โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรมอญ

ดัชนี อักษรมอญ

อักษรมอญ เป็นตัวอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะ และเป็นแม่แบบของอักษรอื่น เช่น อักษรพม่า อักษรไทย อักษรลาว อักษรล้านนา อักษรไทลื้อ และอักษรธรรมที่ใช้เขียนคัมภีร์ในอักษรธรรมล้านนาและอักษรธรรมลาว อักษรมอญ เป็นอักษรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรพม่ามาก และสามารถนำไปใช้แทนอักษรพม่าได้ทุกตัว แต่อักษรพม่าไม่สามารถใช้แทนอักษรมอญได้ทุกตัว เพราะอักษรมอญมีตัวอักษรที่เพิ่มขึ้นมาจากอักษรพม่าปกต.

27 ความสัมพันธ์: พระเจ้าอโนรธามังช่อพระเจ้าจั่นซิตาภาษาบาลีภาษามอญภาษาสันสกฤตวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารวัดจามเทวีศาสนาพุทธศิลาจารึกหริภุญชัยอักษรฟินิเชียอักษรพม่าอักษรพราหมีอักษรลาวอักษรสระประกอบอักษรธรรมลาวอักษรธรรมล้านนาอักษรขอมอักษรปัลลวะอักษรแอราเมอิกอักษรไทยอักษรไทลื้ออักษรไทใหญ่อาณาจักรพุกามจังหวัดลำพูนจังหวัดนครศรีธรรมราชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พระเจ้าอโนรธามังช่อ

ระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอโนรธามังช่อ ในปัจจุบัน เจดีย์ชเวซีโกน ในปัจจุบัน พระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ พระเจ้าอโนรธา (Anawrahta Minsaw, Anawrahta, အနိရုဒ္ဓ) (พ.ศ. 1587-พ.ศ. 1620) ปฐมกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์พุกามผู้ก่อตั้งอาณาจักรพุกาม เรื่องราวของพระเจ้าอโนรธานั้นมีกล่าวอยู่มากมายในประวัติศาสตร์พม่า ทั้งตำนานพื้นบ้าน ศิลาจารึก และปรัมปราต่าง ๆ จนดูคล้ายเป็นกษัตริย์ในตำนานมากกว่าจะมีพระองค์จริง เช่น การขึ้นครองบัลลังก์ของพระองค์ด้วยการปราบดาภิเษกได้เพราะมีพระอินทร์อุปถัมภ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: อักษรมอญและพระเจ้าอโนรธามังช่อ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจั่นซิตา

ั่นซิตา (Kyanzittha, ကျန်စစ်သား; พ.ศ. 1627 - 1656) เป็นพระเจ้ากรุงพุกาม และถือเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์พม่าไม่แพ้พระเจ้าอโนรธามังช่อ เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นธรรมกษัตริย์ที่ทำนุบำรุงศาสนาพุทธจนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด จนเป็นที่ยอมรับทั้งจากชาวพม่าและชาวมอญ พระเจ้าจั่นซิตาเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา เมื่อพระเจ้าซอลูพระราชโอรสของพระเจ้าอโนรธาขึ้นครองราชย์ พระองค์มิได้ประกอบภารกิจอันใดด้วยความสามารถพระองค์เอง แต่จะทรงใช้และปรึกษาเหล่าเสนาอำมาตย์อยู่บ่อย ๆ ในปลายรัชสมัยพระเจ้าซอลู งะรมัน เจ้าเมืองพะโค ซึ่งเป็นชาวมอญได้ก่อกบฏขึ้นจับตัวพระเจ้าซอลูเป็นตัวประกัน จั่นซิตาซึ่งครองเมืองถิเลงอยู่ ไม่สามารถยกทัพกลับมาช่วยพระองค์ได้ทัน งะรมันได้สังหารพระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ และพยายามเข้ายึดครองอาณาจักรพุกามแต่จั่นซิตาได้เข้าขัดขวาง เหล่าเสนาอำมาตย์ และพระธัมมทัสสีมหาเถระที่ปรึกษาองค์สำคัญของพระเจ้าอโนรธา จึงได้อัญเชิญจั่นซิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ จั่นซิตามีพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตยธัมมมราชาTaw, Blagden 1911: 216 ในภาษาสันสกฤต ในจารึกพม่าเรียกพระองค์ว่า "ถิลุงมัง" (T’iluin Man) แปลว่า "กษัตริย์แห่งถิเลง" แต่เนื่องจากจั่นซิตามิได้มีเชื้อสายของกษัตริย์ พระองค์จึงอ้างสิทธิธรรมในการครองราชสมบัติว่าพระองค์ทรงเป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์ และเป็นองค์อวตารของพระวิษณุของชาวปยูอีกด้วย สมัยนี้จึงถือเป็นรัชสมัยที่ศิลปศาสตร์แบบมอญเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในพุกาม ในรัชสมัยของพระเจ้าจั่นซิตา ทรงติดต่อกับต่างประเทศเป็นอย่างมาก ในปี..

ใหม่!!: อักษรมอญและพระเจ้าจั่นซิตา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: อักษรมอญและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามอญ

ษามอญ (เพียซาโหม่น) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร ซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย พูดโดยชาวมอญ ที่อาศัยอยู่ในพม่า และไทย ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ. 1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว..

ใหม่!!: อักษรมอญและภาษามอญ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: อักษรมอญและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร.

ใหม่!!: อักษรมอญและวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดจามเทวี

วัดจามเทวี หรือเดิมชื่อ วัดกู่กุด ตั้งอยู่บนถนนจามเทวี หมู่ 5 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน.

ใหม่!!: อักษรมอญและวัดจามเทวี · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: อักษรมอญและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลาจารึก

ลาจารึกของอียิปต์โบราณ ศิลาจารึก เป็นวรรณกรรมชนิดลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่ง อาศัยการบันทึกบนเนื้อศิลา ทั้งชนิดเป็นแผ่น และเป็นแท่ง โดยใช้โลหะแหลมขูดเนื้อศิลาให้เป็นตัวอักษร เรียกว่า จาร หรือ การจารึก ศิลาจารึกมีคุณค่าในเชิงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ผู้จารึกหรือผู้สั่งให้มีศิลาจารึกมักจะเป็นผู้มีอำนาจ มิใช่บุคคลทั่วไป เนื้อหาที่จารึกมีความหลากหลายตามความประสงค์ของผู้จารึก เช่น บันทึกเหตุการณ์ บันทึกเรื่องราวในศาสนา บันทึกตำรับตำราการแพทย์และวรรณคดี เป็นต้น จารึกบนแท่งศิลานั้นมีความคงทน คงสภาพอยู่ได้นับพันๆ ปี ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์และนักภาษาศาสตร์จึงสามารถสืบสานความรู้ย้อนไปได้นับพันๆ ปี โดยเฉพาะความรู้ด้านอักษร และภาษา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา จารึกที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ได้แก.

ใหม่!!: อักษรมอญและศิลาจารึก · ดูเพิ่มเติม »

หริภุญชัย

หริภุญชัย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อักษรมอญและหริภุญชัย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพม่า

ตัวพยัญชนะพม่า ตั้งแต่ กะ ถึง อะ (ถอดเป็นอักษรไทยตามรูป จากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง) ก,ข, ค, ฆ, ง, จ, ฉ, ช, ฌ, ญ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ต, ถ, ท, ธ, น, ป, ผ, พ, ภ, ม, ย, ร, ล, ว, ส, ห, ฬ, อ อักษรพม่า (မြန်မာအက္ခရာ) เป็นอักษรในตระกูลอักษรพราหฺมี ใช้ในประเทศพม่าสำหรับการเขียนภาษาพม่า ในสมัยโบราณ การเขียนอักษรพม่าจะกระทำโดยการจารลงในใบลาน ตัวอักษรพม่าจึงมีลักษณะโค้งกลมเพื่อหลบร่องใบลาน อักษรพม่าเขียนจากซ้ายไปขวาเหมือนอักษรไทย และอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรพม่าประกอบด้วยพยัญชนะ และสระ โดยมีพยัญชนะ 33 ตัว ตั้งแต่ (กะ) ถึง (อะ) ซึ่งเสียงของพยัญชนะจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยสระที่เขียนเหนือ, ใต้, หรือข้าง ๆ พยัญชนะ เหมือนกับอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรพม่าใกล้เคียงกับอักษรมอญมาก แต่วิธีการออกเสียงเมื่อประสมสระต่างกัน ทั้งนี้เพราะความแตกต่างของทั้ง 2 ภาษา เช่นภาษาพม่ามีวรรณยุกต์แต่ภาษามอญไม่มี กล่าวกันว่าพม่ารับเอาอักษรมอญมาดัดแปลงเมื่อเข้าครอบครองอาณาจักรมอญโบราณ ในทำนองเดียวกันเมื่อพม่าเข้าครอบครองอาณาจักรไทใหญ่ ชาวไทใหญ่ได้นำอักษรพม่าบางตัวไปเขียนภาษาบาลีเพราะอักษรไทใหญ่มีไม่พอ.

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรพม่า · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพราหมี

อักษรพราหมี อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) เป็นต้นกำเนิดของอักษรในอินเดียมากมาย รวมทั้งอักษรเขมรและอักษรทิเบตด้วย พบในอินเดียเมื่อราว..

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลาว

อักษรลาว เป็นชื่ออักษรที่รัฐบาลลาวรับรองให้ใช้เขียนภาษาลาว ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการในปัจจุบัน มีพัฒนาการมาจากอักษรลาวเดิม (หรือในอีกชื่อหนึ่ง คือ อักษรไทน้อย) ซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นในสมัยราชวงศ์ล้านช้าง เมื่อราว พ.ศ. 1900 โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรลาวโบราณสมัยรัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้มเป็นต้นมา ซึ่งที่มาจากอักษรมอญและอักษรเขมร (อักษรขอม) อีกต่อหนึ่ง ลักษณะการใช้งานยังคงมีระบบการเขียนคล้ายอักษรไทยโบราณ ที่ไม่ใช้แล้วในอักษรไทยปัจจุบัน เช่น การใช้ไม้กงแทนเสียงสระโอะเมื่อมีตัวสะกด หรือการใช้ตัวเชิงของอักษร ย แทนสระเอียเมื่อมีตัวสะกด เป็นต้น.

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรลาว · ดูเพิ่มเติม »

อักษรสระประกอบ

อักษรเทวนาครีเป็นอักษรสระประกอบชนิดหนึ่ง อักษรสระประกอบ เป็นรูปแบบของระบบการเขียนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะและสระ แต่พยัญชนะจะมีความสำคัญมากกว่าสระ ซึ่งแตกต่างจากอักษรสระ-พยัญชนะ (alphabet) ที่เป็นระบบการเขียนทั้งสระและพยัญชนะจะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และแตกต่างจากอักษรไร้สระ (abjad) ซึ่งมักจะไม่มีรูปสระปรากฏอยู่เลย ในบรรดาระบบการเขียนทั้งหมดในโลกนี้ มีอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของระบบการเขียนทั้งหมดที่เป็นอักษรสระประกอบ ซึ่งอักษรไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน คำว่า "อักษรสระประกอบ" เป็นคำแปลจากคำว่า abugida ซึ่งเป็นคำที่ Peter T. Daniels นำมาใช้เรียกระบบการเขียนรูปแบบนี้ โดยคำนี้มาจากชื่อของอักษรเอธิโอเปีย (’ä bu gi da) ในภาษาเอธิโอเปีย โดยนำมาจากชื่ออักษรสี่ตัวของอักษรเอธิโอเปีย (ในทำนองเดียวกับคำว่า alphabet ที่มาจากชื่ออักษรกรีก แอลฟา และ บีตา) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรสระประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรธรรมลาว

ป้ายชื่อวัดศรีอุบลรัตนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี อักษรในป้ายนี้เขียนด้วยอักษรธรรมล้านช้าง'''รูปปริวรรตอักษรไทย:''' "วฺดสฺรีอุบนรตฺตนาราม"'''คำอ่าน:''' "วัดศรีอุบลรัตนาราม" อักษรธรรมลาว หรือ อักษรธรรมล้านช้าง เป็นอักษรที่มีวิวัฒนาการมาจากอักษรมอญ และอักษรธรรมล้านนา ใช้ในการเขียนคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในสมัยโบราณ สามารถเขียนคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ได้ครบถ้วน และใช้ในการเขียนภาษาลาวได้ด้วย แต่ไม่นิยมใช้ อักษรชนิดนี้ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เขียน และกำลังเสื่อมสูญไป จะพบตามคัมภีร์ใบลานเก่าๆ ที่เรียกว่าหนังสือผูก และยังมีใช้อยู่บ้างในองค์กรทางพุทธศาสนาของลาว ในประเทศไทยสามารถพบอักษรชนิดนี้ได้เช่นกัน หากแต่เรียกกันว่า "อักษรธรรมอีสาน" ตามชื่อท้องถิ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรธรรมลาว · ดูเพิ่มเติม »

อักษรธรรมล้านนา

ป้ายชื่อวัดหม้อคำตวง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เขียนด้วยอักษรธรรมล้านนา'''ถอดเป็นอักษรไทย:''' "วัดหฺมฺ้อฅำทฺวง์"'''คำอ่าน:''' "วัดหม้อคำตวง" อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง (210px อักขรธัมม์ล้านนา รฤ ตัวเมือง; ᦒᧄ, ธรรม, "คัมภีร์") หรือ อักษรยวน ภาษาไทยกลางในอดีตเรียกว่า ไทยเฉียง เป็นอักษรที่ใช้ในสามภาษา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ, ภาษาไทลื้อและภาษาเขิน นอกเหนือจากนี้ อักษรล้านนายังใช้กับลาวธรรม (หรือลาวเก่า) และภาษาถิ่นอื่นในคัมภีร์ใบลานพุทธและสมุดบันทึก อักษรนี้ยังเรียก อักษรธรรมหรืออักษรยวน ภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นภาษาใกล้ชิดกับภาษาไทยและเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาเชียงแสน มีผู้พูดเกือบ 6,000,000 คนในภาคเหนือของประเทศไทย และหลายพันคนในประเทศลาว ซึ่งมีจำนวนน้อยที่รู้อักษรล้านนา อักษรนี้ยังใช้อยู่ในพระสงฆ์อายุมาก ภาษาไทยถิ่นเหนือมีหกวรรณยุกต์ ขณะที่ภาษาไทยมีห้าวรรณยุกต์ ทำให้การถอดเสียงเป็นอักษรไทยมีปัญหา มีความสนใจในอักษรล้านนาขึ้นมาอีกบ้างในหมู่คนหนุ่มสาว แต่ความยุ่งยากเพิ่มขึ้น คือ แบบภาษาพูดสมัยใหม่ ที่เรียก คำเมือง ออกเสียงต่างจากแบบเก.

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรธรรมล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรขอม

ลาจารึกอักษรขอมโบราณ ที่เสาในปราสาทโลเลย ลัญจกรพระบรมราชโองการสำหรับพิมพ์หัวกระดาษประกาศกฎหมายต่างๆ แบบที่ใช้ในช่วงก่อน พ.ศ. 2483 ข้อความในแพรแถบตอนล่างสุดเป็นอักษรขอมข้อความ "พฺระบรมฺมราชโองฺการ" อักษรขอมพัฒนามาจากอักษรหลังปัลลวะ ซึ่งพัฒนามาจากอักษรปัลลวะอีกทีหนึ่ง เป็นตัวอักษรของราชวงศ์ปัลลวะในอินเดียใต้ ภายหลังได้มาติดต่อกับภูมิภาคอุษาคเนย์จึงได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมซึ่งรวมถึงตัวอักษรไว้ให้กับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้อีกด้วย ต่อมาอักษรชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในภูมิภาคนี้ มีวิวัฒนาการต่อไป จากอักษรปัลลวะ เป็นอักษรหลังปัลลวะ หลังจากนั้นก็แตกแขนงเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คืออักษรมอญโบราณ และอักษรขอมโบราณ อักษรขอมโบราณใช้ในอาณาจักรต่างๆ สองฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร ต่อมาจึงกลายเป็นอักษรท้องถิ่นในสมัยพระนคร และเป็นต้นแบบของอักษรไทยและอักษรเขมรในปัจจุบัน เอกลักษณ์ของอักษรขอม คือ เปลี่ยนบ่าอักษรของอักษรปัลลวะเป็นศกหรือหนามเตย อักษรนี้พัฒนาไป 2 ทิศทาง คือ เป็นอักษรขอมในประเทศไทย (ใช้เขียนภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร) และอักษรขอมในประเทศกัมพูชา (ใช้เขียนภาษาเขมร ภาษาบาลี).

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรขอม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรปัลลวะ

รึกอักษรปัลลวะที่พบในศรีลังกา อักษรปัลลวะ เป็นอักษรสระประกอบที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดียใต้ มีอายุอยู่ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 - 14 ซึ่งได้พัฒนาจนกลายเป็นอักษรทมิฬและอักษรมาลายาลัมในปัจจุบัน อักษรดังกล่าวเคยใช้เขียนภาษาทมิฬและภาษามาลายาลัม โดยเข้าไปแทนที่อักษรแบบเดิมซึ่งมีต้นกำเนิดจากอักษรพราหมีและยังใช้เขียนภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ ด้วย อักษรปัลลวะเป็นอักษรชนิดแรกที่แพร่เข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นอักษรต้นแบบของอักษรมอญโบราณ อักษรขอมโบราณ และอักษรกวิ ซึ่งอักษรทั้งสามประเภทก็เป็นอักษรต้นแบบให้กับอักษรเกือบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรปัลลวะ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรแอราเมอิก

อักษรแอราเมอิก (Aramaic alphabet) พัฒนาขึ้นในช่วง 1,000 - 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเข้ามาแทนที่อักษรรูปลิ่มของอัสซีเรียซึ่งเป็นระบบการเขียนหลักของจักรวรรดิอัสซีเรีย อักษรนี้เป็นต้นกำแนิดของอักษรตระกูลเซมิติกอื่น ๆ และอาจเป็นต้นกำเนิดของอักษรขโรษฐี ที่ใช้ในแถบเอเชียกลางแถบแคว้นคันธาระและพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช อักษรแอราเมอิกยุคแรกเริ่มถูกแทนที่ด้วยอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยม ที่รู้จักต่อมาในชื่ออักษรแอราเมอิก.

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทลื้อ

อักษรไทลื้อ เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทลื้อ มี 2 แ.

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรไทลื้อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทใหญ่

อักษรไทใหญ่ (ไทใหญ่ː လိၵ်ႉတူဝ်တႆး ลิกตัวไท, สัทอักษร: /lḭk.tǒ.táj/) พัฒนามาจากอักษรไทใต้คงเก่า ซึ่งเป็นอักษรที่ใช่ในหมู่ชาวไทใหญ่ทั้งหมด โดยยังคงมีลักษณะกลม เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนไปเขียนด้วยพู่กันเหมือนอักษรไทใต้คง เมื่อรัฐฉานตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเมื่อ..

ใหม่!!: อักษรมอญและอักษรไทใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรพุกาม

อาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom; ပုဂံခေတ်) เป็นอาณาจักรโบราณในช่วง..

ใหม่!!: อักษรมอญและอาณาจักรพุกาม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลำพูน

ังหวัดลำพูน (30px หละปูน) เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวีเดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพญายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พญามังราย ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา ถึงแม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่ และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง..

ใหม่!!: อักษรมอญและจังหวัดลำพูน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครศรีธรรมราช

นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดในประเทศไทย มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ในอดีต มีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ เช่น ในคัมภีร์มหานิเทศของอินเดีย ที่เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 เรียกว่า "ตามพรลิงก์" หรืออาณาจักรตามพรลิงก์, บันทึกโบราณของเมืองจีนเรียก "เซี้ยะ-โท้ว (ถู-กวั่ว) ", "รักตะมฤติกา" (จารึกภาษาสันสกฤต) ซึ่งล้วนหมายถึง "ดินแดนที่มีดินสีแดง", ตะวันตกนิยมเรียกกันมา จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต มีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาห.

ใหม่!!: อักษรมอญและจังหวัดนครศรีธรรมราช · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: อักษรมอญและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mon scriptอักษรมอญโบราณอักษรรามัญ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »