สารบัญ
15 ความสัมพันธ์: พาร์เซกกลุ่มท้องถิ่นกลุ่มดาวภูเขากลุ่มดาวปลากระโทงแทงมวลดวงอาทิตย์ลำดับฮับเบิลทางช้างเผือกดาราจักรดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานดาราจักรแอนดรอมิดาดาราจักรไร้รูปแบบดาราจักรไทรแองกูลัมปีแสงเมฆแมเจลแลนเมฆแมเจลแลนเล็ก
- กลุ่มดาวปลากระโทงแทง
- กลุ่มดาวภูเขา
- กลุ่มท้องถิ่น
- เมฆมาเจลลัน
- เมฆมาเจลลันใหญ่
พาร์เซก
ร์เซก (Parsec; มาจาก parallax of one arcsecond ตัวย่อ: pc) เป็นหน่วยวัดระยะทางทางดาราศาสตร์ เท่ากับความสูงของสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีเส้นฐานยาว 1 หน่วยดาราศาสตร์และมีมุมยอด 1 พิลิปดา มีค่าประมาณ 3.2616 ปีแสง (3.26 ปีแสง)หรือ 206,265 หน่วยดาราศาสตร์ มักใช้วัดระยะทางภายในดาราจักร การวัดระยะจากโลกถึงดาวฤกษ์คือการวัดแพรแลกซ์ของดาวฤกษ์ แพรัลแลกซ์ คือ ปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตมองจาก 2 จุด แล้วเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับวัตถุอ้างอิง ทดลองได้โดยใช้มือถือวัตถุยื่นไปข้างหน้า แล้วสังเกตวัตถุดังกล่าวด้วยตาซ้าย และขวาจะสังเกตเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปหรือไม่ หมวดหมู่:หน่วยความยาว หมวดหมู่:มาตรดาราศาสตร์.
กลุ่มท้องถิ่น
ราจักรแคระ Sextans A หนึ่งในดาราจักรสมาชิกของกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนโดรเมดาและทางช้างเผือก ซึ่งปรากฏเป็นแถบดาวสีเหลืองในภาพ Sextans A คือภาพดาวสีน้ำเงินอ่อนที่เห็นได้ชัดเจน กลุ่มท้องถิ่น (Local Group) เป็นกลุ่มของดาราจักรซึ่งมีดาราจักรทางช้างเผือกของเราเป็นสมาชิกอยู่ ประกอบด้วยดาราจักรมากกว่า 35 แห่ง มีจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงอยู่ระหว่างทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนโดรเมดา กลุ่มท้องถิ่นกินเนื้อที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ล้านปีแสง และมีรูปร่างเหมือนดัมเบลล์ ประมาณการว่ากลุ่มท้องถิ่นมีมวลรวมประมาณ (1.29 ± 0.14) เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และเป็นสมาชิกหนึ่งอยู่ใน กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว (หรือเรียกว่าเป็น กลุ่มกระจุกดาราจักรท้องถิ่น) ด้วย สมาชิกที่มีมวลมากที่สุดสองแห่งในกลุ่มท้องถิ่น คือ ดาราจักรทางช้างเผือก และ ดาราจักรแอนโดรเมดา ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานทั้งสองแห่งนี้มีดาราจักรบริวารโคจรอยู่โดยรอบเป็นระบบดาราจักร ดังนี้.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และกลุ่มท้องถิ่น
กลุ่มดาวภูเขา
