โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทวสภาโอลิมปัส

ดัชนี เทวสภาโอลิมปัส

ในเทพปกรณัมกรีก เทวสภาโอลิมปัสเป็นพระเจ้าหลักของกรีก โดยมากพิจารณาว่ามีซูส ฮีรา โพไซดอน ดิมีเทอร์ อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอรีส แอโฟรไดที ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส และเฮสเตียหรือไดอะไนซัส บางครั้งรวมเฮดีสและเพอร์เซฟะนีเป็นส่วนหนึ่งของสิบสองเทพโอลิมปัสด้วย แต่โดยทั่วไปไม่นับเฮดีส เพราะพระองค์ประทับอย่างถาวรในโลกบาดาลและไม่เคยเสด็จเยือนยอดเขาโอลิมปัส บางครั้งนับรวมเฮราคลีสและอัสคลิปิอุสเช่นกัน.

36 ความสัมพันธ์: มาส์มิเนอร์วามีทิสยอดเขาโอลิมปัสยูเรนัส (เทพปกรณัม)ลีโตวีนัส (เทพปกรณัม)อะพอลโลอะธีนาอัสคลิปิอุสอาร์ทิมิสอีเลียดฮิฟีสตัสฮีราจูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)จูโนดิมีเทอร์คทางูไขว้ซูสซีมีลีแอมฟิไทรทีแอรีสแอโฟรไดทีโพไซดอนโฮเมอร์โครนัสไกอาไดอะไนซัสเพอร์เซฟะนีเมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)เรียเฮราคลีสเฮสเตียเฮอร์มีสเฮดีสเทพปกรณัมกรีก

มาส์

มาส์ เทพมาส์ (Mars) เป็นเทพในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพแอรีสในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพมาร์สเป็นเทพแห่งสงคราม เป็นลูกของเทพีจูโนและเทพจูปิเตอร์ เป็นสามีของเทพีเบลโลนาและคนรักของเทพีวีนัส มาส์เป็นเทพทางการทหารที่เป็นที่สักการะของกองทหารโรมัน นักรบโรมันถือว่ามาส์เป็นเทพที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองรองจากเทพจูปิเตอร์ เดือนที่ฉลองคือเดือนมีนาคมซึ่งเป็นชื่อเดือนที่ตั้งตามชื่อของเทพและเดือนตุลาคม คำว่า “Mars” ไม่มีรากจากคำในตระกูลภาษาโปรโต-อินโด-ยูโรเปียนซึ่งทำให้สันนิษฐานกันว่ามาจากเทพแห่งการเกษตรกรรมของอีทรัสคันชื่อเทพมาริส เดิมเทพมาส์เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และพืชพันธุ์และเป็นผู้พิทักษ์วัว ทุ่งการเกษตรกรรม พืชผัก และเกษตรกร ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐบุรุษโรมันคาโตผู้อาวุโส ได้ทำอะไรสักอย่างหนึ่งก็ไม่ทราบแน่ชัด หรือมีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ทราบแน่ชัดกับเทพมาส์ ต่อมาเทพมาส์ก็มาเกี่ยวข้องกับการศึกสงครามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นเมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มขยายตัว เทพมาส์ไม่เหมือนเทพแอรีสของตำนานเทพปกรณัมกรีกเพราะเป็นเทพที่เป็นที่นับถือและมีความสำคัญพอ ๆ กับเทพจูปิเตอร์ และถือกันว่าเป็นเทพในนามของกรุงโรม และยังถือกันว่าเป็นพ่อของรอมิวลุส ฉะนั้นชาวโรมจึงสืบเชื้อสายมาจากเทพม.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและมาส์ · ดูเพิ่มเติม »

มิเนอร์วา

มิเนอร์วา (Minerva) เป็นเทพีโรมันแห่งปัญญา และผู้สนับสนุนศิลปะ การค้าและยุทธศาสตร์ พระองค์กำเนิดจากพระเจ้าของจูปิเตอร์พร้อมด้วยศาสตราวุธ หลังศตวรรษที่ 2 ก่อน..

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและมิเนอร์วา · ดูเพิ่มเติม »

มีทิส

มีทิส (Metis) เป็นนางนิมฟ์ที่ดูแลซูสตั้งแต่ซูสยังเด็ก หลังจากที่พระนางเรีย ชายาของโครนัส (เทพไททัน) ได้ลักลอบนำซูสไปทิ้งไว้บนเกาะแล้วให้เหล่านิมฟ์ต่าง ๆ ช่วยกันดูแล เมื่อซูสโตขึ้น เขาก็ได้ครองรักกับมีทิส และมีทิสนี่เองคือบุคคลที่ปรุงน้ำยาสมุนไพรที่โครนัสดื่มแล้วสำรอกพี่ ๆ ของซูสออกมาจากท้อง แต่เนื่องจากหลังจากที่โครนัสพ่ายแพ้แก่ซูส เขาได้สาปแช่งก่อนจะหนีไปว่า ลูกของซูสที่เกิดจากนางมีทิสจะเป็นผู้สังหารซูส ซูสเกิดความหวาดกลัวจึงจับมีทิสกลืนลงท้อง เมื่อครบ 9 เดือน ซูสก็ปวดเศียรเป็นอย่างมาก ทันใดนั้นเทพีอะธีนาก็กำเนิดขึ้นโดยการแหกเศียรของซูสออกมา (บางตำนานว่าฮิฟีสตัส เทพแห่งการช่าง เป็นผู้ใช้อาวุธจามเศียรซูส อะทีนาจึงได้ออกมา) หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและมีทิส · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาโอลิมปัส

อดเขาโอลิมปัส ยอดเขาโอลิมปัส (Mount Olympus, Όλυμπος โอลิมโปส) เป็นยอดเขาที่สุงที่สุดในประเทศกรีซ มีความสูง 2,917 เมตร อยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศ โฮเมอร์บรรยายในมหากาพย์ โอดีสซี ว่าภูเขานี้ปลอดพายุ และ อากาศสดใส ซึ่งก็เป็นจริงในบางครั้งบริเวณยอดเขา แต่ส่วนล่างลงมาล้อมรอบไปด้วยเม.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและยอดเขาโอลิมปัส · ดูเพิ่มเติม »

ยูเรนัส (เทพปกรณัม)

ยูเรนัส ยูเรนัส (Uranus) หรือ อูรานอส (กรีกโบราณ) เป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า ทรงเป็นทั้งบุตรและสวามีของพระแม่ไกอา เทพีแห่งพื้นดิน ท่านทั้งสองสมหวังกันด้วยอีรอส (คิวปิด) เทพเจ้าแห่งความรัก ที่ทั้งคู่รักกันด้วยเหตุผลคือ พื้นดินนั้นมองท้องฟ้าทุกวัน จนเทพอีรอสทนไม่ไหวจึงแผลงศรให้ทั้งคู่รักกัน มีลูกด้วยกันคือ เหล่ายักษ์ ปีศาจผู้อัปลักษณ์ ทำให้ยูเรนัสไม่พอใจอย่างมาก จึงจับไปขังที่นรกที่ลึกที่สุดคือ นรกทาร์ทารัส เกิดความเคียดแค้นใจกับไกอาอย่างยิ่ง บุตรกลุ่มต่อมาคือ ไททัน ซึ่งมีรูปลักษณ์ดูดี ทำให้ท่านพอใจ ยิ่งเกิดความเคียดแค้นต่อไกอาเป็นเท่าทวีคูณ นางจึงขอร้องให้ลูก ๆ เหล่าไททันสังหารยูเรนัส โครนัสหนึ่งในเหล่าไททันตอบตกลงที่จะช่วย ต่อมายูเรนัสจึงโดนโค่นล้มโดยโครนัส ลูกชายตนเอง นอกจากนี้ชื่อของเทพยูเรนัสยังถูกนำมาใช้ตั้งเป็นชื่อของ ดาวยูเรนัส ด้วย หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและยูเรนัส (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

ลีโต

ทพีลีโต Λητώ; Lētṓ เป็นธิดาแห่งเทพไททัน เซอัส (Coeus) และฟีบี (Phoebe) ในเทพปกรณัมกรีก เทพซูสได้นางเป็นชายาอีกองค์ เมื่อเทพีเฮรารู้เข้าจึงกริ้วมาก จึงไล่ลีโตไปจากโอลิมปัส และยังสาปแช่งว่า ใครก็ตามที่ให้ที่พักแก่นาง ขอให้ประสบความอดอยาก จนถึงแก่ความตาย แล้วยังให้งูยักษ์ไพธอน ไล่ทำร้ายนางอีกด้วย แต่เนื่องด้วยว่า เทพีลีโตเป็นเทพี จึงไม่ตาย แต่ถึงกระนั้นก็ได้รับบาดเจ็บ เทพซุสที่เฝ้ามองอยู่เกิดความสงสารมาก จึงให้เทพโพไซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเล ช่วยเหลือ โพไซดอนพานางไปยังเกาะดีลอส ซึ่งเกิดจากอิทธิฤทธิ์ของโพไซดอน นางประทับอยู่ที่เกาะนี้จนให้กำเนิดบุตรฝาแฝด คือ เทพอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ และเทพีฝาแฝดผู้พี่ เทพีอาร์เทมิส เทพีแห่งดวงจันทร์ ซึ่งต่อมาเทพอพอลโล ได้กำจัดงูไพธอนจนถึงแก่ความตาย จนมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและลีโต · ดูเพิ่มเติม »

วีนัส (เทพปกรณัม)

วีนัสบนหอยทะเล วีนัส (Venus) เป็นเทพเจ้าโรมันซึ่งมีหน้าที่ครอบคลุมความรัก ความงาม เพศ ภาวะเจริญพันธุ์และความรุ่งเรือง ในเทพปกรณัมโรมัน พระนางทรงเป็นมารดาแห่งชาวโรมันผ่านพระโอรส ไอนีอัส (Aeneas) ผู้รอดจากสงครามกรุงทรอยแล้วหนีมายังอิตาลี จูเลียส ซีซาร์อ้างว่าพระนางเป็นบรรพบุรุษของตน วีนัสเป็นหัวใจของเทศกาลศาสนาหลายเทศกาล และได้รับการเคารพบูชาในศาสนาโรมันภายใต้ชื่อลัทธิต่าง ๆ ชาวโรมันรับเรื่องปรัมปราและความเป็นสัญรูปของภาคกรีกของพระนาง แอโฟรไดที สำหรับศิลปะโรมันและวรรณคดีละติน ในประเพณีคลาสสิกยุคหลังของตะวันตก วีนัสเป็นพระเจ้าพระองค์หนึ่งในเทพปกรณัมกรีก-โรมันซึ่งมีการอ้างอิงมากที่สุดเป็นการรวมความรักและเพศสภาพ หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน หมวดหมู่:วีนัส.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและวีนัส (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

อะพอลโล

อะพอลโล (Apollo; Ἀπόλλων; อะพอลลอน; Apollō) เป็นหนึ่งในพระเจ้าองค์สำคัญที่สุดในพระเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีกและศาสนากรีกโบราณ ตลอดจนเทพปกรณัมโรมันและศาสนาโรมันโบราณ อะพอลโลทรงเป็นอุดมคติของคูรอส (kouros) คือ หนุ่มนักกีฬาไม่ไว้หนวด และทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเทพเจ้าแห่งแสงและดวงอาทิตย์ สัจจะและคำพยากรณ์ การรักษา โรคระบาด ดนตรี กวี ฯลฯ อะพอลโลทรงเป็นพระโอรสของซูสและลีโต และมีพระเชษฐภคินีฝาแฝด คือ อาร์ทิมิสซึ่งเป็นพรานหญิง ปัจจุบัน อะพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น อะพอลโลเป็นเทพเจ้าที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า มหารูปแห่งโรดส์ นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอะพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก หมวดหมู่:สุริยเทพ หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและอะพอลโล · ดูเพิ่มเติม »

อะธีนา

ในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก อะธีนา (Athena) หรือ อะธีนี (Athene) หรือ แพลลัสอธีนา/อะธีนี (Pallas Athena/Athene) เป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งปัญญา ความกล้า แรงบันดาลใจ อารยธรรม กฎหมายและความยุติธรรม การสงครามโดยชอบ คณิตศาสตร์ ความแข็งแกร่ง ยุทธศาสตร์ ศิลปะ งานฝีมือและทักษะ ภาคโรมัน คือ มิเนอร์วา มีการพรรณนาอะธีนาว่าทรงเป็นพระสหายร่วมทางผู้เฉลียวฉลาดของวีรบุรุษและเทพเจ้าอุปถัมภ์การผจญภัยของวีรบุรุษ พระนางทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์ผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์ ชาวเอเธนส์ตั้งวิหารพาร์เธนอนบนอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ (อะธีนาพาร์ธีนอส) เพื่อถวายเกียรติแด่พระนางDeacy, Susan, and Alexandra Villing.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและอะธีนา · ดูเพิ่มเติม »

อัสคลิปิอุส

อะพอลโลนำอัสคลิปิอุส ไปให้ไครอนเลี้ยงและสอนวิชาการรักษา อัสคลิปิอุส และเทพีไฮเจีย อัสคลิปิอุส (Asclepius) (ละติน: Aesculapius, กรีก: Asklepios) เป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์ การรักษา และการฟื้นคืนชีพ ในตำนานเทพปกรณัมกรีกในยุคกรีกโบราณ อัสคลิปิอุส เป็นตัวแทนของการรักษาทางการแพทย์ บุตรสาวและบุตรชายของอัสคลิปิอุสต่างก็มีความสำคัญเกี่ยวกับการแพทย์ด้วยเช่นกัน บุตรสาวของอัสคลิปิอุสได้แก่ ไฮเจีย (Hygea) เป็นเทพีแห่งสุขอนามัยและความสะอาด ลาโซ (Laso) เป็นเทพีแห่งการฟื้นฟู อาเซโซ (Aceso) และ พานาเซีย (Panacea) เทพีแห่งการรักษา บุตรชายของอัสคลิปิอุส มาเคออน (Machaon) และ โพดาลิริอุส (Podalirius) เป็นศัลยแพทย์ทหารของกรีก ปรากฏชื่ออยู่ในสงครามเมืองทรอย อัสคลิปิอุส เป็นบุตรของเทพเจ้าอะพอลโล ซึ่งถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์เช่นกัน คทาของอัสคลิปิอุสใช้แทนสัญญลักษณ์แทนการแพทย์ในสมัยกรีกและใช้มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและอัสคลิปิอุส · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ทิมิส

อาร์ทิมิส (Artemis,; Ἄρτεμις) เป็นหนึ่งในพระเจ้ากรีกโบราณที่มีการบูชากว้างขวางที่สุด ภาคโรมัน คือ ไดแอนาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและอาร์ทิมิส · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

ฮิฟีสตัส

ฟีสตัส (Ἥφαιστος) (Hephaestus) เป็นเทพเจ้าแห่งช่างตีเหล็ก (blacksmith) ช่างฝีมือ ช่างศิลป์ ประติมากร โลหะ โลหะวิทยา (metallurgy) ไฟและภูเขาไฟWalter Burkert, Greek Religion 1985: III.2.ii; see coverage of Lemnos-based traditions and legends at Mythic Lemnos) ภาคโรมัน คือ วัลแคน ในเทพปกรณัมกรีก ฮีฟีสตัสเป็นพระโอรสของซูสกับพระนางฮีรา หรือบางตำราก็ว่าท่านเกิดมาแต่เฉพาะเทวีฮีรา และมีแอฟโฟรไดทีเป็นชายา ฮิฟีสตัสเป็นเทพช่างตีเหล็ก ทรงประดิษฐ์อาวุธทั้งหมดของพระเจ้าบนโอลิมปัส พระองค์เป็นช่างตีเหล็กของเหล่าทวยเทพ และทรงได้รับการบูชาในศูนย์การผลิตและอุตสาหกรรมของกรีซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเอเธนส์ ลัทธิบูชาฮีฟีสตัสมีศูนย์กลางในเลมนอส ฮิฟีสตัสมีลักษณะเด่นคือเป็นเทพพิการ มีขาไม่สมประกอบ มีกริยาอาการเหมือนคนทุพพลภาพ และถือเครื่องมือช่างตลอดเวลา ท่านจึงได้รับฉายาเรียกหลายอย่างที่แสดงถึงลักษณะทางกายภาพ เช่น.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและฮิฟีสตัส · ดูเพิ่มเติม »

ฮีรา

ีร่า หรือ เฮร่า (Hera; Ήρα, Ήρη) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ภาคโรมัน คือ จูโน พิจารณาว่าวัว สิงโตและนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ ฮีร่าเป็นที่รู้จักจากธรรมชาติอิจฉาและพยาบาทของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกฮีร่าปองร้ายมีมากมาย เช่น ลีโต มารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์ทิมิส เฮราคลีส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดอะไนซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

จูปิเตอร์ (เทพปกรณัม)

“เทพจูปิเตอร์และนิมฟ์ธีทิส” โดย ฌอง โอกุสต์ โดมินิค อิงเกรส์, ค.ศ. 1811 จูปิเตอร์ หรือโจฟ ทรงเป็นราชาแห่งพระเจ้าและเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและฟ้าผ่าในเรื่องปรัมปรา จูปิเตอร์ทรงเป็นพระเจ้าหลักของศาสนารัฐโรมันตลอดสมัยสาธารณรัฐและจักรวรรดิ จนศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาครอบงำในจักรวรรดิ ในเทพปกรณัมโรมัน พระองค์ทรงเจรจากับนูมา ปอมปีลีอัส พระมหากษัตริย์โรมพระองค์ที่สอง เพื่อสถาปนาหลักการของศาสนาโรมันอย่างการบูชายัญ ปกติคาดว่าจูปิเตอร์กำเนิดขึ้นเป็นเทพเจ้าท้องฟ้า สิ่งที่บอก คือ ฟ้าผ่า และสัตว์ศักดิ์สิทธิ์หลักของพระองค์ คือ นกอินทรี ซึ่งถือว่าดีกว่านกอื่นในการยึดลาง (augury) และกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยที่สุดอันหนึ่งของกองทัพโรมัน สองสัญลักษณ์นี้มักรวมกันเพื่อแสดงจูปิเตอร์ในรูปอินทรีกำฟ้าผ่าในกรงเล็บ ซึ่งเห็นได้บ่อยในเหรียญกรีกและโรมัน ในฐานะเทพเจ้าท้องฟ้า พระองค์ทรงเป็นพยานศักดิ์สิทธิ์ของคำสาบาน ความไว้วางใจศักดิ์สิทธิ์ซึ่งความยุติธรรมและธรรมาภิบาลยึดถือ หลายหน้าที่ของพระองค์ได้รับความสนใจบนเนินแคพิทะไลน์ ("เนินรัฐสภา") อันเป็นที่ตั้งของป้อม พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าหลักในสามแคพิทะไลน์ (Capitoline Triad) ช่วงต้นร่วมกับมาร์สและควิไรนัส ในสามแคพิทะไลน์ช่วงหลัง พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์กลางของรัฐร่วมกับจูโนและมิเนอร์วา ไม้ต้นศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ คือ โอ๊ก ชาวโรมันถือว่าจูปิเตอร์เทียบเท่าซูสของกรีก และในวรรณคดีละตินและศิลปะโรมัน รับเรื่องปรัมปราและสัญรูปของซูสมาภายใต้พระนาม Iuppiter ในประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก จูปิเตอร์ทรงเป็นพระอนุชาของเนปจูนและพลูโต ซึ่งทรงเป็นประธานเหนือหนึ่งในสามอาณาเขตแห่งเอกภพ อันได้แก่ ท้องฟ้า มหาสมุทรและโลกบาดาล มักถือว่า ทิเนียเป็นภาคอิทรัสคัน.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและจูปิเตอร์ (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

จูโน

ูโนในพิพิธภัณฑ์วาติกัน เทพีจูโน (Juno) เป็นเทพีในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพีเฮราในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพีจูโนเป็นเทพีผู้พิทักษ์ที่ปรึกษาของรัฐ เป็นธิดาของเทพแซทเทิร์น และเป็นน้องสาว (และภรรยา) ของเทพจูปิเตอร์และแม่ของเทพจูเวนตัส (Juventus), เทพมาร์ส และเทพวัลคัน เทพีจูโนเป็นเทพีผู้พิทักษ์กรุงโรมและจักรวรรดิโรมันที่บางครั้งก็เรียกว่าเรจินา (พระราชินี) เทพีจูโน เทพจูปิเตอร์ และ เทพีมิเนอร์วาเป็นสามเทพที่สักการะบนจูโนคาพิโตลินา (Juno Capitolina) ในกรุงโรม.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและจูโน · ดูเพิ่มเติม »

ดิมีเทอร์

ในศาสนาและตำนานกรีกโบราณ ดิมีเทอร์ (Demeter, /dɨˈmiːtɚ/; Δημήτηρ) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ผู้ดูแลธัญพืชและความอุดมสมบูรณ์ของปฐพี ชื่อลัทธิบูชาของพระนางรวมถึงซิโต (Σιτώ) "สตรีแห่งธัญพืช" ในฐานะผู้ประทานอาหารหรือธัญพืช และเธสมอฟอรอส (θεσμός "thesmos": ระเบียบสวรรค์, กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร; "phoros": ผู้ให้, ผู้ถือ) "ผู้ประทานกฎหมาย" โดยเป็นเครื่องหมายการดำรงอยู่ของสังคมเกษตรกรรมอารยะThemis was an ancient Greek goddess, embodiment of divine order, law.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและดิมีเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คทางูไขว้

ทางูไขว้ คทางูไขว้ (caduceus, คะดูเซียส; κηρύκειον "ไม้เท้าผู้แจ้งข่าว") คือคทาสั้นที่มีงูสองตัวพันกันเป็นเกลียวขึ้นมา บางครั้งก็จะมีปีกอยู่ข้างบนด้วย ผู้ใช้คทางูไขว้คนแรกคือเทพีไอริสผู้เป็นผู้สื่อสารของเทพเฮรา ต่อมาคทานี้เรียกว่า “คทาเฮอร์มีส” (wand of Hermes) ผู้ที่เป็นผู้ถือคทาต่อมาในตำนานเทพหลังจากนั้นเป็นเวลานาน ในปลายสมัยกรีกโรมันโบราณ (classical antiquity) คทางูไขว้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของสัญลักษณ์ของโหราศาสตร์แทนดาวพุธ และเป็นวัตถุสัญลักษณ์แทนพระเจ้าเฮอร์มีสของกรีก (หรือเมอร์คิวรีของโรมัน) บางครั้งคทางูไขว้ก็ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางการแพทย์ เช่น ในประเทศไทยหรือในทวีปอเมริกาเหนือ บางครั้งสัญลักษณ์นี้ใช้สับสนกับสัญลักษณ์การแพทย์สมัยโบราณซึ่งเป็นคทางูเดี่ยว (rod of Asclepius) เท่านั้นที่มีงูเพียงตัวเดียวและไม่มีปีก.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและคทางูไขว้ · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและซูส · ดูเพิ่มเติม »

ซีมีลี

ซูสและซีมีลี โดยกุสตาฟ มอโร ซีมีลี (Semele) ในตำนานเทพเจ้ากรีก ซีมีลีเป็นธิดาของแคดมุสและฮาร์โมเนีย เป็นมนุษย์ที่มีความสง่างามมากจึงเป็นที่ถูกใจของเทพซูส แต่เทพซูสกลัวว่านางเฮรา มเหสีเอกของตนจะจับได้ จึงกลายร่างเป็นชายหนุ่มรูปงามและได้มีความสัมพันธ์กันและได้นางซีมีลีมาเป็นชายาอีกองค์ ต่อมานางเฮราได้พบเข้า จึงแปลงกายเป็นหญิงชราซึ่งเป็นพี่เลี้ยงของนางซีมีลี และได้สอบถามว่าใครคือพ่อของลูกในท้องของนางซีมีลี นางซีมีลีจึงบอกว่าเป็นเทพซูสแห่งเขาโอลิมปัส นางเฮราจึงคิดกลอุบายให้นางซีมีลีไปสัญญาต่อแม่น้ำสติ๊กซ์ เมื่อเทพซูสได้ทราบเรื่องแล้วจึงไม่อาจจะขัดขืนได้จึงแปลงกายกลับ จึงทำให้รัศมีที่เจิดจ้าทำให้นางซีมีลีถูกแสงรัศมีเผาจนหมด ส่วนเทพซูสนั้นรีบเก็บครรภ์ของนางซีมีลีไว้ที่ต้นขา เนื่องจากกลัวว่านางเฮราจะจับได้ ต่อมาซูสได้ตั้งชื่อบุตรว่าไดโอไนซูส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นหรือไวน์ หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและซีมีลี · ดูเพิ่มเติม »

แอมฟิไทรที

แอมฟิไทรที (Amphitrite; Ἀμφιτρίτη) เป็นนีริอิด นางเป็นบุตรสาวของนิริอัสและดอริส เป็นเทพีแห่งท้องทะเล ชายาของโพไซดอน เนื่องจากโพไซดอนเห็นนางเต้นรำร่วมกับเหล่านีริอิดอื่นๆ จึงลักพาตัวนางไปเป็นชายาในดินแดนใต้ท้องสมุทร มีบุตรด้วยกัน 1 พระองค์ คือ ไทรทัน ซึ่งเป็นผู้แจ้งข่าวแห่งท้องทะเล หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและแอมฟิไทรที · ดูเพิ่มเติม »

แอรีส

แอรีส (Ares; Ἄρης อาแรส) ทรงเป็นเทพแห่งสงครามของกรีก ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองพระเจ้าโอลิมปัส และพระโอรสของซูสและฮีรา ในวรรณกรรมกรีก เป็นสัญลักษณ์ของแง่มุมกายภาพหรือความรุนแรงและไม่สงบของสงคราม ขัดกับอะธีนา ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา รวมทั้งยุทธศาสตร์การทหารและตำแหน่งอำนาจแม่ทัพ ชาวกรีกมีความรู้สึกไม่ชัดเจนต่อแอรีส เนื่องจากเทพแอรีสเป็นสัญลักษณะของความพ่ายแพ้เช่นเดียวกับความสามารถในสงครามแม้พระองค์จะทรงมีความกล้าทางกายซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในสงคราม แต่เป็นพลังที่อันตราย "ท่วมท้น ละโมบในการยุทธ์ ทำลายล้างและฆ่าคน"Burkert, Greek Religion, p. 169.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและแอรีส · ดูเพิ่มเติม »

แอโฟรไดที

แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและแอโฟรไดที · ดูเพิ่มเติม »

โพไซดอน

ซดอน (Poseidon,; Ποσειδών) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses) พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด) แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดงว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระเจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระอนุชาของเฮดีสและพระเชษฐาของซูส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกินIn the 2nd century AD, a well with the name of Arne, the "lamb's well", in the neighbourhood of Mantineia in Arcadia, where old traditions lingered, was shown to Pausanias.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและโพไซดอน · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โครนัส

เทพโครนัส โครนัส หรือ โครนอส (Cronus หรือ Kronus, /kroʊnəs/; ภาษากรีกโบราณ: Κρόνος, Krónos) เป็นผู้นำเหล่ายักษ์ไททัน (Titan) รุ่นแรกที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งเป็นทายาทของเทพีไกอา (Gaia) พระแม่ธรณี และเทพบิดายูเรนัส (Uranus) เทพแห่งท้องฟ้า เทพโครนัสได้โค่นบัลลังก์ของพระบิดา (เทพยูเรนัส) และขึ้นครองบัลลังก์ในช่วงยุคทอง จนกระทั่งถูกโค่นบัลลังก์โดยพระโอรสของตน คือ เทพซูส (Zeus) เทพโครนัสมิได้ถูกจองจำในยมโลกทาร์ทารัส (Tartarus) เหมือนเช่นไททันตนอื่น ๆ แต่เขากลับหลบหนีไปได้ ด้วยเหตุที่ว่าเทพโครนัสมีความเกี่ยวเนื่องกับยุคทองของเขาจึงได้รับการสักการะในฐานะเทพแห่งฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งรวมไปถึงการเก็บเกี่ยวพืชผลเช่น ข้าว ธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตร และการเดินไปข้างหน้าของกาลเวลาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ภาพของเทพโครนัสมักถือเคียวไว้ในมือ ซึ่งพระองค์ใช้ในการเก็บเกี่ยวพืชผล และเป็นอาวุธที่พระองค์ใช้โค่นบัลลังก์เทพยูเรนัส ในกรุงเอเธนส์ (Athens) วันที่ 12 ของทุกๆ เดือน ถูกเรียกว่าวันฮีคาทอมบาเอียน (Hekatombaion) ซึ่งจะมีงานเทศกาลชื่อว่า เทศกาลโครเนีย (Kronia) จะจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เทพโครนัสสำหรับฤดูเก็บเกี่ยว พระนามของเทพโครนัสในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือ เทพแซเทิร์น (Saturn) หมวดหมู่:เทพไททัน.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและโครนัส · ดูเพิ่มเติม »

ไกอา

กอา พระแม่ธรณีในเทพปกรณัมของกรีก ไกอา หรือ เกอา (Gaia; จากภาษากรีกโบราณ: Γαîα; ภาษากรีกปัจจุบัน: Γῆ; หมายความว่า พื้นดิน หรือพื้นโลก) หรือ จีอา (Gaea) เป็นเทพีองค์แรกของโลกตามตำนานของชาวกรีก ร่างกายของนางคือพื้นพิภพ นามในภาษาละตินของนางคือ เทอร์รา (Terra).

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและไกอา · ดูเพิ่มเติม »

ไดอะไนซัส

อะไนซัส (Dionysus, /daɪ.əˈnaɪsəs/; Διόνυσος, Dionysos) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวองุ่น การทำไวน์และไวน์ ความบ้าคลั่งทางพิธีกรรมและปีติศานติ์ในเทพปกรณัมกรีก พระนามของพระองค์ในแผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บี แสดงว่าชาวกรีกไมซีเนียนอาจมีการบูชาพระองค์ตั้งแต่ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน..

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและไดอะไนซัส · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์เซฟะนี

ในเทพปกรณัมกรีก เพอร์เซฟะนี (Persephone /pərˈsɛfəniː/; Περσεφόνη) หรือเรียก คอรี (Kore /ˈkɔəriː/; "หญิงโสด") เป็นพระธิดาของซูส และเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ดีมิเทอร์ และราชินีแห่งโลกบาดาล โฮเมอร์อธิบายว่าพระองค์เป็นราชินีแห่งโลกบาดาลผู้น่าเกรงขามและน่าเคารพนับถือ ผู้บันดาลให้คำสาปของมนุษย์บังเกิดผลต่อวิญญาณของผู้วายชนม์ เพอร์เซฟะนีถูกเฮดีส ราชาแห่งโลกบาดาล ลักพาตัวMartin Nilsson (1967).

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและเพอร์เซฟะนี · ดูเพิ่มเติม »

เมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)

มอร์คิวรีสลักโดยประติมากรเฟล็มมิชอาร์ทัส เควลลินัส (Artus Quellinus) ที่บอกได้ว่าเป็นเมอร์คิวรีจากหมวก กระเป๋าหูรูด คทางูเดี่ยว รองเท้าปีก ไก่ และแพะ เทพเมอร์คิวรี (Mercury, Mercurius) เป็นเทพในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพเฮอร์มีสในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพเมอร์คิวรีเป็นเทพผู้สื่อสาร และเทพแห่งการค้าขายและผลกำไร เมอร์คิวรีเป็นลูกของเทพีมาเอีย (Maia) หรือที่รู้จักกันว่าอ็อฟสและเทพจูปิเตอร์ ชื่อ “เมอร์คิวรี” เกี่ยวกับคำภาษาละตินว่า “merx” ที่เป็นรากของคำว่า “merchandise” (สินค้า) หรือ “merchant” (พ่อค้า) หรือ “commerce” (การค้า) ที่มาของเมอร์คิวรีดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับเทพเทิร์มส (Turms) ของอีทรัสคันที่มาจากเทพเฮอร์มีสของกรีก.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและเมอร์คิวรี (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

เรีย

รีย เรีย หรือ เรอา (Rhea) เป็นเทพีไททัน ซึ่งเป็นธิดาของเทพยูเรนัสกับเทพีไกอา พระนางแต่งงานกับโครนัส เทพไททันผู้เป็นพี่ชาย และได้รับการขนานนามว่า "เทพมารดา" รูปเคารพของเทพีเรียมักอยู่คู่กับสิงโตอยู่เสมอ พระนางเป็นมารดาของเทพโอลิมเปียทั้ง 6 องค์จาก 12 อง.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เฮราคลีส

''เฮราคลีสสู้กับไฮดรา'' ภาพวาดของอันโตนิโอ พอลเลียโล เฮราคลีส (Heracles หรือ Herakles) เป็นชื่อเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพเจ้ากรีก ชื่อมีความหมายว่า "ความรุ่งโรจน์ของเฮรา" เขาเป็นบุตรของเทพซูสกับนางแอลก์มินี เกิดที่เมืองธีบส์ เป็นหลานของแอมฟิไทรออน และเป็นเหลนของเพอร์ซูส เฮราคลีสนับเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในปกรณัมกรีก ชื่อในตำนานเทพโรมันว่า เฮอร์คิวลีส ซึ่งดัดแปลงเอาเรื่องราวของเขาในปกรณัมกรีกไปใช้ นับแต่เฮราคลีสเกิดมาก็ตกอยู่ในความริษยาพยาบาทของเทพีเฮรา ซึ่งหึงหวงเทพซูสผู้สามี แม้เฮราคลีสเป็นบุตรเทพซูส แต่กลับมีกำเนิดเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา เมื่อโตขึ้น เฮราคลีสได้แต่งงานกับนางเมการะ มีบุตรสามคน เทพีเฮราบันดาลให้เขาวิกลจริตและสังหารบุตรภรรยาตายสิ้น เมื่อเขาคืนสติก็จะฆ่าตัวตายตาม แต่ธีซูสเพื่อนสนิทห้ามปรามไว้ แนะให้ไปขอคำพยากรณ์จากวิหารเดลฟี คำพยากรณ์บอกให้เฮราคลีสไปหาท้าวยูริสเทียสและรับทำภารกิจทุกประการตามแต่จะได้รับ เพื่อเป็นการชำระมลทินให้บริสุทธิ์ ท้าวยูริสเทียสสรรหาภารกิจอันเหลือที่มนุษย์จะกระทำได้ เรียกกันว่า "The Twelves Labours of Heracles" หรือ ภารกิจ 12 ประการของเฮราคลีส ได้แก.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและเฮราคลีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮสเตีย

ในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (Hestia; Ἑστία, "เตาอิฐ" หรือ "บริเวณข้างเตาไฟ") ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย เฮสเตียทรงได้รับของบูชาที่ทุกการบวงสรวงในครัวเรือน ในที่สาธารณะ เตาอิฐของพริทเนียม (prytaneum) เป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการของพระนาง เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมใหม่ เพลิงจากเตาอิฐสาธารณะของเฮสเตียในนครแม่จะถูกนำไปยังนิคมใหม่ด้วย พระนางประทับนั่งบนบัลลังก์ไม้เรียบ ๆ โดยมีเบาะขนแกะสีขาว และไม่ทรงเลือกสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ภาคโรมันของพระนาง คือ เวสตาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและเฮสเตีย · ดูเพิ่มเติม »

เฮอร์มีส

อร์มีส (Hermes; Ἑρμῆς) เป็นพระเจ้าโอลิมปัสในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก บุตรแห่งซูสและไลยาดีสเมอา พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าโอลิมปัสที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสอง เฮอร์มีสทรงเป็นพระเจ้าแห่งการเปลี่ยนผ่านและเขตแดน พระองค์ทรงรวดเร็วและเจ้าเล่ห์ และสามารถเสด็จระหว่างโลกมนุษย์และพระเจ้าได้อย่างอิสระ ในฐานะทูตและผู้แจ้งข่าวแห่งพระเจ้า ผู้เจรจาระหว่างมนุษย์และพระเจ้า และผู้นำดวงวิญญาณสู่ปรโลก พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์และอุปถัมภ์นักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจร นักพูดข้างถนนและคนมีปฏิภาณ วรรณกรรมและกวี นักกีฬาและกีฬา สิ่งประดิษฐ์และการค้า บางตำนานว่าพระองค์เป็นนักหลอกลวง และเอาชนะพระเจ้าองค์อื่นด้วยไหวพริบเพื่อความพอพระทัยส่วนพระองค์หรือเพราะทรงเห็นแก่มนุษยชาติ ลักษณะและสัญลักษณ์ประจำพระองค์มีประติมากรรมเฉพาะหัว ไก่เพศผู้และเต่าบก ถุงใส่เงิน รองเท้าแตะมีปีก หมวกมีปีก สัญลักษณ์หลักของพระองค์ คือ ไม้เท้าผู้แจ้งข่าว (kerykeion; caduceus) ซึ่งเป็นไม้เท้ามีปีกที่มีงูพันสองตัว พระองค์ทรงถูกระบุเป็นพระเจ้าเมอร์คิวรีของโรมัน ซึ่งแม้เป็นพระเจ้าที่รับมาจากพวกอีทรัสคัน แต่ได้รับคุณลักษณะคล้ายกับเฮอร์มีสมาหลายประการ เช่น ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การค้.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและเฮอร์มีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮดีส

(Hades,; Ἅιδης/ᾍδης, Hāidēs) เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย พระนามฮาเดสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก ฮาเดสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของโพไซดอนในอีเลียด ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชา ซุสและโพไซดอน พิชิตเทพไททันและอ้างการปกครองจักรวาล แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่งไกอามาแต่ช้านาน เป็นของทั้งสามพร้อมกัน ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกฮาเดสว่า พลูตอน ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า พลูโต ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita) มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว เซอร์เบอรัส ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส ในเทววิทยาคริสต์ (และพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก) เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול) ในภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์ทาร์ทารัสของกรีก ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน.

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและเฮดีส · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: เทวสภาโอลิมปัสและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สภาเทพแห่งโอลิมปัสเทพโอลิมปัส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »