โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทากทะเล

ดัชนี ทากทะเล

ทากทะเล (Nudibranch, Sea slug) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา เช่นเดียวกับหอย และหมึก จัดอยู่ในชั้นหอยฝาเดี่ยว ในอันดับย่อย Nudibranchia ทากทะเล มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีเปลือกห่อหุ้มลำตัว เพราะเปลือกลดรูปจนมีขนาดเล็กคลุมตัวไม่มิด หรือไม่มีเปลือกเลย ทากทะเลส่วนใหญ่มีสีสวยสดงดงาม บางชนิดมีหลายสีบนตัวเดียวกัน และสามารถปรับสีของตัวให้เข้ากับสภาพของแหล่งอาศัย สีที่ฉูดฉาดของทากทะเลทำให้สัตว์อื่นหลีกเลี่ยงที่จะกินเป็นอาหาร เพราะทากทะเลจะสร้างสารเคมีที่เป็นพิษสะสมไว้ตามผิว เพื่อป้องกันตัว บางชนิดมีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ทางด้านบนของหัวหรือลำตัว ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นเส้น เป็นกระจุก หรือเป็นแผ่น หรือคล้ายเขา และเป็นสัตว์ที่ไม่มีตาสำหรับการมองเห็น ส่วนมากอาศัยอยู่ในแนวปะการัง และบริเวณใกล้เคียง กินอาหารพวกสาหร่าย, ฟองน้ำ, ดอกไม้ทะเล, ปะการังอ่อน, กัลปังหา และเพรียงหัวหอม ทั่วโลกพบประมาณ 2,000 ชนิด ในน่านน้ำไทยสำรวจพบประมาณ 100 ชนิด เช่น ทากเปลือย เป็นต้น.

6 ความสัมพันธ์: ชั้นแกสโทรโพดามอลลัสกาสัตว์สปีชีส์ทะเลแดงเปลือกหอย

ชั้นแกสโทรโพดา

ั้นแกสโทรโพดา (ชั้น: Gastropoda) หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยฝาเดียว หรือ หอยฝาเดี่ยว หรือ หอยกาบเดี่ยว หรือ หอยกาบเดียว หรือ หอยเปลือกเดี่ยว หรือ หอยเปลือกเดียว เป็นหนึ่งในลำดับของไฟลัมมอลลัสคา ในสิ่งมีชีวิต สัตว์ในชั้นนี้มีการสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันมีอยู่ระหว่าง 60,000-80,000 ชนิด จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการสูงสุดรองจากมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอดหรือหมึกและหอยงวงช้าง.

ใหม่!!: ทากทะเลและชั้นแกสโทรโพดา · ดูเพิ่มเติม »

มอลลัสกา

มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้าบบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk).

ใหม่!!: ทากทะเลและมอลลัสกา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ทากทะเลและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ทากทะเลและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ใหม่!!: ทากทะเลและทะเลแดง · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกหอย

ปลือกหอยนานาชนิด เปลือกหอย หรือ ฝาหอย หรือ กาบหอย คือ สสารที่เป็นของแข็งที่ห่อหุ้มลำตัวภายนอกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมมอลลัสคา หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า หอย มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ซึ่งหอยจะใช้เป็นเครื่องอำพรางอันตรายจากสัตว์อื่น เป็นสัญลักษณ์สื่อสารระหว่างกัน และช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ เปลือกหอยเป็นสิ่งที่ติดตัวกับหอยมานับตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนและฟักออกมาจากไข่ โดยไม่ต้องลอกคราบเหมือนสัตว์ในไฟลัมอาร์โธพอดหรือ ครัสเตเชียน โดยขนาดจะใหญ่ขึ้นมาตามขนาดของตัวหอย เปลือกหอยประกอบด้วยสารจำพวกแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นสารอื่น ๆ เช่น แคลเซียมฟอสเฟต, แมกนีเซียมคาร์บอเนต, แมกนีเซียมฟอสเฟต, แมกนีเซียมซิลิเกต, โปรตีนประเภทคอนไคโอลิน เปลือกหอยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ.

ใหม่!!: ทากทะเลและเปลือกหอย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

NudibranchNudibranchiaSea slugทากเปลือยนูดี้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »