โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกเกาะคอน

ดัชนี นกเกาะคอน

นกเกาะคอน หรือ นกจับคอน (Passerine, Perching bird) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ในกลุ่มนกขากรรไกรแบบใหม่ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passeriformes (โดยมีที่มาจาก Passer domesticus ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกระจอกใหญ่ และนกในสกุล Passer ที่เป็นนกขนาดเล็กที่ใกล้เคียงกัน) นกในอันดับนี้มีลักษณะทั่วไปทางกายภาค คือ เป็นนกที่มีวิวัฒนาการเพื่ออาศัยและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก นิ้วตีนมีทั้งหมด 4 นิ้ว ทุกนิ้วเจริญดีและอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงเหมาะแก่การจับหรือเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้หรือต้นไม้ในป่าประเภทต่าง ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินบนพื้นดิน ดังนั้นเมื่อเมื่อลงดินจะได้วิธีก้าวกระโดด โดยมากแล้วจะเป็นนกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ปัจจุบัน นักปักษีวิทยาได้แบ่งอันดับนี้เป็นอันดับย่อย 3 อันดับ (ดูในตาราง-บางข้อมูลจัดให้มี 2) โดยพิจารณาจากกล้ามเนื้อควบคุมกล่องเสียงที่อยู่ในลำคอ โดยบางอันดับย่อยจะมีกล้ามเนื้อนี้เพียง 2 คู่ ซึ่งยังเป็นลักษณะของนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้เสียงร้องไม่ไพเราะนัก แต่บางอันดับย่อยมีมากกว่า คือมี 4 คู่ ทำให้มีเสียงร้องที่ไพเราะกว่า นกในอันดับนี้มีมากกว่า 100 วงศ์ (ราว 110 วงศ์) ประมาณ 5,400 ชนิด ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยที่มีการค้นพบนกแล้วราว 1,000 ชนิด แบ่งเป็นนกในอันดับต่าง ๆ 16 อันดับ ใน 70 วงศ์ นกที่อยู่ในอันดับนี้นับว่ามากกว่าครึ่ง ได้แก.

33 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2301การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์รายชื่อนกที่พบในประเทศไทยวิวัฒนาการวงศ์นกกระจอกวงศ์นกกระติ๊ดวงศ์นกกาวงศ์นกกินแมลงและนกกะรางวงศ์นกจับแมลงและนกเขนวงศ์นกจาบวงศ์นกแต้วแร้ววงศ์นกแซงแซววงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครงสมัยอีโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสปีชีส์อาร์โคซอร์ดอยอินทนนท์คาโรลัส ลินเนียสปักษีวิทยานกกระจอกใหญ่นกกินปลีนกกินปลีหางยาวเขียวนกอีเสือนกขมิ้นนกปรอดนกนางแอ่นนกไต่ไม้นกเขียวก้านตองไม้ต้นเพศชาย

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย

นกกระจอกบ้านนกประจำถิ่นที่พบเห็นได้ง่ายมาก มีนกทั้งสิ้น 982 ชนิดที่มีบันทึกว่าพบในธรรมชาติของประเทศไทย มี 3 ชนิดเป็นนกถิ่นเดียว หนึ่งชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาโดยมนุษย์ และ 45 ชนิดพบเห็นได้ยาก 7 ชนิดในรายชื่อทั้งหมดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทยซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ และ 49 ชนิดที่ถูกคุกคามทั่วโลก เรียงลำดับวงศ์และชนิดตาม เคลเมนต์ (2000) และเพิ่มชนิดตาม ร็อบสัน (2004) และหมอบุญส่ง ชื่อในภาษาไทยอ้างอิงตามหนังสือคู่มือดูนกของหมอบุญส่ง เลขะกุล ในปี..

ใหม่!!: นกเกาะคอนและรายชื่อนกที่พบในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกกระจอก

นกกระจอก (Sparrow) เป็นวงศ์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก (Aves) จัดเป็นนกจับคอนขนาดเล็ก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Passeridae เป็นนกที่มนุษย์รู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะอาศัยกระจายอยู่ทั่วไปตามชุมชนเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก นกในวงศ์นี้มีขนาดเล็กมากจนถึงขนาดเล็ก ลักษณะภายนอกค่อนข้างแตกต่างกัน ทั้งจะงอยปากยาวปานกลาง, ปลายปากแหลม หรือ ปากสั้นเป็นปากกรวย, หางยาวปานกลางหรือปลายหางแหลม, มน, ตัด หรือ เว้าตื้น อาศัยและหากินตามทุ่งโล่ง, หมู่บ้าน หรือชายแหล่งน้ำ มีทั้งที่หากินตามกิ่งไม้ และบนพื้นดิน กินแมลง, ธัญพืช และเมล็ดของไม้ต้น ลักษณะของรังมีรูปร่างแตกต่างกัน ตั้งแต่แบบง่าย ๆ จนถึงแบบรังแขวน มีการสานวัสดุอย่างละเอียดละออ นกในวงศ์นี้ กำเนิดมาตั้งแต่สมัยไมโอซีน ในยุคเทอร์เชียรี่ หรือประมาณ 25-13 ล้านปีมาแล้ว กระจายพันธุ์ทั่วโลก มีทั้งหมด 5 สกุล (ดูในตาราง-บางข้อมูลแบ่งให้มี 8) ประมาณ 41 ชนิด ในประเทศไทยพบได้ 4 ชนิด ล้วนแต่อยู่ในสกุล Passer คือ นกกระจอกใหญ่ (P. domesticus), นกกระจอกป่าท้องเหลือง (P. rutilans), นกกระจอกตาล (P. flaveolus) และนกกระจอกบ้าน (P. montanus)Clement, Peter; Harris, Alan; Davis, John (1999).

ใหม่!!: นกเกาะคอนและวงศ์นกกระจอก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกกระติ๊ด

วงศ์นกกระติ๊ด (Estrildid finch, Waxbill) นกขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Estrildidae อยู่ในอันดับนกเกาะคอน (Passeriformes) เป็นนกขนาดเล็ก มีลักษณะทั่วไป คือ จะงอยปากหนา สั้นและแหลม ลำตัวอ้วนป้อม หากินเมล็ดพืชและดอกหญ้าเป็นอาหาร ชอบตระเวนย้ายถิ่นหากินไปตามแหล่งที่มีอาหารสมบูรณ์ มักพบบินตามกันไปเป็นฝูง มีการผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ทำรังโดยนำหญ้ามาสานกันเป็นก้อนอยู่ตามกิ่งไม้และต้นไม้ โดยปากรังอยู่ด้านล่าง กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนของซีกโลกเก่า และประเทศออสเตรเลีย พบทั้งหมด 141 ชนิด ใน 29 สกุล (ดูในตาราง) พบในประเทศไทย 8 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและวงศ์นกกระติ๊ด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกกา

วงศ์กา (Crow, Raven, Jay, Magpie) เป็นวงศ์ของนกร้องเพลงจับคอน ประกอบไปด้วย นกกา, นกเรเวน, นกกาน้อย, นกกาภูเขา, นกสาลิกา และ นกกะลิงเขียดMadge & Burn (1993) มีมากกว่า 120 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Corvidae นกในวงศ์นี้เป็นนกที่เฉลียวฉลาด รู้ทราบถึงตนเองจากกระจก และรู้จักการใช้เครื่องมือเพื่อเพิ่มความสามารถ) ซึ่งจะพบในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงบางชนิดเท่านั้น นกในวงศ์นี้มีขนาดกลางถึงใหญ่ ปากและขาแข็งแรงผลัดขนปีละครั้ง นกในวงศ์นี้พบได้เกือบทั่วโลกยกเว้นปลายทวีปอเมริกาใต้และขั้วโลกClayton & Emery (2005) โดยมากจะพบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เอเชียใต้ และ ทวีปยูเรเชีย และในทวีปแอฟริกา, ออสตราเลเซีย และ อเมริกาเหนือพบแห่งละประมาณ 10 ชน.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและวงศ์นกกา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกกินแมลงและนกกะราง

วงศ์นกกินแมลงและนกกะราง หรือ วงศ์นกกินแมลงโลกเก่า (Old world babbler) เป็นวงศ์ของนกขนาดเล็ก ในอันดับนกเกาะคอน (Passeriformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Timaliidae เป็นนกขนาดเล็กที่ชอบหากินตามต้นไม้ในระดับต่ำมีปากแหลมตรง บางชนิดปากยาวโค้ง จึงบินไม่เก่งมักบินระยะทางสั้น ๆ มีขนอ่อนนุ่ม ชอบอยู่เป็นฝูงและส่งเสียงดังอยู่เสมอส่วนใหญ่มีเสียงแหลมน่าฟัง รังทำด้วยหญ้าและใบไม้สานเป็นรูปถ้วยอยู่บนต้นไม้ กินแมลงเป็นอาหารหลัก พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า เช่น แอฟริกา, อนุทวีปอินเดียและเอเชียอาคเนย์ เป็นวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมาก มีทั้งหมด 270 ชนิด (บางข้อมูลว่า 259) พบ 76 ชนิดในประเทศไทย อาทิ นกกินแมลงเด็กแนน (Stachyridopsis rufifrons), นกศิวะหางสีตาล (Minla strigula), นกกะรางหัวหงอก (Garrulax leucolophus) เป็นต้น.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและวงศ์นกกินแมลงและนกกะราง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกจับแมลงและนกเขน

วงศ์นกจับแมลงและนกเขน หรือ วงศ์นกจับแมลง (Old world flycatcher) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muscicapidae จัดเป็นวงศ์ของนกที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดวงศ์หนึ่ง เป็นนกที่พบกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกเก่า (เอเชีย, ยุโรป, แอฟริกา) เป็นที่มีขนาดเล็กมากถึงขนาดเล็ก (12-30 เซนติเมตร) รูปรางภายนอก แตกตางกันมาก ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันและลักษณะแตกต่างกันชัดเจน สวนใหญจะกินแมลงเปนอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดกินผลไม้และน้ำหวานดอกไมดวย Del Hoyo, J.; Elliot, A. & Christie D. (editors).

ใหม่!!: นกเกาะคอนและวงศ์นกจับแมลงและนกเขน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกจาบ

นกจาบ หรือ นกกระจาบ (Weaver) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Ploceidae มีลักษณะคล้ายกับนกในวงศ์นกกระจอก (Passeridae) (บางข้อมูลจัดให้เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์นกกระจอก ใช้ชื่อว่า Ploceinae) มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากหนาเปนปากกรวย รูจมูกมน มุมปากมีขนแข็ง ขนปลายปก 3 เสนนอกสุดยาวที่สุด ปกยาวกวาแขง นกจาบ ยังมีลักษณะเด่นอีกประการที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ การทำรังตามตนไม เปนรังแขวน วัสดุสวนใหญไดแก หญาฉีกเปนฝอย มีการสานวัสดุอยางสวยงามมีศิลปะ ซึ่งลักษณะและขนาดของรังจะแตกต่างกันตามแต่ละชนิด มีปากรังทางเข้า-ออก เป็นนกสังคม อาศัยและทำรังรวมกันเปนฝูงใหญ ตัวผูและตัวเมียมีสีสันแตกตางกันโดยเฉพาะในชวงฤดูผสมพันธุ พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และซับสะฮะราในทวีปแอฟริกา รังของนกจาบในทวีปแอฟริกา พบทั่วโลก 116 ชนิด พบ 3 ชนิดในประเทศไทย ซึ่งล้วนแต่อยู่ในสกุล Ploceus ได้แก.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและวงศ์นกจาบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกแต้วแร้ว

วงศ์นกแต้วแร้ว หรือ วงศ์นกแต้วแล้ว (Pittas) เป็นวงศ์ของนกที่มีขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับ Passeriformes เช่นเดียวกับนกกระจอก (Passeridae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pittidae โดยทั่วไปแล้ว นกแต้วแร้วจะมีลำตัวอ้วนสั้น มีสีสันฉูดฉาดสะดุดตาหลายสี เช่น น้ำเงิน, เขียว, แดง, น้ำตาล หรือเหลือง รวมอยู่ในตัวเดียวกัน คอและหางสั้น ขายาว มักกระโดดหรือวิ่งบนพื้นดิน เป็นนกที่ขี้อาย ขี้ตื่นตกใจ มีพฤติกรรมชอบอยู่ลำพังตัวเดียวหรือเป็นคู่ หากจะบินก็จะบินเป็นระยะสั้น ๆ หรือเตี้ย ๆ ในบริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัย โดยมักจะอาศัยอยู่ในพุ่มไม้ นกแต้วแร้วมักอาศัยอยู่ในป่าที่มีความชุ่มชื้นหรือใกล้แหล่งน้ำ ด้วยหากินที่อยู่ในบริเวณนั้น เช่น หอยทาก, ไส้เดือนดิน หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลาน เป็นอาหาร โดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดลำตัวประมาณ 15–25 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 42–218 กรัม พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออก และโอเชียเนีย วางไข่ครั้งละ 6 ฟองบนต้นไม้หรือพุ่มไม้ หรือบางครั้งก็บนพื้นดิน พ่อแม่นกจะช่วยกันดูแลลูกอ่อน โดยรังจะสานจากกิ่งไม้หรือใบไม้ หรือฟางที่หาได้ มีหลายชนิดที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน ลูกนกเมื่ออยู่รัง พ่อแม่นกจะช่วยกันดูแลและคาบอาหารมาให้ ส่วนมากเป็นแมลง บางครั้งอาจจะเป็นแมง เช่น ตะขาบ หรือสัตว์อย่างอื่น เช่น ไส้เดือนดิน แล้วแต่จะหาได้ ลูกนกเมื่อจะถ่าย จะหันก้นออกนอกรังแล้วขับถ่ายมูลออกมา ซึ่งถูกห่อหุ้มอยู่ในถุงขนาดใหญ่ พ่อแม่นกต้องคาบไปทิ้งให้ไกลจากรัง เพราะกลิ่นจากมูลลูกนกจะเป็นสิ่งที่บอกที่อยู่ให้แก่สัตว์นักล่าได้ เดิมได้รับการอนุกรมวิธานออกเพียงสกุลเดียว คือ Pitta แต่ปัจจุบันได้แยกออกเป็น 3 สกุล (ดูในตาราง) ทั้งหมดราว 31 ชนิด สำหรับนกแต้วแร้วในประเทศไทยนั้น พบทั้งหมด 12 ชนิด เช่น นกแต้วแร้วธรรมดา หรือนกแต้วแร้วสีฟ้า (Pitta moluccensis), นกแต้วแร้วป่าโกงกาง หรือนกแต้วแร้วป่าชายเลน (P. megarhyncha), นกแต้วแร้วหูยาว (Hydrornis phayrei) โดยมีชนิดที่ได้รับยการยอมรับว่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่สุด คือ นกแต้วแร้วท้องดำ (H. gurneyi) ที่พบได้เฉพาะในป่าชายแดนไทยติดกับพม่าแถบอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เท่านั้น.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและวงศ์นกแต้วแร้ว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกแซงแซว

วงศ์นกแซงแซว (Drongo) ลักษณะโดยทั่วไปนกในวงศ์นี้จะมีขนสีดำ ปลายหางเป็นรูปสองแฉก บางชนิดตามีสีแดงเมื่อโตเต็มวัย ชอบอาศัยบนต้นไม้ สายตาจัดอยู่ในประเภทดีมาก กินแมลงเป็นส่วนใหญ่ หากินในที่โล่ง มักพบอยู่เป็นคู่ พบรวมกันเป็นฝูงได้ในช่วงฤดูหนาว หรือช่วงอพยพ ร้องเสียงดังฟังดูเหมือนเกรี้ยวกราด นิสัยดุร้าย สามารถเลียนเสียงนกหรือสัตว์ชนิดอื่นได้ สร้างรังอยู่ตามง่ามไม้ ทั่วโลกมีทั้งหมด 22 ชนิด พบในประเทศไทย 7 ชน.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและวงศ์นกแซงแซว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง

วงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Starlings, Mynas) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนในกลุ่มนกร้องเพลง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sturnidae จัดเป็นนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางในอันดับนี้ มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 19-30 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากค่อนข้างแบนข้างเล็กน้อย และยาวกว่าหัว รูจมูกไม่มีสิ่งปกคลุมและไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น และตั้งอยู่ใกล้มุมปากมากกว่าจะงอยปากบน มุมปากไม่มีขนแข็ง จะงอยปากแข็งแรง ปลายปีกแหลม มีขนปลายปีก 10 เส้น ขนหางมี 12 เส้น ขาแข้งอ้วนสั้นปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดซ้อน แข้งยาวกว่านิ้วที่ 3 รวมเล็บ บริเวณโคนนิ้วเป็นอิสระ หางสั้น บินเก่ง บินเป็นแนวตรง นกที่มีขนาดเล็ก จะมีปีกเรียวยาว ในขณะที่นกขนาดใหญ่กว่าจะมีปีกที่กว้างและมนกว่า มักมีสีขนที่เข้ม มีนิเวศวิทยาที่กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่ทั้งในป่าทึบ ภูเขา หรือแม้กระทั่งพื้นที่เปิดโล่งหรือตามชุมชนเมืองที่อยู่อาศัยของมนุษย์ มีพฤติกรรมที่เป็นที่รู้จักดีคือ อยู่รวมกันเป็นฝูง ชอบส่งเสียงร้องดัง ร้องเก่ง และสามารถเลียนเสียงต่าง ๆ ได้ แม้แต่ภาษาพูดของมนุษย์ จึงนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง กินอาหารจำพวกแมลง เมล็ดพืช และผลไม้ สร้างรังอยู่ตามกิ่งไม้หรือบนยอดมะพร้าว ต้นปาล์ม บางชนิดทำรังอยู่ในโพรง โดยจะไม่เจาะโพรงเอง แต่จะอาศัยโพรงเก่าหรือแย่งมาจากสัตว์หรือนกชนิดอื่น มีอาณาเขตของตนเองและจะปกป้องอาณาเขต ทั่วโลกทั้งหมดราว 112 ชนิด ใน 28 สกุล (ดูในตาราง-บางข้อมูลจำแนกมี 27 สกุล) พบได้ทั้งเอเชีย ยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ ออสเตรเลียทางตอนเหนือ และนิวซีแลนด์ และยังแบ่งออกได้เป็น 2 เผ่า คือ Sturnini และMimini ในประเทศไทยพบ 16 ชนิด ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ นกเอี้ยง (Acridotheres tristis), นกเอี้ยงหงอน (A. garndis) นกขุนทอง (Gracula religiosa) เป็นต้น.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: นกเกาะคอนและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์โคซอร์

อาร์โคซอร์ (อังกฤษ: Archosaur, มาจากภาษากรีกแปลว่า กิ้งก่าผู้ครองโลก) ได้แก่กลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกหนึ่งซึ่งมีกะโหลกแบบ diapsid (มีสองโพรงในแต่ละด้าน) ซึ่งในอดีตรวมไปถึงไดโนเสาร์ ส่วนสัตว์พวกอาร์โคซอร์ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ จระเข้ และ นก ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า อาร์โคซอร์ ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อไร พวกที่จัดให้สัตว์เลี้อยคลาย Archosaurus rossicus และ/หรือ Protorosaurus speneri ว่าเป็นอาร์โคซอร์เต็มตัว จะถือเอายุคเพอร์เมียนตอนปลายเป็นจุดเริ่มต้น ในขณะที่อีกกลุ่มจัดสัตว์เลื้อยคลานข้างตนเป็นพวก อาร์โคซอริฟอรมส์ (archosauriformes) และนับให้อาร์โคซอร์วิวัฒนาการต่อจาก archosauriformes อีกที ยึดเอายุคโอลีนีเคียน (Olenekian, ตรงกับยุคไทรแอสซิกตอนต้น) เป็นจุดกำเนิด อาร์โคซอร์เป็นสัตว์ที่ครองโลกในยุคไทรแอสซิก หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและอาร์โคซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดอยอินทนนท์

อยอินทนนท์ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยหลวงอ่างกา" ชื่อของ ดอยอินทนนท์ เป็นชื่อของกษัตริย์พระนามว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงเป็นผู้ที่ห่วงใยในป่าทางภาคเหนือและพยายามรักษาไว้ ภายหลังเสด็จพิราลัย พระอัฐิส่วนหนึ่งได้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปบนยอดดอยหลวง และเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรต.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและดอยอินทนนท์ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ปักษีวิทยา

ปักษีวิทยา (ornithology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของสัตววิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับนก คำว่า ornithology มาจากคำในภาษากรีก 2 คำ คือ ornis ("นก") และ logos ("ความรู้") ผู้ที่ศึกษาสาขาวิชานี้จะเรียกว่า "นักปักษีวิทยา" (ornithologist) มนุษย์ให้ความสนใจนกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากภาพเขียนบนผนังถ้ำในสมัยยุคหิน ในยุคแรก ความรู้เกี่ยวกับนกเริ่มมาจากความพยายามในการล่านกหายาก และการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อกินไข่และเนื้อ โดยเริ่มที่อียิปต์ ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล และที่จีน ประมาณ 246 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยใหม่ ปักษีวิทยาช่วยในการไขปริศนาหลายอย่างเกี่ยวกับวิวัฒนาการ พฤติกรรม และนิเวศวิทยา เพราะมีการศึกษาถึงสปีชีส์ กระบวนการเกิดสปีชีส์ใหม่ การเรียนรู้ การใช้สอยเครื่องมือ ฯลฯ โดยได้จากการศึกษาตัวอย่าง จากในห้องปฏิบัติการ และจากการลงพื้นที่จริง หมวดหมู่:สัตววิทยา หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:ปักษีวิทยา.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและปักษีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

นกกระจอกใหญ่

'' Passer domesticus domesticus '' นกกระจอกใหญ่ (House Sparrow) เป็นนกจับคอนในวงศ์นกกระจอก มีชื่อต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น English Sparrow, Indian Sparrow, และ Spatzie หรือ Spotsie ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติส่วนใหญ่อยู่ในแถบยุโรปบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและในเอเชียบางส่วน มีการนำนกเข้าสู่พื้นที่ในหลายๆส่วนบนโลกทั้งแบบตั้งใจหรือเป็นอุบัติเหตุ ทำให้นกกระจอกใหญ่มีการกระจายพันธุ์เกือบทั่วโลก มันสามารถปรับตัวเข้ากับถิ่นอาศัยของมนุษย์ได้ง่าย นกกระจอกใหญ่เป็นนกขนาดเล็กตัวอ้วนกลม มีสีขนน้ำตาลถึงเท.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและนกกระจอกใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกกินปลี

นกกินปลี (Sunbird) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนขนาดเล็ก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nectariniidae เป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีจุดเด่น คือ มีจะงอยปากยาวโค้ง ที่ภายในกลวงเป็นท่อ และมีลิ้นขนาดยาวอยู่ในนั้น ใช้สำหรับดูดกินน้ำต้อยจากดอกไม้เป็นอาหารหลัก บางครั้งอาจจะกินแมลงด้วย และนำไปเลี้ยงดูลูกอ่อน สามารถบินได้ด้วยความรวดเร็ว จึงมีลักษณะคล้ายกับนกฮัมมิ่งเบิร์ด (Trochilidae) ที่พบในทวีปอเมริกา เป็นนกที่มีสีสันสวยงาม ตัวผู้จะมีสีสวยและขนาดตัวใหญ่กว่าตัวเมีย พยกระจายพันธุ์ในซีกโลกที่เรียกว่า โลกเก่า คือ ทวีปยุโรป, แอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลีย รังทำด้วยเปลือกไม้และใบไม้แขวนห้อยอยู่ปลายกิ่งไม้ ดูรุงรังคล้ายถุงขยะ บางครั้งอาจเข้ามาทำรังในชายคาบ้านของมนุษย์ ตัวเมียเป็นฝ่ายกกไข่และดูแลลูก ขณะที่ตัวผู้จะเป็นดูแลอยู่ข้างนอกและหาอาหารมาป้อนให้ พบทั้งหมด 132 ชนิด ใน 13 สกุล (บางข้อมูลจัดให้มี 8 สกุล) พบในประเทศไทยได้ 22 ชนิด เช่น นกกินปลีอกเหลือง (Cinnyris jugularis), นกกินปลีดำม่วง (C. asiaticus) เป็นต้น.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและนกกินปลี · ดูเพิ่มเติม »

นกกินปลีหางยาวเขียว

นกกินปลีหางยาวเขียว (Green-tailed sunbird) เป็นนกในวงศ์นกกินปลี (Nectariniidae) พบในประเทศบังกลาเทศ, ภูฏาน, จีน, อินเดีย, ลาว, พม่า, เนปาล, ไทย, และ เวียดนาม อาศัยในป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนและป่าเมฆ นกเพศผู้ หัวและหางเป็นสีเขียวเหลือบ หลังแดง อกและท้องเป็นสีเหลือง มีแถบแดงที่อก หางยาว ชนิดย่อย australis ไม่มีแถบที่อก เพศเมียขนส่วนบนสีเขียว ส่วนล่างสีเหลือง.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและนกกินปลีหางยาวเขียว · ดูเพิ่มเติม »

นกอีเสือ

นกอีเสือ (Shrikes) เป็นวงศ์ของนกจับคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในชื่อวงศ์ว่า Laniidae เป็นนกขนาดเล็กมีความยาวประมาณ 18-25 เซนติเมตร จะงอยปากสั้นกว่าส่วนหัว ลักษณะเป็นตะขอ แบนข้าง และตอนปลายเป็นรอยบาก มีขนแข็งบริเวณมุมปากยาวคล้ายเส้นขน บางส่วนคลุมรูจมูก รูจมูกทะลุถึงกัน ปีกสั้น ปลายปีกมน มีขนปลายปีก 10 เส้น หางยาวเท่ากับปีก มีขนหาง 12 เส้น หน้าแข้งสั้นแต่ยาวกว่าปาก คลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดซ้อน นิ้วกลางรวมทั้งเล็บสั้นกว่าหน้าแข้ง นิ้วนอกและนิ้วกลางบริเวณโคนติดกันเล็กน้อย นิ้วในเป็นอิสระ เป็นนกกินเนื้อ ด้วยการบินโฉบจับแมลง, สัตว์เลื้อยคลาน รวมถึงนกด้วยกันขนาดเล็กเป็นอาหาร ด้วยการฉีกกินเหมือนสัตว์กินเนื้อ ซึ่งบางครั้งหากกินไม่หมด ก็จะนำไปซุกซ่อนตามคาคบไม้หรือเสียบไว้ตามกิ่งไม้หรือลวดแหลม แล้วค่อยย้อนมากินทีหลัง ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเหมือนเสือ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ทำรังเป็นรูปถ้วยตามพุ่มไม้หรือต้นไม้ขนาดเล็ก ไข่มีสีแตกต่างกันออกไปและมีลายจุดสีต่าง ๆ ลูกที่เพิ่งเกิดใหม่ไม่มีขนปกคลุมร่างกาย และเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชีย, ยุโรป, แอฟริกา และอเมริกาเหนือ แบ่งออกได้เป็น 4 สกุล (ดูในตาราง-บางข้อมูลจำแนกไว้แค่ 3 สกุล) ในประเทศไทยพบเพียงสกุลเดียว คือ Lanius ประมาณ 5 ชนิด มักพบตามทุ่งหญ้า หรือป่าหญ้า ได้แก.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและนกอีเสือ · ดูเพิ่มเติม »

นกขมิ้น

นกขมิ้น (Oriole, Old world oriole) เป็นวงศ์ของนกที่มีสายวิวัฒนาการอยู่ระหว่างวงศ์นกแซงแซว (Dicruridae) และวงศ์นกกา (Corvidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Oriolidae แต่มีรูปร่างลักษณะและอุปนิสัย แตกต่างจากนกทั้งสองวงศ์นี้มาก คือ นกกาและนกแซงแซวส่วนใหญ่จะมีลำตัวเพรียว หางยาว หรือค่อนข้างยาว นิสัยค่อนข้างก้าวร้าวไม่กลัวคน แต่นกขมิ้นซึ่งเป็นนกที่มีลำตัวขนาดกลางถึงขนาดเล็ก มีความยาวตัวประมาณ 20-27 เซนติเมตร ขนาดเท่านกเอื้ยง หางสั้น สีตัวส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง มีบางชนิดเป็นสีอื่นบ้าง จะงอยปากแข็งแรงและงุ้มลง ปีกยาวแหลม นกตัวผู้มีสีสดใสสวยงามกว่านกตัวเมีย ลูกนกมีลายขีดสีดำกระจายอยู่ทั่วบริเวณท้อง นกขมิ้นเป็นนกที่ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ในป่าบก, ป่าชายเลน และตามสวนผลไม้ ส่วนใหญ่หากินอยู่ตามเรือนยอดหรือพุ่มใบของต้นไม้ รวมอยู่ กับนกชนิดอื่น ๆ เช่น นกแซงแซว, นกพญาไฟ และนกไต่ไม้ พบหากินเงียบ ๆ อยู่ตัวเดียวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบลงมาหากินตามพื้นล่าง กินผลไม้, แมลง และน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร บินได้เร็วและทนนาน ชอบทำรังอยู่ตาม ง่ามไม้บนต้นไม้สูง รังอยู่สูงประมาณ 4-10 เมตร สร้างรังเป็นรูปถ้วย ก้นลึก ทำด้วยต้นหญ้าหรือเส้นใยพืชร้อยถักอย่างประณีต วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ทั้งพ่อและแม่นกจะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูก นกขมิ้นชอบสร้างรังใกล้ ๆ รังของนกแซงแซวเพื่อให้นกแซงแซวช่วยป้องกันไข่และลูกนกจากศัตรู เนื่องจากนกแซงแซวจะป้องกันไข่และลูกนกของตัวเองจากศัตรู ดังนั้นจึงช่วยป้องกันไข่ และลูกนกขมิ้นด้วย นกขมิ้นพบทั่วโลก 29 ชนิด พบในประเทศไทย 6 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและนกขมิ้น · ดูเพิ่มเติม »

นกปรอด

นกปรอด เป็นวงศ์ของนกจับคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มนกร้องเพลง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pycnonotidae เป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันต่าง ๆ กันไปตามแต่ละชนิด และสกุล เป็นนกที่ร้องได้เพราะมาก กินผลไม้และแมลงเป็นอาหาร พบได้ในหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นพัน ๆ เมตร จนถึงที่ราบลุ่ม หรือในชุมชนเมืองและตามสวนสาธารณะหรือสวนหลังบ้าน เหตุที่ได้ชื่อว่า "ปรอด" นั้นมาจากเสียงร้อง ที่มักเป็นเสียง "กรอด-กรอด" ซึ่งบางครั้งอาจเรียกเพี้ยนเป็น "นกกรอด", "นกกระหรอด" หรือ "นกกะหรอด" ก็ได้ ขณะในชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า "ฺBulbul" นั้นมาจากคำว่า بلبل (bolbol) ในภาษาเปอร์เซีย และคำว่า بُلْبُل ในภาษาอาหรับ หมายถึง "นกไนติ้งเกล" ซึ่งทั่วโลกมี 137 ชนิด ใน 21 สกุล (ดูในตาราง ขณะที่บางสกุลอาจจะซ้ำซ้อนกับอีกสกุล) ในประเทศไทย พบอยู่ 36 ชนิด 8 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและนกปรอด · ดูเพิ่มเติม »

นกนางแอ่น

ำหรับนกที่มีขนาดเล็กกว่า ที่อยู่ในวงศ์ Apodidae หรือ "นกแอ่น" ดูที่: นกแอ่น นกนางแอ่น หรือ นกอีแอ่นบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและนกนางแอ่น · ดูเพิ่มเติม »

นกไต่ไม้

นกไต่ไม้ (Nuthatch) เป็นนกขนาดเล็กในอันดับนกเกาะคอน (Passeriformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sittidae ลักษณะเป็นนกตัวเล็ก มีความยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร รูปร่างป้อม หางสั้น ปากแหลม มีความสามารถพิเศษคือ สามารถไต่ต้นไม้ด้วยนิ้วตีนลงมาในลักษณะเอาหัวลงได้ สามารถไต่ขึ้น ๆ ลง ๆ หรือไต่ไปรอบ ๆ ต้นไม้ หรือรอบ ๆ กิ่งไม้ได้คล่องแคล่วคล้ายกับหนู เพื่อหาแมลงและหนอนตามเปลือกไม้กิน และยังสามารถกินพืชอย่าง ลูกไม้ หรือเมล็ดพืชได้ด้วย ด้วยการคาบเมล็ดพืชขึ้นมายัดไว้ตามซอกเปลือกไม้ที่ลำต้นแล้วก็เอาปากจิกให้เปลือกเมล็ดนั้นแตกเพื่อจิกกินเนื้อใน มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมหากินรวม ๆ ไปในฝูงเดียวกันกับนกขนาดเล็กหลายชนิด มักพบตามป่าโปร่งบนเนินเขา ทำรังในโพรงไม้เล็ก ๆ และมีนิสัยประหลาด คือ ชอบคาบวัสดุต่าง ๆ มาปะติดปะต่อประดับไว้รอบ ๆ ปากโพรงรัง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย, ยูเรเชีย, ยุโรป จนถึงตอนเหนือของแอฟริกา และทวีปอเมริกาเหนือ และมีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น คือ Sitta (โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า sittē หมายถึง "นก" ขณะที่ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษที่ว่า "Nuthatch" เชื่อว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "Nut+hack" เพราะนกกลุ่มนี้ในทวีปยุโรปมีพฤติกรรมกระเทาะเปลือกลูกนัทกินเป็นอาหาร) พบทั้งหมดประมาณ 24-27 ชนิด ในประเทศไทยพบทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ นกไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม (S. castanea), นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ (S. frontalis), นกไต่ไม้สีสวย (S. formosa), นกไต่ไม้โคนหางสีน้ำตาล (S. nagaensis) และนกไต่ไม้ใหญ่ (S. magna) ทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด นอกจากนี้แล้วยังมีอีกชนิดที่เป็นนกพลัดหลง คือ นกไต่ไม้สีน้ำเงิน (S. azurea).

ใหม่!!: นกเกาะคอนและนกไต่ไม้ · ดูเพิ่มเติม »

นกเขียวก้านตอง

นกเขียวก้านตอง (Leafbird) เป็นชื่อของสกุลและวงศ์ ของนกขนาดเล็กประเภทหนึ่งในตระกูลนกเกาะคอน มีถิ่นที่อยู่ในอินเดียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นนก 1 ใน 2 วงศ์ซึ่งเป็นนกเฉพาะถิ่นของเขตนิเวศวิทยาอินโดมาลายัน โดยอีกวงศ์หนึ่งคือนกแว่นตาขาว เดิมสกุลนกเขียวก้านตอง อยู่ในวงศ์นกเขียวคราม ร่วมกับสกุลนกแว่นตาขาว แต่ภายหลังได้แยกวงศ์ออกมาทั้งสองสกุล ตั้งเป็นวงศ์ใหม่คือ วงศ์นกเขียวก้านตอง และวงศ์นกแว่นตาขาว นกเขียวก้านตองมีลักษณะคล้ายนกในวงศ์นกปรอดซึ่งเป็นวงศ์ใกล้เคียงกัน หากแต่มีสีสันสดใสกว่า นอกจากนี้ นกเขียวก้านตองเป็นนกที่มีลักษณะแตกต่างระหว่างเพศ โดยที่ตัวผู้จะมีสีสันสดใสกว่า และ/หรือ มีสีสันมากกว่า นกเขียวก้านตองวางไข่ 2-3 ฟองต่อครั้ง ในรังบนคาคบต้นไม้.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและนกเขียวก้านตอง · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ต้น

ต้นซากุระ ไม้ต้น คือ พืชนานปีซึ่งมีลำต้นยาว กิ่งและใบในสปีชีส์ส่วนใหญ่ บางครั้ง นิยามคำว่าไม้ต้นอาจแคบลง โดยรวมเฉพาะพืชไม้ (woody plant) เท่านั้น คือ พืชที่ใช้เป็นไม้หรืความสูงกว่าที่กำหนด ในความหมายกว้างที่สุด ไม้ต้นรวมปาล์ม เฟิร์นต้น กล้วยและไผ่ ไม้ต้นมักมีอายุยืน บางต้นอยู่ได้หลายพันปี ต้นที่สูงที่สุดบนโลกมีความสูง 115.6 เมตร และมีความสูงได้มากที่สุดตามทฤษฎี 130 เมตร ไม้ต้นอุบัติขึ้นบนโลกเป็นเวลาราว 370 ล้านปีแล้ว ไม้ต้นมิใช่กลุ่มทางอนุกรมวิธาน แต่เป็นกลุ่มพืชไม่เกี่ยวข้องกันที่วิวัฒนาลำต้นและกิ่งไม้เพื่อให้สูงเหนือพืชอื่นและใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ให้ได้มากที.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและไม้ต้น · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: นกเกาะคอนและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PasseriformesPasserinePerching birdอันดับนกจับคอนอันดับนกเกาะคอนนกจับคอน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »