โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน

ดัชนี รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน

นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน (Nordrhein-Westfalen) หรือ นอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย (North Rhine-Westphalia) ตัวย่อ NRW หมายถึง ดินแดนฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของแม่น้ำไรน์ เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี มีประชากรกว่า 18 ล้านคน และสัดส่วนในรายได้ประชาชาติของรัฐคิดเป็นร้อยละ 22 ของรายได้ประชาชาติในเยอรมนี เมืองหลวงของรัฐได้แก่ เมืองดึสเซลดอร์ฟ เมืองสำคัญของรัฐ เช่น โคโลญ เกลเซนเคียร์เชิน เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐ ได้แก่ บอนน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศเยอรมนีตะวันตก และอาเคิน เมืองมรดกโลก.

17 ความสัมพันธ์: บอนน์มรดกโลกรัฐซัคเซินรัฐนีเดอร์ซัคเซินรัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์รัฐเฮ็สเซินรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศเยอรมนีรายได้ประชาชาติอาเคินดึสเซิลดอร์ฟประเทศเบลเยียมประเทศเยอรมนีประเทศเยอรมนีตะวันตกประเทศเนเธอร์แลนด์แม่น้ำไรน์โคโลญเก็ลเซินเคียร์เชิน

บอนน์

อนน์ (Bonn) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ห่างออกไปประมาณ 25 กิโลเมตร ทางใต้ของโคโลญ บนแม่น้ำไรน์ในรัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย บอนน์เคยเป็นเมืองหลวงของอดีตประเทศเยอรมนีตะวันตก ในช่วง ค.ศ. 1949 ถึง ค.ศ. 1990 และเป็นที่ตั้งอย่างเป็นทางการของรัฐบาลจนถึง ค.ศ. 1990 เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1998 องค์กรรัฐบาลแห่งชาติหลายแห่งได้ย้ายจากบอนน์ไปเบอร์ลิน สภาทั้งสองแห่งของรัฐสภาแห่งชาติเยอรมัน คือ บุนเดสทาก (Bundestag - สภาล่าง) และ บุนเดสราท (Bundesrat - สภาสูง) ได้ย้ายไป พร้อมกับสำนักนายกรัฐมนตรี (Chancellery) และบ้านพักประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม บอนน์ยังคงเป็นศูนย์กลางการเมืองและการปกครองแห่งหนึ่งอยู่ ประมาณครึ่งหนึ่งของตำแหน่งงานในรัฐบาลไม่ได้ย้ายไปไหน เนื่องจากหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งยังคงอยู่ที่บอนน์และหน่วยงานระดับเล็กกว่ากระทรวงจำนวนมากได้ย้ายมาจากเบอร์ลินและส่วนอื่น ๆ ของเยอรมนีเพื่อเป็นการแสดงความสำคัญ เมืองหลวงเก่าแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า นครสหพันธ์ ("Bundesstadt").

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและบอนน์ · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐซัคเซิน

ซัคเซิน (Sachsen) หรือ แซกโซนี (Saxony) เป็นรัฐหนึ่งในประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ ได้ชื่อว่าเป็นเสรีรัฐที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง มีเมืองเดรสเดินเป็นเมืองหลวง.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและรัฐซัคเซิน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนีเดอร์ซัคเซิน

นีเดอร์ซัคเซิน (Niedersachsen) เป็นรัฐของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางเหนือ-ตะวันตกของประเทศ มีพื้นที่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรเป็นอันดับ 4 ใน 16 รัฐของเยอรมนี มีเมืองหลวงของรัฐชื่อ ฮันโนเวอร์ ตั้งป็นรัฐเมื่อ..

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและรัฐนีเดอร์ซัคเซิน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์

รน์ลันท์-ฟัลทซ์ (Rheinland-Pfalz) หรือ ไรน์แลนด์-พาลาทิเนต (Rhineland-Palatinate) เป็นหนึ่งใน 16 รัฐ (Bundesländer) ของประเทศเยอรมนี ที่มีเนื้อที่ 19,847 ตารางกิโลเมตรและมีประชากรราว 4 ล้านคน โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ไมนทซ.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและรัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเฮ็สเซิน

็สเซิน (Hessen) หรือ เฮ็สส์ (Hesse) เป็นรัฐหนึ่งในประเทศเยอรมนี มีเนื้อที่ 21,110 ตารางกิโลเมตรแต่มีประชากรอาศัยอยู่แค่ 6 ล้านคน เมืองหลวงรัฐคือวีสบาเดิน เมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐอยู่ใกล้กับเมืองฟรังค์ฟูร์ทอัมไมน์ ได้รับผลประโยชน์จากพื้นที่บริเวณแม่น้ำไรน.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและรัฐเฮ็สเซิน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศเยอรมนี

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศเยอรมนีทั้งสิ้น 42 แหล่ง เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 39 แหล่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติอีก 3 แหล่ง.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

รายได้ประชาชาติ

รายได้ประชาชาติ หมายถึง มูลค่าเป็นตัวเงินของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ตามราคาตลาดที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศ ในระยะเวลา 1 ปี รายได้ประชาชาติ คำนวณได้ 3 วิธี คือ 1.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและรายได้ประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อาเคิน

แผนที่เยอรมนีแสดงเมืองอาเคิน อาเคิน (Aachen) เป็นเมืองที่อยู่ด้านตะวันตกสุดของประเทศเยอรมนี ติดกับพรมแดนประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม อยู่ห่างจากเมืองโคโลญมาทางตะวันตก 65 กิโลเมตร พิกัดภูมิศาสตร์ 50°46′ เหนือ 6°6′ ตะวันออก มีประชากร 256,605 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2546) ชื่อของเมืองถ้าอ่านออกเสียงตามแบบภาษาเยอรมันแล้วจะออกเสียงว่า อาเคิ่น ชื่อเต็มของอาเคินคือ บัดอาเคิน (Bad Aachen) โดย Bad หมายถึงน้ำ ที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องมาจากภายใต้เมืองอาเคินมีสายน้ำร้อนธรรมชาติอยู่มากมาย น้ำแร่ใต้ดินนี้ มีความเชื่อว่าสามารถนำมาดื่มเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ในปัจจุบัน เมืองอาเคินได้นำน้ำแร่ใต้ดินนี้ไปเปิดบริการเป็นสปาแบบทันสมัยให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า Carolus Thermen อาเคินเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย RWTH Aachen (เยอรมัน: Rheinisch-Westfälische Technische Hochschule; อังกฤษ: RWTH Aachen University of Technology; ตัวย่อ RWTH ออกเสียงตามภาษาเยอรมันว่า แอร์เวเทฮา) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มายาวนาน โดยเฉพาะสาขาวิศวกรรมเครื่องกล อาเคินกับ RWTH มีความผูกพันกันมาอย่างลึกซึ้ง เนื่องจาก RWTH เป็นจุดดึงดูดให้มีนักเรียนจำนวนมากเดินทางมาใช้ชีวิตในอาเคิน ทำให้อาเคินกลายเป็นเมืองนักศึกษา โดยนักเรียนของ RWTH Aachen มีจำนวนมากกว่า 30,000 คน โดย 10% ของทั้งหมดเป็นนักเรียนต่างชาติ นอกจากสาขาวิศวกรรมแล้ว RWTH Aachen ยังมีคลินิคุม อาเคิน (Universitätsklinikum Aachen) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแบบตึกเดียวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเป็นที่ศึกษาของเหล่านักศึกษาแพทยศาสตร์ของอาเคิน ในขณะเดียวกัน ทางสาขาคอมพิวเตอร์ของ RWTH ก็กำลังพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์วิจัยเฟราน์โฮเฟอร์ และขณะนี้บริษัทไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดศูนย์วิจัยขึ้นในเมืองอาเคิน และสร้างความเป็นพันธมิตรกับ RWTH มหาวิหารอาเคิน เมืองอาเคินยังเป็นที่ตั้งของมหาวิหารอาเคิน (เยอรมัน: Aachener Dom) อันเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวของเมือง มหาวิหารแห่งอาเคินนี้ถูกจัดเป็นมรดกโลกของยูเนสโก มหาวิหารนี้เป็นโบสถ์แบบกอธิคผสมกับกาโล-โรมัน ซึ่งได้รับอนุญาตจากพระสันตปาปาแห่งกรุงโรมให้สร้างโบสถ์นี้ในปี ค.ศ. 786 และสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 805 โดมนี้ถูกใช้เป็นสถานที่แต่งตั้งกษัตริย์ของเยอรมนีในสมัยก่อนมาแล้วหลายพระองค์ อีกทั้งยังมีหีบศพทองคำของพระเจ้าชาร์เลอมาญ (เยอรมัน: Karl) อยู่ด้วย ที่ลานกว้างหน้าโดมนี้ จะถูกใช้เป็นที่รับรางวัลคาร์ล (Internationaler Karlspreis zu Aachen ย่อว่า Karlspreis; อังกฤษ: International Charlemagne Prize of the city of Aachen) ในทุก ๆ ปี รางวัลคาร์ลนี้จะมอบให้กับผู้ที่ส่งเสริมสันติภาพในยุโรป ตัวอย่างของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ได้รับรางวัลคาร์ลได้แก่ บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และ โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร พรินเท่น อาเคินยังเป็นจุดกำเนิดของขนมที่ชื่อว่าพรินเทิน (Printen หรือ Aachener Printen) ซึ่งมีชื่อเสียงในประเทศเยอรมนี พรินเทินเป็นขนมลักษณะคล้ายคุกกี้ ที่มีส่วนผสมของอบเชย และมักทำออกมาโดยพิมพ์รูปต่าง ๆ เช่น รูปพระจักรพรรดิคาร์ล.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและอาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

ดึสเซิลดอร์ฟ

ึสเซิลดอร์ฟ (Düsseldorf) เป็นเมืองหลวงของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินในประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำไรน์ มีประชากรประมาณ 581,858 คน (พ.ศ. 2549) มีพื้นที่ 217 ตารางกิโลเมตร เฉลี่ย 2,861 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ เขตประชาชนหนาแน่น.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและดึสเซิลดอร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนีตะวันตก

ประเทศเยอรมนีตะวันตก (West Germany) เป็นคำเรียกอย่างไม่เป็นทางการของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในช่วงปี..

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและประเทศเยอรมนีตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไรน์

แผนที่แดงเส้นทางแม่น้ำจากเทือกเขาแอลป์สู่ทะเลเหนือ ไรน์ (Rhine; Rein; Rhein; Rhin; Rijn) เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 1,230 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับสองรองจากแม่น้ำดานูบ มีต้นน้ำจากเทือกเขาแอลป์ ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, ออสเตรีย, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ไปออกทะเลเหนือ แม่น้ำไรน์เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญ สามารถขนสินค้าเข้าสู่ภายในแผ่นดินยุโรปได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และภูมิศาสตร์ในการเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่สำคัญของยุโรป ร ร ร ร ร ร ร หมวดหมู่:แม่น้ำในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและแม่น้ำไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

โคโลญ

ลญ (Cologne) หรือ เคิลน์ (Köln) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศเยอรมนี รองจากเบอร์ลิน ฮัมบวร์ค และมิวนิก และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน โคโลญเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี สร้างโดยชาวโรมัน มีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึง ค.ศ. ​50 เมืองโคโลญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไรน์ มีอาสนวิหารโคโลญซึ่งเป็นโบสถ์ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่มีชื่อเสียง มหาวิทยาลัยโคโลญเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ ตัวเมืองมีพื้นที่ 405.15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรนับเฉพาะที่อาศัยในเขตเมือง 998,105 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2009).

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและโคโลญ · ดูเพิ่มเติม »

เก็ลเซินเคียร์เชิน

เก็ลเซินเคียร์เชิน เก็ลเซินเคียร์เชิน (Gelsenkirchen) เป็นเมืองในรัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลียของประเทศเยอรมนี มีประชากร 274,926 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2002) มีหลักฐานเก่าแก่สุดว่าสร้างขึ้นประมาณ ค.ศ. 1150 แต่ดำรงฐานะเป็นเมืองขนาดเล็กมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม พื้นที่เขตนี้ในเยอรมนีกลายเป็นเหมืองถ่านหิน จึงทำให้มีประชากรเข้ามาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก เกลเซนเคียร์เซนมีสโมสรฟุตบอลชาลเก 04 เป็นสโมสรประจำเมือง และเป็นหนึ่งใน 12 เมืองของเยอรมนีที่จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 เกลเซนเคียร์เคิน หมวดหมู่:รัฐนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลิน‎.

ใหม่!!: รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินและเก็ลเซินเคียร์เชิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

North Rhine-Westphaliaรัฐนอร์ธไรน์-เวสต์ฟาเลียรัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลียรัฐนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลินรัฐนอร์ดไรน์-เวสต์ฟาเลนนอร์ธไรน์-เวสต์ฟาเลียนอร์ธไรน์เวสต์ฟาเลียนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลินนอร์ดไรน์-เวสต์ฟาเลน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »