สารบัญ
14 ความสัมพันธ์: บริษัทอินเดียตะวันออกพรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรรอเบิร์ต พีลรอเบิร์ต เจ็นคินสัน เอิร์ลที่ 2 แห่งลิเวอร์พูลวิลเลียม คาเว็นดิช-เบ็นทิงค์ ดยุกที่ 3 แห่งพอร์ตแลนด์วิทยาลัยอีตันสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักรสเปนเซอร์ เพอร์ซิวัลอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันคริสตจักรแห่งอังกฤษนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรเฟรเดอริก รอบินสัน ไวเคานต์โกดริชเดอะไรต์ออนะระเบิล
- บุคคลจากมาร์ลีบัน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2313
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร
บริษัทอินเดียตะวันออก
ริษัทอินเดียตะวันออกอันทรงเกียรติ (Honourable East India Company) หรือในเวลาต่อมาคือ บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน เป็นบริษัทร่วมทุนสัญชาติอังกฤษในช่วงแรก ซึ่งเดิมถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาการค้ากับภูมิภาคอินเดียตะวันออก แต่ในภายหลังได้ดำเนินการค้าส่วนใหญ่กับอนุทวีปอินเดียและจีน และยังมีหน้าที่ปกครองอาณานิคมในอนุทวีปอินเดีย บริษัทอินเดียตะวันออกถือได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอินเดียตะวันออกของชาติทวีปยุโรปอื่น ๆ เมื่อแรกก่อตั้ง บริษัทได้รับพระราชทานตราตั้งโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1ให้เป็น "ข้าหลวงแลบริษัทพาณิชย์แห่งลอนดอนซึ่งจักทำการค้าไปยังอินเดียตะวันออก" เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม..
ดู จอร์จ แคนนิงและบริษัทอินเดียตะวันออก
พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)
รรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) หรือชื่อเดิมว่า พรรคอนุรักษนิยมและสหภาพนิยม คือพรรคการเมืองกลาง-ขวาในสหราชอาณาจักรที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของลัทธิอนุรักษนิยมและลัทธิการรวมชาติบริเตน ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรโดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาจำนวน 330 คน สมาชิกสภาท้องถิ่นทั่วประเทศ 9,391 คน และเป็นพรรคการเมืองจากสหราชอาณาจักรที่มีที่นั่งในรัฐสภายุโรปมากที่สุดจำนวน 25 ที่นั่ง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาสามัญชนโดยมีหัวหน้าพรรคคือนางเทเรซา เมย์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคมักถูกเรียกขานว่า พรรคขุนนาง (Tory Party) หรือ พวกขุนนาง (Tories) พรรคอนุรักษนิยมก่อตั้งขึ้นในปี..
ดู จอร์จ แคนนิงและพรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)
พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร
มเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร (George IV of the United Kingdom หรือ George Augustus Frederick) (12 สิงหาคม ค.ศ. 1762 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1830) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ฮาโนเวอร์ของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และพระเจ้าแผ่นดินแห่งฮาโนเวอร์ แห่งราชอาณาจักรฮาโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม..
ดู จอร์จ แคนนิงและพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร
รอเบิร์ต พีล
ซอร์ รอเบิร์ต พีล (Sir Robert Peel) เป็นนักการเมืองแห่งสหราชอาณาจักรในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีถึงสองสมัย ในปี..
ดู จอร์จ แคนนิงและรอเบิร์ต พีล
รอเบิร์ต เจ็นคินสัน เอิร์ลที่ 2 แห่งลิเวอร์พูล
รอเบิร์ต แบงก์ส เจ็นคินสัน เอิร์ลที่ 2 แห่งลิเวอร์พูล (Robert Banks Jenkinson, 2nd Earl of Liverpool) เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษ เขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดและดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของอังกฤษ ในช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรี เขาใช้มาตรการอดกลั้นที่สุดในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศในช่วงการจลาจลในปี 1819 เขาร่วมมืออย่างละมุนละม่อมกับเจ้าชายจอร์จ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระเจ้าจอร์จที่ 3 ที่ไม่สามารถออกว่าราชการ ในการประคับประคองสถานการณ์ในประเทศให้ผ่านพ้นไปได้ เหตุการณ์สำคัญในช่วงที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรี คือการทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา ในปี 1812, สงครามประสานมิตรครั้งที่หกและครั้งที่เจ็ดเพื่อต่อต้านการเรืองอำนาจของจักรวรรดิฝรั่งเศส การแถลงสรุปผลสงครามนโปเลียนในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา, การออกกฎหมายข้าวโพด, การสังหารหมู่ที่ปีเตอร์ลู และเริ่มการเลิกกีดกันชาวคาทอลิก เขาเกิดในตระกูลขุนนาง เป็นบุตรของชาลล์ เจ็นคินสัน (ต่อมาได้เป็นเอิร์ลแห่งลิเวอร์พูล) ที่ปรึกษาในพระเจ้าจอร์จที่ 3 มารดาของเขาคือ อเมเลีย วัตต์ บุตรสาวของวิลเลียม วัตต์ เจ้าหน้าที่อาวุโสในบริษัทอินเดียตะวันออก มารดาของเขาตายหลังเขาเกิดได้หนึ่งเดือน.
ดู จอร์จ แคนนิงและรอเบิร์ต เจ็นคินสัน เอิร์ลที่ 2 แห่งลิเวอร์พูล
วิลเลียม คาเว็นดิช-เบ็นทิงค์ ดยุกที่ 3 แห่งพอร์ตแลนด์
วิลเลียม เฮนรี คาเว็นดิช-เบ็นทิงค์ ดยุกที่ 3 แห่งพอร์ตแลนด์ (14 เมษายน พ.ศ. 2281 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2352) เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรและบริเตนใหญ่ สังกัดพรรค British Wrig Party และ Tory ก่อนเป็นนายกรัฐมนตรีเคยดำรงตำแหน่งรัฐบุรุษ อาจารย์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เมื่อ..
ดู จอร์จ แคนนิงและวิลเลียม คาเว็นดิช-เบ็นทิงค์ ดยุกที่ 3 แห่งพอร์ตแลนด์
วิทยาลัยอีตัน
วิทยาลัยอีตัน หรือ บางครั้งเรียกสั้นๆว่า อีตัน(Eton College) เป็นโรงเรียนมัธยมชื่อดังแห่งหนึ่งของอังกฤษ รับเฉพาะนักเรียนชาย อายุระหว่าง 13-18 ปี โรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 1,300 คน นักเรียนทุกคนที่เรียนที่นี่ต้องเรียนในหลักสูตรโรงเรียนประจำ การเรียนที่นี้นอกเหนือจากการเรียนแล้ว ยังต้องเรียนรู้เรื่องมารยาท บุคลิกภาพ อีกด้วย เพื่อให้นักเรียนที่นี่จบมามีคุณภาพมากที่สุด ทำให้ อีตัน ขึ้นชื่อว่า "เป็นโรงเรียนที่ผู้ดีที่สุดในโลก" และยังเป็นโรงเรียนหลวงแห่งหนึ่งของอังกฤษที่ไม่ใช่ของรัฐบาลแต่เป็นเอกชน วิทยาลัยอีตันก่อตั้งโดย พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ ในปี..
ดู จอร์จ แคนนิงและวิทยาลัยอีตัน
สภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร
มัญชน (House of Commons) เป็นสภาล่างในรัฐสภาแห่งอังกฤษ ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาสามัญชน หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันมาจากการเลือกตั้งทุกห้าปี ในปัจจุบันมีสมาชิกสภาจำนวน 650 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ.
ดู จอร์จ แคนนิงและสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร
สเปนเซอร์ เพอร์ซิวัล
ปนเซอร์ เพอร์ซิวัล (Spencer Perceval) เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม..
ดู จอร์จ แคนนิงและสเปนเซอร์ เพอร์ซิวัล
อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน
อมพล อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) เป็นทหารและรัฐบุรุษ และเป็นหนึ่งในผู้กำหนดนโยบายทางการทหารและการเมืองของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เขาสามารถมีชัยเหนือนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วอเตอร์ลูในปี 1815 ซึ่งทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกองทัพอังกฤษ และมีสมญานามว่า ดยุกเหล็ก ทั้งนี้ ในปี 2002 ชื่อของเขาอยู่ในอันดับ 15 ของชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ เกิดที่ดับลินในไอร์แลนด์ เริ่มจากการเป็นนายธงในกองทัพอังกฤษในปี 1787 โดยประจำการในไอร์แลนด์ในฐานะทหารคนสนิทของข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาสามัญชน (สภาล่าง) ของไอร์แลนด์ และดำรงยศเป็นพันเอกในปี 1796 โดยเข้าร่วมราชการสงครามในเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง และในอินเดียในช่วงสงครามอังกฤษ-ไมซอร์ครั้งที่สี่ และจึงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงประจำศรีรังคปัฏนาและไมซอร์ในปี 1799 และต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพลตรีภายหลังชัยชนะเหนือจักรวรรดิมราฐาในปี 1803 เวลสลีย์เป็นผู้บัญชาการศึกคาบสมุทรในสงครามนโปเลียน และได้รับการเลื่อนขึ้นขึ้นเป็นจอมพลภายหลังสามารถนำกองทัพพันธมิตรมีชัยเหนือฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วิกตอเรียในปี 1813 ซึ่งตามมาด้วยการเนรเทศนโปเลียนในปีต่อมา เวลสลีย์เข้ารับตำแหน่งเป็นราชทูตประจำฝรั่งเศส และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุก ต่อมาระหว่างสมัยร้อยวันในปี 1815 กองทัพพันธมิตรของเขาร่วมกับกองทัพปรัสเซียที่นำโดยพลโทบลือเชอร์ มีชัยเหนือนโปเลียนในยุทธการที่วอเตอร์ลู ชีวิตทหารของเขานั้นเป็นที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง จากรายงานราชการสงคราม ตลอดชีวิตทหารของเขาได้ผ่านศึกสงครามมากว่า 60 ครั้ง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการปรับตัวและใช้กลยุทธ์ในการตั้งรับข้าศึกจนสามารถมีชัยนับครั้งไม่ถ้วนเหนือข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่า ในขณะที่ตัวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บน้อยมาก เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้บัญชาฝ่ายตั้งรับตลอดกาล กลยุทธ์และแผนการรบของเขาจำนวนมากถูกนำไปสอนในวิทยาลัยการทหารชั้นนำของโลก ภายหลังออกจากราชการทหาร เขาก็กลับคืนสู่งานการเมือง โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัยโดยสังกัดพรรคทอรี ระหว่างปี 1828 ถึง 1830 และอีกครั้งเป็นช่วงเวลาไม่ถึงเดือนในปี 1834 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้นำในสภาขุนนาง จนกระทั่งเกษียณอายุแต่ยังคงเป็นผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม.
ดู จอร์จ แคนนิงและอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน
คริสตจักรแห่งอังกฤษ
ภาคแคนเทอร์เบอรี (สีเหลือง) และภาคยอร์ก (สีชมพู) คริสตจักรแห่งอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 44-5 (Church of England) เป็นคริสตจักรประจำชาติ ของอังกฤษ และเป็นคริสตจักรแม่ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในช่วงแรกคริสตจักรในอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิก แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษตัดสินพระทัยหย่าขาดกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอนซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระสันตะปาปาไป พระองค์ก็มีพระราชโองการให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..
ดู จอร์จ แคนนิงและคริสตจักรแห่งอังกฤษ
นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Prime Minister of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแห่งสหราชอาณาจักร การกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินต่างๆถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์, รัฐสภา, พรรคการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์นายก ซึ่งหมายถึงผู้บริหารสูงสุดทั้งสี่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็น คนที่ 54 คือ เทเรซา เมย์ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม..
ดู จอร์จ แคนนิงและนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
เฟรเดอริก รอบินสัน ไวเคานต์โกดริช
ฟรเดอริก จอห์น รอบินสัน เอิร์ลแห่งริพอน (Frederick John Robinson, Earl of Ripon) หรือบรรดาศักดิ์เดิมซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ไวเคานต์โกดริช (Viscount Goderich) เป็นนักการเมืองและรัฐบุรุษชาวอังกฤษ เคยดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีพระคลังระหว่างปี..
ดู จอร์จ แคนนิงและเฟรเดอริก รอบินสัน ไวเคานต์โกดริช
เดอะไรต์ออนะระเบิล
เดอะไรต์ออนะระเบิล (The Right Honourable; ย่อว่า "The Rt Hon." หรือ "Rt Hon.") แปลว่า ผู้ทรงเกียรติอย่างยิ่ง เป็นคำเรียกขานตามประเพณีสำหรับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางจำพวกในสหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และราชอาณาจักรบางแห่งในเครือจักรภพ ตลอดจนประเทศแถบแคริบเบียนที่ใช้ภาษาอังกฤษ มอริเชียส และประเทศอื่นในบางโอกาส คำเรียกขานนี้สำหรับผู้ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ไม่ใช้แก่ผู้วายชนม์ หมวดหมู่:คำเรียกขาน.
ดู จอร์จ แคนนิงและเดอะไรต์ออนะระเบิล
ดูเพิ่มเติม
บุคคลจากมาร์ลีบัน
- จอร์จ แคนนิง
- ซาราห์ ดัชเชสแห่งยอร์ก
- อาร์เทอร์ ฟิลลิป
- เดวิด แคเมอรอน
- แคท สตีเวนส์
บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2313
- จอร์จ แคนนิง
- ฌ็อง มักซีมีเลียง ลามาร์ก
- รอเบิร์ต เจ็นคินสัน เอิร์ลที่ 2 แห่งลิเวอร์พูล
- วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ
- สมเด็จพระศรีสุลาลัย
- หลุยส์-นีกอลา ดาวู
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร
- จอร์จ แคนนิง
- จอร์จ แฮมิลตัน-กอร์ดอน เอิร์ลที่ 4 แห่งแอเบอร์ดีน
- จอห์น รัสเซลล์ เอิร์ลรัสเซลล์ที่ 1
- ชาลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์ที่ 2
- รอเบิร์ต เจ็นคินสัน เอิร์ลที่ 2 แห่งลิเวอร์พูล
- รอเบิร์ต เซซิล มาร์ควิสที่ 3 แห่งซอลส์บรี
- วิลเลียม เกรนวิลล์ บารอนเกรนวิลล์
- อาร์ชิบอลด์ พริมโรส เอิร์ลที่ 5 แห่งโรสเบรี
- อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน
- เอ็ดเวิร์ด วูด เอิร์ลแห่งฮาลิแฟกซ์
- เฮนรี จอห์น เทมเพิล ไวเคานต์พาลเมอร์สตันที่ 3
- แอนโทนี อีเดน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ George Canning