โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอสเอ็น 1987เอ

ดัชนี เอสเอ็น 1987เอ

อสเอ็น 1987เอ (SN 1987A) เป็นมหานวดาราในเขตของเนบิวลาบึ้งในเมฆแมเจลแลนใหญ่ ใกล้กับดาราจักรแคระ เกิดขึ้นห่างจากโลกประมาณ 51.4 กิโลพาร์เซก หรือประมาณ 168,000 ปีแสง อาจจะมองเห็นได้จากของทางใต้ เป็นมหานวดาราที่สังเกตได้ใกล้เคียงที่สุดตั้งแต่ เอสเอ็น 1604 ที่เกิดขึ้นในทางช้างเผือก แสงจากมหานวดาราใหม่มาถึงโลกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 เป็นมหานวดาราค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1987.

13 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2530พาร์เซกกลุ่มดาวปลากระโทงแทงมหานวดาราทางช้างเผือกดาราจักรแคระปีแสงโลกเมฆแมเจลแลนใหญ่เวลาสากลเชิงพิกัดเนบิวลาบึ้ง23 กุมภาพันธ์24 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2530

ทธศักราช 2530 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1987 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและพ.ศ. 2530 · ดูเพิ่มเติม »

พาร์เซก

ร์เซก (Parsec; มาจาก parallax of one arcsecond ตัวย่อ: pc) เป็นหน่วยวัดระยะทางทางดาราศาสตร์ เท่ากับความสูงของสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีเส้นฐานยาว 1 หน่วยดาราศาสตร์และมีมุมยอด 1 พิลิปดา มีค่าประมาณ 3.2616 ปีแสง (3.26 ปีแสง)หรือ 206,265 หน่วยดาราศาสตร์ มักใช้วัดระยะทางภายในดาราจักร การวัดระยะจากโลกถึงดาวฤกษ์คือการวัดแพรแลกซ์ของดาวฤกษ์ แพรัลแลกซ์ คือ ปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตมองจาก 2 จุด แล้วเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับวัตถุอ้างอิง ทดลองได้โดยใช้มือถือวัตถุยื่นไปข้างหน้า แล้วสังเกตวัตถุดังกล่าวด้วยตาซ้าย และขวาจะสังเกตเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปหรือไม่ หมวดหมู่:หน่วยความยาว หมวดหมู่:มาตรดาราศาสตร์.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและพาร์เซก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวปลากระโทงแทง

กลุ่มดาวปลากระโทงแทง เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ ปรากฏในแผนที่ดาว ยูรานอเมเทรีย (Uranometria) ของโยฮันน์ บาเยอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1603 แต่อาจเป็นที่รู้จักกันมาก่อนหน้านั้น วัตถุท้องฟ้าเด่นในกลุ่มดาวนี้ คือ เมฆแมเจลแลนใหญ่ ที่กินพื้นที่เลยไปถึงกลุ่มดาวภูเขา หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวปลากระโทงแทง.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและกลุ่มดาวปลากระโทงแทง · ดูเพิ่มเติม »

มหานวดารา

ำลองจากศิลปินแสดงให้เห็นมหานวดารา SN 2006gy ที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอกซ์จันทราจับภาพได้ อยู่ห่างจากโลก 240 ล้านปีแสง มหานวดารา นิพนธ์ ทรายเพชร, อารี สวัสดี และ บุญรักษา สุนทรธรรม.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและมหานวดารา · ดูเพิ่มเติม »

ทางช้างเผือก

ทางช้างเผือก คือดาราจักรที่มีระบบสุริยะและโลกของเราอยู่ เมื่อมองบนท้องฟ้าจะปรากฏเป็นแถบขมุกขมัวคล้ายเมฆของแสงสว่างสีขาว ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์จำนวนมากภายในดาราจักรที่มีรูปร่างเป็นแผ่นจาน ส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นทิศทางไปสู่ใจกลางดาราจักร แต่เดิมนั้น นักดาราศาสตร์คิดว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยธรรมดา แต่หลังจากผ่านการประเมินครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าทางช้างเผือกน่าจะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานเสียมากกว่า เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทางช้างเผือกขึ้นไปเหนือสุดที่กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย และลงไปใต้สุดบริเวณกลุ่มดาวกางเขนใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระนาบศูนย์สูตรของโลก ทำมุมเอียงกับระนาบดาราจักรอยู่มาก คนในเมืองใหญ่ไม่มีโอกาสมองเห็นทางช้างเผือกเนื่องจากมลภาวะทางแสงและฝุ่นควันในตัวเมือง แถบชานเมืองและในที่ห่างไกลสามารถมองเห็นทางช้างเผือกได้ แต่บางคนอาจนึกว่าเป็นก้อนเมฆในบรรยากาศ มุมมองของทางช้างเผือกไปทางกลุ่มดาวแมงป่อง (รวมถึงศูกย์กลางดาราจักร) เห็นได้จากการปนเปื้อในนเขตที่ไม่ใช่แสง (ทะเลทรายหินสีดำ, รัฐเนวาด้า, สหรัฐอเมริกา) เมื่อสังเกตเห็นท้องฟ้ายามค่ำคืนคำว่า "ทางช้างเผือก" ถูกจำกัดกลุ่มหมอกของแสงสีขาวบาง 30 องศา ลอยกว้างข้ามท้องฟ้า (แม้ว่าทั้งหมดของดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของดาราจักรทางช้างเผือก) แสงในแถบนี้มาจากดาวที่สลายและวัสดุอื่น ๆ ที่อยู่ภายในระนาบทางช้างเผือก บริเวณมืดภายในวง เช่น ระแหงดี และถุงถ่าน ที่สอดคล้องกับบริเวณที่มีแสงจากดาวไกลถูกบล็อกโดย ฝุ่นละอองระหว่างดวงดาว ดาราจักรทางช้างเผือก มีความสว่างพื้นผิวที่ค่อนข้างต่ำ การมองเห็นของมันสามารถลดน้อยลงโดยแสงพื้นหลังเช่น มลพิษทางแสงหรือแสงเล็ดลอดจากดวงจันทร์ เราสามารถมองเห็นได้อย่างง่ายดายเมื่อมีขนาด จำกัดคือ 5.1 หรือมากกว่า ในขณะที่แสดงการจัดการที่ดีของรายละเอียดที่ 6.1 ซึ่งทำให้ทางช้างเผือกมองเห็นได้ยากจากใด ๆ สถานที่ในเมืองหรือชานเมืองสดใสสว่าง แต่ที่โดดเด่นมากเมื่อมองจากพื้นที่ชนบทเมื่อดวงจันทร์อยู่ใต้เส้นขอบฟ้า ดาราจักรทางช้างเผือกผ่านส่วนในประมาณ 30 กลุ่มดาว ศูนย์กลางของดาราจักรที่อยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวคนยิงธนู มันอยู่ที่นี่ว่าทางช้างเผือกเป็นที่สว่างที่สุด จากราศีธนู กลุ่มหมอกแสงสีขาวที่ปรากฏขึ้นจะผ่านไปทางทิศตะวันตกในทางช้างเผือกไปยังไม่ใช้ศูนย์กลางของทางช้างเผือกในกลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวแล้วยังไปทางทิศตะวันตกส่วนที่เหลือของทางรอบท้องฟ้ากลับไปกลุ่มดาวคนยิงธนู ข้อเท็จจริงที่ว่ากลุ่มแบ่งออกท้องฟ้ายามค่ำคืนเป็นสองซีกโลกเท่ากับแสดงให้เห็นว่าระบบสุริยะตั้งอยู่ใกล้กับระนาบทางช้างเผือก ระนาบทางช้างเผือก มีแนวโน้มเอียงประมาณ 60 องศาไปสุริยุปราคา (ระนาบของวงโคจรของโลก) เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตร ที่ผ่านเท่าทิศเหนือของกลุ่มดาวค้างคาว และเท่าทิศใต้ของกลุ่มดาวกางเขนใต้ แสดงให้เห็นความโน้มเอียงสูงของระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลกและระนาบสัมพันธ์สุริยุปราคากับระนาบทางช้างเผือก ขั้วโลกเหนือทางช้างเผือกที่ตั้งอยู่ที่ขวาขึ้น 12h 49m ลดลง +27.4° (B1950) อยู่ใกล้กับ Beta Comae Berenices และขั้วโลกทางช้างเผือกทิศใต้ที่อยู่ใกล้กับดาวอัลฟา ช่างแกะสลัก เนื่องจากการแนวโน้มเอียงสูง ขึ้นอยู่กับเวลากลางคืนและปี ส่วนโค้งของทางช้างเผือกจะปรากฏค่อนข้างต่ำหรือค่อนข้างสูงในท้องฟ้า สำหรับผู้สังเกตการณ์จากประมาณ 65 องศาเหนือถึง 65 องศาใต้บนพื้นผิวโลกทางช้างเผือกผ่านโดยตรงข้างบนวันละสองครั้ง ตาปลา โมเสกในดาราจักรทางช้างเผือก โค้งที่เอียงสูงทั่วท้องฟ้ายามค่ำคืนที่ถ่ายจากตำแหน่งที่ตั้งท้องฟ้ามืดใน ชิลี.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและทางช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรแคระ

ราจักร Sextans A ในกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงดาราจักรขนาดใหญ่ที่มีมวลมากคือแอนดรอเมดาและทางช้างเผือก ดาราจักรแห่งนี้อยู่ห่างออกไปราง 4 ล้านปีแสง ฉากหลังสีเหลืองสว่างคือทางช้างเผือก ดาราจักรแคระ (Dwarf Galaxy) คือดาราจักรขนาดเล็กที่มีดาวฤกษ์อยู่เพียงไม่กี่พันล้านดวง ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยหากเทียบกับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราที่มีดาวฤกษ์อยู่ราว 2-4 แสนล้านดวง ในบางครั้งเมฆแมเจลแลนใหญ่ซึ่งมีดาวฤกษ์อยู่ราว 3 หมื่นล้านดวง ก็ถูกนับว่าเป็นดาราจักรแคระด้วย ในกลุ่มท้องถิ่นของเรามีดาราจักรแคระอยู่หลายแห่ง ซึ่งมักโคจรไปรอบๆ ดาราจักรที่ใหญ่กว่า เช่น ทางช้างเผือก ดาราจักรแอนดรอเมดา และดาราจักรไทรแองกูลัม รายงานการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้ทราบว่าดาราจักรแคระเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากแรงไทดัลในระหว่างวิวัฒนาการช่วงแรกๆ ของทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนดรอเมดา ดาราจักรแคระที่ได้รับผลกระทบจากแรงไทดัลทำให้ดาราจักรแตกตัวและเกิดปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างกัน สายธารของสสารในดาราจักรถูกดึงออกจากดาราจักรต้นกำเนิดของมัน รวมถึงกลดของสสารมืดที่อยู่รอบๆ ดาราจักรทางช้างเผือกมีดาราจักรแคระโคจรอยู่รอบๆ จำนวน 14 ดาราจักร จากการค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่า กระจุกดาวทรงกลมที่ใหญ่ที่สุดในทางช้างเผือก คือ โอเมกาคนครึ่งม้า ที่จริงเป็นแกนกลางของดาราจักรแคระแห่งหนึ่งที่มีหลุมดำอยู่ที่ใจกลาง (ดูรายละเอียดเพิ่มที่ ทางช้างเผือก) ดาราจักรแคระสามารถมีรูปร่างได้หลายแบบ ได้แก.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและดาราจักรแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและโลก · ดูเพิ่มเติม »

เมฆแมเจลแลนใหญ่

มฆมาเจลลันใหญ่ เมฆแมเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud, LMC) คือดาราจักรบริวารของทางช้างเผือก อยู่ห่างจากเราออกไปเพียงไม่ถึง 50 กิโลพาร์เซก (ประมาณ 160,000 ปีแสง) ถือเป็นดาราจักรที่อยู่ใกล้กับทางช้างเผือกเป็นอันดับที่สาม โดยมีดาราจักรแคระชนิดรีคนยิงธนู (ประมาณ 16 กิโลพาร์เซก) กับดาราจักรแคระสุนัขใหญ่ (ประมาณ 12.9 กิโลพาร์เซก) อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของดาราจักรทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนใหญ่มีมวลสมมูลประมาณ 1 หมื่นล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ (1010 มวลดวงอาทิตย์) นั่นคือมีมวลเป็นประมาณ 1/10 เท่าของมวลของทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นดาราจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในกลุ่มท้องถิ่น โดยมีดาราจักรแอนดรอเมดา ทางช้างเผือก และดาราจักรไทรแองกูลัม เป็นดาราจักรขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง สอง และสามตามลำดับ โดยมากเมฆแมเจลแลนใหญ่มักถูกพิจารณาว่าเป็นดาราจักรไร้รูปแบบ (ในฐานข้อมูลวัตถุพ้นดาราจักรขององค์การนาซา ระบุรหัสตามลำดับฮับเบิลให้แก่มันเป็น Irr/SB(s)m) อย่างไรก็ดีเมฆแมเจลแลนใหญ่ก็มีโครงสร้างคล้ายคานที่บริเวณศูนย์กลาง ทำให้เชื่อได้ว่ามันอาจจะเคยเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานมาก่อน ลักษณะอันไร้รูปแบบของเมฆแมเจลแลนใหญ่อาจเป็นผลมาจากปฏิกิริยาน้ำขึ้นน้ำลงระหว่างตัวมันเองกับทางช้างเผือกและเมฆแมเจลแลนเล็ก เมฆแมเจลแลนใหญ่ปรากฏบนท้องฟ้ายามกลางคืนเป็น "เมฆ" จาง ๆ อยู่ในทางซีกโลกใต้ บริเวณชายขอบระหว่างกลุ่มดาวปลากระโทงแทงกับกลุ่มดาวภูเขา เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นดาราจักรคู่กับเมฆแมเจลแลนเล็ก ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกประมาณ 20 อง.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและเมฆแมเจลแลนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เวลาสากลเชิงพิกัด

แผนที่โลกแสดงเขตเวลาในปัจจุบัน เวลาสากลเชิงพิกัด (Coordinated Universal Time; ตัวย่อ: UTC) คือ หน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (-) เทียบจากหน่วยเวลาสากลซึ่งเป็นระบบอ้างอิงจากเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) จุดอ้างอิงของเวลาสากลเชิงพิกัดคือที่ลองจิจูด ที่ 0° ที่ตัดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิชในกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร (และเป็นสาเหตุหลักที่เวลามาตรฐานกรีนิชยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและเวลาสากลเชิงพิกัด · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลาบึ้ง

นบิวลาบึ้ง หรือ เนบิวลาทารันทูลา (Tarantula Nebula; หรือรู้จักในชื่อ 30 โดราดัส หรือ NGC 2070) เป็นบริเวณเอช 2 ที่อยู่ในเมฆแมเจลแลนใหญ่ เดิมเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ จวบกระทั่ง พ.ศ. 2294 นิโคลาส์ หลุยส์ เดอ ลาซายล์ จึงตรวจพบว่ามันมีลักษณะโดยธรรมชาติเป็นแบบเนบิวลา เนบิวลาบึ้งมีค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ 8 เมื่อคำนึงถึงระยะห่างของมันที่อยู่ห่างออกไปถึง 180,000 ปีแสง ถือได้ว่าเป็นวัตถุที่มีความสว่างสูงมาก มันส่องสว่างมากเสียจนถ้าหากมันอยู่ใกล้โลกในระยะเดียวกับเนบิวลานายพราน ก็อาจทำให้เกิดเงาแสงขึ้นได้ทีเดียว เนบิวลาบึ้งเป็นย่านดาวระเบิดที่มีกระบวนการสูงที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น มันยังเป็นย่านที่ใหญ่ที่สุดและมีการกำเนิดดาวมากที่สุดในกลุ่มท้องถิ่นโดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณถึง 200 พาร์เซก ที่ใจกลางของมันเป็นกระจุกดาวที่เล็กมากแต่หนาแน่นมาก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 พาร์เซก) คือกระจุกดาว R136a อันเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานมหาศาลที่ทำให้เนบิวลานี้สว่างไสว ซูเปอร์โนวาที่ใกล้ที่สุดเท่าที่ตรวจพบหลังจากการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ คือ ซูเปอร์โนวา 1987A ก็เกิดขึ้นที่บริเวณขอบของเนบิวลาบึ้งแห่งนี้.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและเนบิวลาบึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

23 กุมภาพันธ์

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 54 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 311 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและ23 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

24 กุมภาพันธ์

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 55 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 310 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เอสเอ็น 1987เอและ24 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SN 1987A

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »