โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุทยานแห่งชาติโกโมโด

ดัชนี อุทยานแห่งชาติโกโมโด

อุทยานแห่งชาติโกโมโด (Taman Nasional Komodo) เป็นอุทยานแห่งชาติในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ใกล้หมู่เกาะซุนดาน้อย ระหว่างจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออกกับจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก อุทยานประกอบด้วยเกาะใหญ่ 3 เกาะ คือ เกาะโกโมโด เกาะรินจา และเกาะปาดาร์ รวมทั้งยังมีเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย ซึ่งเกาะเหล่านี้กำเนิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟ มีพื้นที่รวมทั้งหมด 1,817 ตารางกิโลเมตร (ส่วนที่เป็นแผ่นดิน 603 ตารางกิโลเมตร) มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 4,000 คน ก่อตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่ออนุรักษ์มังกรโกโมโด ซึ่งเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น ภายหลังยังจัดเป็นพื้นที่สำหรับอนุรักษ์สัตว์ป่าและสัตว์ทะเลชนิดอื่น ๆ อีกด้วย ใน พ.ศ. 2534 อุทยานได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกทางธรรมชาติยุคใหม่อีกด้วย กิจกรรมดำน้ำเป็นที่นิยมในอุทยานแห่งชาติโกโมโด เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลสูง มีสัตว์ทะเลอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ฉลามวาฬ ปลาแสงอาทิตย์ กระเบนราหู กระเบนนก ม้าน้ำแคระ ปลากบตัวตลก ทากเปลือย หมึกวงแหวนสีน้ำเงิน ฟองน้ำ เพรียงหัวหอม และปะการัง รวมถึงเส้นทางเดินสำรวจธรรมชาติ ทางอุทยานได้แบ่งเส้นทางเดินออกเป็น 3 สาย คือ สายไกล, สายกลาง และสายสั้น โดยมากนักท่องเที่ยวจะนิยมดูและถ่ายภาพมังกรโกโมโด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อุทยานจะเดินตามไปด้วยเพื่อป้องกันอันตรายจากมังกรโกโมโดที่จะทำร้ายนักท่องเที่ยว โดยใช้เพียงไม้ง่ามเพียงชิ้นเดียว หากมังกรโกโมโดเข้าใกล้จะใช้ไม้นี้แยงตา ก็จะล่าถอยไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ทางอุทยานได้รับการสนับสนุนจาก The Nature Conservancy (TNC) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจากสหรัฐอเมริกา มีการวางแผนการจัดการอุทยานใหม่ร่วมกัน และนำไปใช้ในปี พ.ศ. 2543 เพื่อรับมือกับปัญหาการใช้ทรัพยากรทั้งทางบกและทางทะเลที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัญหาของทรัพยากรทางทะเลส่วนใหญ่เริ่มมาจากชุมชนชาวประมงและบริษัทเชิงพาณิชย์ภายนอกอุทยาน แต่อย่างไรก็ตาม การควบคุมและจำกัดการใช้ทรัพยากรจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอุทยาน ซึ่งมีทางเลือกในการดำรงชีวิตน้อยนอกจากต้องรอรับสิ่งที่ทางอุทยานจัดหาให้ จึงมีแผนการวางแนวทางเลือกในการดำรงชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดการอุทยาน แต่ชุมชนภายในอุทยานยังต้องการได้รับผลประโยชน์ตามมาตรฐานที่ตรงกับความต้องการของผู้อยู่อาศั.

24 ความสัมพันธ์: ฟองน้ำพ.ศ. 2523พ.ศ. 2534พ.ศ. 2538พ.ศ. 2543มรดกโลกมังกรโกโมโดม้าน้ำแคระวงศ์ปลากระเบนนกหมึกสายวงน้ำเงินหมู่เกาะซุนดาน้อยอุทยานแห่งชาติองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติทากทะเลความหลากหลายทางชีวภาพคาร์เธจประเทศอินโดนีเซียประเทศตูนิเซียปลากระเบนแมนตาปลาฉลามวาฬปลาแสงอาทิตย์ปะการังเพรียงหัวหอมเกาะโกโมโด

ฟองน้ำ

ฟองน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ตัวอ่อนของฟองน้ำนั้นมีเซลล์ที่สามารถว่ายไดน้ำได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายน้ำไปเกาะตามก้อนหิน เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองน้ำในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทร (ลึกประมาณ 8,500 เมตร) ต้นกำเนิดของฟองน้ำอาจย้อนไปถึงยุคพรีคัมเบรียน (Precambrian) หรือประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว พิสูจน์โดยซากฟอสซิลของฟองน้ำ นอกจากนี้แล้ว ฟองน้ำยังถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนสูงสุดในบรรดาอาณาจักรสัตว์ทั้งหมดอีกด้วย โดยมีอายุยืนได้ถึงหมื่นปี.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและฟองน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2523

ทธศักราช 2523 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1980 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและพ.ศ. 2523 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2543

ทธศักราช 2543 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2000 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและพ.ศ. 2543 · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มังกรโกโมโด

มังกรโกโมโด (Komodo dragon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus komodoensis) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับกิ้งก่าชนิดหนึ่ง มีถิ่นอาศัยอยู่บนเกาะโกโมโด, รินจา, ฟลอเรส และกีลีโมตังในประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกับเหี้ย (Varanidae) จัดเป็นตะกวดชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ตัวโตเต็มวัยมีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 2-3 เมตร (6.6 ถึง 9.8 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 90 กิโลกรัม (150 ปอนด์) มังกรโกโมโดมีรูปร่างหน้าตาเหมือนตัวเงินตัวทองชนิดอื่นทั่วไป แต่ทว่ามีลำตัวใหญ่และยาวกว่ามาก มีลำตัวสีเทาออกดำกว.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและมังกรโกโมโด · ดูเพิ่มเติม »

ม้าน้ำแคระ

ม้าน้ำแคระ (Pygmy seahorse, Bargibant's seahorse) เป็นปลากระดูกแข็งในวงศ์ Syngnathidae เป็นม้าน้ำชนิดหนึ่ง พบได้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ตอนล่างของทะเลญี่ปุ่นจนถึงอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ในระดับความลึกตั้งแต่ 16-40 เมตร เป็นม้าน้ำที่มีขนาดเล็ก มีความยาวไม่เกิน 2.4 เซนติเมตร ภาพนี้เพื่อค้นหาม้าน้ำแคระ ม้าน้ำแคระเป็นม้าน้ำที่ปรับตัวให้มีสีตามลำตัวเหมือนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ได้ดีมาก โดยจะเกาะอาศัยอยู่กับกัลปังหาสกุล Muricella เท่านั้น เท่าที่ทราบกันมีอยู่ 2 สี คือ สีเทามีตุ่มสีแดง (บนกัลปังหาชนิด Muricella plectana) และสีเหลืองมีตุ่มสีแสด (บนกัลปังหาชนิด M. papraplectana) และค่อย ๆ ปรับตัวจนมีลักษณะคล้ายกับหมู่กัลปังหาที่อาศัยอยู่ โดยตุ่มอยู่รอบ ๆ ตัวและส่วนปากของม้าน้ำชนิดนี้มีสีและรูปร่างที่กลมกลืนกับโพลิปของกัลปังหา ส่วนลำตัวจะมีรูปร่างคล้ายกิ่งก้านของกัลปังหา การพรางตัวเช่นนี้ได้ผลดีมากในการพรางตัวเพื่อหลบซ่อนจากสัตว์ผู้ล่า โดยกินสัตว์ทะเลขนาดเล็ก เช่น แพลงก์ตอน หรือครัสเตเชียนต่าง ๆ เป็นอาหาร Smith, Richard E. ม้าน้ำแคระถูกค้นพบครั้งแรกจากนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษากัลปังหา โดยได้ตัวอย่างต้นแบบแรกจากกัลปังหาที่เก็บขึ้นมาจากทะเล และมีรายงานว่าม้าน้ำแคระจะตายถ้าถูกจับแยกออกจากกัลปังห.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและม้าน้ำแคระ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนนก

วงศ์ปลากระเบนนก (วงศ์: Myliobatidae, Eagle ray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Myliobatidae จัดเป็นวงศ์ใหญ่มีวงศ์ย่อยแยกออกไปจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดเป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่ในทะเล โดยมักจะพบรวมตัวกันเป็นฝูง ในบางครั้งอาจเป็นถึงร้อยตัว มีจุดเด่นคือ มีหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของสัตว์ปีก ปลายแหลม มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 ซี่ อยู่ด้านล่างของลำตัว ด้านท้องสีขาว มีส่วนหางเรียวกว่าและเล็กกว่าปลากระเบนในวงศ์ Dasyatidae ด้วยความที่มีครีบแยกออกจากส่วนหัวชัดเจน ทำให้ปลากระเบนในวงศ์นี้สามารถว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนการบินของนก จึงทำให้เป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งในบางชนิดอาจกระโดดขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย โดยมากแล้วมักจะว่ายในระดับผิวน้ำหรือตามแนวปะการัง มีฟันที่หยาบในปาก หากินอาหารได้แก่ ครัสเตเชียน, หอย, หมึก, ปลาขนาดเล็ก รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วยในบางสกุล ซึ่งเวลาหากินสัตว์ที่อยู่ตามหน้าดิน จะใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายเอา บางชนิดอาจว่ายเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อยแถบปากแม่น้ำหรือท่าเรือต่าง ๆ ได้ด้วย พบกระจายพันธุ์ในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ซึ่ง ปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ซึ่งเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็อยู่ในวงศ์นี้ด้ว.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและวงศ์ปลากระเบนนก · ดูเพิ่มเติม »

หมึกสายวงน้ำเงิน

หมึกสายวงน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) เป็นหมึกในสกุล Hapalochlaena ในอันดับหมึกยักษ์ จัดเป็นหมึกขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีจุดเด่น คือสีสันตามลำตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงินหรือสีม่วงซึ่งสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม ตัดพื้นลำตัวสีขาวหรือเขียว แลดูสวยงามมาก แต่ทว่า หมึกสายวงน้ำเงินนั้นมีพิษที่ผสมอยู่ในน้ำลายที่มีความร้ายแรงมาก ซึ่งร้ายแรงกว่างูเห่าถึง 20 เท่า ผู้ที่ถูกกัดจะตายภายใน 2-3 นาที ทั้งสามารถฆ่าคนได้ 26 คนในคราวเดียว นับเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและหมึกสายวงน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะซุนดาน้อย

แผนที่หมู่เกาะซุนดาน้อย ภาพถ่ายดาวเทียมของหมู่เกาะซุนดาน้อย เกาะบันตาในหมู่เกาะซุนดาน้อย หมู่เกาะซุนดาน้อย (Lesser Sunda Islands) หรือ นูซาเต็งการา (Nusa Tenggara) ("หมู่เกาะตะวันออกเฉียงใต้") เป็นหมู่เกาะที่อยู่ทางใต้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอยู่ทางเหนือของออสเตรเลีย เมื่อรวมกับหมู่เกาะซุนดาใหญ่ทางตะวันตกจะเรียกหมู่เกาะซุนดา อยู่ตามแนวเส้นภูเขาไฟ.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและหมู่เกาะซุนดาน้อย · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติ

วามหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย ความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย นิยาม อุทยานแห่งชาติ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน..๒๕๕๔ ให้นิยามไว้ดังนี้ คำว่าอุทยานแห่งชาติ คือกฏหมายที่ประกาศ โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในราชอาณาจักรไทยที่เป็นของราชการมิใช่พื้นที่ครอบครองของผุ้หนึ่งผู้ใดมาก่อนให้สงวนรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า "National Park" ซึ่งหมายถึง เขตบริเวณพื้นที่ซึ่งสงวน ไว้เพื่อที่จะรักษา และทำการคุ้มครองทรัยากรทางธรรมชาติ นั้นๆ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป ตามหลักสากลแล้ว อุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมีพื้นที่ ทั่วทั้งบริเวณไม่น้อยกว่า 6,250 ไร่ หรือประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ที่สำคัญในพื้นที่ ของอุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมี ธรรมชาติของ วิวทิวทัศน์ที่สวยงาม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและอุทยานแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ทากทะเล

ทากทะเล (Nudibranch, Sea slug) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา เช่นเดียวกับหอย และหมึก จัดอยู่ในชั้นหอยฝาเดี่ยว ในอันดับย่อย Nudibranchia ทากทะเล มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีเปลือกห่อหุ้มลำตัว เพราะเปลือกลดรูปจนมีขนาดเล็กคลุมตัวไม่มิด หรือไม่มีเปลือกเลย ทากทะเลส่วนใหญ่มีสีสวยสดงดงาม บางชนิดมีหลายสีบนตัวเดียวกัน และสามารถปรับสีของตัวให้เข้ากับสภาพของแหล่งอาศัย สีที่ฉูดฉาดของทากทะเลทำให้สัตว์อื่นหลีกเลี่ยงที่จะกินเป็นอาหาร เพราะทากทะเลจะสร้างสารเคมีที่เป็นพิษสะสมไว้ตามผิว เพื่อป้องกันตัว บางชนิดมีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ทางด้านบนของหัวหรือลำตัว ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นเส้น เป็นกระจุก หรือเป็นแผ่น หรือคล้ายเขา และเป็นสัตว์ที่ไม่มีตาสำหรับการมองเห็น ส่วนมากอาศัยอยู่ในแนวปะการัง และบริเวณใกล้เคียง กินอาหารพวกสาหร่าย, ฟองน้ำ, ดอกไม้ทะเล, ปะการังอ่อน, กัลปังหา และเพรียงหัวหอม ทั่วโลกพบประมาณ 2,000 ชนิด ในน่านน้ำไทยสำรวจพบประมาณ 100 ชนิด เช่น ทากเปลือย เป็นต้น.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและทากทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพ

วามหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (Species) สายพันธุ์ (Genetic) และระบบนิเวศ (Ecosystem.) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995) ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและความหลากหลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์เธจ

ร์เธจ (Carthago) เป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองตูนิส ประเทศตูนีเซี.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและคาร์เธจ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตูนิเซีย

ตูนิเซีย (Tunisia; تونس‎) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐตูนิเซีย (Tunisian Republic; الجمهورية التونسية) เป็นประเทศอาหรับมุสลิมที่ตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นประเทศทางตะวันออกสุดและเล็กที่สุดของ 3 ประเทศบนเทือกเขาแอตลาส (Atlas mountains) มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดประเทศแอลจีเรีย และทางใต้และตะวันตกจรดประเทศลิเบีย พื้นที่ร้อยละ 40 ของประเทศประกอบด้วยทะเลทรายสะฮารา ในขณะที่ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ประกอบด้วยพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ และชายฝั่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทั้งคู่มีบทบาทอย่างมากในสมัยโบราณ เริ่มต้นด้วยการก่อตั้งเมืองคาร์เทจ (Carthage) ที่มีชื่อของชาวฟีนีเชีย (Phoenicia) และในเวลาต่อมาได้กลายเป็นพื้นที่มณฑลแอฟริกา (Africa Province) เป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำของอาณาจักรโรมัน สันนิษฐานว่า ชื่อ ตูนิส (Tunis) มาจากภาษาเบอร์เบอร์ (Berber) แปลว่าแหลมซึ่งสอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ที่เป็นแหลมยื้นเข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หรือ อีกความหมายหนึ่งนั้น แปลว่า "พักแรม".

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและประเทศตูนิเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนแมนตา

ปลากระเบนแมนตา หรือ ปลากระเบนราหู (Manta rays) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000 ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ แนวปะการัง จัดอยู่ในสกุล Manta (เป็นภาษาสเปนแปลว่า "ผ้าห่ม") ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) เดิมทีแล้ว ปลากระเบนแมนตาถูกจัดอยู่ในวงศ์ Mobulidae แต่ในปัจจุบันรวมอยู่ในวงศ์ปลากระเบนนก โดยทั่วไปปลากระเบนแมนตาจะมีหลังสีดำและท้องสีขาว แต่อาจพบตัวที่มีหลังสีฟ้าได้บ้าง ตาอยู่บริเวณข้างหัว และต่างจากปลากระเบนทั่วไป ปากอยู่ทางด้านหน้าของหัว มีช่องเหงือก 5 คู่ เหมือนปลากระเบนทั่วไป ครีบหูพัฒนาเป็น ติ่งลักษณะคล้ายเขา หรือที่เรียกว่าครีบหัว อยู่บริเวณด้านหน้าของหัวแบน ๆ ครีบดังกล่าวเจริญขึ้นในช่วงตัวอ่อน เลื่อนมาอยู่รอบปาก ทำให้เป็นหนึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังมีขากรรไกร ที่มีรยางค์พิเศษอันเป็นที่รู้จักมากที่สุดชนิดหนึ่ง (อีกชนิดคือ เต่าหก ((Manouria emys)) โดยเขาที่อ่อนนุ่มนี้มีไว้สำหรับโบกพัดเอาน้ำเข้าปาก เพื่อกินแพลงก์ตอน และเพื่อจะฮุบน้ำจำนวนมากต้องว่ายอ้าปากและพัดอาหารเข้าปากอยู่เสมอ ปลากระเบนแมนตาเคยหาอาหารตามพื้นท้องทะเลมาก่อน ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นกรองกินแพลงก์ตอนตามทะเลเปิดในปัจจุบัน ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่มากกว่าปลากระเบนชนิดอื่น ๆ ลักษณะการกรองกินทำให้ฟันลดขนาดลงเป็นซี่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่แอบอยู่ใต้ผิว คล้ายกับปลากระเบนทั่วไป มีหางเป็นเส้นยาว แต่หากปราศจากเงี่ยงที่ส่วนหาง และเกล็ดแหลมหุ้มลำตัวก็มีขนาดเล็กลง แทนที่ด้วยเมือกหนาหุ้มร่างกาย ส่วนท่อน้ำออกมีขนาดเล็กและไม่ทำหน้าที่ น้ำทั้งหมดไหลเข้าสู่ปากแทน เพื่อการว่ายน้ำที่ดี ปลากระเบนแมนตาวิวัฒนาการรูปร่างร่างกายให้เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และมีการพัฒนาครีบให้คล้ายปีกสำหรับโบยบินในท้องทะเล ขนาดตัวยักษ์ใหญ่และความเร็วชนิดใกล้เคียงจรวด ทำให้ปลากระเบนแมนตามีศัตรูตามธรรมชาติน้อยมาก โดยที่ศัตรูของปลากระเบนแมนตาในน่านน้ำไทยกลุ่มเดียว คือวาฬเพชรฆาต (Orcinus orca) และวาฬเพชรฆาตเทียม (Pseudorca crassidens) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน โดยปกติแล้วกินแพลงก์ตอน, ตัวอ่อนปลา และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั่วไปโดยการกรองน้ำที่ไหลเข้าสู่ปากโดยใช้ซี่เหงือก ซึ่งเรียกว่า แรม-เจ็ต (Ram-jet) ปลากระเบนแมนตา เดิมถูกจัดเป็นเพียงปลาชนิดเดียว และปัจจุบันถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด เมื่อไม่นานมานี้ ได้แก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและปลากระเบนแมนตา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามวาฬ

ปลาฉลามวาฬ (Whale shark) เป็นปลาฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน แต่มีรายงานที่ไม่ได้รับยืนยันว่ายังมีปลาฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นปลาชนิดเดียวในสกุล Rhincodon และวงศ์ Rhincodontidae (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย Elasmobranchii ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปี ปลาฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของปลาฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน ถึงแม้ว่ารายการแพลนเน็ตเอิร์ธของบีบีซีจะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ปลาฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้Jurassic Shark (2000) documentary by Jacinth O'Donnell; broadcast on Discovery Channel, August 5, 2006.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและปลาฉลามวาฬ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแสงอาทิตย์

ำหรับปลาแสงอาทิตย์ที่เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาซันฟิช ปลาแสงอาทิตย์ หรือ ปลาโมลา โมลา (Ocean sunfish, Pacific sunfish, Sunfish, Mola mola) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแสงอาทิตย์ (Molidae) ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและปลาแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ปะการัง

ปะการัง หรือ กะรัง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยว ๆ จำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ หัวของปะการังหนึ่ง ๆ โดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆอันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพัน ๆ โพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยการใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อม ๆ กันตลอดหนึ่งคืนหรือหลาย ๆ คืนในช่วงเดือนเพ็ญ แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็ก ๆ ขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้น ๆ โดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งรัฐวอชิงตันและที่หมู่เกาะอะลูเชียนของอะแลสก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

เพรียงหัวหอม

รียงหัวหอม (Sea squirts) เป็นสัตว์ในกลุ่มยูโรคอร์ดาตา คือ เป็นสัตว์ทะเลมีแกนสันหลัง รูปร่างคล้ายหัวหอม เมื่อถูกสัมผัสจะปล่อยน้ำออกจากตัว มีกลิ่นคล้ายหอมแดง ขนาดประมาณ 3-8 เซนติเมตร อาศัยเกาะกับวัตถุใต้น้ำ อยู่แบบเดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่มก็ได้ พบตามเขตน้ำตื้น แนวปะการัง โขดหิน ทราย หรือโคลนในทะเล ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดของกบ การสืบพันธุ์มีทั้งแบบอาศัยเพศที่ปฏิสนธิภายนอก และแบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ เพรียงหัวหอม แม้จะเป็นสัตว์ที่แลดูคล้ายฟองน้ำ แต่เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าหน้า 66–89, ความงามใต้โลกน้ำแข็ง โดย โลรอง บาเลสต.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและเพรียงหัวหอม · ดูเพิ่มเติม »

เกาะโกโมโด

กาะโกโมโด (Indonesian Pulau Komodo) เป็นหนึ่งใน 17,508 เกาะ ของประเทศอินโดนีเซีย ก็นี้เป็นที่รู้จักเนื่องจากเป็นสถานที่อยู่อาศัยของมังกรโกโมโดซึ่งเป็นตะกวดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เกาะโกโมโดมีพื้นที่ประมาณ 390 ตารางกิโลเมตรและประชากรประมาณ2,000 คน คนบนเกาะแห่งนี้ส่วนมากเป็นลูกหลานของอดีตนักโทษที่ถูกเนรเทศไปยังเกาะและบางก็เป็นลูกครึ่งกับชาวบูกิสที่มาจากเกาะซูลาเวซี ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ยังมีกลุ่มคริสเตียนและฮินดูอีกด้วย เกาะโกโมโดอยู่ในหมู่เกาะซุนดาน้อย และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติโกโมโด นอกจากนี้ยังเป็นเกาะยอดนิยมสำหรับการดำน้ำของจังหวัดนูซาเต็งการาตะวันออกอีกด้ว.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติโกโมโดและเกาะโกโมโด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อุทยานแห่งชาติโคโมโด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »