โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปักษีวิทยา

ดัชนี ปักษีวิทยา

ปักษีวิทยา (ornithology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของสัตววิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับนก คำว่า ornithology มาจากคำในภาษากรีก 2 คำ คือ ornis ("นก") และ logos ("ความรู้") ผู้ที่ศึกษาสาขาวิชานี้จะเรียกว่า "นักปักษีวิทยา" (ornithologist) มนุษย์ให้ความสนใจนกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากภาพเขียนบนผนังถ้ำในสมัยยุคหิน ในยุคแรก ความรู้เกี่ยวกับนกเริ่มมาจากความพยายามในการล่านกหายาก และการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อกินไข่และเนื้อ โดยเริ่มที่อียิปต์ ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล และที่จีน ประมาณ 246 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยใหม่ ปักษีวิทยาช่วยในการไขปริศนาหลายอย่างเกี่ยวกับวิวัฒนาการ พฤติกรรม และนิเวศวิทยา เพราะมีการศึกษาถึงสปีชีส์ กระบวนการเกิดสปีชีส์ใหม่ การเรียนรู้ การใช้สอยเครื่องมือ ฯลฯ โดยได้จากการศึกษาตัวอย่าง จากในห้องปฏิบัติการ และจากการลงพื้นที่จริง หมวดหมู่:สัตววิทยา หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:ปักษีวิทยา.

4 ความสัมพันธ์: ยุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินสัตววิทยาสปีชีส์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: ปักษีวิทยาและยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคหิน

หิน (Stone Age) หมายถึง ช่วงเวลาสมัยบรรพบุรุษมนุษย์สร้างเครื่องมือจากหิน ไม้ และกระดูก หรือวัสดุอื่น ๆ เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิต โดยมีหินลักษณะเฉพาะที่ใช้ในการตัดสิ่งของต่าง ๆ ที่เรียกว่าฟลินต์ (flint) จุดเริ่มต้นของยุคหินนั้นนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดอยู่ในช่วง 2-5 ล้านปีมาแล้ว ระยะเวลานั้นแตกต่างกันไปตามสถานที่พบซากวัสดุ แต่เนื่องจากไม่ได้มีหลักฐานบันทึกไว้แน่ และมนุษย์ก็ยังมีการใช้เครื่องมือที่ทำจากหินเป็นระยะเวลานานต่อมา หลังจากหมดยุคหินแล้ว จะเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า ยุคสำริด (Bronze Age) เนื่องจากมีพัฒนาวัสดุที่จำนำมาใช้เป็นเครื่องมือ จากหินมาเป็นโลหะสำริดแทน พบหลักฐานจากบริเวณตะวันออกกลาง คาดว่าน่าจะอยู่ในช่วง 2,000 - 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ยุคหินนั้นยังแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ช่วงย่อยคือ.

ใหม่!!: ปักษีวิทยาและยุคหิน · ดูเพิ่มเติม »

สัตววิทยา

ัตววิทยา (Zoology, มาจากภาษากรีกโบราณ ζῷον (zoon) หมายถึง "สัตว์" และ λόγος หมายถึง "วิทยาการ หรือ ความรู้") จัดเป็นศาสตร์ด้านชีววิทยาสาขาหนึ่ง เกี่ยวข้องกับสมาชิกในอาณาจักรสัตว์ และชีวิตสัตว์โดยทั่วไป โดยเป็นการศึกษาเรื่องสัตว์ ตั้งแต่พวกสัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลม กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตววิทยาศึกษาโดยรวมเกี่ยวกับร่างกายของสัตว์ ไม่ได้เน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง และกระบวนการสำคัญในการดำรงชีพ แต่ศึกษาความสัมพันธ์ของสัตว์หรือกลุ่มสัตว์กับสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นขอบเขตการศึกษาที่กว้าง จึงมักจะแบ่งย่อยเป็นสาขาอื่นๆ อีก เช่น วิทยาเซลล์, วิทยาตัวอ่อน, สัณฐานวิทยา, โบราณชีววิทยา, พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ, อนุกรมวิธาน, พฤติกรรมวิทยา, นิเวศวิทยา และสัตวภูมิศาสตร์ เป็นต้น สัตววิทยานั้นมีการศึกษามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และจักรวรรดิโรมัน จากงานของฮิปโปเครเตส, อะริสโตเติล, และพลินี นักธรรมชาตินิยมสมัยต่อมาเจริญรอยตามอริสโตเติล จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อมีการพิมพ์แพร่หลาย ความรู้เหล่านี้ก็กว้างขวางขึ้น มีการศึกษาและเผยแพร่มากขึ้น เช่น วิลเลียม ฮาร์วีย์ (การไหลเวียนของเลือด), คาโรลุส ลินเลียส (ระบบการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์), ฌอร์ฌ-หลุยส์ เลอแกลร์ก กงต์เดอบูว์ฟง (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) และฌอร์ฌ กูว์วีเย (กายวิภาคเปรียบเทียบ) ซึ่งเป็นการศึกษาในขั้นลึกของสัตววิทยา จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของการศึกษาสัตววิทยา ก็เมื่อชาลส์ ดาร์วิน ได้ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดพงศ์พันธุ์ (On the Origin of Species by Means of Natural Selection) ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต นับแต่นั้นการศึกษาด้านพันธุศาสตร์เริ่มมีความจำเป็นในการศึกษาทางชีววิทยา และการศึกษาในแนวลึกเฉพาะด้านเริ่มมีมากขึ้น และยังมีการศึกษาคาบเกี่ยวกันในแต่ละสาขาวิชาด้วย สำหรับสถาบันที่เปิดสอนศาสตร์ด้านสัตววิทยานั้น ในประเทศไทย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องผ่านการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีหลักสูตร สาขาวิชาสัตววิทยา และสาขาวิชาชีววิทยา เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตร คณะประมง เช่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น และเมื่อศึกษาจบแล้ว สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนได้ต่าง ๆ หลากหล.

ใหม่!!: ปักษีวิทยาและสัตววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปักษีวิทยาและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ornithologyปักษาวิทยานักปักษีวิทยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »