โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

ดัชนี เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

กออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel,;27 สิงหาคม ค.ศ. 1770 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันในช่วงปลายยุคภูมิธรรม เฮเกิลเป็นนักปรัชญาคนสำคัญของโลกตะวันตก งานเขียนหลายชิ้นของเขามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อปรัชญากลุ่มต่างๆ อาทิ ปรัชญาภาคพื้นทวีป (Continental Philosophy) ปรัชญาวิเคราะห์ (Analytical Philosophy) และลัทธิมากซ.

11 ความสัมพันธ์: มีแชล ฟูโกมงแต็สกีเยอลัทธิคอมมิวนิสต์สลาวอย ชิเชคอาแล็ง บาดียูฌ็อง-ฌัก รูโซจักรพรรดินโปเลียนที่ 1คาร์ล ฟอน เคลาเซวิทซ์คาร์ล มากซ์ปัญญาชนเอ็ดมันด์ เบิร์ก

มีแชล ฟูโก

มีแชล ฟูโก (Michel Foucault,; 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984) เป็นนักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ความคิด นักทฤษฎีสังคม นักนิรุกติศาสตร์ และนักวิจารณ์วรรณกรรมชาวฝรั่งเศส เคยดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของระบบความคิด" (Professor of the History of Systems of Thought) ที่วิทยาลัยฝรั่งเศส (Collège de France) และเคยสอนที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา ในฐานะนักทฤษฎีสังคม ฟูโกให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับความรู้ รวมถึงวิธีการที่สถาบันทางสังคมต่างๆ ใช้อำนาจและความรู้เป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้คนในสังคม ฟูโกมักถูกมองว่าเป็นตัวแทนของญาณวิทยาแบบหลังโครงสร้างนิยมและเป็นตัวแทนของนักคิดยุคหลังสมัยใหม่ แต่ตัวเขาเองปฏิเสธเรื่องนี้มาโดยตลอด ฟูโกเลือกจะอธิบายว่าความคิดของเขาเป็นประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์ต่อความเป็นสมัยใหม่มากกว่า ความคิดของฟูโกมีอิทธิพลอย่างยิ่งทั้งในทางวิชาการและในทางการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น ในขบวนการหลังอนาธิปไต.

ใหม่!!: เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและมีแชล ฟูโก · ดูเพิ่มเติม »

มงแต็สกีเยอ

ร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา บารอนแห่งลาแบรดและมงแต็สกีเยอ (Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu) หรือรู้จักกันในชื่อ มงแต็สกีเยอ (Montesquieu) เป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจที่พูดถึงในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ และเป็นผู้ที่ทำให้คำว่าระบบเจ้าขุนมูลนายและจักรวรรดิไบแซนไทน์ใช้กันอย่างแพร่หล.

ใหม่!!: เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและมงแต็สกีเยอ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สลาวอย ชิเชค

ลาวอย ชิเชค (Slavoj Žižek) (เกิด 21 มีนาคม ค.ศ. 1949) เป็นนักปรัชญา นักวิพากษ์วัฒนธรรม และปัญญาชนมาร์กซิสต์ชาวสโลวีเนีย เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสประจำสถาบันสังคมวิทยาและปรัชญา มหาวิทยาลัยลูบลิยานา เป็นศาสตราภิชานด้านภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และเป็นผู้อำนวยการนานาชาติประจำสถาบันมนุษยศาสตร์แห่งเบิร์กเบค (Birkbeck Institute for the Humanities) มหาวิทยาลัยลอนดอน ชิเชคมีผลงานตีพิมพ์หลากหลายหัวข้อ อาทิ ทฤษฎีการเมือง จิตวิเคราะห์ ภาพยนตร์วิจารณ์ เทววิทยา ฯลฯ ชิเชคเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติภายหลังผลงานเล่มแรกเรื่อง The Sublime Object of Ideology (1989) ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ในหนังสือเล่มดังกล่าว ชิเชคได้อาศัยกรอบการตีความแบบวัตถุนิยม ซึ่งพัฒนาขึ้นจากปรัชญาของจอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฌาคส์ ลากอง (Jacques Lacan) ในการทำความเข้าใจอุดมการณ์ในฐานะแฟนตาซีของจิตไร้สำนึกที่ทำหน้าที่ประกอบสร้างสภาพความเป็นจริงให้กับมนุษย์ นอกจากผลงานชิ้นดังกล่าว ชิเชคยังเป็นที่รู้จักในฐานะผู้วิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยม เสรีนิยมใหม่ รวมถึงวิจารณ์การวิพากษ์วิจารณ์ของฝ่ายซ้ายที่มีต่อทุนนิยมเองมาอย่างต่อเนื่อง.

ใหม่!!: เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและสลาวอย ชิเชค · ดูเพิ่มเติม »

อาแล็ง บาดียู

อาแล็ง บาดียู (Alain Badiou; เกิด 17 มกราคม ค.ศ. 1937) เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส อดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา วิทยาลัยครูชั้นสูง (École Normale Supérieure) และผู้ก่อตั้งคณะปรัชญา มหาวิทยาลัยปารีส 8 (Université de Paris VIII) ร่วมกับฌีล เดอเลิซ, มีแชล ฟูโก และฌ็อง-ฟร็องซัว ลียอตาร์ บาดียูเขียนงานทางปรัชญาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องสัต (being), ความจริง และอัตวิสัย ขณะที่ในทางการเมือง เขามีจุดยืนแบบซ้ายจัดและสนับสนุนแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส.

ใหม่!!: เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและอาแล็ง บาดียู · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-ฌัก รูโซ

็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคเรืองปัญญ.

ใหม่!!: เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและฌ็อง-ฌัก รูโซ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ฟอน เคลาเซวิทซ์

ร์ล ฟีลิพพ์ กอทท์ฟรีด "กอทท์ลีบ" ฟอน เคลาเซวิทซ์ (Carl Philipp Gottfried "Gottlieb" von Clausewitz; 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1780 – 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831)Bassford, Christopher (2002).

ใหม่!!: เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและคาร์ล ฟอน เคลาเซวิทซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล มากซ์

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง.

ใหม่!!: เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและคาร์ล มากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญาชน

รูปวาดของ Ludwik Rydygier กับผู้ช่วยโดย Leon Wyczółkowski ปัญญาชน () คือ ชนชั้นทางสังคมของคนซึ่งใช้ปัญญาชั้นสูงมุ้งไปที่การนำหรือวิจารณ์ ไม่ก็เล่นบทบาทผู้นำในการสร้างรูปแบบของวัฒนธรรมและการเมืองของสังคม in Merriam-Webster Online ดังนั้นปัญญาชนจึงใช้ได้กับใครก็ได้ไม่ว่าจะเป็นศิลปินหรือครูในโรงเรียน รวมไปถึง นักวิชาการ นักเขียน นักข่าว ปัญญาชนเป็นประเด็นที่ถูกนำมาถกเถียงอยู่เสมอทางด้านบทบาทในการพัฒนาของสังคมสมัยใหม่ซึ่งในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการก้าวหน้าทว่าไม่ได้มีแต่ในด้านบวกเท่านั้น บางครั้งก็มีผลในการย้อนหลังเช่นกัน ในมุมมองทางสังคม ชนชั้นของปัญญาชนนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในโปแลนด์ซึ่งถูกคุมโดยชาวรัสเซียในยุกต์ของการแบ่งแยก ชื่อถูกยืมมาจากจอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลประมาณช่วงปี..

ใหม่!!: เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและปัญญาชน · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดมันด์ เบิร์ก

อ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) เป็นรัฐบุรุษชาวไอร์แลนด์ และยังเป็นทั้งนักปรัชญา, นักปราศรัย, นักทฤษฏีการเมือง และเป็นนักการเมืองอังกฤษสังกัดพรรควิกโดยเป็นสมาชิกสภาสามัญชน เขาเป็นที่รู้จักจากการสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกา, การเลิกกีดกันชาวคาทอลิก, การฟ้องร้องข้าหลวงวอร์เรน ฮาสติงส์ แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก และภายหลังจากการไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เขาผันตัวไปเป็นผู้นำกลุ่มอนุรักษนิยมในพรรควิกซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในสภา ซึ่งตัวเขาเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่ม "วิกเก่า" (Old Whigs) ซึ่งอยู่ขั้วตรงข้ามกับฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งเรียกว่ากลุ่ม "วิกใหม่" (New Whigs) ที่นำโดยชาร์ล เจมส์ ฟ็อกซ์ เบิร์กเชื่อว่าเสรีภาพและจารีตประเพณีสามารถไปด้วยกันได้ ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งถึงขั้นนองเลือดหรือสถาปนาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขึ้นเป็นฝ่ายชนะอย่างขาดลอยชัดเจน การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นเขาจึงเชื่อมั่นในวิถีแห่งการประนีประนอมมากกว่าการห้ำหั่นเอาชนะ ในขณะที่เขาต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศสเขากลับสนับสนุนการปลดแอกของอเมริกาจากอังกฤษ เขาให้เหตุผลว่าเนื่องจากการปฏิวัติในฝรั่งเศสนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแสวงหาเสรีภาพและความเท่าเทียมตั้งแต่ต้น แต่เกิดจากการยุยงโดยชนชั้นนำซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปซึ่งการปกครองในระบอบเผด็จการที่เลวร้ายกว่าเดิม ในศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขาเสียชีวิตกว่าร้อยปีแล้ว เขากลายมาเป็นว่าได้รับการนับถืออย่างมากในฐานะนักปรัชญาผู้เป็นบิดาแห่งแนวคิดอนุรักษนิยมสมัยใหม.

ใหม่!!: เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและเอ็ดมันด์ เบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »