โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5

ดัชนี เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5

้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5 เกิดเมื่อวันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2429 เป็นธิดา หม่อมเจ้าจำรูญ ปราโมช และ หม่อมเยื้อน ปราโมช ณ อยุธยา ท่านมีน้องร่วมมารดา 2 คน คือ ร้อยโท หม่อมราชวงศ์จรัญ ปราโมช และหม่อมราชวงศ์ชาย (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังไม่มีชื่อ) เมื่อวัยเยาว์ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย อาศัยอยู่กับท่านพ่อที่วังบูรพาภิรมย์ เพราะท่านพ่อเสด็จอยู่กับ จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จนกระทั่งอายุได้ 7 ปี ท่านพ่อจึงส่งเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังกับพระญาติในราชสกุลปราโมช ซึ่งรับราชการอยู่ในห้องเครื่องต้น วันหนึ่งท่านได้ตามเสด็จ หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ไปรับเงินจ่ายประจำเดือนของห้องเครื่อง จากพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ (พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา) พระอรรคชายาเธอฯทอดพระเนตรเห็นหม่อมราชวงศ์จรวยเป็นเด็กน่าเอ็นดู จึงขอไปทรงเลี้ยง และเมื่อหม่อมราชวงศ์จรวยมีอายุครบ 10 ปี ได้ทรงพระเมตตาจัดพิธีโกนจุกประทานด้วย ครั้นอายุได้ 18 ปี พระอรรคชายาเธอฯจึงนำท่านขึ้นถวายตัวรับราชการฝ่ายใน เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานเงิน 5 ชั่ง ผ้าลายและแพรห่ม 2 สำรับตามประเพณี ซึ่งท่านได้รับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณจนตลอดรัชกาล โดยมีหน้าที่จัดเตรียมเครื่องสรงพระพักตร์ และทรงเครื่องในเวลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบรรทมตื่นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ในช่วงเวลา 11-12 น. และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินออกเสวย ก็ต้องอยู่ประจำในหน้าที่ตั้งเครื่องเสวยทั้งในมื้อเช้าและมื้อเย็น รับใช้ไปจนเข้าที่พระบรรทม ราว 5-6 น. บางครั้งก็ต้องรับหน้าที่อ่านหนังสือถวายแทนเจ้าจอมมารดาเลื่อน และคอยเฝ้าในเวลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรุงพระกระยาหารด้วยพระองค์เองด้วย เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 และเข็มพระกำนัล อักษรพระบรมนาม.ป.ร.ลงยาสีชมพูห้อยริบบิ้นเหลืองจักรี และเมื่อมีพิธีเฉลิมพระที่นั่งอัมพรสถาน ท่านได้รับพระราชทานเกียรติยศให้เป็นผู้เชิญพานฟักในงานพระราชพิธีสำคัญนั้นด้วย เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 5 แล้ว เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ได้ออกจากพระบรมมหาราชวังมาอาศัยอยู่ในสำนักพระวิมาดาเธอฯ ที่พระราชวังสวนสุนันทา จนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2472 จึงออกมาอาศัยกับหม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช จนสิ้นชีพิตักษัย ครั้งสุดท้ายได้ออกมาอยู่กับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ที่ตำหนักทิพย์ ถนนราชวิถี ได้ตามเสด็จเสด็จพระองค์อาทรฯไปฟังธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหารเป็นประจำ จนกระทั่งเสด็จพระองค์อาทร สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ. 2501 จึงอยู่กับเจ้าจอมอาบ และนายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ ผู้เป็นทายาทต่อมา เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ปราโมช ป่วยด้วยโรคชรา ถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 สิริอายุได้ 82 ปี 4 เดือน.

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2429พ.ศ. 2449พ.ศ. 2472พ.ศ. 2501พ.ศ. 2511พระบรมมหาราชวังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาพระที่นั่งอัมพรสถานพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาฐานันดรศักดิ์ไทยวัดบวรนิเวศราชวรวิหารวังบูรพาภิรมย์สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุลตติยจุลจอมเกล้าเหรียญรัตนาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า16 พฤศจิกายน29 กรกฎาคม7 เมษายน

พ.ศ. 2429

ทธศักราช 2429 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1886 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และพ.ศ. 2429 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2449

ทธศักราช 2449 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1906 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และพ.ศ. 2449 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2472

ทธศักราช 2472 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1929 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และพ.ศ. 2472 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2501

ทธศักราช 2501 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1958 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และพ.ศ. 2501 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2511

ทธศักราช 2511 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1968 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และพ.ศ. 2511 · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมมหาราชวัง

ระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 เป็นจำนวนถึง 8,995,000 คน.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และพระบรมมหาราชวัง · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

ระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์; ประสูติ: 4 กันยายน พ.ศ. 2405 — สิ้นพระชนม์: 24 มิถุนายน พ.ศ. 2472) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดีและเจ้าจอมมารดาจีน ทรงเข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระอรรคชายาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับพระเชษฐภคินีร่วมพระบิดามารดาคือ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งอัมพรสถาน

ระที่นั่งอัมพรสถาน ก่อนการบูรณะ พระที่นั่งอัมพรสถาน เป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระราชวังดุสิต ปัจจุบันเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และพระที่นั่งอัมพรสถาน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา (21 เมษายน พ.ศ. 2432 — 23 มีนาคม พ.ศ. 2501) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาชุ่ม (สกุลเดิม: ไกรฤกษ์).

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา · ดูเพิ่มเติม »

ฐานันดรศักดิ์ไทย

ในประเทศไทยมี "ฐานันดรศักดิ์" หลายประเภท ดังนี้.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และฐานันดรศักดิ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ วัดประจำรัชกาลที่ ๙ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช).

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วังบูรพาภิรมย์

วังบูรพาภิรมย์ นักเรียนโรงเรียนภานุทัต สมัยที่อยู่วังบูรพาภิรมย์ วังบูรพาภิรมย์ เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์สุดท้องในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เมื่อ..

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และวังบูรพาภิรมย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

อมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (11 มกราคม พ.ศ. 2402 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 เป็นพระราชโอรสลำดับสุดท้ายในพระบรมราชชนนี เมื่อพระบรมราชชนนีสวรรคตสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระชันษาเพียง 2 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ชาววังมักเอ่ยพระนามอย่างลำลองว่า "สมเด็จพระราชปิตุลาฯ" ส่วนชาวบ้านมักออกพระนามว่า "สมเด็จวังบูรพา" เพราะทรงมีวังชื่อว่า "วังบูรพาภิรมย์" ซึ่งก็คือตำแหน่งที่เป็นย่านวังบูรพาในปัจจุบัน และทรงเป็น "ตา" ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ตามพระประวัตินั้น ทรงเป็นจอมพลในรัชกาลที่ 7 ที่ทหารรักมาก เล่ากันมาว่าพวกทหารมักจะแบกพระองค์ท่านขึ้นบนบ่าแห่แหนในวาระที่มีการฉลองต่างๆ เช่น ฉลองคล้ายวันประสูติ เป็นต้น ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดกิจการไปรษณีย์ไทย ครั้งถึงร.7 ในพิธีบรมราชาภิเศก ทรงโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระปิตุลา(อา)แท้ๆที่เหลืออยู่พระองค์เดียวนี้เป็นสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ศักดินา 100,000 เป็นพิเศษ เทียบเท่า ศักดินา ตำแหน่ง พระบรมโอรสาธิราช, พระบรมราชินี, พระบรมราชเทวี ท่านจึงทรงเป็นผู้มีบุญพิเศษ ที่เป็นเจ้าฟ้าชั้นโทจากแรกประสูติ แล้วได้เฉลิมพระเกิยรติยศขึ้นเป็นเจ้าฟ้าชั้นพิเศษที่มีศักดินาสูงเช่นนี้ เมื่อสิ้นพระชนม์ จึงใช้คำว่า "ทิวงคต" ท่านได้เสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 ทรงเป็นต้นราชสกุลภาณุพัน.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 — 11 สิงหาคมพ.ศ. 2533) ทรงเป็นพระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม: ยมาภัย).

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล · ดูเพิ่มเติม »

ตติยจุลจอมเกล้า

วงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น'''ตติยจุลจอมเกล้า''' ฝ่ายหน้า ตติยจุลจอมเกล้า มีอักษรย่อว่า ต..

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และตติยจุลจอมเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญรัตนาภรณ์

หรียญรัตนาภรณ์ เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชทานผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ทั้งส่วนราชการและส่วนพระองค์ เดิมชื่อ เหรียญรจนาภรณ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นเหรียญรัตนาภรณ์ ในปี พ.ศ. 2416 เหรียญรัตนาภรณ์ มีลำดับชั้นทั้งหมด 5ชั้น มีหลักเกณฑ์ในการรับพระราชทานดังนี้ ชั้นที่ 1และ 2 มักจะพระราชทานให้ พระราชวงศ์, ขุนนางข้าราชการชั้นสูงที่ถวายงานใกล้ชิดและทรงสนิทสนมเป็นพิเศษ, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, ประธานองคมนตรี, องคมนตรี ฯลฯ ชั้นที่ 3 และ 4 พระราชทานให้ ขุนนางช้าราชการชั้นสูงที่ถวายงานใกล้ชิด, ข้าราชบริพารที่ทรงสนิทสนม, พระอนุวงศ์และราชนิกุล ฯลฯ ชั้นที่ 5 พระราชทานให้ ผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งส่วนราชการหรือส่วนพระองค์, ผู้ที่สร้างชื่อเสียงคุณงามความดีให้กับประเทศ ฯลฯ แต่ทั้งนี้การพระราชทานขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัยส่วนพระองค์ บุคคลที่มียศตำแหน่งตามที่ระบุอาจได้รับพระราชทานชั้นที่สูงหรือต่ำกว่านี้ ก็สุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และเหรียญรัตนาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

รื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (The Most Illustrious Order of Chula Chom Klao) สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2416 ด้วยทรงเห็นว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนนานมาเป็นเวลา 90 ปี ก็ด้วยความจงรักภักดีและการปฏิบัติราชการของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวง ทั้งมีพระราชประสงค์จะทรงชุบเลี้ยงบรรดาทายาทของบุคคลเหล่านี้ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในราชการสืบเนื่องต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทายาทของผู้ได้รับพระราชทานสามารถรับพระราชทานตราสืบตระกูลของบิดาได้ โดยพระราชทานนามพระองค์ "จุลจอมเกล้า" เป็นนามของเครื่องราชอิสรยาภรณ์ตระกูลนี้ พร้อมทรงคิดคำขวัญจารึกบนดวงตราว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ".

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

16 พฤศจิกายน

วันที่ 16 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 320 ของปี (วันที่ 321 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 45 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และ16 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

29 กรกฎาคม

วันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันที่ 210 ของปี (วันที่ 211 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 155 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และ29 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

7 เมษายน

วันที่ 7 เมษายน เป็นวันที่ 97 ของปี (วันที่ 98 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 268 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5และ7 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ปราโมช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »