โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เครเฟ็ลท์

ดัชนี เครเฟ็ลท์

รเฟ็ลท์ (Krefeld) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลิน ประเทศเยอรมนี มีฐานะเป็นเมืองอิสระ (kreisfreie Stadt) ตามการบริหารเขตปกครองของเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศและของรัฐ ปัจจุบันมีประชากรราว 222,000 คน เมืองใหญ่แห่งอื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงได้แก่ ดืสบูร์ก (ประชากร 486,000 คน) ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 16 กิโลเมตร ดึสเซลดอร์ฟ (ประชากร 598,000 คน) ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 18 กิโลเมตร และเมินเชนกลัดบัค (ประชากร 255,000 คน) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 20 กิโลเมตร เครเฟ็ลท์เป็นส่วนหนึ่งของ เขตปริมณฑลไรน์-รูห์ร ซึ่งมีประชากรทั้งหมดราว 9.9 ล้านคน มีอาณาเขตติดต่อกับรูห์รเกอบีท (Ruhrgebiet) ซึ่งเป็นเขตชุมชนเมืองที่ประกอบด้วยเมืองหลายแห่งเชื่อมต่อกันขนาดใหญ่ที่สุดในเยอรมนี เครเฟ็ลท์มีฉายาว่า "เมืองแห่งไหมและกำมะหยี่" เนื่องจากเคยเป็นแหล่งผลิตไหมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18–19 ชื่อเดิมของเมืองคือ Crefeld (อ่านว่าเครเฟ็ลท์เช่นเดียวกัน) จนกระทั่งเปลี่ยนมาใช้ชื่อ Krefeld ตั้งแต่ปี..

26 ความสัมพันธ์: ชาร์ลอตต์มหาสมุทรแอตแลนติกมิลลิเมตรระดับน้ำทะเลรัฐรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินสงครามโลกครั้งที่สองหยาดน้ำฟ้าหิมะอุณหภูมิองศาเซลเซียสผ้ากำมะหยี่ดึสเซิลดอร์ฟดืสบวร์คคริสต์ศตวรรษปฏิกูลประเทศเยอรมนีแม่น้ำไรน์ไกเซรีไลเดินไหมเมินเชินกลัทบัคเมืองพี่น้องและเมืองแฝดเลสเตอร์เวลายุโรปกลางเวลาออมแสงยุโรปกลาง

ชาร์ลอตต์

ร์ลอตต์ (อังกฤษ: Charlotte, North Carolina) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐนอร์ทแคโรไลนา และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของสหรัฐอเมริกา ในปี 2008 มีประชากรประมาณ 671,588 คน ชาวเมืองชาร์ลอตต์เรียกว่า "Charlottean" ชื่อเมืองชาร์ลอตต์ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ สมเด็จพระราชินีชาร์ลอตต์แห่งสหราชอาณาจักร พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และชาร์ลอตต์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิเมตร

มิลลิเมตร อักษรย่อ มม. (Millimetre: mm) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-3 เมตร.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และมิลลิเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ระดับน้ำทะเล

กราฟระดับน้ำทะเลที่วัดได้จากบริเวณที่มีความเสถียรทางธรณีวิทยา แสดงถึงระดับน้ำทะเลซึ่งสูงขึ้นถึง 24 เซนติเมตรในรอบ 120 ปี (2 มิลลิเมตร/ปี) ระดับทะเลปานกลาง* (Mean Sea-Level) หรือ ร.ท.ก. เป็นค่าการวัด ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide: HT) และลงต่ำสุด (Low Tide: LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็นระดับน้ำทะเลปานกลาง สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน ในประเทศไทยใช้เวลาในการวัด 5 ปี โดยเลือกที่ ถนนเกาะหลัก ตำบลเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่วัด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้มีค่า 0.000 เมตร ที่ 11°47'42.92"N/ 99°47'31.40"E ทำการถ่ายโยงมายังหมุด BM-A (ซึ่งถือว่าเป็นหมุดหลักฐานหมุดแรกของประเทศไทย) ที่ 13°46'23.74"N/100°31'45.39"E ซึ่งมีค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.4477 เมตร ประโยชน์ของการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของดิน หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจฯ งานก่อสร้างฯ และงานทั่วไป *มักถูกเขียนว่า ระดับน้ำทะเลปานกลาง หากอ้างอิงจากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มพิมพ์ครั้งที่ 4 ใช้คำว่า "ระดับทะเลปานกลาง" หมุด BM-A ระดับน้ำทะเลปานกลาง.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และระดับน้ำทะเล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 1.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน

นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน (Nordrhein-Westfalen) หรือ นอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย (North Rhine-Westphalia) ตัวย่อ NRW หมายถึง ดินแดนฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของแม่น้ำไรน์ เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี มีประชากรกว่า 18 ล้านคน และสัดส่วนในรายได้ประชาชาติของรัฐคิดเป็นร้อยละ 22 ของรายได้ประชาชาติในเยอรมนี เมืองหลวงของรัฐได้แก่ เมืองดึสเซลดอร์ฟ เมืองสำคัญของรัฐ เช่น โคโลญ เกลเซนเคียร์เชิน เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐ ได้แก่ บอนน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศเยอรมนีตะวันตก และอาเคิน เมืองมรดกโลก.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หยาดน้ำฟ้า

ในทางอุตุนิยมวิทยา หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ (hydrometeor) ประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ อันเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในบรรยากาศและตกลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง รูปแบบหลักของหยาดน้ำฟ้าประกอบด้วยฝนละออง (drizzle), ฝน, ฝนน้ำแข็ง (sleet), หิมะ, ลูกปรายหิมะ (graupel) และลูกเห็บ หยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศเหนือพื้นดินบริเวณหนึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำ จากนั้นน้ำเกิดการควบแน่นและตกลงมา หมอกและหมอกน้ำค้างจึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า มีอยู่สองกระบวนการที่อากาศอิ่มตัวได้ คือ อากาศได้รับความเย็นหรือเพิ่มไอน้ำเข้าไปในอากาศ ซึ่งสองกระบวนการนี้อาจเกิดร่วมกันได้ โดยทั่วไป หยาดน้ำฟ้าจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน แต่ยกเว้นน้ำโปรยฐานเมฆ (virga) ซึ่งระเหยไปหมดก่อนตกถึงพื้น หยาดน้ำฟ้าก่อตัวขึ้นเป็นหยาดเล็กที่รวมกันโดยชนกับหยดฝนหรือผลึกน้ำแข็งอื่นภายในเมฆ หยดฝนที่ตกลงมามีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่รูปทรงคล้ายแพนเค้กกลมแป้นสำหรับหยดขนาดใหญ่ ถึงทรงกลมเล็กสำหรับหยดขนาดเล็ก เกล็ดหิมะ (snowflake) มีหลายรูปทรงและแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เกล็ดหิมะเคลื่อนผ่านก่อนตกสู่พื้น หิมะและลูกปรายหิมะจะเกิดเฉพาะเมื่ออุณหภูมิใกล้ผิวดินใกล้หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ส่วนลูกเห็บสามารถเกิดขึ้นในเขตอุณหภูมิอบอุ่นได้จากกระบวนการก่อตัว โดยรวมหยาดน้ำฟ้าเกิดจากความชื้นเหนือแนวปะทะ (weather front) เป็นหลัก หากมีความชื้นเพียงพอและมีการเคลื่อนที่ขึ้น หยาดน้ำฟ้าจะตกจากมวลอากาศร้อนขึ้นทางแนวดิ่ง (convective cloud) เช่น คิวมูโลนิมบัส และสามารถก่อตัวเป็นบริเวณแถบฝนแคบ ๆ ได้.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และหยาดน้ำฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

หิมะ

หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำว่า 0 °C (32 °F) ทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นผลึกน้ำแข็ง และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จากเครื่องสร้างหิมะเทียม (snow cannon).

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และอุณหภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ผ้ากำมะหยี่

ผ้ากำมะหยี่ เป็นผ้าทอแบบเป็นกระจุกชนิดหนึ่งที่เย็บด้วยด้ายเย็บผ้าโดยกระจายแบบเท่า ๆ กันด้วยขนกำมะหยี่แบบบาง ๆ ทำให้เกิดสัมผัสที่เด่นชัด ผ้ากำมะหยี่อาจทำจากใยสังเคราะห์หรือใยธรรมชาติก็ได้ หมวดหมู่:ผ้า.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และผ้ากำมะหยี่ · ดูเพิ่มเติม »

ดึสเซิลดอร์ฟ

ึสเซิลดอร์ฟ (Düsseldorf) เป็นเมืองหลวงของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินในประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำไรน์ มีประชากรประมาณ 581,858 คน (พ.ศ. 2549) มีพื้นที่ 217 ตารางกิโลเมตร เฉลี่ย 2,861 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ เขตประชาชนหนาแน่น.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และดึสเซิลดอร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

ดืสบวร์ค

ืสบวร์ค (Duisburg) เป็นเมืองในรัฐนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลินในประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำไรน์กับแม่น้ำรูร์หรือที่เรียกกันว่าเขตรูร์ เป็นอดีตศูนย์กลางการผลิตเหล็กของเยอรมนี ปัจจุบันหันมามุ่งเน้นเรื่องศิลปะร่วมสมัยและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ดืสบวร์คเป็นเมืองสำคัญในการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะทางเรือและรถไฟเนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางของระบบคมนาคมในเขตรูร์ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือในแผ่นดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป เมืองดืสบวร์คเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสองแห่ง คือ มหาวิทยาลัยดืสบวร์ค-เอ็สเซิน และมหาวิทยาลัยดนตรีและการแสดงฟ็อล์ควัง มีสโมสรกีฬาที่หลากหลาย แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ กีฬาฟุตบอล พายเรือ และฮอกกีน้ำแข็ง โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล มีสโมสรของเมืองคือ เอ็มเอ็สเฟา ดืสบวร์ค ซึ่งเล่นอยู่ในลีกดิวิชันสองของประเท.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และดืสบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษ

หน้านี้แสดงช่วงเวลาเป็นสหัสวรรษและศตวรรษตามปีคริสต์ศักร.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และคริสต์ศตวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกูล

ปฏิกูล, ขยะ, ของเสีย หรือ ของทิ้ง (waste) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ไม่ต้องการและหมดประโยชน์แล้ว ปฏิกูลคือสสารใด ๆ ที่ถูกทิ้งหลังจากใช้งานหลัก ไม่มีค่า มีตำหนิ หรือใช้การไม่ได้แล้ว คำว่าปฏิกูล หรือขยะ มักจะเป็นอัตวิสัย (เนื่องจากปฏิกูลของคนคนหนึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นปฏิกูลของอีกคนหนึ่ง) และบางครั้งไม่เป็นที่ถูกต้องตามปรวิสัย (ตัวอย่างเช่น การส่งเศษโลหะไปยังหลุมฝังกลบปฏิกูลเป็นการจัดให้เป็นปฏิกูลที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมันสามารถแปรใช้ใหม่ได้) ตัวอย่างปฏิกูลได้แก่ปฏิกูลจากชุมชน (ขยะจากบ้านเรือน) ปฏิกูลที่เป็นสารอันตราย น้ำเสีย (เช่น น้ำโสโครก ซึ่งประกอบด้วยของเสียจากร่างกาย (อุจจาระ และปัสสาวะ) และน้ำผิวดิน) ปฏิกูลกัมมันตรังสี และอื่น.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และปฏิกูล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไรน์

แผนที่แดงเส้นทางแม่น้ำจากเทือกเขาแอลป์สู่ทะเลเหนือ ไรน์ (Rhine; Rein; Rhein; Rhin; Rijn) เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 1,230 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับสองรองจากแม่น้ำดานูบ มีต้นน้ำจากเทือกเขาแอลป์ ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, ออสเตรีย, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ไปออกทะเลเหนือ แม่น้ำไรน์เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญ สามารถขนสินค้าเข้าสู่ภายในแผ่นดินยุโรปได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และภูมิศาสตร์ในการเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่สำคัญของยุโรป ร ร ร ร ร ร ร หมวดหมู่:แม่น้ำในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และแม่น้ำไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

ไกเซรี

กเซรี (ภาษาตุรกีออตโตมัน: قیصریه; Kayseri ไกเซรี, Kayseri; Καισάρεια ไกซาเรีย, Caesarea Mazaca ไกซาเรีย มาซากา ในประวัติศาสตร์: Mazaka or Mazaca, Eusebia, Caesarea Cappadociae, และต่อมา Kaisariyah) เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของอานาโตเลียในประเทศตุรกี.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และไกเซรี · ดูเพิ่มเติม »

ไลเดิน

ลเดิน (Leiden) เป็นเมืองในจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ไลเดินรวมเป็นเขตเมืองเขตเดียวกับ Oegstgeest, Leiderdorp, Voorschoten, Valkenburg, Rijnsburg และ Katwijk ที่ทำให้มีประชากรทั้งหมด 254,000 คน.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และไลเดิน · ดูเพิ่มเติม »

ไหม

หม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และไหม · ดูเพิ่มเติม »

เมินเชินกลัทบัค

เมินเชินกลัทบัค (Mönchengladbach) เป็นเมืองในรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองดึสเซิลดอร์ฟกับชายแดนเนเธอร์แลนด์ เมืองนี้มีสโมสรฟุตบอลโบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค เป็นศูนย์กลางการขนส่งและศูนย์กลางการผลิตสิ่งทอที่สำคัญ รวมทั้งการผลิตเครื่องจักร เหล็ก เคมีภัณฑ์ กระดาษ หนังสัตว์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม มเมินเชินกลัทบัค หมวดหมู่:รัฐนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลิน.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และเมินเชินกลัทบัค · ดูเพิ่มเติม »

เมืองพี่น้องและเมืองแฝด

ฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา เมืองพี่น้อง (Sister cities) และเมืองแฝด (Twin cities) เป็นคำที่ใช้เรียกเมืองที่การเจริญสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน (ส่วนใหญ่จะเป็นเมืองที่อยู่กันคนละประเทศ) โดยมีความร่วมมือกันระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เพื่อช่วยเหลือการพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ และสนับสนุนความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ถ่ายทอดซึ่งกันและกัน นำสิ่งดีๆที่อีกฝ่ายหนึ่งมี มาพัฒนาต่อยอดเมืองของตนเอง หรือในบางครั้ง เมืองพี่เมืองน้อง มักจะถูกตีความไปตามลักษณะเมืองที่มีความคล้ายคลึงกัน ทางด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนสภาพสิ่งแวดล้อมของเมืองที่คล้ายคลึงกัน เราก็เรียกว่าเมืองพี่เมืองน้องได้ อย่างเช่น เมืองปายกับวังเวียง ที่มีบรรยากาศของเมืองพักกลางทางท่ามกลางขุนเขา ลำน้ำ และสายหมอกเหมือนกัน หรืออย่าง จังหวัดยโสธรกับเมืองโยชิดะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับการเรียกว่าเป็นเมืองคู่แฝด เพราะมีประเพณีการเล่นบั้งไฟคล้ายคลึงกัน ในเมืองไทยมีหลายจังหวัดที่มีการเจริญความสัมพันธ์อันดีเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองต่างๆทั่วโลก หรือเป็นเมืองพี่เมืองน้องกันเองภายในประเทศ อย่างกรุงเทพมหานคร ที่สถาปนาเมืองพี่เมืองน้องระหว่างกรุงเทพมหานคร.กับจังหวัดแพร่ ภายหลังจากที่ กรุงเทพฯได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัดแพร่ในการอนุญาตให้พลีต้นสักทองจำนวน 6 ต้น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ที่อำเภอเด่นชัย มาทำเป็นเสาชิงช้าต้นใหม่ หรือการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรีกับเมือง Courtenay ประเทศแคนาดา ความเป็นเมืองพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับเมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส จังหวัดเพชรบุรี กับข้อตกลงการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่ เมืองน้องระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับเมืองพารามัตตา ประเทศออสเตรเลีย เหล่าล้วนเป็นแบบอย่างในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและประชากรทั้งสองประเทศให้แนบแน่นยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และเมืองพี่น้องและเมืองแฝด · ดูเพิ่มเติม »

เลสเตอร์

ลสเตอร์ (Leicester;; สะกดย่อ: LES-tɚ) เป็นนครและเมืองหลวงของมลฑลเลสเตอร์เชอร์ในภาคการปกครองมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ เลสเตอร์มีการปกครองระดับรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียว ที่ตั้งของเลสเตอร์อยู่บนฝั่งแม่น้ำซอร์และริมป่าสงวน และมีเนื้อที่ 73.32 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจสำมะโนประชากร ในปี..

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และเลสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เวลายุโรปกลาง

ตเวลาชาติยุโรปกลาง (Central European Time; CET) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานบบเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 1 ชั่วโมง (UTC+1) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และเวลายุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เวลาออมแสงยุโรปกลาง

ตเวลาออมแสงยุโรปกลาง (Central European Summer Time; CEST) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 2 ชั่วโมง (UTC+2) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: เครเฟ็ลท์และเวลาออมแสงยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Krefeldเครเฟลด์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »