โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การศึกษา

ดัชนี การศึกษา

การศึกษา ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด เป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คนคนหนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ แต่ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ การสอนในสถานศึกษา สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกงาน สำหรับประเทศไทย มีกฎหมายบังคับให้ประชาชนไทยทุกคนต้องจบการศึกษาภาคบังคับ และสามารถเรียนได้จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเปิดโอกาสให้มีการเรียนการสอนโดยผู้ปกครองที่บ้านหรือที่เรียกว่าโฮมสคูลอีกด้วย คำว่า "education" เป็นศัพท์จากภาษาลาติน ēducātiō ("การปรับปรุง,การอบรม") จาก ēdūcō ("ฉันรู้, ฉันฝึก") สำหรับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต..

23 ความสัมพันธ์: บ้านบ้านเรียนการฝึกงานการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยการศึกษาภาคบังคับการศึกษาตามอัธยาศัยการศึกษานอกระบบการศึกษาในระบบการศึกษาเพื่อปวงชนการเรียนมหาวิทยาลัยมัธยมศึกษารัฐบาลไทยวิทยาลัยหลักสูตรอุดมศึกษาองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติจิตวิทยาพัฒนาการประถมศึกษาประเทศญี่ปุ่นประเทศไทยปรัชญาการศึกษาโรงเรียน

บ้าน

้าน บ้าน คือ ที่อยู่อาศัยที่ให้ความอบอุ่นใจแก่ผู้อยู่อาศัย คำว่าบ้านอาจมีความหมายถึงรวมอาคารหรือห้องพักที่ใช้พักอาศัยด้วย หรือ ที่อยู่, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่,ถิ่นที่มีมนุษย์อยู.

ใหม่!!: การศึกษาและบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

บ้านเรียน

้านเรียน (homeschool) คือระบบการศึกษาซึ่งจัดการโดยครอบครัว หรือกลุ่มของครอบครัว โดยไม่ได้พึ่งพาระบบการศึกษากระแสหลัก เช่นโรงเรียน หรือระบบการศึกษาของรัฐ โดยครอบครัวหรือชุมชนเป็นผู้จัดการศึกษาตามปรัชญาความเชื่อของตนหรือของชุมชนแตกต่างกันไป ซึ่งในปัจจุบันในประเทศไทยการจัดการศึกษาในรูปแบบนี้ได้รับการรับรองตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต..

ใหม่!!: การศึกษาและบ้านเรียน · ดูเพิ่มเติม »

การฝึกงาน

การฝึกงานอบชนมปังในสมัยกลาง การฝึกงาน เป็นการให้ทำงานตามสถานที่ทำงานต่างที่เราสมัครไว้ โดยเป็นการให้ทดลองงานเพื่อเรียนรู้งานก่อนที่จะรับเข้าทำงาน ส่วนมากแล้วจะเป็นการตกลงระหว่างนายจ้างและผู้ฝึกงาน โดยมีความสมัครใจและตกลงกันในเรื่องอื่นๆแล้วแต่จะตกลงกัน โดยมากแล้วจะไม่มีการให้ค่าตอบแทน จนกว่าจะได้เป็นพนักงานเต็มตัว นอกจากนี้ การฝึกงานในปัจจุบันยังถูกถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาบางสาขาวิชา เช่น สาขาวิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ คหกรรมศาสตร์ การบริหาร การบริการ เป็นต้น.

ใหม่!!: การศึกษาและการฝึกงาน · ดูเพิ่มเติม »

การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (เรียกสั้น ๆ ว่า ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา) เป็นระบบการรับสมัครบุคคลที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษามีการพัฒนามาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: การศึกษาและการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาภาคบังคับ

รณชนใช้เวลาในการศึกษา ในปี พ.ศ. 2548 การศึกษาภาคบังคับ (Compulsory education) เป็นกฎหมายกำหนดให้เยาวชนได้รับการศึกษาและ และภาครัฐจะต้องจัดหาให้ ในประเทศบางประเทศ การศึกษาที่บ้าน อาจเป็นไปอย่างถูกกฎหมาย การศึกษาภาคบังคับที่โรงเรียนประถมศึกษา ได้ทำความตกลงให้เป็นสิทธิมนุษยชนแห่ง การประกาศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสากลพ.ศ. 2491 ซึ่งประเทศต่าง ๆ ในโลกส่วนใหญ่บัญญัติกฎหมายเพื่อให้ได้มีการศึกษาภาคบังคับ อย่างน้อยในระดับประถมศึกษา และมีความพยายามมากยิ่งขึ้นที่จะให้ขยายออกไปถึงในระดับ มัธยมศึกษ.

ใหม่!!: การศึกษาและการศึกษาภาคบังคับ · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาตามอัธยาศัย

ัณฑ์เป็นหนึ่งในสถานที่สำหรับการเรียนรู้ตามแบบการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal education) เป็นการศึกษาที่ไม่มีรูปแบบตายตัว ไม่มีหลักสูตรและระยะเวลาในการเรียนที่แน่นอน โดยการจัดการศึกษาในรูปแบบนี้เป็นการศึกษาองค์ความรู้ต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์ตรงที่ได้ประสบในชีวิตประจำวัน โดยการศึกษาตามอัธยาศัยจะกลายเป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต.

ใหม่!!: การศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษานอกระบบ

ตัวอย่างของการจัดการศึกษานอกระบบ การศึกษานอกระบบ (Non-formal Education) หรือการศึกษานอกระบบโรงเรียนเป็นการศึกษาที่มีการจัดหลักสูตร ระยะเวลาในการเรียนและการวัดและประเมินผลยืดหยุ่นสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียน โดยไม่เป็นการจำกัด อายุ รูปแบบการเรียนการสอนหรือสถานที่ สำหรับประเทศไทยมีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบการศึกษานอกโรงเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก โดยนิยมจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหรือศูนย์การเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ได้ โดยภายในศูนย์จะมีอาจารย์ประจำและอาจารย์อาสาสมัครเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน สำหรับการศึกษารูปแบบนี้เป็นหนึ่งในรูปแบบการศึกษาหนึ่งในสามรูปแบบหลักตามการจัดขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นอกจากนี้ยังมีการเรียนต่อต่างประเทศ เป็นทางเลือกอีกรูปแบบหนึ่งของการศึกษานอกระบบ ในปัจจุบัน ผู้ปกครองหลาย ๆ คน นิยมส่งบุตรหลานออกนอกระบบการศึกษาไทยเพื่อให้ได้รับความรู้จากต่างประเทศมาพัฒนาประเท.

ใหม่!!: การศึกษาและการศึกษานอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาในระบบ

การศึกษาในระบบระดับมหาวิทยาลัย การศึกษาในระบบ (Formal Education; Formal Learning) โดยทั่วไปแล้วจัดการเรียนการสอนโดยครูวิชาชีพอย่างเป็นระบบ ซึ่งมักเป็นการจัดการเรียนการสอนในระดับโรงเรียน วิทยาลัย และในระดับมหาวิทยาลัย องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาได้จัดการศึกษาในระบบเป็น 1 ใน 3 รูปแบบทางการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สำหรับการศึกษาในระบบนั้นเป็นการศึกษาที่มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา ระยะเวลาในการศึกษา การวัดประเมินผล หลักสูตรและเงื่อนไขการศึกษาที่แน่นอน โดยในประเทศไทยแบ่งการศึกษาในระบบออกเป็น 2 รูปแบบคือการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: การศึกษาและการศึกษาในระบบ · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาเพื่อปวงชน

การศึกษาเพื่อปวงชน (Education For All) เป็นการเคลื่อนไหวระดับนานาชาติดำเนินการโดยองค์การยูเนสโก เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในแต่ละประเทศทั้งเด็ก วัยรุ่นและผู้ใหญ่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงโดยไม่มีการแบ่งแยกการปฏิบัติภายในปี..

ใหม่!!: การศึกษาและการศึกษาเพื่อปวงชน · ดูเพิ่มเติม »

การเรียน

การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve) การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และศึกษาศาสตร์ (pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้.

ใหม่!!: การศึกษาและการเรียน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย (University) หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในหลายระดับรวมถึง ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งการทำการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม.

ใหม่!!: การศึกษาและมหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

มัธยมศึกษา

มัธยมศึกษา (ย่อว่า ม; secondary education) เป็นลำดับการศึกษา ขั้นที่ 3 รองจากระดับ ประถมศึกษา โดยการศึกษาในขั้นนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพให้เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและรู้จักเลือกอาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาระดับนี้ใช้เวลาเรียนสามปี โดยผู้เรียนจะมีอายุระหว่าง 12 - 17 โดยผู้เรียนจบในระดับมัธยมศึกษานี้สามารถไปประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ หรือศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนเลือกเรียนกลุ่มวิชาการหรือวิชาชีพตามความถนัดของตนเอง ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผุ้เรียนสามารถเรียนกลุ่มวิชาที่ผู้เรียนชื่นชอบเพื่อยึดเป็นอาชีพได้.

ใหม่!!: การศึกษาและมัธยมศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลไทย

รัฐบาลไทย เป็นรัฐบาลของราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นรัฐบาลเดี่ยว รัฐบาลไทยมีบทบาทขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยรัฐชาติอันสถานปนาขึ้นครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภายหลังทรงผนวกดินแดนและอาณาจักรภายใต้ปกครองของอาณาจักรสยามขึ้นเป็นสยามประเทศ รัฐบาลไทยผ่านการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย ปัจจุบันรัฐบาลไทยแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ในอดีตก่อนปี 2557 รัฐบาลพลเรือนของไทยมีรูปแบบตามระบบเวสต์มินสเตอร์ของสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ดี ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองของคณะทหาร เรียกว.

ใหม่!!: การศึกษาและรัฐบาลไทย · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัย

วิทยาลัย (College) มีหลายความหมาย ความหมายหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในสังคมไทย หมายถึงสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะเฉพาะสาขาวิชา เช่น การจัดการ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ช่าง ดนตรี เป็นต้น การจัดการศึกษาของวิทยาลัยนั้นอาจจะบริหารงานเป็นเอกเทศ เช่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยอาชีวศึกษา หรือเป็นหน่วยในสังกัดของมหาวิทยาลัย เช่น วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้ อีกความหมายหนึ่งของวิทยาลัยนั้น อาจจะหมายถึงสถานศึกษาทั่ว ๆ ไป เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หรือในชื่อภาษาอังกฤษของโรงเรียน เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญ (Assumption College) หรือโรงเรียนเซนต์คาเบรียล (St. Gabriel's College) เป็นต้น.

ใหม่!!: การศึกษาและวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

หลักสูตร

หลักสูตร (curriculum (เอกพจน์) หรือ curricula (พหูพจน์)) เป็นคำที่เกิดขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเริ่มใช้คำนี้อย่างแพร่หลายในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยในตำราเรียนเล่มแรกที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับหลักสูตรของจอห์น แฟรงคลิน บอบบิทในปี..

ใหม่!!: การศึกษาและหลักสูตร · ดูเพิ่มเติม »

อุดมศึกษา

อุดมศึกษา หมายถึง ระดับการศึกษารองจากระดับมัธยมศึกษา คำว่า อุดมศึกษา มีรากศัพท์มาจากศัพท์ภาษาบาลี "อุตม" หมายถึง สูงสุด และศัพท์ภาษาสันสกฤต ศิกฺษา หมายถึง การเล่าเรียน ดังนั้น คำว่า "อุดมศึกษา" จึงหมายถึง การเรียนขั้นสูง.

ใหม่!!: การศึกษาและอุดมศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: การศึกษาและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาพัฒนาการ

ตวิทยาพัฒนาการ (Developmental psychology) เป็นจิตวิทยาที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ตลอดช่วงอายุ ในระยะแรกนั้นเน้นศึกษาไปที่ทารกและเด็ก ในระยะเวลาต่อมาจึงได้ขยายไปศึกษาวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุและตลอดทั้งชีวิต โดยศาสตร์ของจิตวิทยาพัฒนาการนี้จะเน้นศึกษาทักษะการเคลื่อนไหวและสรีระร่างกาย การพัฒนาทางสติปัญญาทั้งในด้านการแก้ไขปัญหาและความเข้าใจทางด้านศีลธรรม การเข้าใจมโนทัศน์ นอกจากนี้ยังศึกษาในด้านของการพัฒนาทักษะทางภาษา สังคมและอารมณ์ รวมไปถึงความเข้าใจในตนเอง.

ใหม่!!: การศึกษาและจิตวิทยาพัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ประถมศึกษา

ประถมศึกษา (ย่อว่า ป.; elementary education; primary education) เป็นลำดับการศึกษาขั้นที่ 2 ถัดจากการศึกษาปฐมวัย และแบ่งเป็น 2 ช่วงชั้น คือ ช่วงประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 3 เรียกว่าประถมศึกษาตอนต้น (มักเรียกโดยย่อว่า ป.ต้น) เทียบเท่ากับ grade 1-3 และช่วงประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 เรียกว่าประถมศึกษาตอนปลาย (มักเรียกโดยว่า ป.ปลาย) เทียบเท่ากับ grade 4-6.

ใหม่!!: การศึกษาและประถมศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: การศึกษาและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: การศึกษาและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาการศึกษา

ปรัชญาการศึกษา (Philosophy of education; educational philosophy) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ศึกษาศาสตร์ และจิตวิทยาประยุกต์ ที่ใช้ในการพิจารณาวัตถุประสงค์ รูปแบบ วิธีการและผลทางการศึกษา โดนได้รับอิทธิพลจาก 2 ด้านที่สำคัญ ด้านแรกคือทางด้านปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของจริยธรรมและญาณวิทยา อีกด้านหนึ่งคือความกังวลที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน การเรียนการสอนทางด้านปรัชญาการศึกษานั้นจัดการเรียนในคณะทางด้านศึกษาศาสตร์ มากกว่าที่จะจัดการเรียนการสอนในคณะจิตวิทยา สำหรับปรัชญาการศึกษานั้นปรากฏย้อนไปได้ถึงในสมัยโสกราตีส แต่ได้รับการยอมรับในฐานะศาสตร์ ๆ หนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 19Blake, Smeyers, Smith, and Standish, "Introduction".

ใหม่!!: การศึกษาและปรัชญาการศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียน

รรยากาศภายในห้องเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา โรงเรียน คือ สถานที่สำหรับฝึกสอนนักเรียนภายใต้การดูแลของครูหรืออาจารย์ หลายประเทศมีระบบการศึกษาอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาภาคบังคับ ในระบบการเรียนนี้ นักเรียนจะผ่านโรงเรียนตามลำดับ ชื่อของโรงเรียนเหล่านี้อาจแตกต่างไปตามภาษาและประเทศ แต่โดยหลักจะมีโรงเรียนประถมสำหรับเด็กเล็ก และโรงเรียนมัธยมสำหรับเด็กโตที่ได้สำเร็จการศึกษาระดับประถมมาแล้ว นอกเหนือจากโรงเรียนหลักแล้ว นักเรียนในบางประเทศยังสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนทั้งก่อน และหลังโรงเรียนประถม และมัธยม โรงเรียนอนุบาลเสริมการเรียนการสอนให้กับเด็กเล็กมาก มหาวิทยาลัย, โรงเรียนฝึกงาน, อุดมศึกษา อาจมีอยู่หลังจากจบมัธยมศึกษา โดยโรงเรียนอาจจะอุทิศเพื่อสอนแค่วิชาสาขาเดียว เช่น โรงเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ โรงเรียนสอนเต้น สอนปั้นหุ่นจำลอง.

ใหม่!!: การศึกษาและโรงเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »