โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธินอกศาสนาและเทพปกรณัมนอร์ส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ลัทธินอกศาสนาและเทพปกรณัมนอร์ส

ลัทธินอกศาสนา vs. เทพปกรณัมนอร์ส

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)). ทพเจ้าธอร์เข้าณรงค์ยุทธกับเหล่ายักษ์ เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน เทพเจ้าองค์สำคัญในเทพปกรณัมนอร์ส ได้แก่ ธอร์เทพสายฟ้าผู้มีค้อนใหญ่เป็นอาวุธ โดยเป็นเทพนักรบผู้พิทักษ์มนุษยชาติ ฯ โอดิน เทพเจ้าพระเนตรเดียว ผู้ทรงขวนขวายหาความรู้ในโลกฐาตุทั้งหลาย และพระราชทานอักษรรูนให้แก่มนุษย์; เฟรยา (Freyja) เทพสตรีผู้ทรงสิริโฉม ผู้ใช้เวทมนตร์ (seiðr) และทรงฉลองพระองค์คลุมขนนก ผู้ทรงม้าเข้าสู่สมรภูมิเพื่อเลือกเอาดวงวิญญาณในหมู่ผู้ตาย; สคาดดี (Skaði) ยักขินีและเทวีแห่งการสกี ผู้อาศัยอยู่ท่ามกลางฝูงหมาป่าบนภูเขาในฤดูหนาว; นโยร์ด (Njörðr) เทพเจ้าทรงฤทธิ์ผู้อาจปราบได้ทั้งทะเลและไฟและยังประทานความมั่งคั่งและที่ดิน; เฟรย์ (Freyr) ผู้นำสันติภาพและความเพลิดเพลินสู่มนุษยชาติ ผ่านทางฤดูกาลและการกสิกรรม; อีดุนน์ (Iðunn) เทพเจ้าผู้ทรงรักษาแอปเปิลที่ให้ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์; เฮม์ดาลร์ (Heimdallr) เทพเจ้าลึกลับผู้ประสูติแต่มารดาเก้าตน ทรงสามารถฟังเสียงหญ้าโต มีพระทนต์เป็นทองคำ และมีเขาสัตว์ที่เป่าได้ดังกึกก้อง; และโยตุนโลกิ ผู้นำโศกนาฏกรรมมาสู่ทวยเทพโดยวางแผนให้บัลเดอร์ (Baldr) พระโอรสแห่งเทพเจ้าฟริกก์ ต้องตาย เป็นต้น เทพปกรณัมนอร์สจัดเหล่าเทพเจ้าออกเป็นสองกลุ่ม คือ พวกอัสร์ (Æsir) ซึ่งมีรากคำเดียวกับ "อสูร" ในภาษาสันสกฤต ได้แก่ พวกเทพเจ้าองค์สำคัญๆในเทพวิหารของนอร์ส (เช่น โอดิน, ธอร์, ฟริกก์, บัลเดอร์ ฯลฯ) พวกหนึ่ง และ พวกวาเน็น หรือวานร์ อันเป็นเหล่าเทพที่มีความเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์ ปัญญาเฉลียวฉลาด ธรรมชาติ และการรู้อนาคตอีกพวกหนึ่ง ทั้งสองพวกเข้าทำสงครามกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ จนในที่สุดรู้ว่าตนมีอำนาจเท่าๆกัน นอกจากนี้ในโลกยังมีสัตว์และเผ่าในเทพนิยายอยู่อีกนานับประการ (เช่น ยักษ์, คนแคระ, เอลฟ์, และภูตในแผ่นดิน) จักรวาลวิทยาของนอร์สประกอบด้วยโลกเก้าโลก ซึ่งขนาบอิกดระซิล ต้นไม้แห่งเอกภพ โลกมนุษย์ในจักรวาลวิทยานอร์สมีชื่อเรียกว่า มิดการ์ นอกจากนี้ยังมีภพหลังความตายอยู่หลายภพซึ่งมีเทพเจ้าพิทักษ์รักษาอยู่แตกต่างกัน ในตำนานของนอร์สมีตำนานสร้างโลกอยู่หลายแบบ มีการทำนายว่าโลกเหล่านี้จะกำเนิดใหม่หลังเหตุการณ์แรกนะร็อก เมื่อเกิดการยุทธ์มโหฬารระหว่างเหล่าทวยเทพและฝ่ายศัตรู และโลกถูกเพลิงประลัยกัลป์หุ้มเพื่อถือกำเนิดใหม่ ที่นั่น เทพเจ้าที่เหลือรอดจะประชุม แผ่นดินจะเขียวอุดม และมนุษย์สองคนจะเพิ่มประชากรโลกอีกครั้ง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ลัทธินอกศาสนาและเทพปกรณัมนอร์ส

ลัทธินอกศาสนาและเทพปกรณัมนอร์ส มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ลัทธินอกศาสนาและเทพปกรณัมนอร์ส

ลัทธินอกศาสนา มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ เทพปกรณัมนอร์ส มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (13 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ลัทธินอกศาสนาและเทพปกรณัมนอร์ส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »