โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาสนวิหารตูล

ดัชนี อาสนวิหารตูล

อาสนวิหารตูล (Cathédrale de Toul) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูล (Cathédrale Saint-Étienne de Toul) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน (ปฐมมรณสักขี) ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของตูล จังหวัดเมอร์เตมอแซล ในแคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องซี-ตูลร่วมกับอาสนวิหารแม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์แห่งน็องซี อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างของอาคารกอทิกที่สวยงามและสมบูรณ์ โดยเฉพาะหน้าบันทางเข้าทิศตะวันตก อีกทั้งยังเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกแบบกอทิกแบบฟล็องบัวย็องซึ่งรวมถึงระเบียงคดแบบกอทิก ซึ่งถือว่าเป็นระเบียงคดแห่งที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังมีชาเปลแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาอีก 2 แห่งด้วย อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840 (รายชื่อครั้งที่ 1).

44 ความสัมพันธ์: บริเวณกลางโบสถ์บริเวณร้องเพลงสวดชาวฮันช่องทางเดินพ.ศ. 1764พ.ศ. 1874พ.ศ. 2104พ.ศ. 2383พระนางมารีย์พรหมจารีมุขข้างโบสถ์มุขนายกยอห์นผู้ให้บัพติศมาวิหารคดสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์หลุมเพดานหอล้างบาปหน้าต่างกุหลาบอาสนวิหารอาสนวิหารน็องซีอาสนวิหารแม็สอนุศาสนาจารย์อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศสผังอาสนวิหารจังหวัดเมอร์เตมอแซลจุดตัดกลางโบสถ์ดัชชีลอแรนคริสต์ศตวรรษที่ 13คริสต์ศตวรรษที่ 14คริสต์ศตวรรษที่ 15คริสต์ศตวรรษที่ 16คริสต์ศตวรรษที่ 5งานกระจกสีประเทศฝรั่งเศสปนาลีนักบุญสเทเฟนแรยอน็องแคว้นกร็องแต็สต์โบสถ์น้อยโรมันคาทอลิกโรมโบราณโครงสร้างทรงโค้งเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและบริเวณกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณร้องเพลงสวด

“บริเวณร้องเพลงสวด” ของมหาวิหารปาเล็นเซียในประเทศสเปน ภาพแสดงให้เห็นที่นั่งของนักบวชสองข้างหน้าแท่นบูชาเอกที่ทำด้วยไม้ที่สลักเสลาอย่างงดงามที่วัดในเมืองบาดชูสเซนรีด ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ในประเทศเยอรมนี บริเวณร้องเพลงสวด (Choir หรือ quire) ในทางสถาปัตยกรรม “บริเวณร้องเพลงสวด” เป็นบริเวณภายใน คริสต์ศาสนสถาน หรือมหาวิหารที่มักจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของบริเวณพิธี (chancel) ระหว่างทางเดินกลาง (nave) และบริเวณศักดิ์สิทธิ์ (sanctuary) (ที่เป็นที่ตั้งแท่นบูชา) แต่บางครั้ง “บริเวณร้องเพลงสวด” ก็อาจจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของทางเดินกลาง ในวัดของสำนักสงฆ์บางแห่งบริเวณนี้ก็จะตั้งอยู่ทางตะวันตกของทางเดินกลางซึ่งเป็นการสมดุลกับบริเวณพิธีและบริเวณศักดิ์สิท.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและบริเวณร้องเพลงสวด · ดูเพิ่มเติม »

ชาวฮัน

จักรวรรดิฮันทางตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่สเต็ปป์ของเอเชียกลางไปจนถึงเยอรมนีปัจจุบันและตั้งแต่ทะเลดำไปจนถึงทะเลบอลติก ชาวฮัน (Huns) หรือ ชาวซฺยง (匈人 ซฺยงเหริน) เป็นกลุ่มชาติพันธ์เร่ร่อนในทุ่งกว้างที่ปรากฏตั้งแต่เลยจากแม่น้ำวอลกาออกไปผู้โยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุโรปตั้งแต่ราว..

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและชาวฮัน · ดูเพิ่มเติม »

ช่องทางเดิน

“ช่องทางเดิน” ของกุดังเก็บสินค้าคอสท์โคที่ซานฟรานซิสโก ช่องทางเดิน (aisle) โดยทั่วไปหมายถึงช่องว่างที่ใช้เป็นทางเดินระหว่างแนวที่นั่ง, ผนัง, แนวแสดงหรือเก็บสินค้า หรืออื่นๆ ช่องทางเดินอาจจะปรากฏในสถาปัตยกรรมเช่นคริสต์ศาสนสถาน (เช่นในมหาวิหาร), โรงละคร, ห้องประชุม, ห้องเรียน, ศาล, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด, โรงงาน, รถประจำทาง และอื่นๆ ในกุดังเก็บสินค้าหรือโรงงานสองข้างของช่องทางเดินอาจจะเป็นชั้นที่ต่อขึ้นสูงสองข้างสำหรับเก็บสินค้า การจัดวางองค์ประกอบภายในอาคารที่วางสิ่งของหรือเครื่องมือเป็นแนวโดยมีช่องว่างระหว่างแนวที่ใช้เป็นทางเดิน ช่องนี้จะเรียกว่า “ช่องทางเดิน” เช่นในสถานที่สำหรับออกกำลังกายที่จัดเครื่องออกกำลังเป็นแนวแยกกันโดย ช่องทางเดิน “ช่องทางเดิน” ต่างจาก “ระเบียงทางเดิน” (corridor) หรือโถงทางเดิน (hallway), “ทางเท้า” (footpath/pavement/sidewalk), “ทางเดินนอกสถานที่” (trail) และ “ทาง” (path) หรือ โถงภายในอาคาร (enclosed หรือ open area).

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและช่องทางเดิน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1764

ทธศักราช 1764 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและพ.ศ. 1764 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1874

ทธศักราช 1874 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและพ.ศ. 1874 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2104

ทธศักราช 2104 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและพ.ศ. 2104 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2383

ทธศักราช 2383 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1840.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและพ.ศ. 2383 · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

มุขข้างโบสถ์

มุขข้างโบสถ์ หรือ แขนกางเขน (transept) คือเป็นบริเวณทางขวางที่ตัดกับทางเดินกลางของสิ่งก่อสร้างที่มีผังทรงกางเขนในคริสต์ศาสนสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอธิค มุขข้างโบสถ์แยกทางเดินกลางจากบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่รวมทั้งมุขตะวันออก บริเวณร้องเพลงสวด ชาเปลดาวกระจาย และบริเวณสงฆ์ มุขข้างโบสถ์ตัดกับทางเดินกลางตรงจุดตัด ที่อาจจะเป็นที่ตั้งของหอสูงเช่นที่มหาวิหารซอลส์บรีหรือโดม.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและมุขข้างโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

วิหารคด

วิหารคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วิหารคด คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนสถาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลักและคดเป็นข้อศอกตรงมุม มีลักษณะเทียบได้กับ ระเบียงฉันนบถ ในสถาปัตยกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและวิหารคด · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

Tempietto di San Pietro in Montorio (ค.ศ. 1502) โรม โดย โดนาโต ดันเจโล บรามันเต ซึ่งเป็นวัดที่สร้างบนที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่นักบุญปีเตอร์สิ้นชีวิด มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ (Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิก สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่น.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

หลุมเพดาน

หลุมเพดานภายในตึกแพนธีออนในกรุงโรม หลุมเพดาน (coffer, coffering) เป็นหลุมที่มีลักษณะเป็นแผงติดต่อกัน (อาจจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม หรือผสมกันหลายทรง) ลึกเข้าไปในเพดานหรือภายใต้โค้งหรือส่วนราบแบนภายในสิ่งก่อสร้าง แผงสี่เหลี่ยมลึกใช้เป็นเครื่องตกแต่ง บางครั้งก็เรียกว่า “caissons” (กล่อง) หรือ “lacunaria” (ช่อง) ทำให้บางครั้งก็เรียกว่า “lacunar ceiling” (เพดานช่อง) หลุมเพดานที่ทำด้วยหินของกรีกโบราณ และโรมันโบราณ เป็นตัวอย่างแรกของการสร้างเพดานลักษณะนี้ที่ยังเหลือให้เห็นอยู่ แต่เมื่อ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราชใช้ในการสร้างห้องเก็บศพอิทรัสกันที่เนินสุสาน (necropolis) ที่ซานจูลิอาโนที่ตัดจากหินทูฟา หลุมเพดานที่ทำด้วยไม้สร้างกันเป็นครั้งแรกโดยการไขว้สลับคานบนเพดานเข้าด้วยกัน ที่ใช้ในการตกแต่งวังในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้น การทดสอบรูปทรงของการวางหลุมเพดานจะเห็นได้ในทั้งสถาปัตยกรรมของอิสลามและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา ปัญหาที่ซับซ้อนคือการค่อยลดขนาดของหลุมลงไปตามลำดับในการสร้างเพดานโค้งหรือโดม ตัวอย่างของหลุมเพดานของโรมันที่ใช้การลดน้ำหนักของเพดานคือเพดานของโดมโรทันดา (Rotunda) ในตึกแพนธีออนในกรุงโรม.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและหลุมเพดาน · ดูเพิ่มเติม »

หอล้างบาป

หอล้างบาปกลมเมืองปีซาตั้งอยู่ข้างตัวมหาวิหาร หอล้างบาปประจำมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน หอล้างบาปที่ฟลอเรนซ์ หอล้างบาป หรือ หอบัพติศมา (Baptistery หรือ BaptistryCatholic Encyclopedia. ''Baptistery''. http://www.newadvent.org/cathen/02276b.htm.) เป็นคริสต์ศาสนสถาน ที่สร้างเป็นอิสระจากสิ่งก่อสร้างอื่นโดยมีอ่างล้างบาปเป็นศูนย์กลาง หอล้างบาปอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโบสถ์หรืออาสนวิหารซึ่งมีแท่นบูชาและคูหาสวดมนต์ของตนเอง ในศาสนาคริสต์ยุคแรกหอล้างบาปจะเป็นสถานสำหรับผู้จะเข้ารีตเรียนรู้เรื่องศาสนาก่อนจะรับศีลล้างบาป และเป็นที่ทำพิธีล้างบาป การสร้างหอล้างบาปอย่างสวยงามเป็นการแสดงถึงความสำคัญของการล้างบาปในศาสนาคริสต์ หอล้างบาปทรงแปดเหลี่ยมของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันเป็นหอล้างบาปแรกที่สร้างเพื่อการพิธีนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นแบบลักษณะตัวอย่างของหอล้างบาปที่สร้างกันต่อมา ซึ่งบางครั้งจะเป็นสิบสองเหลี่ยม หรือกลมอย่างที่ปิซา ในบริเวณโถงทางเข้าโบสถ์คริสต์เป็นบริเวณที่ใช้สำหรับใช้เรียนคำสอนและสารภาพความศรัทธาก่อนที่จะทำการรับศีลล้างบาป โถงกลางจะมีอ่างล้างบาปป็นหลัก ซึ่งจะเป็นที่ที่ผู้รับศีลจะลงไปใต้น้ำสามหน จากอ่างจะเป็นบันไดสามขั้นลงไปในอ่าง ห้อยอยู่เหนืออ่างอาจจะเป็นนกพิลาปทองหรือเงินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ รูปเคารพที่ทำจากโมเสกบนผนัง หรือจิตรกรรมฝาผนังมักจะเป็นฉากชีวิตของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา อ่างล้างบาปในระยะแรกมักจะทำด้วยหิน แต่ต่อมาก็มีการทำด้วโลหะบ้าง แหล่งน้ำของหอล้างบาปของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันมาจากน้ำพุธรรมชาติ ก่อนที่จะมาเป็นมหาวิหารสิ่งก่อสร้างเดิมเป็นวังของครอบครัวพลอติอิ แลเตอร์รัน (Plautii Laterani) ผู้เป็นผู้บริหารของจักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เป็นผู้ถวายวังนี้ให้กับบิชอปมิลทิอาเดส (Bishop Miltiades) น้ำพุธรรมชาติเป็นแหล่งน้ำของสิ่งก่อสร้างหลายสิ่งก่อสร้างภายในวัง เมื่อมีการเปลี่ยนศาสนาผู้เปลี่ยนก็ต้องรับล้างบาปทำให้แหล่งน้ำกลายเป็นความจำเป็น คาสสิโอโดรัสนักการเมืองและนักเขียนชาวโรมันบรรยายไว้ในปี..

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและหอล้างบาป · ดูเพิ่มเติม »

หน้าต่างกุหลาบ

“หน้าต่างกุหลาบ” ในมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส หน้าต่างกุหลาบ (rose window) โดยทั่วไปหมายถึงหน้าต่างทรงกลมซึ่งมักจะใช้ในการสร้างคริสต์ศาสนสถานโดยเฉพาะที่เป็นสถาปัตยกรรมกอทิก คำว่า “rose window” เริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ พจนานุกรมอ๊อกซฟอร์ดระบุว่า rose ในที่นี้หมายถึง ดอกกุหลาบ คำว่า “หน้าต่างกุหลาบ” มักจะหมายถึงหน้าต่างที่แบ่งเป็นซี่ ๆ ด้วยหิน กระจายออกไปจากเพลาศูนย์กลาง คำว่า “หน้าต่างกลม” มักจะใช้เฉพาะหน้าต่างกลมที่เป็นแบบที่ซับซ้อนซึ่งดูคล้ายกลีบกุหลาบหรือกลีบดาวเรืองซ้อน หน้าต่างกลมที่ไม่มีซี่ที่นิยมทำกันในโบสถ์ในประเทศอิตาลีเรียกว่า “หน้าต่างตา” (Ocular window หรือ oculus) “หน้าต่างกลม” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกซึ่งจะเห็นได้จากในมหาวิหารทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส แต่แท้ที่จริงแล้วการสร้างหน้าต่างกลมเริ่มตั้งแต่ยุคกลาง การสร้างหน้าต่างกลมหันกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและหน้าต่างกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารน็องซี

อาสนวิหารน็องซี (Cathédrale de Nancy) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์แห่งน็องซี (Cathédrale Notre-Dame-de-l’Annonciation et Saint-Sigisbert de Nancy) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นทั้ง ไมเนอร์บาซิลิกา (Minor Basilica) และ ไพรเมต (Primate) เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องซี-ตูลร่วมกับอาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูล ตั้งอยู่ในเขตเมืองน็องซี จังหวัดเมอร์เตมอแซล แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์ (พระเจ้าซีฌแบร์ที่ 3 แห่งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง) อาสนวิหารน็องซีได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและอาสนวิหารน็องซี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแม็ส

อาสนวิหารแม็ส (Cathédrale de Metz) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งแม็ส (Cathédrale Saint Étienne de Metz) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลแม็ส ตั้งอยู่ที่เมืองแม็ส จังหวัดมอแซล แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสำคัญคือนักบุญสเทเฟน ห้องเก็บสมบัติของอาสนวิหารได้สะสมของมีค่ามานานนับพันปี โดยเป็นของสะสมของมุขมณฑลแม็สที่รวมถึงผ้าคลุมแท่นบูชาและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ อาสนวิหารแม็สถือเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่มีโถงทางเดินโบสถ์ที่สูงที่สุดแห่งหนี่งของโลก และยังมีชื่อเล่นว่า "โคมไฟแห่งพระผู้เป็นเจ้า" (La Lanterne du Bon Dieu) อันเนื่องมาจากมีโครงสร้างหน้าต่างที่เป็นงานกระจกสีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกJolin J.L. (2001) La lanterne du Bon Dieu.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและอาสนวิหารแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

อนุศาสนาจารย์

อนุศาสนาจารย์ (Chaplain) หมายถึง อาจารย์ผู้อบรมศีลธรรมของหน่วยราชการ.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและอนุศาสนาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส

ตรา "อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส" อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส หรือ มอนูว์ม็องอิสตอริก (Monument historique) คือกระบวนการของรัฐในประเทศฝรั่งเศสในการจัดเครือข่ายสิ่งที่ควรได้รับการพิทักษ์ในฐานะที่เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง, ส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้าง, กลุ่มสิ่งก่อสร้าง, หรืออาจจะเป็นประชาคมทั้งประชาคม, สวน, สะพาน หรือ โครงสร้างอื่นๆ เพราะความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรม สิ่งที่ได้รับฐานะเป็น “อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์" อาจจะเป็นได้ทั้งสิ่งที่เป็นของรัฐหรือเอกชนก็ได้ ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่มีฐานะเป็น “อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์" ก็รวมทั้งหอไอเฟล, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ และ โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย และแอบบี หรือ คริสต์ศาสนสถาน ที่รวมทั้งมหาวิหารเช่นมหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีส หรือพระราชวัง, วัง หรือ คฤหาสน์ เช่น ปราสาทและวังแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ หลายแห่ง สิ่งก่อสร้างบางหลังก็อาจจะได้รับฐานะเฉพาะภายนอก หรือ เฉพาะภายใน หรือทั้งภายนอกและภายใน ขณะที่สิ่งก่อสร้างบางหลังอาจจะได้รับฐานะเฉพาะการตกแต่ง, "อร์นิเจอร์, ห้องเพียงห้องเดียว หรือ แม้แต่เพียงบันได ว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับฐานะเพราะการตกแต่งก็ได้แก่ "Deux Garcons" ในแอ็กซ็องพรอว็องส์ที่ผู้อุปถัมภ์รวมทั้งอาลฟงส์ เดอ ลามาร์ตีน, เอมีล ซอลา และปอล เซซาน หรือสิ่งก่อสร้างบางหลังก็อาจจะได้รับฐานะเพราะความเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญ เช่น ตึก Auberge Ravoux ที่โอแวร์ซูว์รวซ เพราะเป็นสถานที่จิตรกรฟินเซนต์ ฟัน โคคใช้เวลาส่วนใหญ่ในบั้นปลายที่นั่น การระบุความสำคัญของสิ่งก่อสร้างมีรากฐานมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อรัฐบาลแต่งตั้งให้อเล็กซองเดรอ เลอนัวร์มีความรับผิดชอบในการระบุและพิทักษ์โครงสร้างที่มีความสำคัญ การจัดแบ่งประเภทจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักเขียนพรอสแพร์ เมอริมี ผู้เป็นผู้ตรวจการทั่วไปของอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเมอร์เตมอแซล

มอร์เตมอแซล หรือ เมอร์เตโมแซล (Meurthe-et-Moselle) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส จังหวัดเมอร์เตมอแซลตั้งตามชื่อแม่น้ำเมิร์ต ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสโดยมีน็องซีเป็นเมืองหลัก เมอร์เตมอแซลก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1871 หลังจากการยุติสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย จากอดีตจังหวัดมอแซลและเมิร์ต สถานที่สำคัญและน่าสนใจในจังหวัดเมอร์เตมอแซลก็ได้แก่ มหาวิหารแซ็งเตเตียนแห่งตูล และปราสาทลูว์เนวีลที่ได้สมญาว่าเป็นแวร์ซายแห่งภูมิภาคลอแรน.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและจังหวัดเมอร์เตมอแซล · ดูเพิ่มเติม »

จุดตัดกลางโบสถ์

แผนผังคริสต์ศาสนสถานที่แสดง “จุดตัด” เป็นสีเทา จุดตัด (crossing) ในคริสต์ศาสนสถานคือจุดที่ช่องทางเดินกลางตัดกับแขนกางเขนของวัดที่มีผังเป็นรูปกางเขน ถ้าเป็นวัดตั้งตามหลักตะวันตก-ตะวันออกโดยเฉพาะวัดแบบโรมาเนสก์ และกอธิค) แล้ว “จุดตัด” ก็จะเป็นจุดที่เป็นทางไปสู่ช่องทางเดินกลางทางตะวันตก (ด้านหน้าวัด) มุขข้างโบสถ์เหนือและใต้ และบริเวณร้องเพลงสวดทางตะวันออก เหนือกางเขนบางครั้งก็จะมีหอหรือโดม หอจุดตัดเป็นสิ่งที่นิยมสร้างกันในสถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารของสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษ เมื่อมาถึงสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาสิ่งตกแต่งเหนือจุดตัดก็มักจะนิยมสร้างเป็นโดม หอเหนือจุดตัดอาจจะเป็น “หอโคม” (lantern tower) ที่ยกสูงขึ้นไปและเปิดข้างเพื่อให้แสงส่องลงมายังบริเวณจุดตัด การที่จุดตัดเปิดออกไปทั้่งสี่ด้านทำให้น้ำหนักของหอหรือโดมเหนือจุดตัดหนักลงมาตรงมุมรอบหอหรือโดม ฉะนั้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงและสามารถรับน้ำหนักของหอได้โดยไม่พังทลายลงมาจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของสถาปนิก เรื่องหอพังทลายลงมาเกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจจะเกิดจากความทะเยอทะยานในการสร้างหอที่สูงใหญ่แต่หนักเกินกว่าที่โครงสร้างจะรับได้ หรือจากการทรุดของพื้นดินที่อยู่ภายใต้ตัวอาคาร หรือจากภัยธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหวเป็นต้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและจุดตัดกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีลอแรน

ที่ตั้งของลอแรน (สีน้ำเงิน) ดัชชีลอแรน (Duché de (Haute-)Lorraine; Herzogtum (Ober-)Lothringen) เป็นแคว้นหนึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งบางส่วนของลักเซมเบิร์กและเยอรมนีในปัจจุบัน เมืองสำคัญ ๆ ของลอแรนก็ได้แก่แม็ส น็องซี และแวร์เดิง เมื่อจักรวรรดิกาโรแล็งฌีย็องถูกแบ่งให้กับพระราชโอรสทั้งสามพระองค์ของจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา ลอแรนได้เป็นดัชชีอิสระที่ก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและดัชชีลอแรน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 13

ริสต์ศตวรรษที่ 13 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1201 ถึง ค.ศ. 1300.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและคริสต์ศตวรรษที่ 13 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 14

ริสต์ศตวรรษที่ 14 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1301 ถึง ค.ศ. 1400.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและคริสต์ศตวรรษที่ 14 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 15

ริสต์ศตวรรษที่ 15 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1401 ถึง ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและคริสต์ศตวรรษที่ 15 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 16

ริสต์ศตวรรษที่ 16 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1501 ถึง ค.ศ. 1600 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 นี้ สเปนและโปรตุเกสได้มีการเดินเรือเพื่อออกไปสำรวจสถานที่ต่างๆ หลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้ค้นพบโลกใหม.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและคริสต์ศตวรรษที่ 16 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 5

ริสต์ศตวรรษที่ 5 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 401 ถึง ค.ศ. 500.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและคริสต์ศตวรรษที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปนาลี

ปนาลี บนวิหารนอเตอร์ดามในฝรั่งเศส ปนาลี หรือ การ์กอยล์ (Gargoyle; gargouille) ความหมายของปนาลีทางสถาปัตยกรรมหมายถึงหินที่แกะเป็นรูปอัปลักษณ์ (grotesque) ยื่นออกไปจากสิ่งก่อสร้างที่มีรางและช่องให้น้ำจากหลังคาไหลห่างจากตัวสิ่งก่อสร้าง คำว่า “gargoyle” มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “gargouille” ซึ่งแปลว่าคอหอย ซึ่งมาจากภาษาละติน “gurgulio, gula” หรือคำที่มีรากมาจาก “gar” ที่แปลว่า กลืน ซึ่งคล้ายเสียงน้ำไหลในท่อ (ตัวอย่าง: ภาษาสเปน “garganta” แปลว่าคอหอย จึงใช้คำว่า “garganta” สำหรับ “gargoyle”) รูปอัปลักษณ์ที่มิได้ใช้เป็นรางน้ำแต่ใช้เป็นสิ่งตกแต่ง ตามภาษาสามัญก็ยังเรียกว่าปนาลี ถึงแม้ว่าทางสถาปัตยกรรมจะแยกการใช้ระหว่างคำว่าปนาลี และคำว่ารูปอัปลักษณ์ ปนาลีจะเป็นคำที่ใช้สำหรับรูปอัปลักษณ์ที่ใช้เป็นรางน้ำ และคำว่ารูปอัปลักษณ์จะหมายถึงรูปสลักที่มิได้ใช้เป็นรางน้ำ ปนาลีจะเป็นรูปสลักตามมุมต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมในแบบกอธิคในยุโรป โดยมากจะสลักเป็นรูปมังกรหรือปีศาจในท่วงท่าต่าง ๆ โดยท่าที่รู้จักมากที่สุดคือท่านั่งยอง ๆ ตามองไปทางข้างหน้า ปนาลีเชื่อว่าเดิมเป็นมังกร ชาวยุโรปในยุคกลางเชื่อว่าการ์กอยล์เมื่อตอนกลางวันจะเป็นรูปสลัก ตกกลางคืนจะกลายร่างเป็นมังกรบินไปทั่วหมู่บ้านหรือเมืองที่อาศัย เพื่อปกป้องดูแลมิให้มีสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามารังควาน.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและปนาลี · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญสเทเฟน

นักบุญสเทเฟนกำลังเทศน์ นักบุญสเทเฟน (Saint Stephen; Στέφανος Stephanos) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตเมื่อราว..

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและนักบุญสเทเฟน · ดูเพิ่มเติม »

แรยอน็อง

มหาวิหารโคโลญ (ค.ศ. 1248-ค.ศ. 1322) ที่ถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแรยอน็องที่งดงามที่สุดของยุคกลางหน้าต่างกุหลาบแบบแรยอน็องของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส แรยอน็อง (Rayonnant) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1240 จนถึง ค.ศ. 1350 แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่วิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่หันความสนใจจากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และความกว้างใหญ่ของสิ่งก่อสร้างเช่นมหาวิหารชาทร์ หรือทางเดินกลางของมหาวิหารนอเทรอดามแห่งอาเมียงมาเป็นการคำนึงถึงผิวสองมิติของสิ่งก่อสร้าง และการตกแต่งด้วยลวดลายที่ซ้ำซ้อนที่มีขนาดต่าง ๆ กัน หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 แรยอน็องก็ค่อยวิวัฒนาการไปเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกตอนปลายและสถาปัตยกรรมกอทิกวิจิตร และดังกล่าวแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดแจ้ง.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นกร็องแต็สต์

กร็องแต็สต์ (Grand Est) เป็นหนึ่งในแคว้น 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศส อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและแคว้นกร็องแต็สต์ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อย

น้อยในประเทศเบลเยียม โบสถ์น้อย หรือ วัดน้อย (chapel) เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ใหญ่ขนาดมหาวิหารย่อย ๆ ไปจนถึงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ ข้างทาง เช่นเดียวกับถ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างขนาดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง โบสถ์น้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร, โบสถ์ใหญ่ ๆ, ปราสาท, วัง, คฤหาสน์, วิทยาลัย, โรงพยาบาล คุก หรือสุสาน บางครั้งโบสถ์น้อยที่สร้างในมหาวิหารจะสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น "โบสถ์น้อยแม่พระ" ที่มักจะสร้างเป็นโบสถ์น้อยที่อยู่ทางตะวันออกสุดของโบสถ์ หรือ "โบสถ์น้อยศีลศักดิ์สิทธิ์" ที่ตั้งติดกับโบสถ์และใช้เป็นที่เก็บไวน์ และขนมปังที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท ถ้าโบสถ์น้อยมีขนาดค่อนข้างเล็กที่สร้างเป็นคูหาภายในทางด้านข้างหรือทางด้านหลังของมหาวิหารหรือโบสถ์ก็อาจจะเรียกว่า "คูหาสวดมนต์" ความหมายเป็นนัยยะของโบสถ์น้อยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา เช่น โบสถ์น้อยของปราสาท หรือโบสถ์น้อยส่วนตัวภายในมหาวิหารเป็นต้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและโบสถ์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โรมโบราณ

ตามตำนานโรมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชโดยรอมิวลุส และรีมุสที่ถูกเลี้ยงด้วยแม่หมาป่า โรมโบราณ (Ancient Rome) คือวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการขึ้นมาจากชุมชนเกษตรกรบน คาบสมุทรอิตาลีที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนโรมโบราณกลายมาเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โบราณ ในช่วงเวลาที่โรมโบราณเจริญรุ่งเรืองอยู่วัฒนธรรมโรมันเปลี่ยนจากการปกครองตั้งแต่เป็นแบบราชาธิปไตยไปเป็นระบอบสาธารณรัฐคณาธิปไตย และในที่สุดก็ไปเป็นระบบจักรวรรดิแบบอัตตาธิปไตย อารยธรรมโรมันมามีอำนาจอันมีอิทธิพลต่อทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้/คาบสมุทรบอลข่าน และในบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนโดยการพิชิตและการการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับท้องถิ่นที่เข้าไปปกครอง จักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันตกเสื่อมโทรมลงและสลายตัวไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในและการถูกโจมตีโดยชนกลุ่มต่างๆ ในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน จักรวรรดิโรมันตะวันตกที่รวมทั้งฮิสปาเนีย กอล บริทาเนีย และอิตาลี ได้แบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรอิสระในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล ประกอบด้วยกรีซ ส่วนที่พิชิตโดยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 อานาโตเลีย ซีเรีย และอียิปต์รอดจากวิกฤติการณ์ที่จักรวรรดิทางด้านตะวันตกประสบ และแม้ว่าจะเสียซีเรียและอียิปต์แก่จักรวรรดิอิสลามของอาหรับจักรวรรดิก็รุ่งเรืองต่อมาอีกหนึ่งสหัสวรรษ จนกระทั่งมาเสียเมือง ให้กับจักรวรรดิออตโตมันของตุรกี นักประวัติศาสตร์มักจะเรียกจักรวรรดิโรมันตะวันออกมักจะเรียกว่าเป็น จักรวรรดิไบแซนไทน์ วัฒนธรรมโรมันมักจะจัดอยู่ใน “ยุคโบราณ” (classical antiquity) ร่วมกับกรีกโบราณซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เป็นต้นตอและแรงบันดาลใจให้แก่วัฒนธรรมโรมโบราณ โรมโบราณมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการวิวัฒนการทางด้านกฎหมาย การสงคราม ศิลปะ วรรณคดี สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และภาษาของโลกตะวันตก และประวัติศาสตร์โรมก็ยังคงเป็นประวัติที่ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและโรมโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างทรงโค้ง

กอทิกของโบสถ์แซ็ง-เซเวอแร็งแห่งปารีส โครงสร้างทรงโค้ง (Vault; voûte; Gewölbe; volta) ในทางสถาปัตยกรรมหมายถึงโค้ง (arch) ที่เป็นช่องใต้เพดานหรือหลังคา | url.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและโครงสร้างทรงโค้ง · ดูเพิ่มเติม »

เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

ออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก (Eugène Viollet-le-Duc,; 27 มกราคม ค.ศ. 1814 - 17 กันยายน ค.ศ. 1879) เป็นสถาปนิกและนักทฤษฎีคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีชื่อเสียงจากงานบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างจากยุคกลาง วียอแล-เลอ-ดุกเป็นสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญของขบวนการสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคในฝรั่งเศสที่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่ว่าสถาปัตยกรรมควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกอย่าง “ซื่อตรง” ที่ในที่สุดก็กลายมาเป็นปรัชญาของขบวนการของการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมทั้งหมดและเป็นรากฐานของลัทธิสมัยใหม่นิยมที่เริ่มก่อตัวขึ้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารตูลและเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาวิหารตูล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »