เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เกรือง

ดัชนี เกรือง

กรืองแดง เกรือง (ภาษาเขมร: គ្រឿង, ออกเสียง) เป็นคำภาษาเขมรใช้เรียกส่วนผสมของเครื่องเทศและสมุนไพรที่เป็นเครื่องปรุงพื้นฐานของอาหารเขมร Cambodian Cooking Class Accessed July 21, 2007.

สารบัญ

  1. 14 ความสัมพันธ์: กระชายกระเทียมภาษาเขมรมะกรูดสัมลอร์มะจูหอมแดงอบเชยอาม็อกเตร็ยผักชีขมิ้นครกตะไคร้ปลาร้าเครื่องเทศ

  2. อาหารกัมพูชา

กระชาย

กระชาย หรือ ขิงจีน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงกันในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระชายมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระชายดำ (กลาง,มหาสารคาม) กะแอน (มหาสารคาม,เหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) ซีพู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ละแอน (เหนือ) และ ว่านพระอาทิตย์ (กทม.)ชื่อสามัญ กระชายมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง.

ดู เกรืองและกระชาย

กระเทียม

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้).

ดู เกรืองและกระเทียม

ภาษาเขมร

ษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร เพียซา ขฺมะเอ) ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลหลายๆ ประการมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้เข้ามาผ่านศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ในขณะที่อิทธิพลจากภาษาอื่นๆ โดยมากเป็นคำยืม เช่น จากภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ และภาษาจีนจากการอพยพ ภาษาฝรั่งเศสจากการตกเป็นอาณานิคมช่วงเวลาหนึ่ง และภาษามลายูจากความสัมพันธ์ในอดีตและการที่เคยมีอาณาจักรจามปาในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต.

ดู เกรืองและภาษาเขมร

มะกรูด

มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี).

ดู เกรืองและมะกรูด

สัมลอร์มะจู

สัมลอร์มะจู (Samlar machu; សម្លម្ជូរ) เป็นชื่อของอาหารกัมพูชาที่มีความหมายตรงตัวว่าต้มเปรี้ยว รสเปรี้ยวของอาหารชนิดนี้มาจากมะขาม มะเขือเทศ สับปะรด ใส่ใบย่านางเป็นส่วนประกอบด้วย ในกัมพูชามีสัมลอร์มะจูหลากหลายรูปแบบ ที่รู้จักกันดีคือ สัมลอร์มะจูเครือง สัมลอร์มะจูยวน ใส่ไก่ และมะนาว อาจใช้หมูหรือปลาแทนได้ หมวดหมู่:อาหารกัมพูชา หมวดหมู่:อาหารประเภทต้มแกง.

ดู เกรืองและสัมลอร์มะจู

หอมแดง

หอมแดง เป็นพืชในวงศ์ Alliaceae โดยยึดเอา French grey challot หรือ griselle เป็นหอมที่แท้จริง จัดอยู่ในสปีชีย์นี้ มีการเพาะปลูกในเอเชียกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนความหลากหลายอื่นที่มีคือ Allium cepa var.

ดู เกรืองและหอมแดง

อบเชย

อบเชย เป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม ได้มาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย แท่งอบเชยมีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความชื้น มักจะเรียกตามแหล่งเพาะปลูกเช่น อบเชยจีน อบเชยลังกา อบเชยญวน เป็นต้น ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสม.

ดู เกรืองและอบเชย

อาม็อกเตร็ย

อาม็อกเตร็ย (អាម៉ុកត្រី หรือ ហហ្មុកត្រី - "haa mok trəy")เป็นอาหารประจำชาติอย่างหนึ่งของกัมพูชา มีส่วนผสมของปลา กะทิ และเกรือง นำไปนึ่งหรืออบให้สุก ในถ้วยหรือห่อด้วยใบตอง เป็นอาหารที่ยมรับประทานในเทศกาลสงกรานต์ โดยเฉพาะบริเวณตวนเลสาบ ส่วนสำคัญของอาหารนี้คือการเพิ่มใบยอและใช้กระชายเป็นส่วนผสม มีลักษณะคล้ายห่อหมกในอาหารไทยและหมกในอาหารลาว.

ดู เกรืองและอาม็อกเตร็ย

ผักชี

ใบผักชี ผลแห้งของผักชีที่มักเรียกว่าเมล็ดผักชีหรือลูกผักชี ใช้เป็นเครื่องเทศ ผักชี, ผักชีลา หรือ ผักหอมป้อม เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กในวงศ์ Apiaceae ใบติดกับลำต้น มีใบย่อยเป็นจำนวนมาก ใบหยักลึกเข้าหากลางใบ ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาวอมชมพู ผลมีลักษณะรี ค่อนข้างกลม แก่จัดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล มีเมล็ด 2 เมล็ด ใช้รับประทานเป็นผัก และตกแต่งในอาหารหลายชนิด เช่น ใส่ในลาบ ก้อย แหนมสด รากผักชีใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำพริกแกง ใส่ในทอดมัน ห่อหมก น้ำจิ้ม เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ใส่ในน้ำพริกแกง สะเต๊ะ บาเยีย ข้าวหมกไก.

ดู เกรืองและผักชี

ขมิ้น

มิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้).

ดู เกรืองและขมิ้น

ครก

รก ครก เป็นเครื่องครัวประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ในการทำอาหารประเภท น้ำพริก ส้มตำ หรืออาหารประเภทใดก็ตามที่ต้องการความแหลก.

ดู เกรืองและครก

ตะไคร้

ตะไคร้; ชื่อท้องถิ่น: จะไคร (ภาคเหนือ), หัวซิงไค (ภาคอีสาน), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้ว.

ดู เกรืองและตะไคร้

ปลาร้า

องปลาร้าขณะหมัก ปลาร้า หรือ ปลาแดก (ปาแดก) ปลาน้อย ในภาษาอีสาน เป็นอาหารท้องถิ่นที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว รวมถึงบางส่วนของเวียดนามและพม่า โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีการทำปลาร้าเป็นเอกลักษณ์ของตน ปัจจุบัน ปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย หรือปลาร้าอนามัย แต่ส่วนใหญ่ ปลาร้าก็ยังนิยมทำแบบเดิม โดยตักขายตามน้ำหนักตามตลาดสดต่างๆ ในวรรณกรรมลาวโบราณบางเรื่องเรียกปลาร้าว่า ปลาแดกฮ้า หรือปลาแดกร้า ในลาวและอีสานมีวรรณกรรมที่กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับปลาร้าโดยตรงคือวรรณกรรมเรื่อง ปลาแดกปลาสมอ หรือลำบุษบา หรือท้าวกำพร้า คนไทยทางภาคเหนือนิยมเรียกปลาร้าว่า ฮ้า ดังนั้นคำว่าปลาร้าจึงเป็นภาษาลาวที่ชาวไทยภาคกลางและภาคเหนือรับอิทธิพลทางภาษามาจากชนชาติลาว.

ดู เกรืองและปลาร้า

เครื่องเทศ

รื่องเทศนานาชนิด เครื่องเทศ หมายถึง ส่วนต่างๆ ของพืชเช่น เมล็ด เปลือกเมล็ด ผล ผิวนอกของผล ใบ ราก ลำต้น ฯลฯ ที่ทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหาร เพื่อให้ได้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เราจึงมีเครื่องเทศเป็นจำนวนมาก เช่น กระวาน กานพลู จันทน์เทศ ดีปลี ยี่หร่า หญ้าฝรั่น มะกรูด พริก พริกไทย อบเชย แม้กระทั่ง งา เครื่องเทศมีปรากฏในหลายวัฒนธรรมมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เครื่องเทศของไทยแต่เดิมอาศัยพืชผักที่ปรากฏเฉพาะในท้องถิ่นของเรา แต่เมื่อได้ติดต่อกับต่างชาติ ทำให้เรารับเอาเครื่องเทศจากชาติอื่นมาใช้ด้วย ขึ้นชื่อว่าเครื่องเทศมีอยู่ 1 ชนิดที่ถูกกล่าวขานกันว่าเป็นราชาของเครื่องเทศนั้นก็คือพริกไทยมีรสชาติเผ็ดร้อนนิยมใช้กันเป็นเครื่องปรุงและเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตามในชาติตะวันตก ถือว่าเครื่องเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหาร จึงมีการเดินทางเสาะหาเครื่องเทศจากทั่วโลก ทำให้เกิดการค้าเครื่องเทศขึ้นอย่างจริงจัง และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเดินทางสำรวจโลกของชาติตะวันตก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิด "เส้นทางสายเครื่องเทศ" ขึ้นอีกด้ว.

ดู เกรืองและเครื่องเทศ

ดูเพิ่มเติม

อาหารกัมพูชา