โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ขมิ้น

ดัชนี ขมิ้น

มิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้).

22 ความสัมพันธ์: บั๊ญแส่วพืชพืชดอกพืชใบเลี้ยงเดี่ยวภาษาจีนกลางภาษาแต้จิ๋วมะขามป้อมวงศ์ขิงสกุลขมิ้นอันดับขิงจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตรังจังหวัดแม่ฮ่องสอนจังหวัดเชียงใหม่ข้าวหมกคาโรลัส ลินเนียสแบคทีเรียแกงฮังเลแกงเหลืองไตปลาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคอร์คูมิน

บั๊ญแส่ว

ไส้ขนมเบื้องญวน บั๊ญแส่ว (bánh xèo) หรือที่เรียกกันในประเทศไทยว่า ขนมเบื้องญวน เป็นอาหารเวียดนามลักษณะคล้ายแพนเค้กที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำ และผงขมิ้นหรือกะทิ (ในพื้นที่ภาคใต้) ยัดไส้ด้วยมันหมู กุ้ง และถั่วงอกแล้วนำมาทอดในกระทะ ตามธรรมเนียม บั๊ญแส่วจะห่อด้วยใบมัสตาร์ด ใบผักกาด หอม และยัดด้วยใบสะระแหน่ ใบโหระพา หรือสมุนไพรอื่น ๆ แล้วจิ้มด้วยเนื้อกเจิ๊ม (น้ำปลาของเวียดนามที่มีส่วนผสมของน้ำและมะนาว) ในภาคกลางจะรับประทานบั๊ญแส่วกับซอสเตือง (tương) ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ในภาคกลาง บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีชื่อเรียก ว่า "บั๊ญคว้าย" (bánh khoái) หรือไข่เจียวยัดไส้ ซึ่งทุกวันนี้ได้เป็นหนึ่งในอาหารที่คนรู้จักกันดีจากภาคกลาง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าและเพิ่มรสชาติด้วยกับผงขมิ้นแล้วนำไปทอดในกระทะจนกรอบ บั๊ญคว้ายจะยัดไส้ด้วยหมูสับ ไข่ กุ้ง ถั่วงอก ถั่วเขียวบดแล้วก็พับ เวลาจะรับประทานให้ใช้ตะเกียบแยกเป็นชิ้น ๆ และนำมาห่อด้วยผักสมุนไพรสดแล้วจุ่มลงในซอสเตือง ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม ส่วนผักสมุนไพรสดต่าง ๆ จะช่วยลดความมันในอาหารทอด ในอาหารกัมพูชาจะมีจานที่คล้ายบั๊ญแส่ว เรียกว่า "บัญแชว" (បាញ់​ឆែវ banh chhaew) ส่วนชาวเขมรใต้ที่อยู่เวียดนามภาคใต้ เรียกว่า "นมจักอำแบง" (នំ​ចាក់​អំបែង หรือ នំ​ចាក់​អម្បែង ขนมเทเศษภาชนะแตก) หมวดหมู่:อาหารเวียดนาม.

ใหม่!!: ขมิ้นและบั๊ญแส่ว · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: ขมิ้นและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: ขมิ้นและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon หรือ Liliopsida) เป็นชั้นหนึ่งในส่วนพืชดอกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกลุ่มหนึ่ง ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นโลก และเป็นพื้ชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงอีกด้วย พืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ใหญ่ที่สุด คือ กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีดอกที่ซับซ้อน และสวยงาม เพื่อดึงดูดแมลงชนิดต่างให้ช่วยในการผสมพันธุ์ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสอง และอาจจะเป็นวงศ์ที่โดดเด่นกว่า ก็คือ หญ้า (Poaceae หรือ Gramineae) โดยมีวิวัฒนาการอีกทางหนึ่ง มีลักษณะพิเศษคือ การแพร่ขยายพันธุ์โดยอาศัยลม พืชในวงศ์หญ้านั้นมีดอกขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมเป็นกลุ่มอาจปรากฏเป็นช่อดอกที่มองเห็นชัดเจนและสวยงาม.

ใหม่!!: ขมิ้นและพืชใบเลี้ยงเดี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจีนกลาง

ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ขมิ้นและภาษาจีนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ขมิ้นและภาษาแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

มะขามป้อม

มะขามป้อม หรือ มะขามป้อมอินเดีย เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Phyllanthaceae เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน) ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ มะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุด ในบรรดาผลไม้ทั้งหมด เพราะมะขามป้อมลูกเล็กๆเพียงลูกเดียว ให้วิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า และมากกว่าน้ำส้มคั้นถึง20 เท.

ใหม่!!: ขมิ้นและมะขามป้อม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ขิง

ืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) เป็นพืชที่มีเหง้า มีด้วยกัน 47 สกุล ประมาณ 1,000 ชนิดพืชตระกูลขิงหลายชนิดมีความสำคัญในฐานะเป็นไม้ดอกไม้ประดับ บ้างก็ใช้เป็นเครื่องเทศ หรือยาสมุนไพร พืชสำคัญได้แก่ ขิง ข่า ดาหลา กร.

ใหม่!!: ขมิ้นและวงศ์ขิง · ดูเพิ่มเติม »

สกุลขมิ้น

กุลขมิ้นหรือCurcuma เป็นสกุลของพืชมีดอก มีสมาชิกประมาณ 80 สปีชีส์ อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae ซึ่งประกอบด้วยพืชที่สำคัญเช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ชื่อสกุลนี้มาจากภาษาอาหรับ kurkum (كركم) หมายถึงขมิ้น.

ใหม่!!: ขมิ้นและสกุลขมิ้น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับขิง

อันดับขิง หรือ Zingiberales เป็นอันดับของพืชมีดอก เป็นอันดับที่มีสมาชิกเป็นพืชที่รู้จักกันดีหลายชนิด เช่น ขิง ข่า ขมิ้น กระวาน กล้วย สาคู เฮลิโคเนี.

ใหม่!!: ขมิ้นและอันดับขิง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกำแพงเพชร

ังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 8,607 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี..

ใหม่!!: ขมิ้นและจังหวัดกำแพงเพชร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตรัง

ตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้.

ใหม่!!: ขมิ้นและจังหวัดตรัง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ังหวัดแม่ฮ่องสอน (60px; 80px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีความโดดเด่นหลายลักษณะ โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายของประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ นับเป็นจังหวัดที่สถิติน่าสนใจหลายอย่าง เช่น มีประชากรเบาบางที่สุดในประเทศ และมีประชากรน้อยมากเป็นอันดับ 5 ในขณะที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่าเป็น เมืองสามหมอก เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลาส่วนใหญ่ของปี นอกจากนี้แม่ฮ่องสอนยังนับเป็นพื้นที่ปลายสุดด้านตะวันตกของประเทศ คือที่เส้นแวง 97.5 องศาตะวันออกในเขตอำเภอแม่สะเรียง (ตะวันออกสุดของประเทศ อยู่ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ 105.5 องศาตะวันออก) แม่ฮ่องสอนได้รบการสถาปนาขึ้นเป็นเมือง เมื่อปี..

ใหม่!!: ขมิ้นและจังหวัดแม่ฮ่องสอน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: ขมิ้นและจังหวัดเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวหมก

้าวหมก ข้าวหมก (Biryani, Biriani, Beriani, เปอร์เซีย: بریان) เป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งในตะวันออกกลางรวมทั้งชาวมุสลิมในประเทศต่างๆ ต้นกำเนิดของข้าวหมกมาจากอินเดียซึ่งรับวัฒนธรรมการปรุงข้าวหมกไปจากเปอร์เซียได้พัฒนามาเป็นบิรยานี เมื่อชาวอินเดียและเปอร์เซียมาติดต่อค้าขายกับประเทศไทย ได้นำข้าวหมกมาเผยแพร่ด้วย ดังมีปรากฏในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานของรัชกาลที่ 2 ว่า "ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น" ข้าวหมกแบบเปอร์เซีย-อาหรับที่หุงกับเครื่องเทศ เมื่อสุกแล้วโรยหอมแดงเจียว ลูกเกดและอัลมอนด์ ส่วนข้าวหมกที่ใส่ผงขมิ้น สีเหลืองสุกแล้วกินกับเนื้อสัตว์อบ คนไทยเรียกข้าวบุหรี่ ในปัจจุบัน ข้าวหมกที่คนไทยรู้จักกันดีที่สุดคือข้าวหมกไก่ ซึ่งตรงกับข้าวหมกประเภทบิรยานีของอินเดี.

ใหม่!!: ขมิ้นและข้าวหมก · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ขมิ้นและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: ขมิ้นและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แกงฮังเล

แกงฮังเล หรือ แกงฮินเล เป็นอาหารไทยประเภทแกงรสชาติเค็ม - เปรี้ยว แกงฮังเลมีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า โดยคำว่า "ฮิน" ในภาษาพม่า หมายถึง แกง และ "เล" ในภาษาพม่า หมายถึง เนื้อสัตว์ แกงฮังเลได้รับความนิยมจากชาวไทยภาคเหนือและแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน วิธีปรุงแกงฮังเลมีสองแบบคือแบบม่านและแบบเชียงแสน โดยแบบม่านได้รับความนิยมมากกว่า แกงฮังเลม่านรสชาติออกเปรี้ยวเค็ม น้ำขลุกขลิก ใส่ขิง น้ำมะขามเปียก กระเทียมดอง ถั่วลิสง น้ำตาลอ้อย แกงฮังเลเชียงแสนเพิ่มถั่วฝักยาว พริก หน่อไม้ดอง งาคั่ว ส่วนประกอบสำคัญจะต้องมีผงแกงฮังเลหรือผงมัสล่าซึ่งเป็นผงเครื่องเทศแบบผสมแบบเดียวกับการัม มาซาลาของอินเดีย น้ำพริกแกงประกอบด้วยพริกแห้ง เกลือ ข่าแก่ ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง แกงฮังเลแบบไทใหญ่ น้ำขลุกขลิกและกินกับมะม่วงสะนาบซึ่งเป็นมะม่วงสับ ยำกับกะปิคั่ว กุ้งแห้งป่น และกระเทียมเจียว.

ใหม่!!: ขมิ้นและแกงฮังเล · ดูเพิ่มเติม »

แกงเหลือง

แกงเหลือง เป็นอาหารชนิดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ในท้องถิ่นเรียกว่า แกงส้ม ซึ่งมีความแตกต่างจากแกงส้มของภาคอื่น ทั้งในด้านรสชาติ เครื่องปรุง วิธีการปรุง กลิ่น และสีสันของน้ำแกงที่ปรุงเสร็จแล้ว ส่วนวัตถุดิบที่นิยมนำมาทำเป็นแกงเหลืองนั้นคล้ายกับแกงส้มของไทย เช่น ปลา กุ้ง หรือ หมูสามชั้น และใช้ผักต่างๆ เพื่อเพิ่มปริมาณและรสชาติ หรือบางครั้งใช้หน่อไม้ดอง.

ใหม่!!: ขมิ้นและแกงเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ไตปลา

แกงไตปลา ไตปลา (ภาคกลาง) หรือ พุงปลา (ภาคใต้) เป็นการถนอมอาหารแบบหมักดองชนิดหนึ่ง โดยใช้กระเพาะของปลา เช่น ปลาทู ปลาลัง ปลาดุก ปลาช่อน หรือปลาอื่นๆมาหมักกับเกลือ โดยนำขี้และดีออกจากกระเพาะก่อน หมักไว้ 10 -30 วันก็ใช้ได้ ไตปลาที่หมักได้ที่จะเหลวและมีมันไหลออกมา นำไปทำเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ไตปลาที่เป็นเครื่องจิ้มคล้ายน้ำพริกของทางภาคกลาง หรือแกงพุงปลาที่เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพัทลุง นอกจากนั้น ยังนำไตปลาไปผัดกับน้ำพริกแกง ใส่ปลาจิ้งจ้างและผัก เรียกไตปลาแห้ง ไตปลาที่เป็นเครื่องจิ้มนี้เป็นที่มาของอาหารชาววังที่เรียกว่าแสร้งว่าหรือแสร้งว่าไตปลา ซึ่งเป็นการปรุงแบบเดียวกับน้ำพริกไตปลาเพียงแต่ตัดไตปลาที่มีกลิ่นเหม็นคาวออกไป ใส่เครื่องปรุงอื่นลงไปแทน เช่น กุ้ง แสร้งว่านี้ เป็นอาหารที่มีในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานของรัชกาลที่ 2.

ใหม่!!: ขมิ้นและไตปลา · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ขมิ้นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เคอร์คูมิน

อร์คูมิน (curcumin)เป็นสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminoid) พบในพืชวงศ์ขิง เช่น ว่านนางคำ เป็นสารกลุ่มโพลีฟีนอลมีสีเหลือง มีทั้งรูปอีนอลและรูปคีโต รูปอีนอลคงตัวในสภาวะของแข็งและของเหลว เคอร์คูมินรูปคีโต เคอร์คูมินรูปอีนอล.

ใหม่!!: ขมิ้นและเคอร์คูมิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Curcuma longaTurmericขมิ้นชันต้นขมิ้น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »