เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เวสต์แบงก์

ดัชนี เวสต์แบงก์

แผนที่เขตเวสต์แบงก์ เวสต์แบงก์ (West Bank; الضفة الغربية; הגדה המערבית หรือ יהודה ושומרון ซึ่งแปลว่า "จูเดียและซาแมเรีย") เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่งที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เวสต์แบงก์มีพรมแดนทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ร่วมกับรัฐอิสราเอล ส่วนทางทิศตะวันออกข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปจะเป็นอาณาเขตของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน นอกจากนี้ เวสต์แบงก์ยังมีชายฝั่งทะเลตลอดแนวฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซีอีกด้วย เขตเวสต์แบงก์ (รวมนครเยรูซาเลมส่วนตะวันออก) มีเนื้อที่บนบก 5,640 ตารางกิโลเมตร และมีเนื้อที่พื้นน้ำ 220 ตารางกิโลเมตรซึ่งได้แก่ส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซี ประมาณการกันว่ามีจำนวนประชากร 2,622,544 คน ณ เดือนมิถุนายน..

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 40 ความสัมพันธ์: ฟะตะห์ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์พ.ศ. 2537พรรคการเริ่มต้นชาติปาเลสไตน์พรรคประชาชนปาเลสไตน์กองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์กองพลอาบู อาลี มุสตาฟากองพลน้อยผู้พลีชีพอัลอักซาญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกีรัฐปาเลสไตน์รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่รายชื่อประเทศตามอัตราการเกิดรายชื่อประเทศตามอัตราการเสียชีวิตรายชื่อประเทศตามอัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรมรายชื่อประเทศตามจำนวนประชากรในอดีต (ประมาณการโดยสหประชาชาติ)รายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรสงครามหกวันองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ฮะมาสฮีบรอนธรรมศาลาดินแดนปาเลสไตน์คริสต์ทศวรรษ 1980ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ตะวันออกกลางฉนวนกาซาประเทศอิสราเอลปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์โบสถ์พระคริสตสมภพไฟป่าบนภูเขาคาร์เมล พ.ศ. 2553เบธเลเฮมเกรตริฟต์แวลลีย์เส้นเมริเดียนที่ 35 องศาตะวันออกเขตเวลา1 E+9 m²

ฟะตะห์

ฟะตะห์ หรือ ฟัตห์ (Fatah; فتح) เป็นพรรคการเมืองของปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นขั้วอำนาจปาเลสไตน์กับกลุ่มฮะมาส ได้สู้รบกันมาตลอด และต่อมาได้เจรจาหยุดยิงและมีการเลือกตั้งในปาเลสไตน์ 25 มกราคม พ.ศ.

ดู เวสต์แบงก์และฟะตะห์

ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์

ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์ เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากรัฐปาเลสไตน์ สำหรับการแข่งขันในระดับชาติ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ (PFA) โดยเป็นชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ในสมัยที่รัฐปาเลสไตน์ยังเป็นดินแดนปาเลสไตน์ในอาณัติที่ปกครองโดยสหราชอาณาจักร สมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ในอาณัติได้ก่อตั้งขึ้นในปี..

ดู เวสต์แบงก์และฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์

พ.ศ. 2537

ทธศักราช 2537 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1994 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู เวสต์แบงก์และพ.ศ. 2537

พรรคการเริ่มต้นชาติปาเลสไตน์

รรคการเริ่มต้นชาติปาเลสไตน์ (Palestinian National Initiative;ภาษาอาหรับ: المبادرة الوطنية الفلسطنية al-Mubadara al-Wataniyya al-Filistiniyya) เป็นพรรคการเมืองในปาเลสไตน์ นำโดย ดร.

ดู เวสต์แบงก์และพรรคการเริ่มต้นชาติปาเลสไตน์

พรรคประชาชนปาเลสไตน์

รรคประชาชนปาเลสไตน์ (Palestinian People's Party; ภาษาอาหรับ: حزب الشعب الفلسطيني Hizb al-Sha'b al-Filastini) ก่อตั้งเมื่อ..

ดู เวสต์แบงก์และพรรคประชาชนปาเลสไตน์

กองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์

กองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Popular Front for the Liberation of Palestine-General Command) เป็นกลุ่มที่แยกตัวออกมาจากแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ เมื่อ..

ดู เวสต์แบงก์และกองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์

กองพลอาบู อาลี มุสตาฟา

กองพลอาบู อาลี มุสตาฟา (Abu Ali Mustapha Brigades; ภาษาอาหรับ: katā'ib abu ‘ali mustafā) เป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ ในเขตปกครองปาเลสไตน์ในเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซา และเยรูซาเล็มตะวันออก กองพลนี้ตั้งชื่อตามอาบู อาลี มุสตาฟา ผู้นำแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลลอบสังหารเมื่อเดือนสิงหาคม..

ดู เวสต์แบงก์และกองพลอาบู อาลี มุสตาฟา

กองพลน้อยผู้พลีชีพอัลอักซา

กองพลน้อยผู้พลีชีพอัลอักซา (al-Aqsa Martyrs' Brigades, كتائب شهداء الأقصى) เป็นกลุ่มทหารของปาเลสไตน์ที่เป็นกลุ่มย่อยของฟาตะห์ มีอุดมการณ์ต่อต้านอิสราเอล ต้องการขับไล่ชาวยิวออกจากเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซาและเยรูซาเลม เพื่อจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ เป้าหมายของกลุ่มเป็นพลเรือน อิสราเอล สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปจัดให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มก่อการร้าย กลุ่มนี้ตั้งชื่อตามมัสยิดอัลอักซา ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม สมาชิกของกลุ่มแยกมาจากตันซีมหลังยัสเซอร์ อาราฟัตเสียชีวิตเมื่อ 11 พฤศจิกายน..

ดู เวสต์แบงก์และกองพลน้อยผู้พลีชีพอัลอักซา

ญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์

ญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ (Islamic Jihad Movement in Palestine หรือ Palestinian Islamic Jihad Movement;ภาษาอาหรับ حركة الجهاد الإسلامي في فلسطين, - Harakat al-Jihād al-Islāmi fi Filastīn) เป็นกองกำลังทางทหารของชาวปาเลสไตน์ที่ถูกจัดให้เป็นกลุ่มก่อการร้ายโดยสหรัฐ สหภาพยุโรป อังกฤษ ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลียและอิสราเอลพัฒนามาจากนักรบปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา ผู้นำกลุ่มคือ ราห์มาดาน ชาลลอห์ จุดมุ่งหมายต้องการสร้างรัฐปาเลสไตน์ที่เป็นรัฐอิสลามและทำลายล้างอิสราเอลด้วยญิฮาด ต่อต้านรัฐบาลอาหรับทุกประเทศที่ให้ความร่วมมือกับตะวันตก แต่แนวคิดของกลุ่มนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มประเทศอาหรับสายกลาง กองพลอัล-กุดส์ของญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์อ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตีทางทหารหลายครั้งรวมทั้งระเบิดพลีชีพ ญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์มีขนาดเล็กกว่ากลุ่มฮามาสและไม่มีเครือข่ายทางสังคมดังที่กลุ่มฮามาสมี กลุ่มนี้ก่อตั้งในฉนวนกาซาเมื่อราว..

ดู เวสต์แบงก์และญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ.

ดู เวสต์แบงก์และมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

รัฐปาเลสไตน์

แผนการแบ่งดินแดนของสหประชาชาติ รัฐปาเลสไตน์ (دولة فلسطين‎ Dawlat Filasṭin) เป็นรัฐที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 โดยสภาแห่งชาติขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่พลัดถิ่นในกรุงแอลเจียร์ ซึ่งเห็นชอบคำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ฝ่ายเดียว รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนิยามตามพรมแดนเมื่อปี 1967: "I would like to inform you that, before delivering this statement, I, in my capacity as President of the State of Palestine and Chairman of the Executive Committee of the Palestine Liberation Organization, submitted to H.E.

ดู เวสต์แบงก์และรัฐปาเลสไตน์

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ดู เวสต์แบงก์และรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

รายชื่อประเทศตามอัตราการเกิด

แผนที่แสดงอัตราการเกิด รายชื่อประเทศตามอัตราการเกิด อ้างอิงจาก CIA The World Factbook.

ดู เวสต์แบงก์และรายชื่อประเทศตามอัตราการเกิด

รายชื่อประเทศตามอัตราการเสียชีวิต

แผนที่แสดงอัตราการเสียชีวิต รายชื่อประเทศตามอัตราการเสียชีวิต อ้างอิงจาก CIA The World Factbook.

ดู เวสต์แบงก์และรายชื่อประเทศตามอัตราการเสียชีวิต

รายชื่อประเทศตามอัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรม

รายชื่อประเทศตามอัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรม จากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก.

ดู เวสต์แบงก์และรายชื่อประเทศตามอัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรม

รายชื่อประเทศตามจำนวนประชากรในอดีต (ประมาณการโดยสหประชาชาติ)

้านล่างนี้เป็น รายชื่อประเทศตามจำนวนประชากรในอดีต โดยเป็นข้อมูลการประมาณการของสหประชาชาต.

ดู เวสต์แบงก์และรายชื่อประเทศตามจำนวนประชากรในอดีต (ประมาณการโดยสหประชาชาติ)

รายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากร

นี่คือรายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรโดยจากการสำมะโนประชากร.

ดู เวสต์แบงก์และรายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากร

สงครามหกวัน

งครามหกวัน (Six-Day War., מלחמת ששת הימים) เป็นสงครามระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ หลังจากวิกฤตการณ์สุเอซ ญะมาล อับดุนนาศิร ประธานาธิบดีของประเทศอียิปต์ได้ขอให้สหประชาชาติถอนกำลังออกไปจากอียิปต์แล้ว กองทัพของอียิปต์ได้เคลื่อนที่เข้ายึดฉนวนกาซาและปิดล้อมอ่าวอะกาบา และห้ามไม่ให้เรือสินค้าของอิสราเอลผ่าน อิสราเอลจึงได้โจมตีอียิปต์ก่อน ทำให้เกิดสงครามระหว่างยิวกับอาหรับขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยสงครามนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ถึง 10 มิถุนายน..

ดู เวสต์แบงก์และสงครามหกวัน

องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์

องค์การบริหารปาเลสไตน์ (السلطة الوطنية الفلسطينية‎ As-Sulṭah Al-Waṭaniyyah Al-Filasṭīniyyah) เป็นองค์การปกครองที่ตั้งขึ้นเพื่อปกครองเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา เป็นผลของข้อตกลงกรุงออสโลปี 2537 นับแต่สถาปนา ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ และในปี 2556 รัฐบาลฟาตาห์ที่นานาประเทศรับรองในเวสต์แบงก์เปลี่ยนชื่อตนเองเป็นรัฐปาเลสไตน์ หลังการเลือกตั้งในปี 2549 และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตามมาระหว่างพรรคฟาตาห์และฮามาส อำนาจขององค์การฯ จึงขยายไปถึงเพียงเวสต์แบงก.

ดู เวสต์แบงก์และองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization, ย่อ: PLO; منظمة التحرير الفلسطينية) เป็นองค์การซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2507 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรัฐปาเลสไตน์เอกราช กว่า 100 รัฐรับรององค์การฯ เป็น "ผู้แทนโดยชอบแต่ผู้เดียวของชาวปาเลสไตน์" ซึ่งองค์การฯ มีความสัมพันธ์ทางทูตด้วยMadiha Rashid al Madfai, Jordan, the United States and the Middle East Peace Process, 1974–1991, Cambridge Middle East Library, Cambridge University Press (1993).

ดู เวสต์แบงก์และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์

ฮะมาส

มาส (حماس) ย่อมาจาก ฮะเราะกะฮ์ อัลมุกอวะมะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์ (حركة المقاومة الاسلامية) เป็นพรรคการเมืองหนึ่งของปาเลสไตน์ที่นับถือศาสนาอิสลามและมีกองกำลังติดอาวุธ มักถูกเรียกว่า กลุ่มหัวรุนแรงฮะมาส หรือ กลุ่มติดอาวุธฮะมาส ซึ่งมักก่อเหตุโจมตีกลุ่มฟะตะห์โดยใช้ระเบิดพลีชีพ อามาสเป็นขบวนการที่เป็นผลพวงของการต่อต้านอิสราเอลใน..

ดู เวสต์แบงก์และฮะมาส

ฮีบรอน

ีบรอน หรือ อัลคาลีล (الخليل; Hebron) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางใต้ของเวสต์แบงก์ ห่างจากกรุงเยรูซาเลม 30 กิโลเมตร ทางทิศเหนือ เป็นเมืองศักดิ์ของศาสนายิวและศาสนาอิสลาม อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 930 เมตร เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเวสต์แบงก์ มีชาวปาเลสไตน์อยู่ราว 165,000 คน.

ดู เวสต์แบงก์และฮีบรอน

ธรรมศาลา

ลาธรรมยิวในเมืองทรานี ในศาสนายูดาห์ ธรรมศาลา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศาลาธรรม (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (synagogue; συναγωγή; หมายถึง การชุมนุมหรือรวมตัว) เป็นศาสนสถานที่ใช้รวมกลุ่มกันทำการอธิษฐาน ทว่าสำหรับชาวยิวแล้ว พวกเขาไม่จำเป็นต้องไปธรรมศาลาเพื่อประกอบพิธี หากรวมตัวได้ครบองค์ประชุม (Quorum) ที่ประกอบด้วยผู้ชายที่บรรลุนิติภาวะแล้วจำนวนสิบคน เรียกว่า "องค์คณะสิบ" หรือ "มินยัน" (Minyan) ก็สามารถประกอบพิธีได้ เมื่อก่อนไม่อนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในองค์คณะสิบ แต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2001, ยิวอนุรักษ์นิกายอนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในคณะมินยันได้ ในชุมชนยิวปัจจุบัน ธรรมศาลาไม่ได้มีไว้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น เช่น สถานที่จัดเลี้ยง โรงเรียนสอนศาสนา ห้องสมุด ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเวลากลางวัน และครัวโคเชอร์ (Kosher) ตามหลักมาตรฐานอาหารยิว.

ดู เวสต์แบงก์และธรรมศาลา

ดินแดนปาเลสไตน์

นแดนปาเลสไตน์หรือดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองประกอบด้วยเวสต์แบงก์ (รวมเยรูซาเลมตะวันออก) และฉนวนกาซา ในปี 2536 ตามข้อตกลงออสโล ในทางการเมือง บางส่วนของดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้เขตอำนาจขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (พื้นที่เอและบี) ในปี 2550 ฉนวนกาซาที่ฮามาสปกครองแยกจากองค์การบริหารปาเลไสตน์อย่างรุนแรง และปกครองพื้นที่กาซาเป็นอิสระนับแต่นั้น อิสราเอลยังควบคุมทางทหาร (military control) สมบูรณ์ และตามข้อตกลงออสโล ควบคุมทางพลเรือน (civil control) เหนือ 61% ของเวสต์แบงก์ (พื้นที่ซี) ในเดือนเมษายน 2554 ภาคีปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติยังสะดุดอยู่หลังจากนั้น ความพยายามปรองดองต่อมาในปี 2555 ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน พื้นที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซาเป็นส่วนของดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนในปาเลสไตน์ในอาณัติภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งในปี 2465 นับแต่สงครามอาหรับ–อิสราเอล ปี 2491 กระทั่งสงครามหกวัน ปี 2510 เวสต์แบงก์ถูกจอร์แดนยึดครองและผนวก (เฉพาะสหราชอาณาจักรและปากีสถานรับรองการผนวก) และฉนวนกาซาถูกอียิปต์ยึดครอง แม้รัฐบาลปาเลสไตน์ล้วน (All-Palestine Government) ใช้อำนาจอย่างจำกัดในกาซาตั้งแต่เดือนกันยายน 2491 ถึงปี 2502 ก็ตาม แนวพรมแดนซึ่งเป็นเรื่องของการเจรจาในอนาคต ประชาคมนานาชาติถือโดยทั่วไปว่านิยามโดยเส้นสีเขียวอันแทนเส้นการสงบศึกภายใต้ความตกลงการสงบศึกปี 2492 ซึ่งประกาศเส้นการสงบศึกอย่างชัดเจน มิใช่พรมแดนระหว่างประเทศ เนื่องจากอิสราเอลยึดดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาจากจอร์แดนและอียิปต์ตามลำดับในสงครามหกวัน ปี 2510 และได้รักษาการควบคุมดินแดนดังกล่าวนับแต่นั้น ประชาคมนานาชาติ รวมทั้งสหประชาชาติและองค์การกฎหมายระหว่างประเทศจึงมักเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง" ในปี 2523 อิสราเอลผนวกเยรูซาเลมตะวันออกอย่างเป็นทางการ การผนวกดังกล่าวถูกนานาชาติประณามและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศให้ "ไม่มีผลและเป็นโมฆะ" ขณะที่ชาติอิสราเอลมองว่า เยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของประเทศ ในปี 2531 ด้วยองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์มีเจตนาประกาศรัฐปาเลสไตน์ จอร์แดนจึงยอมสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเวสต์แบงก์ รวมเยรูซาเลมตะวันออก ตั้งแต่คำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ในปี 2531 มีชาติสมาชิกสหประชาชาติประมาณ 130 ชาติรับรองรัฐปาเลสไตน์ อันประกอบด้วยดินแดนปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลและชาติตะวันตกบางชาติ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ยังไม่รับรอง ทว่า ไม่นาน องค์การบริหารปาเลสไตน์ถูกตั้งขึ้นตามผลของข้อตกลงออสโล ปี 2536 โดยควบคุมเหนือบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาอย่างจำกัด องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สหภาพยุโรป ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและกาชาดสากลถือว่าเยรูซาเลมตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของเวสต์แบงก์ และจึงเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนปาเลสไตน์ตามลำดับ ขณะที่อิสราเอลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตนอันเป็นผลจากการผนวกในปี 2523 ตามศาลสูงสุดอิสราเอล อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ซึ่งห้ามการผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองฝ่ายเดียว ใช้ไม่ได้กับเยรูซาเลมตะวันออก เพราะอิสราเอลและพันธมิตรไม่รับรอง "องค์อธิปัตย์ที่ชอบด้วยกฎหมาย" ที่เดิมเคยควบคุมดินแดนนั้น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (ซึ่งล่าสุดเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐปาเลสไตน์ อันเป็นผลจากสหประชาชาติรับรองเอกราช) ซึ่งรักษาการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเยรูซาเลมตะวันออก ไม่เคยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าว ทว่า ไม่มีประเทศใดรับรองอำนาจอธิปไตยของอิสราเอล นับแต่การผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองระหว่างสงครามฝ่ายเดียวโดยฝ่าฝืนอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ข้อตกลงออสโล (2538) สถาปนาการออกสู่ทะเลสำหรับกาซาภายใน 20 ไมล์ทะเลจากฝั่ง ข้อผูกมัดเบอร์ลินปี 2545 ลดเหลือ 19 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม 2549 อิสราเอลกำหนดขีดจำกัด 6 ไมล์ และผลของสงครามกาซาจำกัดการออกลงเหลือขีดจำกัด 3 ไมล์ทะเล ซึ่งเกินกว่านั้นมีเขตห้ามเข้า (no-go zone) ผลคือ ชาวประมงกว่า 3,000 คนถูกปฏิเสธการออกสู่ 85% ของพื้นที่ทะเลตามที่ตกลงกันในปี 2538 พื้นที่เดดซีส่วนใหญ่ถูกห้ามไม่ให้ชาวปาเลสไตน์ใช้ และชาวปาเลสไตน์ถูกห้ามไม่ให้ออกสู่แนวชายฝั่ง การยึดกาซาของฮามาสแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ทางการเมือง โดยฟาตาห์ของอับบาสส่วนใหญ่ปกครองเวสต์แบงก์ และนานาชาติรับรองเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ ฉนวนกาซาภายในพรมแดนถูกฮามาสปกครอง ขณะที่พื้นที่เวสต์แบงก์ส่วนมากปกครองโดยองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ซึ่งตั้งอยู่ที่รอมัลลอฮ์ ทว่า มีความตกลงเมื่อเดือนเมษายน 2557 ระหว่างสองกลุ่มการเมืองจะจัดการเลือกตั้งในปลายปี 2557 และตั้งรัฐบาลเอกภาพปรองดอง.

ดู เวสต์แบงก์และดินแดนปาเลสไตน์

คริสต์ทศวรรษ 1980

ริสต์ทศวรรษ 1980 (1980s) หรือยุคเอจตี้ส์ เป็นทศวรรษที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1980 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1989 เป็นช่วงเวลาที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทั่วไปอย่างความร่ำรวย การผลิตที่เปลี่ยนไปสู่ยุคเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม เศรษฐกิจเสรีที่พัฒนาไปทั่วโลก บริษัทข้ามชาติทางด้านอุตสาหกรรมที่เข้าสู่ประเทศอย่าง ประเทศไทย มาเลเซีย เม็กซิโก เกาหลีใต้ ไต้หวัน ประเทศจีน และเศรษฐกิจตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออก ตามมาด้วยการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนีถือเป็นประเทศที่เห็นเด่นชัดว่าพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วตลอดทศวรรษนี้ ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกมีประสบความยากลำบากด้านความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ประเทศเหล่านั้นพบกับปัญหาหนี้สินในคริสต์ทศวรรษ 1980 ประเทศเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก ประเทศเอธิโอเปียประสบปัญหาความยากจนในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ผลคือประเทศต้องการความช่วยเหลือจากต่างชาติในด้านอาหารกับประชากรและทั่วโลกต่างกันช่วยหาเงินช่วยเหลือต่อชาวเอธิโอเปีย อย่างเช่นคอนเสิร์ตไลฟ์เอด ในปี 1985 ที่จัดขึ้นเพื่อหาเงินดังกล่าว ปัญหาด้านสงคราม เกิดความรุนแรงในตะวันออกกลาง อย่างสงครามอิรัก-อิหร่าน และความขัดแย้งในเลบานอนช่วงปี 1982 ถึง 1983 และกองทัพอเมริกันเข้าบุกลิเบียในปี 1985 และ Intifada ในฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ คริสต์ทศวรรษ 1980 ยังเป็นยุคที่มีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรอย่างมาก ไปทั่วโลก มากกว่าแม้ในคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1990 มีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะชาวแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ ตลอดทศวรรษ ด้วยอัตราการเพิ่มใกล้หรือมากกว่า 4% ต่อปี.

ดู เวสต์แบงก์และคริสต์ทศวรรษ 1980

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

วามขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (الصراع العربي الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi A'Israili; הסכסוך הישראלי-ערבי Ha'Sikhsukh Ha'Yisraeli-Aravi) หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี 1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1948 เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979 และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป (ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน.

ดู เวสต์แบงก์และความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์

วามขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ เป็นการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นวงกว้าง และบางครั้งยังใช้คำนี้อ้างอิงถึงความขัดแย้งนิกายในปาเลสไตน์ในอาณัติระหว่างยีชูฟ (yishuv) ขบวนการไซออนิสต์กับประชากรอาหรับภายใต้การปกครองของอังกฤษ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ก่อเกิดเป็นส่วนสำคัญของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลที่ใหญ่กว่า ถูกเรียกอย่างกว้างขวางว่าเป็น "ความขัดแย้งที่หายยากที่สุด" ของโลก แม้มีกระบวนการสันติภาพระยะยาวและการปรองดองทั่วไปของอิสราเอลกับอียิปต์และจอร์แดน แต่อิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่สามารถบรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายได้ ประเด็นสำคัญที่ยังเหลืออยู่ คือ การรับรองร่วมกัน เขตแดน ความมั่นคง สิทธิน้ำ การควบคุมเยรูซาเลม นิคมอิสราเอล เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของปาเลสไตน์ และการแก้ไขการอ้างสิทธิการเดินทางกลับสำหรับผู้ลี้ภัยของปาเลสไตน์ ความรุนแรงของความขัดแย้งในภูมิภาคอันอุดมไปด้วยแหล่งความสนใจทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาทั่วโลก กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างประเทศจำนวนมากว่าด้วยสิทธิทางประวัติศาสตร์ ประเด็นความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน และเป็นปัจจัยขัดขวางการท่องเที่ยวและการเข้าถึงพื้นที่ซึ่งพิพาทกันอย่างดุเดือดโดยทั่วไป มีความพยายามหลายครั้งเพื่อเป็นนายหน้าทางแก้สองรัฐ (two-state solution) อันเกี่ยวข้องกับการสถาปนารัฐปาเลสไตน์เอกราชขึ้นคู่กับรัฐอิสราเอล (หลังการสถาปนาอิสราเอลในปี 2491) ในปี 2550 ตามการหยั่งเสียงจำนวนหนึ่ง ทั้งชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ส่วนใหญ่เห็นชอบทางแก้สองรัฐเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งมากกว่าทางแก้อื่น ยิ่งไปกว่านั้น สาธารณชนยิวส่วนใหญ่ยังมองว่าข้อเรียกร้องรัฐเอกราชของชาวปาเลสไตน์ชอบธรรม และคิดว่าประเทศอิสราเอลสามารถตกลงให้จัดตั้งรัฐเช่นว่าได้ ความไม่ไว้วางใจร่วมกันและความไม่ลงรอยอย่างสำคัญหยั่งลึกในประเด็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับกังขาคติต่อกันและกันเกี่ยวกับการผูกมัดตามพันธกรณีที่รักษาในความตกลงท้ายที่สุด ในสังคมอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนี้ก่อให้เกิดมุมมองและความคิดเห็นหลากหลาย ซึ่งเน้นการแบ่งแยกลึกล้ำซึ่งไม่ได้มีเฉพาะระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ยังภายในแต่ละสังคมด้วย ลักษณะเด่นของความขัดแย้งนี้เป็นระดับความรุนแรงที่สังเกตได้แทบตลอดระยะของความขัดแย้ง มีการสู้รบโดยกองทัพตามแบบ กลุ่มกึ่งทหาร กลุ่มก่อการร้ายและปัจเจกบุคคล กำลังพลสูญเสียมิได้จำกัดแต่เฉพาะทหาร แต่ทั้งสองฝ่ายยังสูญเสียประชากรพลเรือนไปเป็นอันมาก มีตัวแสดงระหว่างประเทศที่โดดเด่นเกี่ยวข้องในความขัดแย้งนี้ด้วย สองภาคีที่เข้าร่วมการเจรจาโดยตรง คือ รัฐบาลอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ การเจรจาอย่างเป็นทางการมีผู้แทนระหว่างประเศเป็นสื่อกลาง เรียก กลุ่มสี่ว่าด้วยตะวันออกกลาง (Quartet on the Middle East) ซึ่งมีผู้แทนทางการทูตพิเศษเป็นผู้แทน ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหภาพยุโรปและสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับเป็นอีกตัวแสดงหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเสนอแผนสันติภาพทางเลือด อียิปต์ สมาชิกผู้ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในอดีตเคยเป็นผู้มีส่วนหลัก นับแต่ปี 2549 ฝ่ายปาเลสไตน์แตกแยกด้วยความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มแยกหลัก คือ ฟาตาห์ พรรคเด่นเดิม และผู้ท้าชิงเลือกตั้งในภายหลัง ฮามาส หลังฮามาสชนะการเลือกตั้งในปี 2549 สหรัฐ สหภาพยุโรป และอิสราเอลปฏิเสธการรับรองรัฐบาลฮามาสและเงินทุนให้องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ส่วนมากถูกระงับ หนึ่งปีให้หลัง หลังการยึดอำนาจในฉนวนกาซาของฮามาสในเดือนมิถุนายน 2550 ดินแดนซึ่งรับรองอย่างเป็นทางการเป็นรัฐปาเลสไตน์ (อดีตองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ องค์การปกครองชั่วคราวของปาเลสไตน์) ถูกแบ่งระหว่างฟาตาห์ในเวสต์แบงก์และฮามาสในฉนวนกาซา การแบ่งการปกครองระหว่างภาคีนี้ส่งผลให้การปกครองสองพรรคขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง การเจรจาสันติภาพรอบล่าสุดเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2556 และกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ในวันที่ 7 ธันวาคม..2560 ภายหลังประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ รับรอง กรุงเยรูซาเล็ม ให้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอล การเจรจาสันติภาพก็มีแนวโน้มว่าจะจบลง สงครามรอบใหม่เริ่มขึ้นภายหลังการประกาศรับรองดังกล่าว ในวันที่ 9 ธันวาคม..

ดู เวสต์แบงก์และความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ดู เวสต์แบงก์และตะวันออกกลาง

ฉนวนกาซา

ฉนวนกาซา (Gaza Strip; قطاع غزة; רצועת עזה‎) เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณแคบ ๆ ขนาด 360 ตร.กม. ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง โดยมีประชากรชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพลี้ภัย โดยในการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม ปี..

ดู เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ดู เวสต์แบงก์และประเทศอิสราเอล

ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)

ปาเลสไตน์ เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในตะวันออกกลาง อาจหมายถึง.

ดู เวสต์แบงก์และปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)

แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์

แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Popular Front for the Liberation of Palestine; ภาษาอาหรับ الجبهة الشعبية لتحرير فلسطين, al-Jabhah al-Sha`biyyah li-Tahrīr Filastīn) เป็นกลุ่มติดอาวุธและพรรคการเมืองนิยมลัทธิมากซ์ ก่อตั้งเมื่อ..

ดู เวสต์แบงก์และแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์

แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์

แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Democratic Front for the Liberation of Palestine; ภาษาอาหรับ: 'الجبهة الديموقراطية لتحرير فلسطين', ถอดอักษร Al-Jabha al-Dimuqratiya Li-Tahrir Filastin หรือ al-Jabha al-Dimuqratiyah; الجبهة الديموقراطية) เป็นองค์กรทางการเมืองและการทหารของปาเลสไตน์ ที่นิยมลัทธิมากซ์ เป็นองค์กรที่เป็นสมาชิกขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน.

ดู เวสต์แบงก์และแนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์

โบสถ์พระคริสตสมภพ

ระคริสตสมภพ (The Church of the Nativity) เป็นมหาวิหารในเมืองเบธเลเฮม รัฐปาเลสไตน์ โบสถ์นี้จักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราชและจักรพรรดินีเฮเลนาพระราชชนนีโปรดให้สร้างขึ้นในปี..

ดู เวสต์แบงก์และโบสถ์พระคริสตสมภพ

ไฟป่าบนภูเขาคาร์เมล พ.ศ. 2553

thumb ไฟป่าบนภูเขาคาร์เมล..

ดู เวสต์แบงก์และไฟป่าบนภูเขาคาร์เมล พ.ศ. 2553

เบธเลเฮม

ลเฮม (بيت لحم,, ตามตัวอักษร "House of Meat"; Bethleém; בית לחם, Beit Lehem, ตามตัวอักษร "House of Bread", Bethlehem) เป็นเมืองปาเลสไตน์ที่ตั้งอยู่ที่เวสต์แบงค์ราว 10 กิโลเมตรทางตอนใต้ของกรุงเยรูซาเลม ที่มีประชากรราว 30,000 คน เบธเลเฮมเป็นเมืองหลวงของ Bethlehem Governorate ของPalestinian National Authorityและเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมปาเลสไตน์และการท่องเที่ยว เบธเลเฮมเชื่อกันโดยผู้นับถือคริสต์ศาสนาว่าเป็นที่ประสูติของพระเยซูแห่งนาซาเร็ธ เบธเลเฮมเป็นที่อยู่ของชุมชนคริสเตียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแต่จำนวนประชากรก็ลดลงไปเป็นจำนวนมากจากการโยกย้ายออกจากเมือง.

ดู เวสต์แบงก์และเบธเลเฮม

เกรตริฟต์แวลลีย์

แนวหุบเขาทรุดถ่ายจากดาวเทียม เกรตริฟต์แวลลีย์ (Great Rift Valley) คือหุบเขารอยเลื่อนขนาดใหญ่ เป็นรอยแยกยาวต่อเนื่องขนาดยาวที่สุดในโลก ขนาดความกว้างประมาณ 30-100 กิโลเมตร เป็นหน้าผาดิ่งจากที่ราบสูงรอบ ๆ ลึกกว่า 450-800 เมตร พาดผ่าน 19 ประเทศ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ เรียงกันได้ดังนี้ เริ่มต้นจากประเทศซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน เวสต์แบงก์ (ปาเลสไตน์) ผ่านเข้าสู่ทะเลแดง เลียบชายฝั่งอียิปต์และซูดาน ก่อนจะเข้าสู่เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา ยูกันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) รวันดา บุรุนดี แทนซาเนีย แซมเบีย มาลาวี และสิ้นสุดในโมซัมบิก รวมความยาวที่พาดผ่านตั้งแต่เหนือจรดใต้ ประมาณ 6,750 กิโลเมตร คิดเป็นประมาณ 1 ใน 4 เท่าของเส้นรอบวงโลก (เส้นศูนย์สูตร) โดยที่ขอบด้านข้างของหุบเขาทรุดสูงมากกว่า 2,000 เมตร หุบเขาทรุดเกิดจากการที่แผนเปลือกโลก 2 แผ่นแยกออกจากกัน คือ แผ่นเปลือกโลกที่รองรับคาบสมุทรอาหรับและแอฟริกาตะวันออก กับแผ่นเปลือกโลกที่รอบรับทวีปแอฟริกาทั้งทวีป ซึ่งค่อย ๆ แยกตัวออกจากกันอย่างสม่ำเสมอทำให้เกิดแนวทรุดตัวเป็นแนวยาว เกิดที่ที่ราบทรุดตัวแม่น้ำ ร่องธารลึก และภายในยุคหน้าน้ำทะเลจะท่วมเข้ามาจนกระทั่งตัดทวีปแอฟริกาขาดออกจากกัน.

ดู เวสต์แบงก์และเกรตริฟต์แวลลีย์

เส้นเมริเดียนที่ 35 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 35 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 35 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 145 องศาตะวันตก.

ดู เวสต์แบงก์และเส้นเมริเดียนที่ 35 องศาตะวันออก

เขตเวลา

ตเวลา เขตเวลา คือ พื้นที่บนผิวโลกที่ใช้เวลามาตรฐานเดียวกัน โดยปกติหมายถึง เวลาท้องถิ่นประยุทธ์บอก เราใช้เวลาสุริยคติท้องถิ่น (สังเกตจากดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้า) ทำให้เวลาแต่ละเมืองที่ติดกันแตกต่างกันเล็กน้อย เมื่อมีการพัฒนาระบบโทรคมนาคม และการขยายตัวของการขนส่งทางรถไฟ ความแตกต่างเริ่มกลายเป็นปัญหาทีละน้อย เขตเวลามีส่วนช่วยแก้ปัญหาโดยกำหนดให้ตั้งนาฬิกาให้ตรงกันตามเวลาสุริยคติกลางของเขต โดยทั่วไปเขตเวลาจะตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนตามลองจิจูดต่างๆ ซึ่งจะมีช่วงห่างกัน 15° ส่งผลให้เขตเวลาที่อยู่ติดกันมีเวลาต่างกันอยู่ 1 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติไม่ได้แบ่งเขตตามเวลาที่ต่างกัน 1 ชั่วโมง จากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่าแต่ละเขตเวลามีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเพราะการคำนึงถึงแนวเขตรัฐ ประเทศ หรือเขตการปกครองอื่น ๆ ทุกๆ เขตเวลามีความสัมพันธ์กับเวลาพิกัดสากล จุดอ้างอิงของเขตเวลาคือเส้นเมริเดียนแรก (ลองจิจูด 0°) ซึ่งพาดผ่าน Royal Greenwich Observatory ในกรีนิช (กรีนิช) กรุงลอนดอนแห่งสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุนี้จึงมักพบการใช้คำว่า เวลามาตรฐานกรีนิช เพื่อแสดงเวลาพื้นฐานซึ่งมีความสัมพันธ์กับเขตเวลาต่าง ๆ อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ใช้ UTC เป็นหน่วยเวลาอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีความแตกต่างจากวิธีการดั้งเดิมของกรีนิชที่ใช้การอ้างอิงเวลาตามหลักดาราศาสตร์ ทั้งนี้เวลา GMT (UTC) จะเป็นเวลาประจำกรีนิชเฉพาะในช่วง 01:00 UTC ของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม ถึงเวลา 01:00 UTC ของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม ส่วนในช่วงเวลาที่เหลือของปีเวลาของกรีนิชจะเป็น UTC+1 ซึ่งในประเทศอังกฤษจะเรียกเวลานี้ว่า (BST - British Summer Time) ตัวอย่างการแสดงเวลาท้องถิ่นโดยใช้เวลาพิกัดสากล ณ เวลา 11.00 UTC.

ดู เวสต์แบงก์และเขตเวลา

1 E+9 m²

จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ 9,942 ตารางกิโลเมตร 1 E+9 m² (1 E+9 m²) เป็นอันดับของขนาดของสิ่งที่มีพื้นที่ระหว่าง 1,000 ถึง 10,000 ตารางกิโลเมตร ---- พื้นที่ขนาดน้อยกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร ----.

ดู เวสต์แบงก์และ1 E+9 m²

หรือที่รู้จักกันในชื่อ West Bankเขตเวสต์แบงก์