โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เนบิวลาบึ้ง

ดัชนี เนบิวลาบึ้ง

นบิวลาบึ้ง หรือ เนบิวลาทารันทูลา (Tarantula Nebula; หรือรู้จักในชื่อ 30 โดราดัส หรือ NGC 2070) เป็นบริเวณเอช 2 ที่อยู่ในเมฆแมเจลแลนใหญ่ เดิมเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ จวบกระทั่ง พ.ศ. 2294 นิโคลาส์ หลุยส์ เดอ ลาซายล์ จึงตรวจพบว่ามันมีลักษณะโดยธรรมชาติเป็นแบบเนบิวลา เนบิวลาบึ้งมีค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ 8 เมื่อคำนึงถึงระยะห่างของมันที่อยู่ห่างออกไปถึง 180,000 ปีแสง ถือได้ว่าเป็นวัตถุที่มีความสว่างสูงมาก มันส่องสว่างมากเสียจนถ้าหากมันอยู่ใกล้โลกในระยะเดียวกับเนบิวลานายพราน ก็อาจทำให้เกิดเงาแสงขึ้นได้ทีเดียว เนบิวลาบึ้งเป็นย่านดาวระเบิดที่มีกระบวนการสูงที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น มันยังเป็นย่านที่ใหญ่ที่สุดและมีการกำเนิดดาวมากที่สุดในกลุ่มท้องถิ่นโดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณถึง 200 พาร์เซก ที่ใจกลางของมันเป็นกระจุกดาวที่เล็กมากแต่หนาแน่นมาก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 พาร์เซก) คือกระจุกดาว R136a อันเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานมหาศาลที่ทำให้เนบิวลานี้สว่างไสว ซูเปอร์โนวาที่ใกล้ที่สุดเท่าที่ตรวจพบหลังจากการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ คือ ซูเปอร์โนวา 1987A ก็เกิดขึ้นที่บริเวณขอบของเนบิวลาบึ้งแห่งนี้.

16 ความสัมพันธ์: บริเวณเอช 2พ.ศ. 2294พาร์เซกกลุ่มท้องถิ่นกลุ่มดาวปลากระโทงแทงกล้องโทรทรรศน์กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมหานวดาราดาวฤกษ์ความส่องสว่างปรากฏปีแสงนีกอลา หลุยส์ เดอ ลากายเมฆแมเจลแลนใหญ่เนบิวลาเนบิวลานายพราน

บริเวณเอช 2

NGC 604 บริเวณเอช 2 ขนาดใหญ่ในดาราจักรไทรแองกูลัม บริเวณเอช 2 (หรือบางครั้งเรียกว่า เนบิวลาเปล่งแสง) เป็นกลุ่มเมฆเรืองแสงของแก๊สและพลาสมา อาจมีความกว้างได้ถึงหลายร้อยปีแสง ภายในเป็นแหล่งสำหรับการก่อตัวของดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์สีน้ำเงินอายุน้อยที่ร้อนจัดที่เกิดจากการแก๊สจะแผ่แสงอัลตราไวโอเลตออกมาจำนวนมาก ทำให้เนบิวลารอบๆ เกิดการแตกประจุขึ้น บริเวณเอช 2 อาจให้กำเนิดดาวฤกษ์ได้หลายพันดวงตลอดช่วงเวลาหลายล้านปี เมื่อถึงที่สุด การระเบิดของซูเปอร์โนวาและลมดาวฤกษ์อันรุนแรงจากดาวที่มีมวลมากที่สุดในกระจุกดาวจะทำให้แก๊สในบริเวณเอช 2 แตกกระจัดกระจายสลายไป เหลือทิ้งไว้แต่กลุ่มกระจุกดาวเหล่านั้น ดังตัวอย่างเช่น กระจุกดาวลูกไก่ ชื่อ บริเวณเอช 2 มาจากการที่มันมีประจุของอะตอมไฮโดรเจนอยู่เป็นจำนวนมาก นักดาราศาสตร์จึงเรียกชื่อว่า H II (บริเวณเอช 1 เป็นอะตอมไฮโดรเจนที่เสถียรแล้ว แต่เอช 2 เป็นไฮโดรเจนโมเลกุล) บริเวณเอช 2 สามารถมองเห็นได้จากระยะห่างที่ไกลมากในเอกภพ ในการศึกษาดาราจักรภายนอก บริเวณเอช 2 จะมีความสำคัญมากเพื่อใช้ประเมินระยะห่างและองค์ประกอบทางเคมีของดาราจักรอันไกลโพ้นเหล่านั้น.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและบริเวณเอช 2 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2294

ทธศักราช 2294 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและพ.ศ. 2294 · ดูเพิ่มเติม »

พาร์เซก

ร์เซก (Parsec; มาจาก parallax of one arcsecond ตัวย่อ: pc) เป็นหน่วยวัดระยะทางทางดาราศาสตร์ เท่ากับความสูงของสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีเส้นฐานยาว 1 หน่วยดาราศาสตร์และมีมุมยอด 1 พิลิปดา มีค่าประมาณ 3.2616 ปีแสง (3.26 ปีแสง)หรือ 206,265 หน่วยดาราศาสตร์ มักใช้วัดระยะทางภายในดาราจักร การวัดระยะจากโลกถึงดาวฤกษ์คือการวัดแพรแลกซ์ของดาวฤกษ์ แพรัลแลกซ์ คือ ปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตมองจาก 2 จุด แล้วเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับวัตถุอ้างอิง ทดลองได้โดยใช้มือถือวัตถุยื่นไปข้างหน้า แล้วสังเกตวัตถุดังกล่าวด้วยตาซ้าย และขวาจะสังเกตเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปหรือไม่ หมวดหมู่:หน่วยความยาว หมวดหมู่:มาตรดาราศาสตร์.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและพาร์เซก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มท้องถิ่น

ราจักรแคระ Sextans A หนึ่งในดาราจักรสมาชิกของกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนโดรเมดาและทางช้างเผือก ซึ่งปรากฏเป็นแถบดาวสีเหลืองในภาพ Sextans A คือภาพดาวสีน้ำเงินอ่อนที่เห็นได้ชัดเจน กลุ่มท้องถิ่น (Local Group) เป็นกลุ่มของดาราจักรซึ่งมีดาราจักรทางช้างเผือกของเราเป็นสมาชิกอยู่ ประกอบด้วยดาราจักรมากกว่า 35 แห่ง มีจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงอยู่ระหว่างทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนโดรเมดา กลุ่มท้องถิ่นกินเนื้อที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ล้านปีแสง และมีรูปร่างเหมือนดัมเบลล์ ประมาณการว่ากลุ่มท้องถิ่นมีมวลรวมประมาณ (1.29 ± 0.14) เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และเป็นสมาชิกหนึ่งอยู่ใน กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว (หรือเรียกว่าเป็น กลุ่มกระจุกดาราจักรท้องถิ่น) ด้วย สมาชิกที่มีมวลมากที่สุดสองแห่งในกลุ่มท้องถิ่น คือ ดาราจักรทางช้างเผือก และ ดาราจักรแอนโดรเมดา ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานทั้งสองแห่งนี้มีดาราจักรบริวารโคจรอยู่โดยรอบเป็นระบบดาราจักร ดังนี้.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและกลุ่มท้องถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวปลากระโทงแทง

กลุ่มดาวปลากระโทงแทง เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ ปรากฏในแผนที่ดาว ยูรานอเมเทรีย (Uranometria) ของโยฮันน์ บาเยอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1603 แต่อาจเป็นที่รู้จักกันมาก่อนหน้านั้น วัตถุท้องฟ้าเด่นในกลุ่มดาวนี้ คือ เมฆแมเจลแลนใหญ่ ที่กินพื้นที่เลยไปถึงกลุ่มดาวภูเขา หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวปลากระโทงแทง.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและกลุ่มดาวปลากระโทงแทง · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและกล้องโทรทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) หรือเดิมชื่อ Space Infrared Telescope Facility (SIRTF) เป็นกล้องสังเกตการณ์อวกาศอินฟราเรด เป็นกล้องอันดับที่สี่และสุดท้ายของโครงการหอดูดาวเอกของนาซา ตั้งชื่อตาม ดร.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

มหานวดารา

ำลองจากศิลปินแสดงให้เห็นมหานวดารา SN 2006gy ที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอกซ์จันทราจับภาพได้ อยู่ห่างจากโลก 240 ล้านปีแสง มหานวดารา นิพนธ์ ทรายเพชร, อารี สวัสดี และ บุญรักษา สุนทรธรรม.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและมหานวดารา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างปรากฏ

วามส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้ความส่องสว่างปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าความส่องสว่างปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2) ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นความส่องสว่างปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าความส่องสว่างปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและความส่องสว่างปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

นีกอลา หลุยส์ เดอ ลากาย

นีกอลา หลุยส์ เดอ ลากาย (Nicolas Louis de Lacaille; 15 มีนาคม ค.ศ. 1713 - 21 มีนาคม ค.ศ. 1762) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส มีชื่อเสียงในฐานะผู้รวบรวมรายชื่อวัตถุท้องฟ้าในซีกโลกใต้เกือบ 10,000 รายการ รายชื่อวัตถุท้องฟ้านี้เรียกว่า Coelum Australe Stelliferum ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี..

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและนีกอลา หลุยส์ เดอ ลากาย · ดูเพิ่มเติม »

เมฆแมเจลแลนใหญ่

มฆมาเจลลันใหญ่ เมฆแมเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud, LMC) คือดาราจักรบริวารของทางช้างเผือก อยู่ห่างจากเราออกไปเพียงไม่ถึง 50 กิโลพาร์เซก (ประมาณ 160,000 ปีแสง) ถือเป็นดาราจักรที่อยู่ใกล้กับทางช้างเผือกเป็นอันดับที่สาม โดยมีดาราจักรแคระชนิดรีคนยิงธนู (ประมาณ 16 กิโลพาร์เซก) กับดาราจักรแคระสุนัขใหญ่ (ประมาณ 12.9 กิโลพาร์เซก) อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของดาราจักรทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนใหญ่มีมวลสมมูลประมาณ 1 หมื่นล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ (1010 มวลดวงอาทิตย์) นั่นคือมีมวลเป็นประมาณ 1/10 เท่าของมวลของทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นดาราจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในกลุ่มท้องถิ่น โดยมีดาราจักรแอนดรอเมดา ทางช้างเผือก และดาราจักรไทรแองกูลัม เป็นดาราจักรขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง สอง และสามตามลำดับ โดยมากเมฆแมเจลแลนใหญ่มักถูกพิจารณาว่าเป็นดาราจักรไร้รูปแบบ (ในฐานข้อมูลวัตถุพ้นดาราจักรขององค์การนาซา ระบุรหัสตามลำดับฮับเบิลให้แก่มันเป็น Irr/SB(s)m) อย่างไรก็ดีเมฆแมเจลแลนใหญ่ก็มีโครงสร้างคล้ายคานที่บริเวณศูนย์กลาง ทำให้เชื่อได้ว่ามันอาจจะเคยเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานมาก่อน ลักษณะอันไร้รูปแบบของเมฆแมเจลแลนใหญ่อาจเป็นผลมาจากปฏิกิริยาน้ำขึ้นน้ำลงระหว่างตัวมันเองกับทางช้างเผือกและเมฆแมเจลแลนเล็ก เมฆแมเจลแลนใหญ่ปรากฏบนท้องฟ้ายามกลางคืนเป็น "เมฆ" จาง ๆ อยู่ในทางซีกโลกใต้ บริเวณชายขอบระหว่างกลุ่มดาวปลากระโทงแทงกับกลุ่มดาวภูเขา เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นดาราจักรคู่กับเมฆแมเจลแลนเล็ก ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกประมาณ 20 อง.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและเมฆแมเจลแลนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลา

อ็นจีซี 604 (NGC 604) เป็นเนบิวลาที่อยู่ภายในแขนของดาราจักรเอ็ม 33 (M33) ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม อยู่ห่างจากโลก 2.7 ล้านปีแสง เนบิวลานี้เป็นบริเวณก่อตัวของดาวฤกษ์ดวงใหม่ เนบิวลานาฬิกาทราย (MyCn18) เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์อายุน้อย อยู่ห่างจากโลกประมาณ 8,000 ปีแสง ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขององค์การนาซา เนบิวลา (Nebula - มาจากภาษาละติน nebula (พหูพจน์ nebulae) หมายถึง "หมอก") เป็นกลุ่มเมฆหมอกของฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ เดิมคำว่า "เนบิวลา" เป็นชื่อสามัญ ใช้เรียกวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เป็นปื้นบนท้องฟ้าซึ่งรวมถึงดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไปจากทางช้างเผือก (ตัวอย่างเช่น ในอดีตเคยเรียกดาราจักรแอนดรอเมดาว่าเนบิวลาแอนดรอเมดา).

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและเนบิวลา · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลานายพราน

นบิวลานายพราน (Orion Nebula; หรือที่รู้จักในชื่อ วัตถุเมสสิเยร์ M42 หรือ NGC 1976) เป็นเนบิวลาแห่งหนึ่งอยู่ทางใต้ของเข็มขัดโอไรออนในกลุ่มดาวนายพราน ถือเป็นหนึ่งในเนบิวลาสว่างที่สุดและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนบิวลานายพรานอยู่ห่างออกไปประมาณ 1,270±76 ปีแสง ถือเป็นย่านกำเนิดดาวฤกษ์มวลมากที่อยู่ใกล้กับโลกมากที่สุด เนบิวลานายพรานมีขนาดกว้างประมาณ 24 ปีแสง บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่อ้างถึงเนบิวลาแห่งนี้เรียกมันว่า เนบิวลาใหญ่ ในกลุ่มดาวนายพราน หรือ เนบิวลานายพรานใหญ่ อย่างไรก็ดียังมีบันทึกทางดาราศาสตร์ที่เก่าแก่กว่าเรียกมันว่า เอนสิส (Ensis; หมายถึง "ดาบ") อันเป็นชื่อเดียวกันกับดาวเอตาโอไรออนิส ซึ่งเมื่อมองจากโลกจะเห็นอยู่ใกล้กันกับเนบิวล.

ใหม่!!: เนบิวลาบึ้งและเนบิวลานายพราน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เนบิวลาทารันทูลา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »