โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทพปกรณัมนอร์ส

ดัชนี เทพปกรณัมนอร์ส

ทพเจ้าธอร์เข้าณรงค์ยุทธกับเหล่ายักษ์ เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน เทพเจ้าองค์สำคัญในเทพปกรณัมนอร์ส ได้แก่ ธอร์เทพสายฟ้าผู้มีค้อนใหญ่เป็นอาวุธ โดยเป็นเทพนักรบผู้พิทักษ์มนุษยชาติ ฯ โอดิน เทพเจ้าพระเนตรเดียว ผู้ทรงขวนขวายหาความรู้ในโลกฐาตุทั้งหลาย และพระราชทานอักษรรูนให้แก่มนุษย์; เฟรยา (Freyja) เทพสตรีผู้ทรงสิริโฉม ผู้ใช้เวทมนตร์ (seiðr) และทรงฉลองพระองค์คลุมขนนก ผู้ทรงม้าเข้าสู่สมรภูมิเพื่อเลือกเอาดวงวิญญาณในหมู่ผู้ตาย; สคาดดี (Skaði) ยักขินีและเทวีแห่งการสกี ผู้อาศัยอยู่ท่ามกลางฝูงหมาป่าบนภูเขาในฤดูหนาว; นโยร์ด (Njörðr) เทพเจ้าทรงฤทธิ์ผู้อาจปราบได้ทั้งทะเลและไฟและยังประทานความมั่งคั่งและที่ดิน; เฟรย์ (Freyr) ผู้นำสันติภาพและความเพลิดเพลินสู่มนุษยชาติ ผ่านทางฤดูกาลและการกสิกรรม; อีดุนน์ (Iðunn) เทพเจ้าผู้ทรงรักษาแอปเปิลที่ให้ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์; เฮม์ดาลร์ (Heimdallr) เทพเจ้าลึกลับผู้ประสูติแต่มารดาเก้าตน ทรงสามารถฟังเสียงหญ้าโต มีพระทนต์เป็นทองคำ และมีเขาสัตว์ที่เป่าได้ดังกึกก้อง; และโยตุนโลกิ ผู้นำโศกนาฏกรรมมาสู่ทวยเทพโดยวางแผนให้บัลเดอร์ (Baldr) พระโอรสแห่งเทพเจ้าฟริกก์ ต้องตาย เป็นต้น เทพปกรณัมนอร์สจัดเหล่าเทพเจ้าออกเป็นสองกลุ่ม คือ พวกอัสร์ (Æsir) ซึ่งมีรากคำเดียวกับ "อสูร" ในภาษาสันสกฤต ได้แก่ พวกเทพเจ้าองค์สำคัญๆในเทพวิหารของนอร์ส (เช่น โอดิน, ธอร์, ฟริกก์, บัลเดอร์ ฯลฯ) พวกหนึ่ง และ พวกวาเน็น หรือวานร์ อันเป็นเหล่าเทพที่มีความเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์ ปัญญาเฉลียวฉลาด ธรรมชาติ และการรู้อนาคตอีกพวกหนึ่ง ทั้งสองพวกเข้าทำสงครามกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ จนในที่สุดรู้ว่าตนมีอำนาจเท่าๆกัน นอกจากนี้ในโลกยังมีสัตว์และเผ่าในเทพนิยายอยู่อีกนานับประการ (เช่น ยักษ์, คนแคระ, เอลฟ์, และภูตในแผ่นดิน) จักรวาลวิทยาของนอร์สประกอบด้วยโลกเก้าโลก ซึ่งขนาบอิกดระซิล ต้นไม้แห่งเอกภพ โลกมนุษย์ในจักรวาลวิทยานอร์สมีชื่อเรียกว่า มิดการ์ นอกจากนี้ยังมีภพหลังความตายอยู่หลายภพซึ่งมีเทพเจ้าพิทักษ์รักษาอยู่แตกต่างกัน ในตำนานของนอร์สมีตำนานสร้างโลกอยู่หลายแบบ มีการทำนายว่าโลกเหล่านี้จะกำเนิดใหม่หลังเหตุการณ์แรกนะร็อก เมื่อเกิดการยุทธ์มโหฬารระหว่างเหล่าทวยเทพและฝ่ายศัตรู และโลกถูกเพลิงประลัยกัลป์หุ้มเพื่อถือกำเนิดใหม่ ที่นั่น เทพเจ้าที่เหลือรอดจะประชุม แผ่นดินจะเขียวอุดม และมนุษย์สองคนจะเพิ่มประชากรโลกอีกครั้ง.

21 ความสัมพันธ์: กลุ่มชนเจอร์แมนิกยักษ์รายพระนามเทวดาเจอร์แมนิกลัทธินอกศาสนาวี (แก้ความกำกวม)สมัยกลางสวรรค์อักษรรูนอัญมณีอินทรีอีดุนน์ทอร์คนแคระนรกแรกนะร็อกโยตุนโลกิโอดินเฟรยาเอลฟ์เทพปกรณัม (แก้ความกำกวม)

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและกลุ่มชนเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

ยักษ์

รูปปั้นยักษ์ '''ทศกัณฐ์''' ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นยักษ์จากเรื่องรามเกียรติ์ ยักษ์ เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งที่มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี ยักษ์ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในขณะที่ความเชื่อในบริเวณอื่นๆของโลกก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ชอบของสดคาว ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเทวดาเจอร์แมนิก

ในลัทธิเพเกินเจอร์แมนิก ศาสนาพื้นเมืองของกลุ่มชนเจอร์แมนิกโบราณซึ่งอยู่อาศัยในเจอร์แมนิกยุโรป มีเทวดาหลายพระองค์ บทความนี้เสนอรายการครอบคลุมของเทวดาเหล่านี้.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและรายพระนามเทวดาเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

วี (แก้ความกำกวม)

วี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและวี (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรูน

รึกอักษรฟูทาร์กใหม่บน Vaksala Runestone อักษรรูน หรือ อักษรรูนิก ในภาษาพื้นเมืองเรียกฟูทาร์ก ซึ่งหมายถึงตัวอักษร ข้อความ หรือจารึก ในภาษาเยอรมันเก่าหมายถึง ประหลาดหรือความลับ อักษรนี้มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของอักษรรูน ได้แก่ อักษรนี้ถูกออกแบบโดยอิสระ ไม่ขึ้นกับอักษรอื่น การเขียนเริ่มขึ้นในยุโรปใต้และถูกนำไปทางเหนือโดยเผ่าเยอรมัน เป็นแบบให้อักษรละตินและอักษรอีทรัสคัน จารึกอักษรรูนที่เก่าที่สุดพบราว..

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและอักษรรูน · ดูเพิ่มเติม »

อัญมณี

อัญมณี และ หินสีแบบต่างๆ อัญมณี คือ มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ โดยจะประกอบขึ้นจาก สาร อินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ก็ได้ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่าง.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและอัญมณี · ดูเพิ่มเติม »

อินทรี

อินทรี เป็นนกจำพวกนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Accipitridae อันดับ Accipitriformes (วงศ์และอันดับเดียวกับ เหยี่ยว) มีโครงสร้างทางกายภาพที่แข็งแรง ประกอบด้วยโครงกระดูก กล้ามเนื้อ ส่วนต่าง ๆ ขน และกรงเล็บเป็นหลัก จัดอยู่ในประเภทนกที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร มีขนาด ปีก และ หาง ที่กว้าง ลักษณะปลายปีกแหลมหรือปีกแตก จะงอยปากงองุ้มเป็นตะขอ อินทรีเป็นนกที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรง สายตาคม บินเร็ว โจมตีแม่นยำ มองเห็นเป้าหมายได้จากระยะไกล มีเพดานบินตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง 2,100 เมตร และจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีสายตาดีที่สุดในโลก อีกทั้งยังถือเป็นนกหรือสัตว์ปีกที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีอายุได้มากถึง 70 ปี ส่วนใหญ่จะมีสีเข้มและสร้างรังบนหน้าผาที่สูงชัน อินทรีเป็นนกที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เป็นนกที่กินเนื้อเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, งู, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็กเช่น หนู และเป็นนกนักล่าซึ่งล่านกด้วยกัน และไข่นกที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร อินทรีพบอาศัยกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่เขตต่าง ๆ ทั่วทุกแห่งในโลก ยกเว้นพื้นที่ในทวีปแอนตาร์กติก ที่มีอากาศหนาวเย็น ในประเทศไทย มีอินทรีอยู่ด้วยกันจำนวนหนึ่ง อาทิ นกออก (Haliaeetus leucogaster), อินทรีหัวนวล (H. leucoryphus), อินทรีดำ (Ictinaetus malaiensis), อินทรีปีกลาย (Clanga clanga) เป็นต้น เนื่องจากเป็นนกขนาดใหญ่ น่าเกรงขาม และบินได้สูงและกว้างไกล ทำให้มีความสง่างาม ในเชิงของการเป็นสัญลักษณ์แล้ว อินทรีถูกมนุษย์ใช้ในเชิงสัญลักษณ์เป็นระยะเวลายาวนาน ในหลายวัฒนธรรมของทุกมุมโลก เช่น เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่งของไทย หรือ สหรัฐอเมริกาได้ใช้อินทรีหัวขาว (Haliaeetus leucocephalus) เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

อีดุนน์

''อีดุนน์'' (ค.ศ. 1858) โดย Herman Wilhelm Bissen ในเทพปกรณัมนอร์ส อีดุนน์ (Iðunn) เป็นเทพีในด้านแอปเปิลและความเยาว์วัย โดยอีดุนน์ได้ปรากฏใน Prose Edda โดยในนิยายอีดุนน์ได้ถูกล่อลวงโดยโลกิให้ออกจากแอสการ์ดไปยังป่าแห่งนึ่งซึ่งโลกิสัญญาว่าจะมีแอปเปิลที่น่าสนใจ และเมื่ออีดุนน์เข้าไปในป่าได้ถูกไทอาซีซึ่งแปลงร่างเป็นอินทรีย์ได้โฉบตัวอีดุนน์กลับไปที่บ้านของเขา เมื่ออีดุนน์ได้ออกจากแอสการ์ด เทพหลายองค์ได้แก่ตัวลง และเรื่องราวไปถึงโลกิที่ต้องเป็นคนรับผิดชอบพาตัวเธอกลับมาที่แอสการ์ด โลกิได้แปลงร่างเป็นเหยี่ยวและไปหาตัวเธอที่บ้านของไทอาซี โดยโลกิได้แปลงร่างอีดุนน์เป็นเมล็ดถั่วและนำเธอกลับสู่แอสการ์ด ซึ่งเมื่อไทอาซีได้ทราบเรื่อง ได้โกรธเกรี้ยวและไล่ตามโลกิไป โดยเมื่อไทอาซีไล่ถึงแอสการ์ด ขนอินทรีย์ของไทอาซีได้กลายเป็นไฟ และเทพเจ้าได้ฆ่าเขาลง.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและอีดุนน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์

ทอร์ ในเทพปกรณัมนอร์ส ธอร์ (Thor, จากภาษานอร์สโบราณ Þórr) เป็นเทพถือค้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับสายฟ้า ฟ้าร้อง พายุ ต้นโอ๊ก พละกำลัง การคุ้มครองมนุษยชาติ และตลอดจนการทำให้ศักดิ์สิทธิ์ การรักษาและความอุดมสมบูรณ์ เทพที่มาจากกำเนิดเดียวกันในเทพปกรณัมเยอรมันและเพเกินที่กว้างกว่า เป็นที่รูจักกันในภาษาอังกฤษเก่าว่า Þunor และภาษาเยอรมันโบราณเขตเหนือว่า Donar (อักษรรูน þonar ᚦᛟᚾᚨᚱ) ซึ่งกำเนิดจากภาษาโปรโตเยอรมัน *Þunraz (หมายถึง "สายฟ้า") ธอร์เป็นเทพที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญตลอดประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกของชาวเยอรมัน จากการยึดครองดินแดนเยอรมาเนียของโรมัน ไปจนถึงการขยายชนเผ่าในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน ไปจนถึงการได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคไวกิ้ง เมื่อ ในการเผชิญกับกระบวนการเผยแผ่ศาสนาคริสต์เข้าไปในสแกนดิเนเวีย สัญลักษณ์ค้อนมจอลนีร์ (Mjölnir) ของพระองค์ ถูกสวมใส่เป็นการท้าทายและชื่อตัวของนอร์สเพเกินซึ่งมีชื่อของเทพเจ้าเป็นพยานต่อความนิยมของเขา เมื่อย่างเข้าสู่สมัยใหม่ ธอร์ยังได้การยอมรับต่อไปในตำนานพื้นบ้านชนบททั่วภูมิภาคเยอรมนี ธอร์มักอ้างถึงบ่อยครั้งในชื่อสถานที่ ในวันประจำสัปดาห์ วันพฤหัสบดี (Thursday ("วันของธอร์") ปรากฏนามของพระองค์ และชื่อซึ่งมาจากยุคเพเกินที่มีนามพระองค์นั้นยังมีใช้กันอยู่จวบจนปัจจุบัน ตลอดจนยังเป็นที่มาของคำว่า "ฟ้าร้อง" หรือ "ฟ้าผ่า" ในภาษาอังกฤษ (Thunder) อีกด้วย นอกจากนี้แล้วนักวิชาการชาวอังกฤษผู้หนึ่งยังเชื่อว่า ค้อนมจอลนีร์ที่มีลักษณะขว้างไปแล้วสามารถวนกลับมาสู่มือของทอร์ได้เหมือนบูมเมอแรง เป็นที่มาของสัญลักษณ์สวัสดิกะ ที่แพร่หลายต่อมาในอารยธรรมของชาวอารยันอีกด้วย ธอร์เป็นหนึ่งในสิบสองสำคัญของเทพเจ้าสแกนดิเนเวีย เป็นเทพแห่งสายฟ้า ทอร์เป็นบุตรของเทพเจ้าโอดิน และจอร์ดน่ง (Fjörgyn) ยักษ์แห่งแผ่นดินหน้า 3, เทพสายฟ้า ผู้พิชิต. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21303: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คนแคระ

วาด ''Men hur kommer man in i berget, frågade tomtepojken'' (''ข้าจะกลับไปในภูเขาได้อย่างไร, คนแคระน้อยถาม'') ของ จอห์น บาวเออร์ คนแคระ (Dwarf) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏในตำนานปรัมปราในกลุ่มประเทศเจอร์แมนิก (สแกนดิเนเวียและเยอรมัน) ปรากฏในเทพนิยาย นิยายแฟนตาซี และเกมอาร์พีจีจำนวนมาก มักมีพรสวรรค์อันวิเศษโดยเฉพาะด้านเกี่ยวกับการเหมืองและการโลหะ แนวคิดเริ่มแรกเกี่ยวกับกำเนิดตำนานของคนแคระไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แหล่งกำเนิดที่ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่สามารถค้นพบคือในตำนานปรัมปราของเจอร์แมนิกที่สืบทอดมาจากตำนานนอร์ส แต่กระนั้นก็หาหลักฐานได้ยากและมีรูปแบบหลากหลายมาก เรื่องราวที่ผิดเพี้ยนไปทำให้คนแคระดูน่าขบขันมากขึ้นและช่างเชื่อถือโชคลาง คนแคระมีลักษณะคล้ายมนุษย์ แต่เรื่องเล่าระบุถึงความสูงและชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างกันไป บางเรื่องถึงกับบรรยายพวกเขาไปคล้ายกับพวกเอลฟ์ เมื่อพิจารณาจากแหล่งข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุดและจากลักษณะตามธรรมชาติของคนแคระ เชื่อได้ว่าในยุคแรกๆ คนแคระมีความสูงพอกันกับมนุษย์นี้เอง บทบาทของพวกเขาในตำนานมักมีความผูกพันใกล้ชิดกับความตาย มีผิวกายซีด ผมสีเข้ม ชอบอยู่กับพื้นโลก มีประเพณีที่นิยมนับถือลัทธิภูตผี ซึ่งสอดคล้องกับความผูกพันกับความตาย บางครั้งมีลักษณะคล้ายคลึงกับพวก 'Vættir' หรือจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ เช่นพวกเอลฟ์ ตำนานปรัมปราเกี่ยวกับคนแคระที่พัฒนาการต่อมา มีข้อเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ พวกเขาดูน่าขบขันมากขึ้น มีความลึกลับมากขึ้น คนแคระเริ่มมีรูปร่างเตี้ยลงและน่าเกลียดมากขึ้นตามภาพลักษณ์ในยุคใหม่ รวมถึงภาพการใช้ชีวิตใต้พื้นดินของพวกเขาก็โดดเด่นยิ่งขึ้น คนแคระเป็นสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ที่มีทักษะด้านการโลหะอย่างวิเศษ มีชื่อเสียงในการสร้างของวิเศษในตำนานมากมาย แนวคิดเกี่ยวกับคนแคระในตำนานนอร์สยุคหลังมีความแตกต่างจากตำนานดั้งเดิมมาก คนแคระในแนวคิดใหม่นี้ไปปรากฏในเทพนิยายและนิทานพื้นบ้านในยุคหลังมากขึ้น (ดูเพิ่มเติมใน นิทานพื้นบ้านเยอรมัน และนิทานพื้นบ้านดัตช์) พวกเขากลายเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมีเวทมนตร์ ไม่สามารถมองเห็นได้ เป็นเจ้าแห่งมนตร์มายา คำสาป และคำล่อลวง แฟนตาซีและวรรณกรรมยุคใหม่ช่วยกันถักทอความเจ้าเล่ห์แสนกลให้กับเหล่าคนแคระเพิ่มเติมไปยิ่งกว่าคนแคระดั้งเดิม คนแคระในยุคใหม่จึงมีลักษณะเฉพาะตัวคือ มีร่างกายเตี้ยแคระ ผมและขนดกหนา มีความสามารถในการทำเหมืองและการช่างโลหะอย่างพิเศษ อย่างไรก็ดีวรรณกรรมยุคใหม่ยังบรรยายภาพของคนแคระที่แตกต่างกันออกไปอีกตามแต่ตำนานและประวัติศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น วรรณกรรมแฟนตาซีหลายเรื่องประดิษฐ์คิดค้นอำนาจหรือภาพลักษณ์ของคนแคระขึ้นใหม่ ทำให้ "คนแคระ" ในตำนานยุคใหม่ไม่อาจมีคำจำกัดความที่ชัดเจนได้ แต่แนวคิดเรื่องคนแคระมีร่างเตี้ยดูจะเป็นประเด็นที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด และคำว่า "คนแคระ" (dwarf) ก็ถูกนำมาใช้บรรยายถึงมนุษย์ร่างเตี้ยโดยทั่วไปไม่ว่าจะมีอำนาจเวทมนตร์หรือไม่ ดังนั้นคำจำกัดความสากลในยุคใหม่สำหรับคำว่า คนแคระ จึงหมายถึงสิ่งมีชีวิตร่างเตี้ย มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ อยู่ในวรรณกรรมแฟนตาซีและเทพน.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและคนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

นรก

แสดงนรก วาดโดย Herrad von Landsberg นรก (สันสกฤต: นรก; บาลี: นิรย; อาหรับ: นารฺ, ญะฮีม, ญะฮันนัม, สะก็อร; อังกฤษ hell) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น อิสลาม, คริสต์, พุทธและยูดาห์ อันเป็นสถานที่ตอบแทนความชั่วของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและนรก · ดูเพิ่มเติม »

แรกนะร็อก

ประตูทิศเหนือของโบสถ์ไม้แห่งอูร์เนสที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ได้รับการตีความว่าการที่มีรายละเอียดของงูและมังกรนั้น เป็นตัวแทนของแรกนะร็อกFazio, Moffet, Wodehouse (2003:201). ในเทพปกรณัมนอร์สธอร์ แรกนะร็อก (Ragnarok,, หรือ) เป็นชุดเหตุการณ์ในอนาคต ประกอบด้วย การยุทธครั้งใหญ่ตามคำทำนายซึ่งนำไปสู่การสิ้นชีพของเหล่าเทพที่สำคัญ (ประกอบด้วย เทพโอดิน, ทอร์, เทียร์, เฟรย์, เฮมดาลล์, และโลกิ) ในท้ายที่สุด, การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ และการที่แผ่นดินจมลงใต้สมุทรตามลำดับ ต่อจากนั้น แผ่นดินจะผุดขึ้นจากทะเลอีกครั้ง และกลับมาอุดมสมบูรณ์ เทพที่รอดชีวิตและเทพผู้กลับมาจากความตายจะมาพบกัน โลกจะกลับมามีพลเมืองด้วยมนุษย์สองคนที่เหลือรอด แรกนะร็อกเป็นเหตุการณ์สำคัญในทางความเชื่อและศาสนาของนอร์ส และเป็นหัวข้อของวจนิพนธ์ทางวิชาการและทฤษฎี ตามที่มีหลักฐานยืนยัน เหตุการณ์นี้ได้รับการบันทึกครั้งแรกใน บทกวีเอ็ดดา ซึ่งแปลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 จากบันทึกโบราณ และบทร้อยแก้วเอ็ดดาที่เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยสนอร์รี สเทอร์ลิวซัน ใน มหากาพย์เอ็ดดา และกลอนบทหนึ่งใน บทกวีเอ็ดดา เหตุการณ์นี้เรียกว่า Ragnarök หรือ Ragnarøkkr (ภาษานอร์สโบราณ แปลว่า "ชะตากรรมของเหล่าทวยเทพ" หรือ "สนธยาของเหล่าทวยเทพ" ตามลำดับ) การนำไปใช้งานที่มีชื่อเสียงกระทำโดยนักแต่งเพลงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ริชาร์ด วากเนอร์ ใช้เป็นหัวเรื่องดนตรีอุปรากร ปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกน องค์สุดท้ายของเขา เกิทเทอร์เดมเมอร์รุง (ค.ศ. 1876).

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและแรกนะร็อก · ดูเพิ่มเติม »

โยตุน

ตันฟาฟเนอร์และฟาสอลต์ วาดโดย ริชาร์ด วากเนอร์ ในปกรณัมแหวนแห่งนิเบลุงเกน โยตุน (Jötunn) มีความหมายว่ายักษ์ปรากฏในเทพปกรณัมนอร์ส โยตันเป็นเผ่าพันธุ์หนึ่งที่แยกจากกลุ่ม อาส (Æsir) และ วาน (Vanir).

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและโยตุน · ดูเพิ่มเติม »

โลกิ

ลกิ และ อีดัน โลกิ (Loki) เป็นเทพเกเรในเทพปกรณัมนอร์ส โลกิมีความขี้เล่นและซุกซน ในช่วงแรกนั้นโลกิได้ช่วยเหลือเหล่าเทพแห่งแอสการ์ดในการต่อสู้กับเหล่ายักษ์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความซุกซนของโลกิก็ยิ่งกลายเป็นความโหดร้ายยิ่งขึ้น เทพโลกิมีบุตร 3 ตน คือ หมาป่าเฟนริล์ งูยักษ์มิดกาดโซรุม และเฮล เทวีแห่งอาณาจักรคนตาย ในวันแร็กนาร็อก วันสงครามสิ้นโลก บุตรทั้ง3 ของโลกิจะมีส่วนร่วมต่อสู้ในสงครามด้วย โลกิยังเป็นผู้ให้กำเนิดม้าสเลปนิร์ของโอดิน โลกิเป็นผู้สังหารบัลเดอร์ เทพแห่งความสุข โดยใช้กิ่งของต้นมิสเซิลโท ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ไม่เคยสาบานว่าจะไม่ทำร้ายบัลเดอร์ ทำเป็นลูกดอกแล้วหลอกให้เทพฮอดผู้ตาบอดขว้างใส่บัลเดอร์ และเมื่อเทพเฮลมอดได้ไปตกลงกับเฮล ซึ่งจะยอมให้บัลเดอร์กลับจากยมโลกถ้าทุกชีวิตบนโลกร่ำไห้แก่บัลเดอร์นั้น นางยักษิณี ทอค ปฏิเสธที่จะร่ำไห้ตามคำขอร้องของแอนซัส ผู้ส่งสาร ซึ่งเชื่อว่าทอคนั้นก็คือโลกิปลอมตัวมานั่นเอง ซึ่งเหตุการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โลกิเป็นศัตรูกับเหล่าเทพแห่งแอสการ์ดและถูกจับล่ามโซ่ไว้จนถึงวันแร็กนาร็อก.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและโลกิ · ดูเพิ่มเติม »

โอดิน

โอดิน ขี่หลังม้าสเลปนีร์ โอดิน เทพเจ้าสูงสุดของชาวยุโรปเหนือ เป็นเทพเจ้าที่ใฝ่หาความรู้ ยึดมั่นในสัจจะ ช่วยเหลือผู้อื่น และออกผจญภัยเพื่อใช้ชีวิตให้คุ้มค่า รบอย่างกล้าหาญเพื่อให้ได้ตายอย่างมีเกียรติในสนามรบ ให้ลูกหลานนำเรื่องราวของตนไปเล่าขานในฐานะวีรบุรุษ และเพื่อให้ดวงวิญญาณได้รับเลือกให้เข้าร่วมกับกองทัพเทพ ร่วมต่อสู้กับยักษ์ในวันสิ้นโลก (ไวกิ้งเป็นตัวอย่างหนึ่งของชนที่นับถือศาสนานี้) แม้เทพโอดินทรงสร้างโลกแต่พระองค์ก็ไม่สามารถล่วงรู้อนาคตของโลกได้ โดยเฉพาะความลับสูงสุดของจักรวาล การถือกำเนิด ชีวิตหลังความตาย และอนาคตของโลก เพื่อให้ทรงทราบความลับเหล่านี้ จึงทรงทรมาณองค์เองโดยผูกเท้าข้างหนึ่งกับพฤกษาที่เป็นแกนกลางของโลก (อิ๊กก์ดราซิล) แทงหอกที่สีข้าง ทรมาณอยู่ถึง 9 วัน 9 คืน จนถึงกับสิ้นพระชนม์ แต่แล้วก็ทรงฟื้นคืนขึ้นมาใหม่โดยไม่เจ็บปวด แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยปรีชาญาณ ทรงบันทึกสิ่งที่พระองค์ค้นพบในรูปแบบอักษรศักดิ์สิทธิ์ 24 ตัว เรียกว่า รูนส์ ซึ่งต่อมาทรงพระราชทานรูนส์แก่ชาวโลกเพื่อให้ใช้ในฐานะเทพพยากรณ์ ในที่สุด ทรงล่วงรู้อนาคต รู้วันสิ้นโลก รู้ว่าในวันข้างหน้า โลกจะถึงกาลแตกดับ แต่ก่อนจะถึงวันนั้น พระองค์ จะทะนุถนอมโลกที่ทรงสร้างอย่างดี เพื่อเมื่อถึงวันโลกาวินาศ จะได้มีเทพและมนุษย์ที่หลงเหลืออยู่ไปสร้างโลกใหม่ที่มีความสุข แต่ยังทรงต้องการความรู้เพิ่มเติม จึงทรงไปที่รากของต้นไม้อี๊กก์ดราซิลเพื่อดื่มน้ำพุวิเศษที่ทำให้กลายเป็นผู้รอบรู้ ที่บ่อน้ำพุนี้มียักษ์ตนหนึ่งเฝ้าอยู่ ชื่อมีเมียร์ หากจะทรงถืออำนาจดื่มน้ำพุเลย ในฐานะจอมเทพ ย่อมทรงกระทำได้ แต่พระองค์ไม่ทำเพราะเห็นว่าเป็นการกระทำของคนโฉด จึงทรงแลกเปลี่ยนดวงตาข้างหนึ่ง เพื่อการได้ดื่มน้ำ ยักษ์ยินยอม แล้วพระองค์ก็ทรงดื่มน้ำนั้นจนหมดบ่อ แม้จะทรงมีหอกวิเศษกุงเนียร์ อันเป็นหอกที่ไม่เคยพลาดเป้าเป็นอาวุธ แต่กลับไม่ค่อยได้ใช้อาวุธของพระองค์เท่าใดนัก ว่ากันว่าพระองค์จะได้ใช้หอกนี้อย่างแท้จริงก็คือในวันทำสงครามแร็คนาร็อก แต่อย่างใดก็ดี ก็ไม่ช่วยให้พระองค์รอดพ้นจากคมเขี้ยวของพญาสุนัขป่าเฟนริล์ได้ ทรงมีสัตว์เลี้ยงคืออีกาคู่ และถือเป็นสัญลักษณ์ของพระองค์ ชื่อ ฮูกีน (ความคิด) และมูนีน (ความจำ) อีกาทั้งสองจะบินไปรอบโลก เพื่อนำข่าวคราวของสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกมาแจ้งแก่พระองค์ และทรงเลี้ยงสุนัขป่าขนสีเงินอีกสองตัวคือ เกรี และ เฟรคี สุนัขทั้งสองมักนั่งอยู่แทบพระบาท คอยกินอาหารที่ถูกนำมาถวาย ด้วยพระองค์ไม่โปรดอะไรนอกจากเหล้าน้ำผึ้ง ทรงมีพาหนะคือม้าสเลปไนร์ ซึ่งมีขาถึง 8 ขา จึงทำให้มันวิ่งเร็วกว่าม้าใดๆ ทรงมีมเหสีเอกคือเทวีฟริกก์ และต่อมาทรงรับเทวีเฟรยาเป็นมเหสีอีกองค์ เทวีฟริกกาทรงเปี่ยมไปด้วยเมตตา ปราศจากความอิจฉาริษยา เทวีเฟรายาจึงเคารพพระนางเป็นอย่างยิ่ง ไม่เคยทำอะไรให้มเหสีเอกต้องขุ่นเคืองพระทัย สำหรับผู้ที่เป็นนักพยากรณ์โดยไพ่ทาโรต์ จะคุ้นเคยกับใพ่ใบหนึ่งที่เป็นภาพของคนห้อยหัว ผูกขาข้างหนึ่งไว้กับต้นไม้ ไพ่ใบนี้ชื่อ Hang Man เชื่อกันว่ามีที่มาจากตำนานของเทพโอดินนั่นเอง ดังนั้นไพ่ใบนี้ จึงมีความหมายของการพยากรณ์ การหยุดนิ่งก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง การอดทนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ การรอคอยโอกาสที่ยังมาไม่ถึง หมวดหมู่:เทพเจ้า หมวดหมู่:เทพปกรณัมนอร์ส หมวดหมู่:เทพแห่งสายฟ้า.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและโอดิน · ดูเพิ่มเติม »

เฟรยา

John Bauer (ค.ศ. 1882–1918) ในเทพปกรณัมนอร์ส เฟรยา (Freyja อ่านว่า "ฟราญา" ในภาษาเดนมาร์ก, ภาษานอร์สโบราณหมายถึง "หญิงสาว") เป็นเทพีแห่งความรัก, ความงาม, ความอุดมสมบูรณ์, ทอง, เซย์ท (seiðr), สงคราม, และความตาย เฟรยาเป็นเจ้าของสร้อยไบรซิงกาเมน (Brísingamen), ขี่รถลากที่เทียมแมวสองตัว, หมูป่าฮีลดีสวีนี (Hildisvíni), เสื้อคลุมขนเหยี่ยว มีโอเดอร์เป็นสามี มีลูกสาวสององค์คือ นอส (Hnoss) และ เจอเซมิ (Gersemi) มีเฟรย์เป็นพี่ชาย (ภาษานอร์สโบราณ, "ลอร์ด") ร่วมบิดา (นเยิร์ด) และมารดา (น้องสาวของนจอร์ด) เฟรยาเป็นเทพีในวงศ์วาเนอร์ ชื่อในปัจจุบันประกอบด้วย Freya, Frejya, Freyia, Frøya, Frøjya, และ Freia ซึ่งมีรากภาษามาจากคำว่า Freyja ในนอร์สโบราณ เฟรยาปกครองดินแดนหลังความตายโฟล์กแวงเกอร์ (Fólkvangr) ที่จะรับเอาวิญญาณนักรบครึ่งหนึ่งที่ตายในสนามรบ ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งจะไปยังโถงของโอดิน วัลฮัลลา โถงของโฟล์กแวงเกอร์คือ เซสริมเนียร์ (Sessrúmnir) โอเดอร์ผู้เป็นสามีได้หายตัวไปบ่อยๆ เฟรยาร้องไห้เป็นทองสีแดง น้ำตาของเธอร่วงตกลงไปยังพื้นโลก และเปลี่ยนเป็นสายแร่ทองคำ เธอได้ออกตามหาสามีภายใต้ชื่อปลอม Gefn, Hörn, Mardöll, Sýr, Valfreyja, และ Vanadís.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและเฟรยา · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์

''Ängsälvor'' "เอลฟ์แห่งท้องทุ่ง" ภาพวาดของนิลส์ บลอมเมอร์ ในปี ค.ศ. 1850 เอลฟ์ (elf) คือสิ่งมีชีวิตอมนุษย์ในตำนานนอร์สและตำนานปรัมปราในกลุ่มประเทศเจอร์แมนิก (สแกนดิเนเวียและเยอรมัน) เมื่อแรกเริ่ม แนวคิดเกี่ยวกับพวกเอลฟ์คือ ชนเผ่าที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ ภาพวาดของชนเหล่านี้มักเป็นมนุษย์ทั้งชายและหญิงที่แลดูอ่อนเยาว์และงดงาม อาศัยอยู่ในป่า ในถ้ำ ใต้พื้นดิน หรือตามบ่อน้ำและตาน้ำพุ มักเชื่อกันว่าพวกเขามีชีวิตยืนยาวมากหรืออาจเป็นอมตะ รวมทั้งมีพลังเวทมนตร์วิเศษ แต่หลังจาก ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ผลงานอันโด่งดังของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏออกมา ภาพของเอลฟ์ก็กลายเป็นผองชนผู้เป็นอมตะและเฉลียวฉลาด ทั้งที่คำว่า เอลฟ์ ในวรรณกรรมของโทลคีนมีความหมายแตกต่างไปคนละทางกับตำนานโบราณโดยสิ้นเชิง.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและเอลฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัม (แก้ความกำกวม)

ทพปกรณัม อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: เทพปกรณัมนอร์สและเทพปกรณัม (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Norse mythologyตำนานสแกนดิเนเวียตำนานชาวเหนือตำนานนอร์สตำนานเทพปกรณัมของนอร์สตำนานเทพเจ้าสแกนดิเนเวียตำนานเทพเจ้านอร์สเทพเจ้าของสแกนดิเนเวีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »