โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เกาะมาลาปัสกัว

ดัชนี เกาะมาลาปัสกัว

กาะมาลาปัสกัวด้านเหนือ เกาะมาลาปัสกัวด้านใต้ เกาะมาลาปัสกัว (Malapascua) เป็นเกาะขนาดเล็กในประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ในทะเลวิซายาส ห่างจากจุดเหนือสุดของเกาะเซบูไปทางเหนือซึ่งเป็นช่องแคบน้ำตื้นเป็นระยะทาง 6.8 กิโลเมตร การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ในเขตตำบลโลกอน ดาอันบันตายัน เกาะเซบู ตัวเกาะมาลาปัสกัวมีพื้นที่เพียงราว 2.5×1 ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้านบนเกาะ 8 หมู่บ้าน เกาะมาลาปัสกัวมีชื่อเสียงเมื่อต้นทศวรรษที่ 1990 ในฐานะจุดดำน้ำที่น่าสนใจ ก่อนหน้านั้น เกาะมาลาปัสกัวเป็นเกาะที่รู้จักกันทั่วไปเพราะมีหาดทรายขาวกว้างใหญ่ที่เรียกว่าเบาน์ตีบีช แต่ชื่อเสียงในปัจจุบันมาจากแนวปะการังรอบเกาะ รวมถึงหน้าผาปะการัง ที่สวยงาม รวมถึงความโดดเด่นในจุดที่ห่างเกาะเช่นที่เกาะกาโต ที่ตื้นโมนาด และที่ตื้นเกมด ที่ตื้นโมนาดเป็นที่ราบสูงซึ่งนักดำน้ำจะพบปลาฉลามหางยาวและปลากระเบนราหูได้เป็นประจำ อาชีพของชาวเกาะมาลาปัสกัวส่วนใหญ่เป็นอาชีพเกี่ยวกับการบริการนักท่องเที่ยว และมีบางส่วนที่หาเลี้ยงชีพด้วยการประมงพื้นบ้าน ยามเย็นที่หาดเบาน์ตี ในทางศาสนา มีความเชื่อว่า เกาะมาลาปัสกัว หรือตำบลโลกอน เป็นที่ซึ่งแม่พระแห่งผู้ถูกทอดทิ้งทรงแสดงปาฏิหาริย์เมื่อราว..

8 ความสัมพันธ์: การดำน้ำวงศ์ปลากระเบนนกจังหวัดเซบูประเทศฟิลิปปินส์ปลากระเบนปีศาจปลากระเบนแมนตาปลาฉลามหางยาวเกาะเลย์เต

การดำน้ำ

การดำน้ำโดยใช้ต่อท่ออากาศจากผิวน้ำ (surface-supplied) การดำน้ำ (underwater diving) เป็นการลดตัวใต้ผิวน้ำเพื่อทำกิจกรรมใต้น้ำ มักเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทางทะเลเป็นหลัก หรืออาจเป็นภารกิจทางทหาร การแช่น้ำและการสัมผัสกับน้ำเย็นและความดันสูงมีผลทางสรีรวิทยาต่อนักดำน้ำซึ่งจะจำกัดความลึกและระยะเวลาในการดำน้ำโดยรวม การกลั้นหายใจเป็นข้อจำกัดสำคัญ และการหายใจที่ความดันสูงยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม การพัฒนาวิธีการทางด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีเพิ่มความลึกและระยะเวลาในการดำน้ำโดยรอบของมนุษย์และยังช่วยให้ทำงานใต้น้ำได้นานยิ่งขึ้น สภาพแวดล้อมทำให้กิจกรรมดำน้ำมีความอันตรายหลากหลายอย่างและความเสี่ยงส่วนใหญ่จะถูกควบคุมโดยทักษะการดำน้ำที่เหมาะสม การฝึกอบรม ประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้ และก๊าซหายใจที่ใช้ ที่ขึ้นอยู่กับความลึกและวัตถุประสงค์ในการดำน้ำ กิจกรรมดำน้ำมีความลึกสูงสุดประมาณ 40 เมตร (130 ฟุต) สำหรับการดำน้ำลึกเชิงสันทนาการ 530 เมตร (1,740 ฟุต) สำหรับการดำน้ำเชิงพาณิชย์และ 610 เมตร (2,000 ฟุต) ที่สวมใส่ชุด atmospheric suit การดำน้ำยังถูกจำกัด ให้อยู่ในสภาพที่ไม่อันตรายมากเกินไป แม้ว่าระดับความเสี่ยงอาจผันผวน.

ใหม่!!: เกาะมาลาปัสกัวและการดำน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนนก

วงศ์ปลากระเบนนก (วงศ์: Myliobatidae, Eagle ray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Myliobatidae จัดเป็นวงศ์ใหญ่มีวงศ์ย่อยแยกออกไปจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดเป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่ในทะเล โดยมักจะพบรวมตัวกันเป็นฝูง ในบางครั้งอาจเป็นถึงร้อยตัว มีจุดเด่นคือ มีหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของสัตว์ปีก ปลายแหลม มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 ซี่ อยู่ด้านล่างของลำตัว ด้านท้องสีขาว มีส่วนหางเรียวกว่าและเล็กกว่าปลากระเบนในวงศ์ Dasyatidae ด้วยความที่มีครีบแยกออกจากส่วนหัวชัดเจน ทำให้ปลากระเบนในวงศ์นี้สามารถว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนการบินของนก จึงทำให้เป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งในบางชนิดอาจกระโดดขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย โดยมากแล้วมักจะว่ายในระดับผิวน้ำหรือตามแนวปะการัง มีฟันที่หยาบในปาก หากินอาหารได้แก่ ครัสเตเชียน, หอย, หมึก, ปลาขนาดเล็ก รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วยในบางสกุล ซึ่งเวลาหากินสัตว์ที่อยู่ตามหน้าดิน จะใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายเอา บางชนิดอาจว่ายเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อยแถบปากแม่น้ำหรือท่าเรือต่าง ๆ ได้ด้วย พบกระจายพันธุ์ในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ซึ่ง ปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ซึ่งเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็อยู่ในวงศ์นี้ด้ว.

ใหม่!!: เกาะมาลาปัสกัวและวงศ์ปลากระเบนนก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเซบู

ังหวัดเซบู (เซบัวโน: Lalawigan sa Sugbu; Lalawigan ng Cebu) เป็นจังหวัดในเขตกิตนางคาบีซายาอัน ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะหลักและเกาะบริวารอีก 167 เกาะ เมืองหลักคือ เซบูซิตี ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของฟิลิปปินส์ จังหวัดนี้มีท่าอากาศยานนานาชาติมักตัน–เซบู ตั้งอยู่บนเกาะมักตัน เป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมาเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ จังหวัดเซบูเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีการพัฒนาดีที่สุดของประเทศ และเมืองหลักอย่างเซบูซิตี ก็เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม การค้า การศึกษา และอุตสาหกรรมของเกาะวิซายัส นอกจากนี้ยังโดดเด่นในด้านการขนส่งทางทะเล การผลิตเฟอร์นิเจอร์ และการท่องเที่ยว.

ใหม่!!: เกาะมาลาปัสกัวและจังหวัดเซบู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: เกาะมาลาปัสกัวและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนปีศาจ

ปลากระเบนปีศาจ (Devil rays) เป็นปลากระเบนสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Mobula ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีลักษณะใกล้เคียงกับปลากระเบนราหู หรือปลากระเบนแมนตา ที่อยู่ในสกุล Manta ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ปลากระเบนบิน" จากความสามารถที่สามารถกระโดดขึ้นเหนือผิวน้ำได้อย่างสวยงาม มีความกว้างของลำตัวจากปลายครีบอีกข้างหนึ่งจรดอีกข้างหนึ่งได้ถึง 5.2 เมตร (17 ฟุต) และมีน้ำหนักมากกว่าหนึ่งตัน ปลากระเบนปีศาจในอ่าวแคลิฟอร์เนีย (ทะเลคอร์เตส) มีรายงานว่ากระโดดได้สูงกว่า 2 เมตร ซึ่งพฤติกรรมในการกระโดดนี้ยังไม่ทราบถึงสาเหตุ แต่สันนิษฐานว่า อาจเป็นการกระโดดเพื่อต้อนอาหารซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็ก หรือเคย ให้ตกใจ และรวมกลุ่มอยู่ในฝูงของปลากระเบนปีศาจที่อยู่ตรงกลาง เพื่อง่ายต่อการกินเป็นอาหาร เพราะการกระโดดจะเป็นการกระโดดของปลาที่อยู่ด้านข้างฝูง หรืออาจเป็นไปได้ว่าเป็นการแสดงออกซึ่งความสนุกเท่านั้น.

ใหม่!!: เกาะมาลาปัสกัวและปลากระเบนปีศาจ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนแมนตา

ปลากระเบนแมนตา หรือ ปลากระเบนราหู (Manta rays) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000 ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ แนวปะการัง จัดอยู่ในสกุล Manta (เป็นภาษาสเปนแปลว่า "ผ้าห่ม") ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) เดิมทีแล้ว ปลากระเบนแมนตาถูกจัดอยู่ในวงศ์ Mobulidae แต่ในปัจจุบันรวมอยู่ในวงศ์ปลากระเบนนก โดยทั่วไปปลากระเบนแมนตาจะมีหลังสีดำและท้องสีขาว แต่อาจพบตัวที่มีหลังสีฟ้าได้บ้าง ตาอยู่บริเวณข้างหัว และต่างจากปลากระเบนทั่วไป ปากอยู่ทางด้านหน้าของหัว มีช่องเหงือก 5 คู่ เหมือนปลากระเบนทั่วไป ครีบหูพัฒนาเป็น ติ่งลักษณะคล้ายเขา หรือที่เรียกว่าครีบหัว อยู่บริเวณด้านหน้าของหัวแบน ๆ ครีบดังกล่าวเจริญขึ้นในช่วงตัวอ่อน เลื่อนมาอยู่รอบปาก ทำให้เป็นหนึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังมีขากรรไกร ที่มีรยางค์พิเศษอันเป็นที่รู้จักมากที่สุดชนิดหนึ่ง (อีกชนิดคือ เต่าหก ((Manouria emys)) โดยเขาที่อ่อนนุ่มนี้มีไว้สำหรับโบกพัดเอาน้ำเข้าปาก เพื่อกินแพลงก์ตอน และเพื่อจะฮุบน้ำจำนวนมากต้องว่ายอ้าปากและพัดอาหารเข้าปากอยู่เสมอ ปลากระเบนแมนตาเคยหาอาหารตามพื้นท้องทะเลมาก่อน ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นกรองกินแพลงก์ตอนตามทะเลเปิดในปัจจุบัน ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่มากกว่าปลากระเบนชนิดอื่น ๆ ลักษณะการกรองกินทำให้ฟันลดขนาดลงเป็นซี่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่แอบอยู่ใต้ผิว คล้ายกับปลากระเบนทั่วไป มีหางเป็นเส้นยาว แต่หากปราศจากเงี่ยงที่ส่วนหาง และเกล็ดแหลมหุ้มลำตัวก็มีขนาดเล็กลง แทนที่ด้วยเมือกหนาหุ้มร่างกาย ส่วนท่อน้ำออกมีขนาดเล็กและไม่ทำหน้าที่ น้ำทั้งหมดไหลเข้าสู่ปากแทน เพื่อการว่ายน้ำที่ดี ปลากระเบนแมนตาวิวัฒนาการรูปร่างร่างกายให้เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และมีการพัฒนาครีบให้คล้ายปีกสำหรับโบยบินในท้องทะเล ขนาดตัวยักษ์ใหญ่และความเร็วชนิดใกล้เคียงจรวด ทำให้ปลากระเบนแมนตามีศัตรูตามธรรมชาติน้อยมาก โดยที่ศัตรูของปลากระเบนแมนตาในน่านน้ำไทยกลุ่มเดียว คือวาฬเพชรฆาต (Orcinus orca) และวาฬเพชรฆาตเทียม (Pseudorca crassidens) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน โดยปกติแล้วกินแพลงก์ตอน, ตัวอ่อนปลา และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั่วไปโดยการกรองน้ำที่ไหลเข้าสู่ปากโดยใช้ซี่เหงือก ซึ่งเรียกว่า แรม-เจ็ต (Ram-jet) ปลากระเบนแมนตา เดิมถูกจัดเป็นเพียงปลาชนิดเดียว และปัจจุบันถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด เมื่อไม่นานมานี้ ได้แก.

ใหม่!!: เกาะมาลาปัสกัวและปลากระเบนแมนตา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหางยาว

ปลาฉลามหางยาว (Thresher shark, Long-tailed shark) เป็นปลากระดูกอ่อนประเภทปลาฉลามวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Alopiidae ในอันดับปลาฉลามขาว (Lamniformes) โดยมีเพียงสกุลเดียว คือ Alopias แม้ว่าปลาฉลามหางยาวจะอยู่ในอันดับเดียวกันกับปลาฉลามขาว แต่ปลาฉลามหางยาวมีอุปนิสัยที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นปลาที่ขี้อาย หาตัวพบเห็นได้ยากมาก แม้ว่าจะพบได้ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก แต่สถานที่ ๆ พบเห็นตัวได้มีเพียงไม่กี่แห่ง ปลาฉลามหางยาว มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเพรียวยาวทรงกระสวย ดวงตากลมโตมีขนาดใหญ่ แต่มีปากขนาดเล็กและส่วนหัวที่กลมเล็ก ลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ครีบหางตอนบนยาวมากอันเป็นลักษณะเด่นและเป็นที่มาของชื่อ ยามเมื่อว่ายน้ำครีบหางส่วนนี้สามารถขยับขึ้นลงได้ด้วย ครีบอกมีขนาดใหญ่ ปลาฉลามหางยาว มีประสาทรับกลิ่นที่ไวมากเช่นเดียวกับปลาฉลามทั่วไป เป็นปลาที่ล่าปลาชนิดอื่นในแนวปะการังกินเป็นอาหาร สามารถพบได้ในระดับความลึกกว่า 150 เมตร จัดเป็นปลาที่พบเห็นได้ยาก โดยแหล่งที่ขึ้นชื่อที่พบเห็นได้บ่อย คือ เกาะมาลาปัสกัว ที่อยู่ทางเหนือของเกาะเซบู ของทะเลฟิลิปปิน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูปลาฉลามหางยาวจนขึ้นชื่อ.

ใหม่!!: เกาะมาลาปัสกัวและปลาฉลามหางยาว · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเลย์เต

ที่ตั้งของเกาะเลย์เตเทียบกับประเทศฟิลิปปินส์ เกาะเลย์เต (Leyte) เป็นเกาะในหมู่เกาะวิซายาส์ของฟิลิปปิน.

ใหม่!!: เกาะมาลาปัสกัวและเกาะเลย์เต · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »