เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วงศ์นกกา

ดัชนี วงศ์นกกา

วงศ์กา (Crow, Raven, Jay, Magpie) เป็นวงศ์ของนกร้องเพลงจับคอน ประกอบไปด้วย นกกา, นกเรเวน, นกกาน้อย, นกกาภูเขา, นกสาลิกา และ นกกะลิงเขียดMadge & Burn (1993) มีมากกว่า 120 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Corvidae นกในวงศ์นี้เป็นนกที่เฉลียวฉลาด รู้ทราบถึงตนเองจากกระจก และรู้จักการใช้เครื่องมือเพื่อเพิ่มความสามารถ) ซึ่งจะพบในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงบางชนิดเท่านั้น นกในวงศ์นี้มีขนาดกลางถึงใหญ่ ปากและขาแข็งแรงผลัดขนปีละครั้ง นกในวงศ์นี้พบได้เกือบทั่วโลกยกเว้นปลายทวีปอเมริกาใต้และขั้วโลกClayton & Emery (2005) โดยมากจะพบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เอเชียใต้ และ ทวีปยูเรเชีย และในทวีปแอฟริกา, ออสตราเลเซีย และ อเมริกาเหนือพบแห่งละประมาณ 10 ชน.

สารบัญ

  1. 29 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2368การลอกคราบสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกออสตราเลเซียอีกาอีแกอเมริกากลางทวีปยูเรเชียทวีปอเมริกาใต้ทวีปอเมริกาเหนือทวีปแอฟริกานกกานกกาภูเขาปากแดงนกกาน้อยหงอนยาวนกกาน้อยแถบปีกขาวนกสาลิกาดงนกสาลิกาปากดำนกสาลิกาเขียวนกอีเสือนกขุนแผนนกปีกลายสก็อตนกเกาะคอนนกเรเวนนกเจย์สีน้ำตาลซินเจียงเมลานีเซียเอเชียใต้

  2. นกแบ่งตามวงศ์

พ.ศ. 2368

ทธศักราช 2368 ตรงกับคริสต์ศักราช 1825 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินจูเลียน.

ดู วงศ์นกกาและพ.ศ. 2368

การลอกคราบ

ักจั่นลอกคราบ ลอกคราบ หรือ สลัดขน (spelling differences.) เป็นศัพท์ทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นกับสัตว์บางสปีชีส์ - ecdysis ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสัตว์ลอกส่วนของร่างกายที่มักจะเป็นเปลือกนอก (แต่ก็ไม่เสมอไป) ออกไป หรือเปลี่ยนส่วนที่ปกคลุมภายนอกเช่นขนใหม่ การลอกคราบหรือสลัดขนอาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปี หรืออาจจะเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของสัตว์ก็ได้ การลอกคราบ หรือ การสลัดขนเป็นการเปลี่ยนหนังหนังกำพร้า (Epidermis), ขนสัตว์ (pelage) หรือเปลือกนอกของร่างกายที่มีลักษณะอื่น ในบางสปีชีส์บางส่วนของร่างกายอาจจะถูกสลัดตามไปด้วยเช่นปีกของแมลงบางสปีชีส์ ตัวอย่างของการลอกคราบ หรือ การสลัดขนก็ได้แก่การสลัดขนของนก หรือ การสลัดขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะสุนัข หรือ หมาจิ้งจอก) หรือการลอกคราบของสัตว์เลื้อยคลาน หรือการเปลี่ยนทั่งร่างสัตว์ขาปล้อง.

ดู วงศ์นกกาและการลอกคราบ

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ดู วงศ์นกกาและสกุล (ชีววิทยา)

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู วงศ์นกกาและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู วงศ์นกกาและสัตว์มีแกนสันหลัง

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ดู วงศ์นกกาและสัตว์ปีก

ออสตราเลเซีย

แผนที่ออสตราเลเซีย ออสตราเลเซีย (Australasia) คือชื่อที่ใช้เรียกภูมิภาคโอเชียเนีย กล่าวคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะใกล้เคียงในมหาสมุทรแปซิฟิก ผู้คิดคำนี้ขึ้น คือ ชาร์ล เดอ บรอส (Charles de Brosses) ซึ่งระบุไว้ในหนังสือประวัติการสำรวจซีกโลกใต้ (Histoire des navigations aux terres australes) เมื่อ..

ดู วงศ์นกกาและออสตราเลเซีย

อีกา

thumb อีกา หรือ กา (jungle crow, large-billed crow, thick-billed crow, แปลว่านกกาที่มีปากใหญ่) เป็นนกกาที่กระจายพันธุ์เป็นวงกว้างในเอเชีย ปรับตัวได้เก่ง สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ทำให้ขยายไปยังพื้นที่ใหม่ได้ง่าย บางครั้งถูกมองว่าเป็นสัตว์รังควานโดยเฉพาะในเกาะต่าง ๆ มีปากใหญ่ ทำให้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า macrorhynchos ซึ่งเป็นคำกรีกโบราณแปลว่า ปากใหญ่ และมีชื่ออังกฤษว่า large-billed crow (นกกาปากใหญ่) หรือ thick-billed crow (นกกาปากหนา) บางครั้งมองผิดว่าเป็น นกเรเวน นกมีพันธุ์ย่อยถึง 11 ชนิด ที่แตกต่างกันทางเสียงร้อง ทางสัณฐาน และทางพันธุกรรม ทำให้มีแนวคิดว่า จริง ๆ อาจจะเป็นนกหลายพันธุ์ พันธุ์ตัวอย่างเช่น.

ดู วงศ์นกกาและอีกา

อีแก

อีแก (House crow, Colombo crow) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกกา (Corvidae).

ดู วงศ์นกกาและอีแก

อเมริกากลาง

แผนที่อเมริกากลาง อเมริกากลาง (Central America) เป็นภูมิภาคย่อยที่หมายถึงกลุ่มประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งตามความหมายส่วนใหญ่แล้วจะนับจาก ทางใต้ของ อ่าวเม็กซิโก ไปถึงพรมแดนระหว่างปานามากับโคลัมเบีย (หรือประเทศต่าง ๆ ระหว่างเม็กซิโกกับโคลัมเบีย) ได้แก.

ดู วงศ์นกกาและอเมริกากลาง

ทวีปยูเรเชีย

ทวีปยูเรเชีย เป็นมหาทวีปที่รวมเอาทวีปยุโรป กับทวีปเอเชียเข้าด้วยกัน โดยเส้นแบ่งของทวีปยุโรปกับเอเชียคือเทือกเขายูราล คำนี้ส่วนใหญ่จะใช้พูดถึงกับเรื่องในประวัติศาสตร์เมื่อครั้งโลกหลายร้อยล้านปีที่ทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียยังติดกัน ทวีปนี้ขยายตัวมาจากมหาทวีปพันเจีย โดยมีทวีปต่างๆที่แยกตัวออกมาคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ (แยกออกมาจากทวีปแอฟริกา) ทวีปยูเรเชีย เกาะอินเดีย ออสเตรเลีย และขั้วโลกใต้ โดยที่ทวีปยูเรเชียนั้น ในปัจจุบันเรามักจะเรียกว่า ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย มากกว่าที่จะเรียกว่า ยูเรเชีย สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากที่ การเรียกอย่างนี้จะทำให้เกิดการสับสนว่าเป็น ทวีปใดกันแน่ ทั้งวัฒนธรรม การเมือง ประเพณี ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ วิถีชีวิต อาหารการกิน ยังแตกต่างกันด้วย นอกจากเราจะยังพูดถึงโลกล้านปีแล้ว การที่ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ติดกันตรงพรมแดนของประเทศจีน-ประเทศรัสเซีย เป็นต้น เป็นเสมือนเกาะใหญ่ และการคมนาคม ประวัติศาสตร์ยังคล้ายคลึงกันอีกด้วย เราจึงยังจะคงเรียกอยู.

ดู วงศ์นกกาและทวีปยูเรเชีย

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ดู วงศ์นกกาและทวีปอเมริกาใต้

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ดู วงศ์นกกาและทวีปอเมริกาเหนือ

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ดู วงศ์นกกาและทวีปแอฟริกา

นกกา

นกกา หรือ อีกา (Crow) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก เป็นนกชนิดหนึ่งอยู่ในสกุล Corvus ในวงศ์นกกา (Corvidae) พบกระจายพันธุ์ทั่วโลก ยกเว้นในทวีปอเมริกาใต้ มีลักษณะเฉพาะตัวคือมีสีขนสีดำสนิทเป็นเงามันเลื่อม อยู่รวมกันเป็นกลุ่มและออกหากินเวลากลางวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่แดดแรง กาจะหาอาหารโดยการซ่อนตัวในเงาของต้นไม้ สำหรับการจู่โจมเหยื่อ นกกามีลักษณะเหมือนนกอีกประเภทหนึ่งชื่อ นกเรเวน ซึ่งเป็นนกที่มีสีดำเหมือนกัน นอกจากนี้แล้ว นกกายังถือว่าเป็นนกที่มีอายุขัยเฉลี่ยสูงถึง 90 ปี ซึ่งนับว่าสูงกว่าสัตว์ใหญ่อย่างช้างเสียอีก.

ดู วงศ์นกกาและนกกา

นกกาภูเขาปากแดง

นกกาภูเขาปากแดง หรือ นกกาภูเขา (Chough, Red-billed chough) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกา (Corvidae) เป็นนกที่มีรูปร่างเหมือนกับนกกาทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า กับส่วนหัวที่แหลมชี้ขึ้นและปีกที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและปลายปีกคม หน้าแข้งสีแดงและจะงอยปากสีแดง จะงอยปากเรียวยาวและคม อันเป็นลักษณะเฉพาะที่ใช้ในการอนุกรมวิธาน ผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูหนาว บนหน้าผาสูงหรือบริเวณที่เป็นพื้นหญ้า บางครั้งอาจเข้าไปทำรังในอาคารหรือตึกร้างได้ บางครั้งอาจจะกระโดดเหมือนกับกายกรรมลงมาในแนวดิ่งได้ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปยุโรป, เอเชียเหนือ, เอเชียกลาง และเอเชียตะวันออก เป็นนกที่แพร่ขยายพันธุ์และมีจำนวนประชากรที่มาก.

ดู วงศ์นกกาและนกกาภูเขาปากแดง

นกกาน้อยหงอนยาว

นกกาน้อยหงอนยาว เป็นนกในวงศ์นกกา (Corvidae) และัจัดเป็นชนิดเดียวในสกุล Platylophus พบในบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และไทย ถิ่นอาศัยธรรมชาติเป็นที่ราบป่าไม้เขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อนความชื้นสูงและเทือกเขาที่มีความชื้นสูงในกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อน ถูกคุกคามโดยการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศั.

ดู วงศ์นกกาและนกกาน้อยหงอนยาว

นกกาน้อยแถบปีกขาว

นกกาน้อยแถบปีกขาว (Black magpie) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกกา (Corvidae) จัดเป็นนกชนิดเดียวในสกุล Platysmurus กระจายพันธุ์ในประเทศบรูไน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า, สิงคโปร์, และไทย พบในป่าลุ่มต่ำและป่าชายเลนในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ปัจจุบันกำลังถูกคุกคามจากการสูญเสียถิ่นอาศัย นกกาน้อยแถบปีกขาวยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ตาสีแดง ขนสีดำตลอดตัว ยกเว้นปีกมีแถบสีขาวตามยาว มีหงอนสั้น ๆ บนหัว.

ดู วงศ์นกกาและนกกาน้อยแถบปีกขาว

นกสาลิกาดง

นกสาลิกาดง (Blue magpie) เป็นสกุลของนกเกาะคอนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Urocissa ในวงศ์นกกา (Corvidae) เป็นนกที่มีสีสันสวยงาม โดยมากจะเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน และขนหางยาวมาก พบกระจายพันธุ์เฉพาะในป่าของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจะงอยปากที่หนาและแข็งแรง มีลักษณะใกล้เคียงกับนกในสกุล Cissa พบทั้งหมด 5 ชนิด โดยในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว คือ.

ดู วงศ์นกกาและนกสาลิกาดง

นกสาลิกาปากดำ

นกสาลิกาปากดำ (Eurasian magpie, European magpie, Common magpie) เป็นนกสีขาวดำในวงศ์นกกา (Corvidae) พบในซีกโลกเหนือ พบทั่วไปในทวีปยุโรป บางส่วนของทวีปเอเชีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ในยุโรป โดยที่ชื่อ "Magpie" นั้นหมายถึงนกสาลิกาปากดำ เนื่องจากเป็นนกสาลิกา หรือ นกแม็กพายเพียงชนิดเดียวในยุโรปที่อยู่นอกคาบสมุทรไอบีเรีย นกสาลิกาปากดำเป็นหนึ่งในนกที่ฉลาดที่สุด และเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในที่สุดของสัตว์อัจฉริยะทั้งหมดและเป็นนกที่ชอบสะสมข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่แปลก ๆ หลายอย่างเป็นของใช้ของมนุษย์ ซึ่งมิได้มีความจำเป็นสำหรับนกเลย เช่น ลูกกอล์ฟ ในประเทศไทยถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนก นอกจากนี้แล้วนกชนิดนี้ ยังถือเป็นฉายาของนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ทีมฟุตบอลในเอฟเอ พรีเมียร์ลีก เนื่องจากมีสีขนขาว-ดำ เช่นเดียวกับสีประจำทีม.

ดู วงศ์นกกาและนกสาลิกาปากดำ

นกสาลิกาเขียว

นกสาลิกาเขียว (Common green magpie) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกกา (Corvidae) มีขนาด 38 ​เซนติ​เมตร มีปากหนาสี​แดงสด วงรอบตาสี​แดง​และมี​แถบสีดำคาด​เหมือนหน้ากาก บริ​เวณกระหม่อมสี​เขียวอม​เหลือง ลำตัวด้านบนสี​เขียวสด ​ใต้ท้องสี​เขียวอ่อน ช่วงปีกตรงหัว​ไหล่​เป็นสี​เขียว ปลายปีก​เป็นสี​แดง​เข้ม ​และตอน​ในของขนกลางปีกมี​แถบสีดำสลับขาว ขาสี​แดงสด ​ใต้หางมีสีดำสลับขาว ​และส่วนปลายหางจะ​เป็นสีขาว ร้องดัง “กวีก.ก..กวีก..ก..ก....” กระจายพันธุ์ในเทือกเขาหิมาลัยในตอนเหนือของภาคตะวันออกของประเทศอินเดียไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านภาคกลางของประเทศไทย มาเลเซีย ถึงเกาะสุมาตราและทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ในป่าไม่ผลัดใบ ป่า​เบญจพรรณ นกหากินเป็นคู่หรือเป็นฝูงตามต้นไม้และพื้นดิน กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก ลูกนก และไข่เป็นอาหาร ทำรังอยู่ตามง่าม​ไม้ รัง​ทำจากกิ่ง​ไม้ ​ใบ​ไม้​แห้ง ​และ​ใบ​ไผ่ วางซ้อนกัน​และสาน​ไปมา​เป็นรูปลักษณะถ้วยตื้นๆ ตรงกลางมีกิ่ง​ไม้​เล็กวางรองอีกชั้น ออก​ไข่ครั้งละ 4 - 6 ฟอง.

ดู วงศ์นกกาและนกสาลิกาเขียว

นกอีเสือ

นกอีเสือ (Shrikes) เป็นวงศ์ของนกจับคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในชื่อวงศ์ว่า Laniidae เป็นนกขนาดเล็กมีความยาวประมาณ 18-25 เซนติเมตร จะงอยปากสั้นกว่าส่วนหัว ลักษณะเป็นตะขอ แบนข้าง และตอนปลายเป็นรอยบาก มีขนแข็งบริเวณมุมปากยาวคล้ายเส้นขน บางส่วนคลุมรูจมูก รูจมูกทะลุถึงกัน ปีกสั้น ปลายปีกมน มีขนปลายปีก 10 เส้น หางยาวเท่ากับปีก มีขนหาง 12 เส้น หน้าแข้งสั้นแต่ยาวกว่าปาก คลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดซ้อน นิ้วกลางรวมทั้งเล็บสั้นกว่าหน้าแข้ง นิ้วนอกและนิ้วกลางบริเวณโคนติดกันเล็กน้อย นิ้วในเป็นอิสระ เป็นนกกินเนื้อ ด้วยการบินโฉบจับแมลง, สัตว์เลื้อยคลาน รวมถึงนกด้วยกันขนาดเล็กเป็นอาหาร ด้วยการฉีกกินเหมือนสัตว์กินเนื้อ ซึ่งบางครั้งหากกินไม่หมด ก็จะนำไปซุกซ่อนตามคาคบไม้หรือเสียบไว้ตามกิ่งไม้หรือลวดแหลม แล้วค่อยย้อนมากินทีหลัง ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเหมือนเสือ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ทำรังเป็นรูปถ้วยตามพุ่มไม้หรือต้นไม้ขนาดเล็ก ไข่มีสีแตกต่างกันออกไปและมีลายจุดสีต่าง ๆ ลูกที่เพิ่งเกิดใหม่ไม่มีขนปกคลุมร่างกาย และเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชีย, ยุโรป, แอฟริกา และอเมริกาเหนือ แบ่งออกได้เป็น 4 สกุล (ดูในตาราง-บางข้อมูลจำแนกไว้แค่ 3 สกุล) ในประเทศไทยพบเพียงสกุลเดียว คือ Lanius ประมาณ 5 ชนิด มักพบตามทุ่งหญ้า หรือป่าหญ้า ได้แก.

ดู วงศ์นกกาและนกอีเสือ

นกขุนแผน

ำหรับนกขุนแผนจำพวกอื่น ดูที่: วงศ์นกขุนแผน นกขุนแผน หรือ นกสาลิกาดง (อังกฤษ: Red-billed blue magpie; ชื่อวิทยาศาสตร์: Urocissa erythrorhyncha) จัดเป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Corvidae อันเป็นวงศ์เดียวกับกา นกขุนแผนเป็นนกที่มีสีสันสวยงามมาก กล่าวคือ โดยมีบริเวณหัวถึงลำคอสีดำ ขนบริเวณลำตัวมีสีฟ้าแกมม่วง ส่วนโคนปีกมีสีฟ้าแกมม่วง ด้านปลายปีกสีขาว มีหางสวยงามและยาวมาก มีสีฟ้าแกมม่วงส่วนบริเวณปลายหางมีสีขาว มีขนหางคู่บนยาวกว่าคู่อื่น ๆ ปากสีแดง ขาสีแดงส้มและตาสีดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก จนยากที่จะแยกได้ออกจากการมองแค่ภายนอก ความยาวจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 65-68 เซนติเมตร และมีขนหางยาวมากราว 37-42 เซนติเมตร หรือ 2 ใน 3 ของความยาวจากปากถึงปลายหาง ขนหางค่อนข้างแข็ง มี 12 เส้น ซึ่งแต่ละคู่ยาวลดหลั่นกันลงไป โดยมีขนหางคู่บนสุดยาวที่สุด ซึ่งยาวกว่าขนหางคู่ที่ 5 อย่างเห็นได้ชัด ปลายขนหางแต่ละเส้นมีลักษณะมน ขนหางทุกเส้นมีสีฟ้าอมม่วง แต่ปลายขนหางแต่ละเส้นเป็นแถบสีขาว และเฉพาะปลายขนหางคู่ที่ 1 ถึงคู่ที่ 5 มีแถบสีดำถัดจากแถบสีขาวด้วย ปลายขนหางคู่ที่ 6 ซึ่งเป็นคู่บนสุดโค้งลงมาเล็กน้อย พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เชิงเขาหิมาลัยจนถึงจีน, พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ ตามป่าละเมาะ, ป่าโปร่ง มักส่งเสียงร้องขณะที่มันเริ่มออกหากิน บางเวลาอาจลงมาหากินตามพื้นดินหรือซอกก้อนหิน ซอกไม้ผุ ๆ อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ เช่น ด้วง, ปลวก, หนอน, หอยทาก, กิ้งก่า, จิ้งจก, จิ้งเหลน, งู รวมทั้งปาด, ตะขาบ และหนู แม้แต่ไข่นกและลูกนกชนิดอื่นในรัง รวมทั้งซากสัตว์ด้วย ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะทำรังโดยนำกิ่งไม้เล็กมาขัดสานกันเป็นแอ่งตรงกลาง และรองพื้นด้วยรากไม้หรือใบไม้ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 3-6 ฟอง อยู่สูงจากพื้น 6-8 เมตร มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพราะสีสันและหางที่สวยงาม.

ดู วงศ์นกกาและนกขุนแผน

นกปีกลายสก็อต

'' Garrulus glandarius '' นกปีกลายสก็อต (Eurasian jay, Jay) เป็นนกขนาดกลางในวงศ์นกกา (Corvidae).

ดู วงศ์นกกาและนกปีกลายสก็อต

นกเกาะคอน

นกเกาะคอน หรือ นกจับคอน (Passerine, Perching bird) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ในกลุ่มนกขากรรไกรแบบใหม่ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passeriformes (โดยมีที่มาจาก Passer domesticus ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกระจอกใหญ่ และนกในสกุล Passer ที่เป็นนกขนาดเล็กที่ใกล้เคียงกัน) นกในอันดับนี้มีลักษณะทั่วไปทางกายภาค คือ เป็นนกที่มีวิวัฒนาการเพื่ออาศัยและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก นิ้วตีนมีทั้งหมด 4 นิ้ว ทุกนิ้วเจริญดีและอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงเหมาะแก่การจับหรือเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้หรือต้นไม้ในป่าประเภทต่าง ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินบนพื้นดิน ดังนั้นเมื่อเมื่อลงดินจะได้วิธีก้าวกระโดด โดยมากแล้วจะเป็นนกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ปัจจุบัน นักปักษีวิทยาได้แบ่งอันดับนี้เป็นอันดับย่อย 3 อันดับ (ดูในตาราง-บางข้อมูลจัดให้มี 2) โดยพิจารณาจากกล้ามเนื้อควบคุมกล่องเสียงที่อยู่ในลำคอ โดยบางอันดับย่อยจะมีกล้ามเนื้อนี้เพียง 2 คู่ ซึ่งยังเป็นลักษณะของนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้เสียงร้องไม่ไพเราะนัก แต่บางอันดับย่อยมีมากกว่า คือมี 4 คู่ ทำให้มีเสียงร้องที่ไพเราะกว่า นกในอันดับนี้มีมากกว่า 100 วงศ์ (ราว 110 วงศ์) ประมาณ 5,400 ชนิด ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยที่มีการค้นพบนกแล้วราว 1,000 ชนิด แบ่งเป็นนกในอันดับต่าง ๆ 16 อันดับ ใน 70 วงศ์ นกที่อยู่ในอันดับนี้นับว่ามากกว่าครึ่ง ได้แก.

ดู วงศ์นกกาและนกเกาะคอน

นกเรเวน

นกเรเวนธรรมดา (''Corvus corax'') นกเรเวน (Raven) เป็นชื่อสามัญของนกจำพวกหนึ่ง ในวงศ์นกกา (Corvidae) สกุลกา (Corvus) มีขนาดตัวใหญ่กว่านกกา โดยมีความยาวลำตัว 69 เซนติเมตร (22-27 นิ้ว) หนัก 0.69-1.63 กิโลกรัม (1.5-3.6 ปอนด์) มีอายุขัยระหว่าง 10-15 ปี เคยพบนกเรเวนที่มีอายุมากที่สุดที่ได้การบันทึกเอาไว้ มีอายุประมาณ 40 ปี โดยมากแล้วนกเรเวนจะใช้เรียกนกในสกุล Corvus ที่มีขนาดใหญ่และพบทางซีกโลกทางเหนือและซีกโลกตะวันตก นกเรเวนพบได้ในซีกโลกเหนือ ในเขตอบอุ่น ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือยกเว้นส่วนตะวันออกเฉียงใต้และประเทศที่อยู่ต่ำกว่าเม็กซิโกลงไป เกาะกรีนแลนด์ตอนใต้ ทวีปยุโรปบางส่วนยกเว้นตอนเหนือของเยอรมนี เอเชียตะวันตกเฉียงใต้บริเวณคาบสมุทรอะนาโตเลียและตอนเหนือของคาบสมุทรอาหรับ เอเชียเหนือยกเว้นดินแดนแถบคาบสมุทรไทเมอร์ เอเชียกลาง บางส่วนของเอเชียใต้ ภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และตอนเหนือของทวีปแอฟริกา นกเรเวนเป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการหาแหล่งอาหารได้ด้วยตนเอง นกเรเวนเป็นสัตว์กินได้ทั้งพิชและสัตว์ และเป็นสัตว์กินซาก อาหารส่วนใหญ่ของมันได้แก่ เมล็ดพืช ผลไม้โดยเฉพาะตระกูลเบอร์รี่ แมลง อาหารบูดเน่าและซากสัตว์ นกเรเวนใช้ชีวิตร่วมกับสังคมมนุษย์เป็นเวลาหลายพันปี แต่เป็นทางลบก็คือชอบทำลายข้าวของและรบกวนมนุษย์ มีการศึกษาแล้วพบว่านกเรเวนและอีกาจัดได้ว่าเป็นนกที่มีความเฉลียวฉลาดมากจนกล่าวได้ว่าเป็นนกที่มีความเฉลียวฉลาดที่สุดในโลก.

ดู วงศ์นกกาและนกเรเวน

นกเจย์สีน้ำตาลซินเจียง

นกเจย์สีน้ำตาลซินเจียง หรือ นกเจย์สีน้ำตาลทากลามากัน (Biddulph's ground jay, Xinjiang ground jay) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกนกเจย์ อยู่ในวงศ์นกกา (Corvidae) จัดเป็นนกเจย์พื้นดินชนิดหนึ่ง เป็นนกขนาดเล็กขนาดไม่ใหญ่เกินไปกว่าฝ่ามือมนุษย์ มีขนตามลำตัวสีน้ำตาล ตัวผู้มีแถบลายพาดที่ใบหน้าสีดำ ขณะที่ยังเป็นลูกนกจะมีขนปุกปุยและไม่มีแถบสีดำ เป็นนกที่พบได้เฉพาะถิ่นที่พบได้ในประเทศจีนเท่านั้น โดยพบในทะเลทรายทากลามากัน ในมณฑลซินเจียง ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีน นกตัวผู้จะเป็นฝ่ายหาเลี้ยงลูก โดยจิกหากินตามพื้นดิน อาหาร ได้แก่ เมล็ดพืชและแมลงต่าง ๆ รวมถึงอาจพลิกกิ่งไม้หากินได้ด้วย โดยมีถุงเก็บอาหารในลำคอเหมือนนกชนิดอื่นในวงศ์กาทั่วไป.

ดู วงศ์นกกาและนกเจย์สีน้ำตาลซินเจียง

เมลานีเซีย

แผนที่แสดงอาณาเขตเมลานีเซีย คำว่า "เมลานีเซีย" (Melanesia) แปลว่า หมู่เกาะสีดำ (Black Island) เป็นคำใช้เรียกภูมิภาคที่อยู่ในเขตหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกของทวีปโอเชียเนียและบางส่วนของทวีปเอเชีย ประชากรที่อาศัยอยู่ ณ ที่นี้ส่วนใหญ่เป็นประชากรผิวดำ มีภาษาพูดกว่า 800 ภาษา ทำให้มีอัตราความหนาแน่นของภาษามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และยังมีบางภาษาที่ใช้กันไม่ถึง 2,000 คน ส่วนประเทศมีทั้งหมด 5 ประเทศ และ 3 ดินแดนที่อยู่ในเขตนี้ ได้แก.

ดู วงศ์นกกาและเมลานีเซีย

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ดู วงศ์นกกาและเอเชียใต้

ดูเพิ่มเติม

นกแบ่งตามวงศ์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Corvidae