใช้ในอาณาจักรนำมาจากยุโรปตะวันตกกับนักการสงครามครูเสด ระบบการปกครองและความเกี่ยวดองกับยุโรปเป็นไปตลอดอายุของอาณาจักร แต่เมื่อเทียบกับอาณาจักรในยุโรปแล้วราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็เป็นเพียงอาณาจักรที่ค่อนข้างเล็กและมักจะขาดการหนุนหลังทางด้านการเงินและทางการทหารจากยุโรป ราชอาณาจักรเยรูซาเลมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชอาณาจักรข้างเคียงมากกว่าเช่นราชอาณาจักรอาร์มิเนียแห่งซิลิเซีย (Armenian Kingdom of Cilicia) และจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ได้รับอิทธิพลตะวันออกมา นอกจากนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลจากระบบมุสลิม แต่ทางด้านสังคมแล้วผู้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรจากยุโรปตะวันตกแทบไม่มีการติดต่อกับมุสลิมหรือชนคริสเตียนท้องถิ่นที่ปกครองเลย ในระยะแรกฝ่ายมุสลิมไม่มีความสนใจกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมเท่าใดนักจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออาณาจักรของมุสลิมเริ่มแข็งตัวขึ้นและเริ่มยึดดินแดนที่เสียไปคืนอย่างเป็นจริงเป็นจัง เยรูซาเลมเสียแก่ซาลาดินในปี ค.ศ. 1187 และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนของราชอาณาจักรก็เหลือเพียงแถบตามแนวฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพร้อมกับเมืองสำคัญๆ สองสามเมือง ในช่วงนี้ราชอาณาจักรที่บางครั้งก็เรียกว่า “ราชอาณาจักรเอเคอร์” ก็ปกครองโดยราชวงศ์ลูซิยัน (Lusignan) ของนักครูเสดจากราชอาณาจักรไซปรัส และมีความสัมพันธ์ดีกับทริโปลี, อันติออคและอาร์มีเนีย และได้รับอิทธิพลจากสาธารณรัฐเวนิส และสาธารณรัฐเจนัว และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกันอาณาจักรมุสลิมรอบข้างก็รวมตัวกันภายใต้ราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid) และต่อมาราชวงศ์มามลุคของอียิปต์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลมจึงกลายเป็นเบี้ยประกันของการสงครามและการเมืองในบริเวณนั้น ที่ตามมาโดยการโจมตีโดย คแวเรซเมียน (Khwarezmians) และจักรวรรดิโมกุลราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในที่สุดก็ถูกมามลุคสุลต่านไบบาร์ส (Baibars) และอัล-อัชราฟ คาลิล (al-Ashraf Khalil) ยึดดินแดนที่เหลืออยู่ทั้งหมดได้ รวมทั้งการทำลายเอเคอร์ในปี ค.ศ. 1291.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และราชอาณาจักรเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

ราบัต

ราบัต (Rabat), อัรเราะบาฏ (الرباط) หรือ เอร์บัต (เบอร์เบอร์: ⴻⵔⵔⴱⴰⵟ) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศโมร็อกโก มีประชากรประมาณ 650,000 คน ตั้งอยู่ติดมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นแหล่งอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมผ้.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และราบัต · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามหกวัน

งครามหกวัน (Six-Day War., מלחמת ששת הימים) เป็นสงครามระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ หลังจากวิกฤตการณ์สุเอซ ญะมาล อับดุนนาศิร ประธานาธิบดีของประเทศอียิปต์ได้ขอให้สหประชาชาติถอนกำลังออกไปจากอียิปต์แล้ว กองทัพของอียิปต์ได้เคลื่อนที่เข้ายึดฉนวนกาซาและปิดล้อมอ่าวอะกาบา และห้ามไม่ให้เรือสินค้าของอิสราเอลผ่าน อิสราเอลจึงได้โจมตีอียิปต์ก่อน ทำให้เกิดสงครามระหว่างยิวกับอาหรับขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยสงครามนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ถึง 10 มิถุนายน..

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และสงครามหกวัน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948

งครามอาหรับ-อิสราเอล..

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับ

กลุ่มประเทศอาหรับ อาหรับ (عربي, ʿarabi พหูพจน์ العرب al-ʿarab, Arab) คือบุคคลกลุ่มบุคคลที่มีชาติพันธุ์ พูดภาษา หรือมีวัฒนธรรมที่เรียกว่า “อาหรับ”เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยในบริเวณคาบสมุทรอาหรับที่เป็นทะเลทราย รวมทั้งชนชาติที่พูดภาษาอาหรับในเอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่าอาหรับในตระกูลภาษาเซมิติกแปลว่าทะเลทรายหรือผู้อาศัยอยู่ในทะเลทราย ส่วนใหญ่ดำรงชีพแบบเร่ร่อน จึงแปลคำว่าอาหรับว่าเร่ร่อนได้ด้วย ชาวอาหรับเป็นชาวเซมิติกเช่นเดียวกับชาวยิว จัดอยู่ในพวกคอเคเซอยด์ ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่ากล่าวว่าอับราฮัมมีลูกชาย 2 คน คนโตชื่ออิสไมส์หรืออิสมาอีลเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับ คนที่ 2 ชื่อไอแซกเป็นต้นตระกูลของชาวยิว ก่อนที่มุฮัมมัดจะประกาศศาสนาอิสลามชาวอาหรับจะอยู่กันเป็นเผ่า จงรักภักดีต่อเผ่าของตนมาก วิถีชีวิตของชาวอาหรับมีสองแบบ คือแบบอยู่เป็นหมู่บ้าน มีอาชีพค้าขายและทำการเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเรียกว่าเบดูอิน อาศัยอยู่ในกระโจมเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก ชาวเบดูอินกับชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานมักดูถูกกัน ไม่ลงรอยกัน หลังจากมุฮัมมัดประกาศศาสนาอิสลาม จึงเกิดความสามัคคีในหมูชาวอาหรับ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในยุคแรกๆมักถูกกลั่นแกล้งและปราบปรามจึงเกิดการทำญิฮาดหรือการต่อสู้เพื่อศาสนาขึ้น ปัจจุบันประเทศที่จัดว่าเป็นประเทศอาหรับเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ ในปัจจุบันมีสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย จิบูตี บาห์เรน อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย มอริตาเนีย โมร็อกโก โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย ตูนีเซีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เยเมน ในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในหมู่ชาวอาหรับอยู่ เช่น ปัญหาปาเลสไตน์ ความขัดแย้งทางศาสนา เช่น ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ในเลบานอน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่และชีอะห์ เป็นต้น ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่เก่ากว่าวัฒนธรรมอาหรับที่เริ่มเผยแพร่ในตะวันออกกลางตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่ออาหรับคริสเตียนเช่นกาสนาวิยะห์ ลักห์มิยะห์ และ Banu Judham เริ่มโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานในทะเลทรายซีเรียและในบริเวณลว้าน ภาษาอาหรับเพิ่มความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในการเป็นภาษาของอัลกุรอาน และวัฒนธรรมอาหรับก็เริ่มเผยแพร่ออกไปพร้อมกับการขยายดินแดนของอิสลาม.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์

องค์การบริหารปาเลสไตน์ (السلطة الوطنية الفلسطينية‎ As-Sulṭah Al-Waṭaniyyah Al-Filasṭīniyyah) เป็นองค์การปกครองที่ตั้งขึ้นเพื่อปกครองเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา เป็นผลของข้อตกลงกรุงออสโลปี 2537 นับแต่สถาปนา ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ และในปี 2556 รัฐบาลฟาตาห์ที่นานาประเทศรับรองในเวสต์แบงก์เปลี่ยนชื่อตนเองเป็นรัฐปาเลสไตน์ หลังการเลือกตั้งในปี 2549 และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตามมาระหว่างพรรคฟาตาห์และฮามาส อำนาจขององค์การฯ จึงขยายไปถึงเพียงเวสต์แบงก.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization, ย่อ: PLO; منظمة التحرير الفلسطينية) เป็นองค์การซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2507 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรัฐปาเลสไตน์เอกราช กว่า 100 รัฐรับรององค์การฯ เป็น "ผู้แทนโดยชอบแต่ผู้เดียวของชาวปาเลสไตน์" ซึ่งองค์การฯ มีความสัมพันธ์ทางทูตด้วยMadiha Rashid al Madfai, Jordan, the United States and the Middle East Peace Process, 1974–1991, Cambridge Middle East Library, Cambridge University Press (1993).

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะมาส

มาส (حماس) ย่อมาจาก ฮะเราะกะฮ์ อัลมุกอวะมะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์ (حركة المقاومة الاسلامية) เป็นพรรคการเมืองหนึ่งของปาเลสไตน์ที่นับถือศาสนาอิสลามและมีกองกำลังติดอาวุธ มักถูกเรียกว่า กลุ่มหัวรุนแรงฮะมาส หรือ กลุ่มติดอาวุธฮะมาส ซึ่งมักก่อเหตุโจมตีกลุ่มฟะตะห์โดยใช้ระเบิดพลีชีพ อามาสเป็นขบวนการที่เป็นผลพวงของการต่อต้านอิสราเอลใน..

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และฮะมาส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเดดซี

ทะเลเดดซีมุมมองจากฝั่งอิสราเอลมองข้ามไปยังจอร์แดน นักท่องเที่ยวสามารถลอยตัวในทะเลเดดซีเนื่องจากความเข้มข้นของเกลือสูง ทะเลเดดซี หรือ ทะเลมรณะ (Dead Sea; البَحْر المَيّت‎, อัลบะฮฺรุ อัลมัยยิต; יָם הַ‏‏מֶ‏ּ‏לַ‏ח‎, ยัม ฮาเมลาห์ (ทะเลเกลือ)) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก อยู่ตรงเขตแดนประเทศจอร์แดน รัฐปาเลสไตน์ และอิสราเอล ระดับน้ำอยู่ต่ำที่สุด ทะเลเดดซีอยู่ระหว่างเทือกเขายูเดียที่ด้านเหนือ และที่ราบสูงทรานสจอร์แดนที่ด้านตะวันออก แม่น้ำจอร์แดนจะไหลจากทางเหนือมายังทะเลเดดซีนี้ ซึ่งมีความยาว 80 กิโลเมตร และมีความกว้างถึง 18 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่นั้น 1,020 ตารางกิโลเมตร แหลมอัลลิซาน (แปลว่า ลิ้น) แบ่งทะเลสาบด้านตะวันออกเป็นสองส่วน ตอนเหนือใหญ่กว่า ล้อมรอบพื้นที่ 3/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนความลึกนั้นประมาณ 400 เมตร แอ่งตอนเหนือนั้นเล็ก และตื้น (ลึกประมาณ 3 เมตร) ในสมัยที่เขียนคัมภีร์ไบเบิล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 พื้นที่บริเวณตอนเหนือเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย และระดับน้ำต่ำกว่าในปัจจุบัน 35 เมตร คนชาวอาหรับจะเรียกทะเลสาบเดดซีกันว่า "อัลบาห์รัลไมยิต” หมายความว่า ทะเลมรณะ เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ ขณะที่ภาษาฮีบรูเรียกทะเลสาบนี้ว่า "ยัมฮาเมละฮ์" ซึ่งหมายความว่า "ทะเลเกลือ" เป็นทะเลที่เค็มที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เค็มกว่าทะเลอื่นถึง 4 เท่า มีความยาว 76 กิโลเมตร กว้างถึง 18 กิโลเมตร มีจุดที่ลึกที่สุดคือ 400 เมตร และอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 417.5 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลกอีกแห่งด้วย สำหรับทะเลสาบเดดซี เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ชื่นชอบในการเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นทะเลที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่เลย ยกเว้นแต่แบคทีเรียและเห็ดราบางชน.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และทะเลเดดซี · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนปาเลสไตน์

นแดนปาเลสไตน์หรือดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองประกอบด้วยเวสต์แบงก์ (รวมเยรูซาเลมตะวันออก) และฉนวนกาซา ในปี 2536 ตามข้อตกลงออสโล ในทางการเมือง บางส่วนของดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้เขตอำนาจขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (พื้นที่เอและบี) ในปี 2550 ฉนวนกาซาที่ฮามาสปกครองแยกจากองค์การบริหารปาเลไสตน์อย่างรุนแรง และปกครองพื้นที่กาซาเป็นอิสระนับแต่นั้น อิสราเอลยังควบคุมทางทหาร (military control) สมบูรณ์ และตามข้อตกลงออสโล ควบคุมทางพลเรือน (civil control) เหนือ 61% ของเวสต์แบงก์ (พื้นที่ซี) ในเดือนเมษายน 2554 ภาคีปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติยังสะดุดอยู่หลังจากนั้น ความพยายามปรองดองต่อมาในปี 2555 ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน พื้นที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซาเป็นส่วนของดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนในปาเลสไตน์ในอาณัติภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งในปี 2465 นับแต่สงครามอาหรับ–อิสราเอล ปี 2491 กระทั่งสงครามหกวัน ปี 2510 เวสต์แบงก์ถูกจอร์แดนยึดครองและผนวก (เฉพาะสหราชอาณาจักรและปากีสถานรับรองการผนวก) และฉนวนกาซาถูกอียิปต์ยึดครอง แม้รัฐบาลปาเลสไตน์ล้วน (All-Palestine Government) ใช้อำนาจอย่างจำกัดในกาซาตั้งแต่เดือนกันยายน 2491 ถึงปี 2502 ก็ตาม แนวพรมแดนซึ่งเป็นเรื่องของการเจรจาในอนาคต ประชาคมนานาชาติถือโดยทั่วไปว่านิยามโดยเส้นสีเขียวอันแทนเส้นการสงบศึกภายใต้ความตกลงการสงบศึกปี 2492 ซึ่งประกาศเส้นการสงบศึกอย่างชัดเจน มิใช่พรมแดนระหว่างประเทศ เนื่องจากอิสราเอลยึดดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาจากจอร์แดนและอียิปต์ตามลำดับในสงครามหกวัน ปี 2510 และได้รักษาการควบคุมดินแดนดังกล่าวนับแต่นั้น ประชาคมนานาชาติ รวมทั้งสหประชาชาติและองค์การกฎหมายระหว่างประเทศจึงมักเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง" ในปี 2523 อิสราเอลผนวกเยรูซาเลมตะวันออกอย่างเป็นทางการ การผนวกดังกล่าวถูกนานาชาติประณามและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศให้ "ไม่มีผลและเป็นโมฆะ" ขณะที่ชาติอิสราเอลมองว่า เยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของประเทศ ในปี 2531 ด้วยองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์มีเจตนาประกาศรัฐปาเลสไตน์ จอร์แดนจึงยอมสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเวสต์แบงก์ รวมเยรูซาเลมตะวันออก ตั้งแต่คำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ในปี 2531 มีชาติสมาชิกสหประชาชาติประมาณ 130 ชาติรับรองรัฐปาเลสไตน์ อันประกอบด้วยดินแดนปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลและชาติตะวันตกบางชาติ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ยังไม่รับรอง ทว่า ไม่นาน องค์การบริหารปาเลสไตน์ถูกตั้งขึ้นตามผลของข้อตกลงออสโล ปี 2536 โดยควบคุมเหนือบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาอย่างจำกัด องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สหภาพยุโรป ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและกาชาดสากลถือว่าเยรูซาเลมตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของเวสต์แบงก์ และจึงเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนปาเลสไตน์ตามลำดับ ขณะที่อิสราเอลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตนอันเป็นผลจากการผนวกในปี 2523 ตามศาลสูงสุดอิสราเอล อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ซึ่งห้ามการผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองฝ่ายเดียว ใช้ไม่ได้กับเยรูซาเลมตะวันออก เพราะอิสราเอลและพันธมิตรไม่รับรอง "องค์อธิปัตย์ที่ชอบด้วยกฎหมาย" ที่เดิมเคยควบคุมดินแดนนั้น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (ซึ่งล่าสุดเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐปาเลสไตน์ อันเป็นผลจากสหประชาชาติรับรองเอกราช) ซึ่งรักษาการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเยรูซาเลมตะวันออก ไม่เคยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าว ทว่า ไม่มีประเทศใดรับรองอำนาจอธิปไตยของอิสราเอล นับแต่การผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองระหว่างสงครามฝ่ายเดียวโดยฝ่าฝืนอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ข้อตกลงออสโล (2538) สถาปนาการออกสู่ทะเลสำหรับกาซาภายใน 20 ไมล์ทะเลจากฝั่ง ข้อผูกมัดเบอร์ลินปี 2545 ลดเหลือ 19 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม 2549 อิสราเอลกำหนดขีดจำกัด 6 ไมล์ และผลของสงครามกาซาจำกัดการออกลงเหลือขีดจำกัด 3 ไมล์ทะเล ซึ่งเกินกว่านั้นมีเขตห้ามเข้า (no-go zone) ผลคือ ชาวประมงกว่า 3,000 คนถูกปฏิเสธการออกสู่ 85% ของพื้นที่ทะเลตามที่ตกลงกันในปี 2538 พื้นที่เดดซีส่วนใหญ่ถูกห้ามไม่ให้ชาวปาเลสไตน์ใช้ และชาวปาเลสไตน์ถูกห้ามไม่ให้ออกสู่แนวชายฝั่ง การยึดกาซาของฮามาสแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ทางการเมือง โดยฟาตาห์ของอับบาสส่วนใหญ่ปกครองเวสต์แบงก์ และนานาชาติรับรองเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ ฉนวนกาซาภายในพรมแดนถูกฮามาสปกครอง ขณะที่พื้นที่เวสต์แบงก์ส่วนมากปกครองโดยองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ซึ่งตั้งอยู่ที่รอมัลลอฮ์ ทว่า มีความตกลงเมื่อเดือนเมษายน 2557 ระหว่างสองกลุ่มการเมืองจะจัดการเลือกตั้งในปลายปี 2557 และตั้งรัฐบาลเอกภาพปรองดอง.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และดินแดนปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ

ณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross; ICRC / Comité international de la Croix-Rouge (CICR)) เป็นองค์กรมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศสวิสเซอร์แลนด์เมื่อปี..

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ฉนวนกาซา

ฉนวนกาซา (Gaza Strip; قطاع غزة; רצועת עזה‎) เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณแคบ ๆ ขนาด 360 ตร.กม. ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง โดยมีประชากรชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพลี้ภัย โดยในการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม ปี..

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์แดน

ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan; المملكة الأردنية الهاشمية) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (Jordan; الأردن Al-Urdunn อัลอุรดุน) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมทั้งติดต่อกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครองทางทิศตะวันตก จอร์แดนเป็นประเทศที่เกือบไม่มีทางออกสู่ทะเล มีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกอบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และประเทศจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (فلسطين‎ ฟาลัสติน) (Palestine) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ Carl S. Ehrlich "Philistines" The Oxford Guide to People and Places of the Bible.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และปาเลสไตน์ (ภูมิภาค) · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำจอร์แดน

แม่น้ำจอร์แดน (ฮิบรู: נהר הירדן Nehar haYarden, نهر الأردن Nahr al-Urdun) เป็นแม่น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันตก มีความยาวทั้งสิ้น 251 กิโลเมตร ไหลลงสู่ทะเลเดดซี ปัจจุบันถือเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างอิสราเอลกับจอร์แดน ในความเชื่อของชาวคริสเตียนเชื่อว่าพระเยซูได้รับเข้าพิธีล้างจากนักบุญยอห์น แบปติสต์ ที่แม่น้ำแห่งนี้ อีกทั้งชื่อของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนก็มาจากชื่อแม่น้ำสายนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และแม่น้ำจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลมตะวันออก

รูซาเลมตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเยรูซาเลมที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของเยรูซาเลมตะวันตก โดยครอบคลุมเขตเมืองเก่าและสถานที่ศักดิสิทธิ์ที่สำคัญต่อศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาห์ และศาสนาอิสลาม ได้แก่ เนินพระวิหาร, กำแพงโอดครวญ, โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ มัสยิดอัลอักศอ และโดมแห่งศิลา ปัจจุบันเมืองนี้เป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของรัฐปาเลสไตน์แม้ว่าที่ทำการรัฐบาลจะอยู่ที่รอมัลลอ.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และเยรูซาเลมตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ริเวณที่อาจนับได้ว่าเป็นบอลข่านและแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Asia) หรืออาจเรียกว่า เอเชียตะวันตก หรือ ตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลาง ล้อมรอบด้วยทะเล 5 แห่งคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ ทะเลแคสเปียน ทะเลอาหรับ ทะเลแดง และดินแดนในภูมิภาคนี้มีความเจริญทางอารยธรรมอย่างมากเช่น อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส ภูมิภาคนี้มีพื้นที่ประมาณ 6,835,500 ตารางกิโลเมตร มีศาสนาที่สำคัญคือศาสนาอิสลาม ศาสนายูดายห์ของอิสราเอล และมีนับถือศาสนาคริสต์ในไซปรัส ปัจจุบันภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกแยกกันในเรื่องเชื้อชาติและศาสนา บางประเทศอาจถูกจัดให้อยู่ในทวีปยุโรปแทน เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีปยุโรปมากกว่า ได้แก่ ไซปรัส อาร์มีเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน.

ใหม่!!: เวสต์แบงก์และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

West Bankเวสต์แบงค์เขตเวสต์แบงก์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »