เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อัสคลิปิอุส

ดัชนี อัสคลิปิอุส

อะพอลโลนำอัสคลิปิอุส ไปให้ไครอนเลี้ยงและสอนวิชาการรักษา อัสคลิปิอุส และเทพีไฮเจีย อัสคลิปิอุส (Asclepius) (ละติน: Aesculapius, กรีก: Asklepios) เป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์ การรักษา และการฟื้นคืนชีพ ในตำนานเทพปกรณัมกรีกในยุคกรีกโบราณ อัสคลิปิอุส เป็นตัวแทนของการรักษาทางการแพทย์ บุตรสาวและบุตรชายของอัสคลิปิอุสต่างก็มีความสำคัญเกี่ยวกับการแพทย์ด้วยเช่นกัน บุตรสาวของอัสคลิปิอุสได้แก่ ไฮเจีย (Hygea) เป็นเทพีแห่งสุขอนามัยและความสะอาด ลาโซ (Laso) เป็นเทพีแห่งการฟื้นฟู อาเซโซ (Aceso) และ พานาเซีย (Panacea) เทพีแห่งการรักษา บุตรชายของอัสคลิปิอุส มาเคออน (Machaon) และ โพดาลิริอุส (Podalirius) เป็นศัลยแพทย์ทหารของกรีก ปรากฏชื่ออยู่ในสงครามเมืองทรอย อัสคลิปิอุส เป็นบุตรของเทพเจ้าอะพอลโล ซึ่งถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์เช่นกัน คทาของอัสคลิปิอุสใช้แทนสัญญลักษณ์แทนการแพทย์ในสมัยกรีกและใช้มาจนถึงปัจจุบัน.

สารบัญ

  1. 14 ความสัมพันธ์: กรีกกลุ่มดาวคนแบกงูยอดเขาโอลิมปัสละตินสงครามกรุงทรอยอะพอลโลอาร์ทิมิสคทาอัสคลิปิอุสซูสไฮเจียไซคลอปส์เฮดีสเทพปกรณัมกรีกเซนทอร์

  2. งูในศาสนา
  3. อีเลียด
  4. เทพเจ้ากรีก
  5. เทพเจ้าแห่งสุขภาพ

กรีก

กรีก (Greek) อาจหมายถึง.

ดู อัสคลิปิอุสและกรีก

กลุ่มดาวคนแบกงู

กลุ่มดาวคนแบกงู (ʉ) (Ophiuchus) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในรายชื่อ 48 กลุ่มดาวของทอเลมี เป็นกลุ่มดาวจักรราศี (กลุ่มดาวที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน) กลุ่มที่ 13 เนื่องจากมีขาข้างนึงแทรกไปในกึ่งกลางระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับกลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวคนแบกงูแทนด้วยชายคนหนึ่งกำลังอุ้มงูไว้ ทำให้แยกกลุ่มดาวงูออกเป็นสองส่วน คือ หัวกับหาง (แต่นับเป็นกลุ่มดาวเดียวกัน) กลุ่มดาวคนแบกงู หมวดหมู่:กลุ่มดาว.

ดู อัสคลิปิอุสและกลุ่มดาวคนแบกงู

ยอดเขาโอลิมปัส

อดเขาโอลิมปัส ยอดเขาโอลิมปัส (Mount Olympus, Όλυμπος โอลิมโปส) เป็นยอดเขาที่สุงที่สุดในประเทศกรีซ มีความสูง 2,917 เมตร อยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศ โฮเมอร์บรรยายในมหากาพย์ โอดีสซี ว่าภูเขานี้ปลอดพายุ และ อากาศสดใส ซึ่งก็เป็นจริงในบางครั้งบริเวณยอดเขา แต่ส่วนล่างลงมาล้อมรอบไปด้วยเม.

ดู อัสคลิปิอุสและยอดเขาโอลิมปัส

ละติน

ละติน หรือ ลาติน (Latin) อาจหมายถึง.

ดู อัสคลิปิอุสและละติน

สงครามกรุงทรอย

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.

ดู อัสคลิปิอุสและสงครามกรุงทรอย

อะพอลโล

อะพอลโล (Apollo; Ἀπόλλων; อะพอลลอน; Apollō) เป็นหนึ่งในพระเจ้าองค์สำคัญที่สุดในพระเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีกและศาสนากรีกโบราณ ตลอดจนเทพปกรณัมโรมันและศาสนาโรมันโบราณ อะพอลโลทรงเป็นอุดมคติของคูรอส (kouros) คือ หนุ่มนักกีฬาไม่ไว้หนวด และทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเทพเจ้าแห่งแสงและดวงอาทิตย์ สัจจะและคำพยากรณ์ การรักษา โรคระบาด ดนตรี กวี ฯลฯ อะพอลโลทรงเป็นพระโอรสของซูสและลีโต และมีพระเชษฐภคินีฝาแฝด คือ อาร์ทิมิสซึ่งเป็นพรานหญิง ปัจจุบัน อะพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น อะพอลโลเป็นเทพเจ้าที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า มหารูปแห่งโรดส์ นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอะพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก หมวดหมู่:สุริยเทพ หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ดู อัสคลิปิอุสและอะพอลโล

อาร์ทิมิส

อาร์ทิมิส (Artemis,; Ἄρτεμις) เป็นหนึ่งในพระเจ้ากรีกโบราณที่มีการบูชากว้างขวางที่สุด ภาคโรมัน คือ ไดแอนาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p.

ดู อัสคลิปิอุสและอาร์ทิมิส

คทาอัสคลิปิอุส

ทา หรือไม้เท้าของอัสคลิปิอุสที่มีงูพันรอบ คทาอัสคลิปิอุส (​Rod of Asclepius) หรือไม้เท้าของอัสคลิปิอุส เป็นคทาของเทพอัสคลิปิอุส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์และการรักษาในตำนานเทพปกรณัมกรีก คทาอัสคลิปิอุสถูกใช้เป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงถึงการแพทย์และการรักษามาจนปัจจุบัน แต่ยังมีการใช้สับสนกันระหว่างคทาของอัสคาปิอุสและคทาของเฮอร์มีส ที่ชื่อว่า คาดูเซียส ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก อัสคลิปิอุส ซึ่งมีสถานะครึ่งเทพครึ่งมนุษย์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์และการรักษา จะมีคทาประจำตัวอันหนึ่ง มีลักษณะเป็นแท่งและมักจะมีงูหนึ่งตัวพันเกลียวรอบคทาเป็นสัญญลักษณ์ แต่ในบางครั้งอาจจะพบว่างูไม่ได้พันเกลียวรอบ แต่มักจะอยู่ในบริเวณไกล้เคียง อัสคลิปิอุส ร่ำเรียนวิชาการรักษามาจากไครอน ซึ่งเป็นเซนทอร์ที่ชุบเลี้ยงอัสคลิปิอุสมาตั้งแต่ยังเป็นทารก จนได้กลายมาเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงของกรีก อัสคลิปิอุสได้ใช้สัญญลักษณ์คทาที่มีงูพันเกลียวรอบแทนการแพทย์และการรักษา สมัยกรีกโบราณมีสถานที่ที่เป็นศาสนสถานสำหรับรักษาโรค (Healing temple) มีชื่อเรียกตามเทพอัสคลิปิอุสว่า อัสคลิเปียน (Asclepioen) ในตำนานกรีกโบราณมีเหตุการณ์ที่กล่าวถึงอัสคลิปิอุสที่สำคัญ คือเมื่อฮิปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์แผนตะวันตกจะกล่าวคำสัตย์สาบาน (Hippocrates oath) ได้กล่าวการสาบานตนด้วยประโยคว่า รูปปั้นของอัสคลิปิอุส ที่คทามีงูพันเกลียว งูที่พันรอบคทาของอัสคลิปิอุส ได้ถูกตีความว่าอย่างหลากหลาย มาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณที่มีการใช้สัญญลักษณ์งูพันรอบคทาของอัสคลิปิอุส การลอกคราบของงู เป็นสัญญลักษณ์ของการฟื้นฟูหรือการกำเนิดใหม่ หรือถูกตีความว่าเป็นเหมือนการรักษาของแพทย์ที่ต้องทำงานที่คาบเกี่ยวกันระหว่างความเป็นและความตาย ความคลุมเครือของงูยังแสดงถึงความขัดแย้งในปัจจุบันของการใช้ยา ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยถ้าใช้เหมาะสมและอาจจะให้โทษเมื่อใช้ไม่เหมาะสม ซึ่งไกล้เคียงกับคำในภาษากรีกว่า Pharmakon ที่หมายถึง ยา (medicine) หรือ ยาพิษ (poison) หรือแม้กระทั่งพิษของงูที่ใช้ในการรักษา ที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ระวัง ยังมีข้อถกเถียงกันอย่างแพร่หลายว่า สัญญลักษณ์ที่แสดงถึงการแพทย์ที่เชื่อว่าเป็นคทาอัสคลิปิอุสนั้น ความจริงแล้วเป็นพยาธิที่ชื่อว่า Dracunculus medinensis ซึ่งมักจะชอนไชตามผิวหนังของผู้ป่วยในสมัยโบราณ แพทย์จะรักษาโดยการกรีดผิวหนัง เมื่อพยาธิออกมานอกผิวหนังแพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่เป็นแท่งเพื่อพันตัวพยาธิออกมาจนหมด โดยลักษณะที่พยาธิพันบนแท่งนั้น เหมือนกันกับสัญญลักษณ์งูพันเกลียวบนคทาของอัสคลิปิอุส ปัจจุบันคทาอัสคลิปิอุสถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งสัญญลักษณ์ขององค์กรนานาชาติเกี่ยวกับการแพทย์ เช่น องค์การอนามัยโลก สมาคมแพทย์อเมริกัน สมาคมแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร สมาคมแพทย์ออสเตรเลี.

ดู อัสคลิปิอุสและคทาอัสคลิปิอุส

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ดู อัสคลิปิอุสและซูส

ไฮเจีย

ไฮเจีย เทพีแห่งสุขภาพอนามัย ความสะอาด และสุขลักษณะ ไฮเจีย (Υγιεία; Hygieia) ตามความเชื่อของกรีก เป็นเทพีแห่งสุขภาพอนามัย ความสะอาด และสุขลักษณะ เป็นธิดาของอัสคลิปิอุส (Asclepius) ที่มีหน้าที่ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ไฮเจียจะมีหน้าที่ป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วย และการทำให้มีสุขภาพดีอย่างต่อเนื่อง คำว่า Hygieia เป็นรากศัพท์ของหลายคำที่ใช้อักษรละติน เช่นคำว่า hygiene ในภาษาอังกฤษที่ความหมายว่าสุขภาพ หมวดหมู่:เทพนิยายกรีก หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก.

ดู อัสคลิปิอุสและไฮเจีย

ไซคลอปส์

ไซคลอปส์ ไซคลอปส์ (กรีก: Κύκλωψ; ละติน: Cyclops หรือ Kyklops) หรือ อสูรตาเดียว เป็นสัตว์ประหลาดในตำนานกรีก ชื่อไซคลอปส์ถูกใช้ระบุถึงยักษ์ตาเดียวสองชนิด โดยชนิดแรกเป็นลูกของเจ้านภา อูรานอสและพระแม่ธรณี ไกอา ซึ่งไซครอปส์จำพวกนี้มีเด่นๆ 3 ตน คือ อาจีรอส บรอนทีส และสเตอร์โรพีท มักจะถือค้อนอันใหญ่ มีพลังแห่งสายฟ้า และมีฝีมือในด้านช่างเหล็ก ไซคลอปส์กลุ่มนี้ถูกยูเรนัสกักขังไว้ในทาทารัส จนกระทั่งซุสปลดปล่อยออกมาหลังจากที่โค่นโครนัสผู้เป็นบิดา ซึ่งไซคลอปส์ได้ตอบแทนโดยตีอาวุธต่างๆให้เหล่าเทพ ได้แก่ สายฟ้าให้แก่ ซุส สามง่าม ให้แก่ โพไซดอน หมวกล่องหน ให้แก่ ฮาเดส และเหล่าไซคลอปส์ได้เป็นลูกมือของเทพแห่งช่างเหล็กเฮฟเฟสตุสในเวลาต่อมา จนกระทั่งถูกอพอลโลสังหารเพื่อล้างแค้นให้แอสคิวลาปิอัสที่ถูกซุสใช้สายฟ้าฟาด ไซคลอปส์กลุ่มที่สองเป็นลูกหลานของโพไซดอนและพรายน้ำโทซา ไซคลอปส์กลุ่มนี้กินมนุษย์เป็นอาหาร โดยมีบทบาทในเรื่องโอดิสซีย์ ไซคลอปส์มีความนิยมมากเหมือนกัน เช่นไซคลอปส์ในการ์ตูน ไซคลอปส์ในเกม หรือในนวนิยาย หมวดหมู่:สัตว์ประหลาด.

ดู อัสคลิปิอุสและไซคลอปส์

เฮดีส

(Hades,; Ἅιδης/ᾍδης, Hāidēs) เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย พระนามฮาเดสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก ฮาเดสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของโพไซดอนในอีเลียด ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชา ซุสและโพไซดอน พิชิตเทพไททันและอ้างการปกครองจักรวาล แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่งไกอามาแต่ช้านาน เป็นของทั้งสามพร้อมกัน ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกฮาเดสว่า พลูตอน ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า พลูโต ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita) มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว เซอร์เบอรัส ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส ในเทววิทยาคริสต์ (และพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก) เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול) ในภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์ทาร์ทารัสของกรีก ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน.

ดู อัสคลิปิอุสและเฮดีส

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ดู อัสคลิปิอุสและเทพปกรณัมกรีก

เซนทอร์

ซนทอร์ เซนทอร์ (centaur; มาจากภาษากรีกโบราณ κένταυροι) เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในเทพปกรณัมกรีก มีร่างส่วนบนเป็นมนุษย์ผู้ชาย แต่ส่วนลำตัวลงไปเป็นม้าหนุ่มที่มีกล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ สง่างาม อาศัยอยู่แถบภูเขาของอาคาเดีย และเทสสาลีในประเทศกรีซ เซนทอร์มีสองตระกูล โดยตระกูลหนึ่งเกิดจาก อิคซอน อันธพาลแห่งสวรรค์ที่ขึ้นชื่อ กับอีกตระกูลที่เกิดจากโครนัส ฝ่ายหลังมีอุปนิสัยดีแตกต่างจากฝ่ายแรกมาก เซนทอร์ตระกูลอิคซอน เกิดจากอิคซอนกับเนฟีลี มีพละกำลังมาก ชอบดื่มไวน์กับชอบไล่คว้าผู้หญิง ซ้ำชอบทะเลาะเวลาเมา เซนทอร์จึงถูกมองว่าเป็นพวกขี้เมาไม่กลัวใครทั้งสิ้น เซนทอร์ตระกูลโครนัสต่างกับตระกูลอิคซอน เป็นเซนทอร์แสนดี โครนัสแต่งงานกับฟีลีร่า นางอัปสรน้ำผู้เลอโฉม มีลูกชื่อไครอน ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียน มีความสุขุมรอบคอบจนได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ของเหล่าวีรบุรุษหลายคนในตำนานกรีก เช่น อคิลลีส, เฮอร์คิวลีส, เจสัน, พีลูส, อีเนียส และบรรดาลูกศิษย์ของเขาก็ประพฤติตัวตามแบบครูบาอาจารย์ได้เป็นอย่างดี.

ดู อัสคลิปิอุสและเซนทอร์

ดูเพิ่มเติม

งูในศาสนา

อีเลียด

เทพเจ้ากรีก

เทพเจ้าแห่งสุขภาพ