กลุ่มดาวภูเขา เป็นกลุ่มดาวจาง ๆ ในซีกฟ้าใต้ เดิมมีชื่อภาษาละตินว่า Mons Mensae (ภูเขาเทเบิล) ตั้งโดยนิโกลา-ลุย เดอ ลากาย ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 หมายถึงภูเขาเทเบิลในแอฟริกาใต้ สถานที่ที่ลากายทำการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ บางส่วนของเมฆแมเจลแลนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของกลุ่มดาวนี้ (อีกส่วนอยู่ในกลุ่มดาวปลากระโทงแทง) หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวภูเขา.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และกลุ่มดาวภูเขา
กลุ่มดาวปลากระโทงแทง
กลุ่มดาวปลากระโทงแทง เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ ปรากฏในแผนที่ดาว ยูรานอเมเทรีย (Uranometria) ของโยฮันน์ บาเยอร์ เมื่อปี ค.ศ.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และกลุ่มดาวปลากระโทงแทง
มวลดวงอาทิตย์
มวลดวงอาทิตย์ เป็นวิธีพื้นฐานในการบรรยายค่ามวลในทางดาราศาสตร์ สำหรับใช้อธิบายถึงมวลดาวฤกษ์หรือมวลดาราจักร มีค่าเท่ากับมวลของดวงอาทิตย์ คือประมาณ 2 โนนิลเลียนกิโลกรัม หรือเท่ากับ 332,950 เท่าของมวลของโลก หรือ 1,048 เท่าของมวลของดาวพฤหัสบดี สัญลักษณ์และค่าพื้นฐานของมวลดวงอาทิตย์แสดงได้ดังนี้ เราสามารถบรรยายมวลดวงอาทิตย์ในรูปของระยะทางเป็นปี คือระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ (หนึ่งหน่วยดาราศาสตร์ หรือ AU) กับค่าคงที่แรงโน้มถ่วง (G) ได้ดังนี้ จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่สามารถบอกตัวเลขที่แท้จริงของหน่วยดาราศาสตร์หรือค่าคงที่แรงโน้มถ่วงได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดี การอธิบายถึงมวลสัมพันธ์ของดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะหรือในระบบดาวคู่ด้วยหน่วยของมวลดวงอาทิตย์ มิได้มีความจำเป็นต้องทราบถึงค่าแท้จริงเหล่านั้น ดังนั้นการบรรยายถึงมวลต่างๆ ด้วยหน่วยของมวลดวงอาทิตย์จึงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ที.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และมวลดวงอาทิตย์
ลำดับฮับเบิล
อะแกรมส้อมจัดประเภทของลำดับฮับเบิล ลำดับฮับเบิล เป็นรูปแบบการจัดหมวดหมู่ของดาราจักรโดยลักษณะของสัณฐานที่ปรากฏ คิดค้นขึ้นโดยเอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และลำดับฮับเบิล
ทางช้างเผือก
ทางช้างเผือก คือดาราจักรที่มีระบบสุริยะและโลกของเราอยู่ เมื่อมองบนท้องฟ้าจะปรากฏเป็นแถบขมุกขมัวคล้ายเมฆของแสงสว่างสีขาว ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์จำนวนมากภายในดาราจักรที่มีรูปร่างเป็นแผ่นจาน ส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นทิศทางไปสู่ใจกลางดาราจักร แต่เดิมนั้น นักดาราศาสตร์คิดว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยธรรมดา แต่หลังจากผ่านการประเมินครั้งใหม่ในปี พ.ศ.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และทางช้างเผือก
ดาราจักร
ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.
ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน
ดาราจักร NGC 1300 ซึ่งเห็นโครงสร้างแบบก้นหอยมีคานอย่างชัดเจน ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน (barred spiral galaxy) เป็นประเภทหนึ่งของดาราจักรชนิดก้นหอยที่มีดาวฤกษ์อยู่มากในบริเวณแกนกลางรูปร่างคล้ายโครงสร้างคาน พบเป็นจำนวนมากประมาณครึ่งหนึ่งของดาราจักรชนิดก้นหอยทั้งหมดJ.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน
ดาราจักรแอนดรอมิดา
ราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรแอนดรอมิดา (Andromeda Galaxy; หรือที่รู้จักในชื่ออื่นคือ เมสสิเยร์ 31 เอ็ม 31 หรือ เอ็นจีซี 224 บางครั้งในตำราเก่า ๆ จะเรียกว่า เนบิวลาแอนดรอมิดาใหญ่) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ที่อยู่ห่างจากเราประมาณ 2.5 ล้านปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด สามารถมองเห็นเป็นรอยจาง ๆ บนท้องฟ้าคืนที่ไร้จันทร์ได้แม้มองด้วยตาเปล่า ดาราจักรแอนดรอมิดาเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรทางช้างเผือก ดาราจักรสามเหลี่ยม และดาราจักรขนาดเล็กอื่น ๆ อีกกว่า 30 แห่ง แม้แอนดรอมิดาจะเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ดาราจักรที่มีมวลมากที่สุด จากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรทางช้างเผือกมีสสารมืดมากกว่าและน่าจะเป็นดาราจักรที่มีมวลมากที่สุดในกลุ่ม ถึงกระนั้น จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า ดาราจักร M31 มีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในดาราจักรของเรา ผลการคำนวณเมื่อปี 2006 ประมาณการว่า มวลของดาราจักรทางช้างเผือกน่าจะมีประมาณ 80% ของดาราจักรแอนดรอมิดา คือประมาณ 7.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาราจักรแอนดรอมิดามีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมสสิเยร์ที่สว่างที่สุดชิ้นหนึ่ง และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วย อาจมองเห็นดาราจักรเป็นดวงเล็ก ๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของดาราจักรกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียว ทั้งนี้ ดาราจักรแอนดรอมิดาและดาราจักรทางช้างเผือกคาดว่าจะปะทะและรวมกันเป็นดาราจักรรี (elliptical galaxy) ขนาดใหญ่ ในอีก 3.75 พันล้านปีข้างหน้.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และดาราจักรแอนดรอมิดา
ดาราจักรไร้รูปแบบ
ราจักร NGC 1427A ตัวอย่างของดาราจักรไร้รูปแบบ อยู่ห่างออกไปประมาณ 52 ล้านปีแสง ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ดาราจักรไร้รูปแบบ (Irregular Galaxy) คือดาราจักรที่ไม่สามารถแบ่งแยกชนิดให้เป็นประเภทใดประเภทหนึ่งในลำดับของฮับเบิลได้อย่างชัดเจน ดาราจักรเหล่านี้ไม่มีรูปทรงแบบก้นหอยและไม่มีสัณฐานรี โดยมากมักมีลักษณะยุ่งเหยิง ไม่ปรากฏดุมดาราจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่คล้ายจะเป็นแขนดาราจักรเลย โดยมากเชื่อกันว่าดาราจักรชนิดนี้มีอยู่ประมาณ 1 ใน 4 ของดาราจักรทั้งหมด ครั้งหนึ่งมันน่าจะเคยเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยหรือชนิดรีมาก่อน แล้วเกิดสูญสลายรูปทรงไปด้วยแรงกิริยาความโน้มถ่วง ในดาราจักรไร้รูปแบบยังมีแก๊สและฝุ่นอยู่เป็นจำนวนมากด้วย ดาราจักรไร้รูปแบบอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดฮับเบิลใหญ่ๆ ดังนี้.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และดาราจักรไร้รูปแบบ
ดาราจักรไทรแองกูลัม
ราจักรไทรแองกูลัม หรือ ดาราจักรสามเหลี่ยม (Triangulum Galaxy; หรือที่รู้จักในชื่อ วัตถุเมสสิเยร์ M33 หรือ NGC 598) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอยที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 3 ล้านปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวสามเหลี่ยม บางครั้งในหมู่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นอาจเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ดาราจักรเครื่องปั่นด้าย (Pinwheel Galaxy) รวมถึงในเว็บไซต์สาธารณะทั่วไป อย่างไรก็ดีในฐานข้อมูลดาราศาสตร์ SIMBAD นักวิชาการด้านดาราศาสตร์จะใช้คำว่า "Pinwheel Galaxy" กับวัตถุเมสสิเยร์ M101 รวมถึงนักดาราศาสตร์สมัครเล่นอีกส่วนหนึ่งหรือเว็บไซต์ทั่วไปก็อ้างอิงถึงวัตถุเมสสิเยร์ M101 ด้วยชื่อ "Pinwheel Galaxy" เช่นเดียวกัน ดาราจักรสามเหลี่ยมเป็นดาราจักรที่ใหญ่เป็นอันดับที่สามในกลุ่มท้องถิ่น โดยเล็กกว่าดาราจักรแอนดรอเมดาและทางช้างเผือก มันอาจมีแรงโน้มถ่วงที่ดึงดูดอยู่กับดาราจักรแอนดรอเมดาด้วย ขณะเดียวกัน ดาราจักรปลา (LGS 3) ซึ่งเป็นดาราจักรสมาชิกเล็กๆ แห่งหนึ่งในกลุ่มท้องถิ่น อาจจะเป็นดาราจักรบริวารของดาราจักรสามเหลี่ยมก็ได้.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และดาราจักรไทรแองกูลัม
ปีแสง
ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.
เมฆแมเจลแลน
มฆแมเจลแลนใหญ่ เมฆแมเจลแลนเล็ก เมฆแมเจลแลนทั้งสองแห่ง เป็นดาราจักรแคระชนิดไร้รูปแบบ และเป็นดาราจักรสมาชิกอยู่ในกลุ่มท้องถิ่น ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าดาราจักรทั้งสองนี้โคจรอยู่รอบ ๆ ทางช้างเผือกของเรา แต่งานวิจัยยุคใหม่ชี้ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และเมฆแมเจลแลน
เมฆแมเจลแลนเล็ก
มฆมาเจลลันเล็ก เมฆแมเจลแลนเล็ก (Small Magellanic Cloud, SMC) เป็นดาราจักรแคระ แห่งหนึ่งในกลุ่มท้องถิ่น ถือเป็นหนึ่งในดาราจักรที่อยู่ใกล้ทางช้างเผือกมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยอยู่ห่างจากดาราจักรของเราประมาณ 200,000 ปีแสง มีดาวฤกษ์อยู่เป็นสมาชิกจำนวนหลายร้อยล้านดวง บ้างเชื่อว่าเมฆแมเจลแลนเล็กเคยเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานมาก่อน แต่ถูกรบกวนโดยทางช้างเผือกทำให้มันเสียรูปร่างไป แต่ก็ยังสามารถมองเห็นโครงสร้างรูปคานบริเวณตรงกลางได้บ้าง เมฆแมเจลแลนเล็กมีค่าเดคลิเนชันเฉลี่ยถึง -73 องศา มันจึงสามารถมองเห็นได้จากด้านซีกโลกใต้หรือซีกโลกเหนือตอนล่างมาก ๆ เท่านั้น ตำแหน่งปรากฏบนฟ้าอยู่ใกล้กลุ่มดาวนกทูแคน เป็นแถบแสงหม่น ๆ กว้างประมาณ 3 องศาบนท้องฟ้า ดูราวกับเป็นชิ้นส่วนที่หลุดออกไปจากทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนเล็กเป็นดาราจักรคู่กันกับเมฆแมเจลแลนใหญ่ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออกประมาณ 20 อง.
ดู เมฆแมเจลแลนใหญ่และเมฆแมเจลแลนเล็ก
ดูเพิ่มเติม
กลุ่มดาวปลากระโทงแทง
- กลุ่มดาวปลากระโทงแทง
- ดับเบิลยูโอเอช จี64
- ดาวอาร์136เอ1
- เนบิวลาบึ้ง
- เมฆมาเจลลันใหญ่
- เอชดี 37974
- เอสเอ็น 1987เอ
กลุ่มดาวภูเขา
กลุ่มท้องถิ่น
- กลุ่มท้องถิ่น
- การชนกันของดาราจักรแอนดรอมิดากับทางช้างเผือก
- ดาราจักรสามเหลี่ยม
- ดาราจักรแอนดรอเมดา
- เมฆมาเจลลัน
- เมฆมาเจลลันเล็ก
- เมฆมาเจลลันใหญ่
เมฆมาเจลลัน
เมฆมาเจลลันใหญ่
หรือที่รู้จักกันในชื่อ เมฆแมกเจลแลนใหญ่