เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ

ดัชนี อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ

อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ หรือ ถ้ำของเพลโต (Allegory of the Cave, Plato's Cave) เป็นการนำเสนอของเพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ในอุตมรัฐ (514a–520a) เพื่อเปรียบเทียบ "ผลกระทบของการศึกษา (παιδεία) และการขาดการศึกษาในธรรมชาติของพวกเรา" โดยเขียนในรูปแบบของบทสนทนาระหว่างพี่ชายของเขากลาวคอน (Glaucon) และที่ปรึกษาของเขาโสกราตีส และเล่าโดยโสกราตีส อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำถูกเสนอต่อจากอุปมานิทัศน์เรื่องดวงอาทิตย์ (508b–509c) และอุปมานิทัศน์เรื่องเส้นที่ถูกแบ่ง (508b–509c) เพลโตและโสกราตีสบรรยายถึงกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตโดยถูกตรึงอยู่และหันหน้าเข้ากับผนังถ้ำว่างเปล่าตลอด คนเหล่านี้เฝ้าดูเงาที่ถูกฉายบนผนังจากสิ่งของที่เคลื่อนผ่านเปลวไฟด้านหลังของพวกเขา พวกเขาต่างได้ตั้งชื่อให้เงาเหล่านี้ สำหรับนักโทษพวกนี้เงาเหล่านั้นเป็นความจริง โสกราตีสอธิบายว่านักปราชญ์ก็เหมือนนักโทษที่ได้รับการปลดปล่อยออกจากถ้ำและได้เข้าใจว่าเงาบนผนังไม่ใช่ความจริง ด้วยความที่เขาสามารถมองเห็นรูปแบบทีแท้จริงของความจริง ไม่ใช่ความจริงที่ถูกสร้างขึ้นหรือเงาที่เหล่านักโทษเห็น นักโทษในที่แห่งนี้ไม่แม้แต่อยากที่จะออกจากคุก ด้วยความที่พวกเขาไม่รู้จักชีวิตที่ดีกว่านี้ วันหนึ่งเหล่านักโทษสามารถทำลายพันธะและค้นพบว่าความจริงที่พวกเขารู้จักไม่ได้เป็นอย่างที่พวกเขาคิด พวกเขาค้นพบดวงอาทิตย์ซึ่งเพลโตใช้เปรียบดั่งเปลวไฟด้านหลังของพวกเขาที่พวกเขาไม่เคยเห็น เหมือนกับเปลวไฟที่ฉายแสงบนผนังถ้ำ สถานะภาพของมนุษย์ยึดติดอยู่กับสิ่งที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้งสิ้น แม้การตีความเหล่านี้อาจแตกต่างจากความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง พวกเราก็ยังไม่สามารถหลุดจากพันธะสภาพความเป็นมนุษย์ได้ พวกเราไม่สามารถปลดปล่อยตัวเราเองจากสถานะนี้ เหมือนกับที่นักโทษไม่สามารถปลดปล่อยตนเองจากโซ่ล่ามของพวกเขาได้ อย่างไรก็ตามหากพวกเราสามารถหนีจากพันธะนี้ได้อย่างปาฏิหาริย์ พวกเราก็จะพบกับโลกที่พวกเราไม่สามารถเข้าใจได้ ดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่เข้าใจยากสำหรับคนที่ไม่เคยเห็นมัน กล่าวคือ พวกเราจะเจอกับอีก "ดินแดน" หนึ่งที่พวกเราไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะว่าตามทฤษฎี มันจะเป็นแหล่งของความจริงที่มากกว่าความจริงที่พวกเราเคยรู้จัก เป็นดินแดนของรูปแบบที่แท้จริง ความจริงที่แท้จริง โสกราตีสออกความเห็นว่าอุปมานิทัศน์นี้สามารถจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับอุปมานิทัศน์เรื่องดวงอาทิตย์ (analogy of the sun) และอุปมานิทัศน์เรื่องเส้นที่ถูกแบ่ง (analogy of the divided line).

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: การศึกษามหาวิทยาลัยวอชิงตันอุตมรัฐประสาทสัมผัสโสกราตีสโครงการกูเทนแบร์กเพลโต

การศึกษา

การศึกษา ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด เป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คนคนหนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ แต่ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ การสอนในสถานศึกษา สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกงาน สำหรับประเทศไทย มีกฎหมายบังคับให้ประชาชนไทยทุกคนต้องจบการศึกษาภาคบังคับ และสามารถเรียนได้จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเปิดโอกาสให้มีการเรียนการสอนโดยผู้ปกครองที่บ้านหรือที่เรียกว่าโฮมสคูลอีกด้วย คำว่า "education" เป็นศัพท์จากภาษาลาติน ēducātiō ("การปรับปรุง,การอบรม") จาก ēdūcō ("ฉันรู้, ฉันฝึก") สำหรับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต..

ดู อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำและการศึกษา

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) หรือรู้จักในชื่อ ยูดับ (UW) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในบริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศ มหาวิทยาลัยวอชิงตันมี 3 วิทยาเขต โดยวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองซีแอทเทิล และวิทยาเขตอื่นอยู่ที่เมืองทาโคมา และโบเธลล์ มหาวิทยาลัยก่อตั้งเมื่อ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.

ดู อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำและมหาวิทยาลัยวอชิงตัน

อุตมรัฐ

อุตมรัฐ (Πολιτεία, มีความหมายว่า "การปกครองที่ดีที่สุด"; Res Publica, มีความหมายว่า "กิจการสาธารณะ"; The Republic) เป็นบทสนทนาของโสกราตีสที่เขียนโดยเพลโต ประมาณ 360 ปีก่อนคริสตกาล เป็นหนึ่งในบรรดางานเขียนที่มีอิทธิพลต่อทฤษฎีทางด้านปรัชญาและการปกครองอย่างมากที่สุด และเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเพลโต เนื้อหาในเรื่องเป็นการสนทนาระหว่างโสกราตีสกับชาวกรุงเอเธนส์ และชาวต่างชาติอีกจำนวนหนึ่ง ที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรม และข้อสงสัยว่าผู้มีใจเป็นธรรมจะมีความสุขมากกว่าผู้มีใจคดหรือไม่หากมีนครในอุดมคติ โดยที่นครแห่งนี้ปกครองโดยกษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์ บทสนทนาแสดงให้เห็นถึงลักษณะของนักปรัชญา รูปแบบและความขัดแย้งระหว่างแนวคิดทางปรัชญากับงานกวีนิพนธ์ รวมถึงสื่อให้เห็นจิตวิญญาณอันเป็นอมต.

ดู อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำและอุตมรัฐ

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ดู อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำและประสาทสัมผัส

โสกราตีส

''การตายของโสกราตีส'' โดยจาค์หลุยส์ ดาวิด พ.ศ. 2330 โสกราตีส (Σωκράτης; Socrates; 4 มิถุนายน 470 ปีก่อนคริสตกาล — 7 พฤษภาคม 399 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปราชญ์ของกรีกโบราณและเป็นชาวเมืองเอเธนส์ ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตก.

ดู อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำและโสกราตีส

โครงการกูเทนแบร์ก

รงการกูเทนแบร์ก (Project Gutenberg หรือเรียกชื่อย่อว่า PG) เป็นโครงการอาสาสมัครเพื่อการแปรงานทางวัฒนธรรมเช่นงานวรรณกรรมเป็นดิจิทัลเพื่อการเก็บรักษาและเผยแพร่แก่สาธารณชน โครงการกูเทนแบร์กก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.

ดู อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำและโครงการกูเทนแบร์ก

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ดู อุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำและเพลโต

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Allegory of the CavePlato's Caveถ้ำของเพลโต