โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าจั่นซิตา

ดัชนี พระเจ้าจั่นซิตา

ั่นซิตา (Kyanzittha, ကျန်စစ်သား; พ.ศ. 1627 - 1656) เป็นพระเจ้ากรุงพุกาม และถือเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์พม่าไม่แพ้พระเจ้าอโนรธามังช่อ เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นธรรมกษัตริย์ที่ทำนุบำรุงศาสนาพุทธจนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด จนเป็นที่ยอมรับทั้งจากชาวพม่าและชาวมอญ พระเจ้าจั่นซิตาเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา เมื่อพระเจ้าซอลูพระราชโอรสของพระเจ้าอโนรธาขึ้นครองราชย์ พระองค์มิได้ประกอบภารกิจอันใดด้วยความสามารถพระองค์เอง แต่จะทรงใช้และปรึกษาเหล่าเสนาอำมาตย์อยู่บ่อย ๆ ในปลายรัชสมัยพระเจ้าซอลู งะรมัน เจ้าเมืองพะโค ซึ่งเป็นชาวมอญได้ก่อกบฏขึ้นจับตัวพระเจ้าซอลูเป็นตัวประกัน จั่นซิตาซึ่งครองเมืองถิเลงอยู่ ไม่สามารถยกทัพกลับมาช่วยพระองค์ได้ทัน งะรมันได้สังหารพระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ และพยายามเข้ายึดครองอาณาจักรพุกามแต่จั่นซิตาได้เข้าขัดขวาง เหล่าเสนาอำมาตย์ และพระธัมมทัสสีมหาเถระที่ปรึกษาองค์สำคัญของพระเจ้าอโนรธา จึงได้อัญเชิญจั่นซิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ จั่นซิตามีพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตยธัมมมราชาTaw, Blagden 1911: 216 ในภาษาสันสกฤต ในจารึกพม่าเรียกพระองค์ว่า "ถิลุงมัง" (T’iluin Man) แปลว่า "กษัตริย์แห่งถิเลง" แต่เนื่องจากจั่นซิตามิได้มีเชื้อสายของกษัตริย์ พระองค์จึงอ้างสิทธิธรรมในการครองราชสมบัติว่าพระองค์ทรงเป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์ และเป็นองค์อวตารของพระวิษณุของชาวปยูอีกด้วย สมัยนี้จึงถือเป็นรัชสมัยที่ศิลปศาสตร์แบบมอญเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในพุกาม ในรัชสมัยของพระเจ้าจั่นซิตา ทรงติดต่อกับต่างประเทศเป็นอย่างมาก ในปี..

31 ความสัมพันธ์: ชาวพม่าชาวมอญพระวิษณุพระโพธิสัตว์พระเจ้าอลองสิธูพระเจ้าอโนรธามังช่อพระเจ้าซอลูพะโคพุกามพุทธคยากบฏภาพยนตร์ภาษาสันสกฤตภิกษุมหายานราชวงศ์ซ่งรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่าศาสนาพุทธศาสนาอิสลามสุเนตร ชุตินธรานนท์อาณาจักรพุกามอาณาจักรอิศานปุระจักรพรรดิจีนตรัสรู้ซะไกง์ปยูประเทศอินเดียประเทศจีนไคเฟิงเจดีย์ชเวซีโกนเถรวาท

ชาวพม่า

ม่า (บะหม่า หลุ มฺโย้, คำเมือง: ม่าน) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ในประเทศพม่า พบมากในประเทศพม่า ชาวพม่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบแม่น้ำอิรวดี ชาวพม่าส่วนใหญ่ใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและชาวพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ชาวมอญ

มอญ (မွန်လူမျိုး; မန် หรือ မည်; IPA:; อังกฤษ: Mon) เป็นชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและชาวมอญ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอลองสิธู

พระเจ้าอลองสิธู ในรูปลักษณ์ของนัต "เมงสิธู" พระเจ้าอลองสิธู (Alaungsithu, အလောင်းစည်သူ) กษัตริย์ในราชวงศ์พุกาม ที่ครองราชย์อย่างยาวนานถึงกว่า 54 ปี (พ.ศ. 1656 - พ.ศ. 1710) ยุคสมัยของพระองค์ อาณาจักรพุกามเจริญถึงขั้นขีดสุดในทุกด้าน พระเจ้าอลองสิธู เป็นพระโอรสของพระเจ้าซอลู พระโอรสของพระเจ้าอโนรธามังช่อกับพระธิดาของพระเจ้าจานสิตา ครองราชย์หลังการสวรรคตของพระเจ้าจานสิตา พระนามภาษาสันสกฤตเมื่อทรงครองราชย์นั้น พบในจารึกที่วัดชเวกูยี ออกพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตย์บวรธรรมราชา แต่พระนามที่เป็นที่รู้จักกัน คือ "สิธู" (Sithu) ซึ่งแปลว่า "วีรบุรุษผู้ชนะ" หรือ อลองสิธู (Alaungsithu) เนื่องจากทรงประกาศพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ด้วยเช่นเดียวกับพระเจ้าจานสิตา พระอัยกาของพระองค์ (อลอง แปลว่าพระโพธิสัตว์) ในยุคสมัยนี้ศิลปะแบบมอญที่เคยรุ่งเรืองในสมัยแรก ๆ ของอาณาจักร ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบของพุกามมากขึ้นจนถือได้ว่าเป็นจุดรุ่งเรืองสูงสุดของศิลปะพม่าแท้ รัชสมัยของพระองค์ เป็นรัชสมัยที่ทรงสร้างความรุ่งเรืองทางศิลปะ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม และ การเมืองการปกครอง อย่างแท้จริง พระเจ้าอลองสิธู ทรงเป็นกษัตริย์นักเดินทางไม่แพ้พระอัยกาของพระองค์ เพราะทรงเดินทางไปเยือนดินแดนต่าง ๆ ในเขตลุ่มน้ำอิระวดี และดินแดนโพ้นทะเล เช่น ชวา สุมาตรา และศรีลังกา ในทางการเมืองการปกครอง พระองค์สามารถยึดเมืองท่าตะนาวศรีได้ จึงสามารถควบคุมการติดต่อทางทะเลที่บริเวณคอคอดกระได้ เช่น การควบคุมการค้าช้างระหว่างขอม และลังกา ทำให้อาณาจักรพุกามรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ปลายรัชสมัยจัดเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของความเสื่อมของอาณาจักรเมื่อพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยเจ้าชายซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง ตามตำนานเล่าว่าพระเจ้าอลองสิธูประชวรพระวาโยสิ้นพระสติ (เป็นลมจนหมดสติ) เจ้าชายนราธู พระราชโอรสจึงอัญเชิญพระองค์ไปประทับรักษาพระวรกายที่วัดแห่งหนึ่ง เมื่อฟื้นคืนพระสติเจ้าชายนราธูใช้ผ้าปูพระแท่น (ผ้าปูเตียง) อุดพระนาสิกและพระโอษฐ์จนพระเจ้าอลองสิธูสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 87 พรรษา โดยที่พระองค์มิได้แต่งตั้งผู้ใดให้เป็นรัชทายาท เมื่อข่าวทราบถึงเจ้าชายมินชินสอมกุฏราชกุมารยกทัพกลับเข้าพุกามเพื่อเข้ามาจัดงานพระศพพระราชบิดา เจ้าชายนราธูถวายราชสมบัติคืนแก่พระเชษฐาโดยได้ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้ามินชินสอ ในปี พ.ศ. 1706 แต่ก็ครองราชย์ได้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษระหว่างงานฉลองในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยเจ้าชายนราธูอีก ปัจจุบัน พระเจ้าอลองสิธูได้รับการบูชาให้เป็นนัตหลวงลำดับที่ 31 โดยเรียกว่า เมงสิธู (Min Sithu) หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พุกาม หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและพระเจ้าอลองสิธู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอโนรธามังช่อ

ระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอโนรธามังช่อ ในปัจจุบัน เจดีย์ชเวซีโกน ในปัจจุบัน พระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ พระเจ้าอโนรธา (Anawrahta Minsaw, Anawrahta, အနိရုဒ္ဓ) (พ.ศ. 1587-พ.ศ. 1620) ปฐมกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์พุกามผู้ก่อตั้งอาณาจักรพุกาม เรื่องราวของพระเจ้าอโนรธานั้นมีกล่าวอยู่มากมายในประวัติศาสตร์พม่า ทั้งตำนานพื้นบ้าน ศิลาจารึก และปรัมปราต่าง ๆ จนดูคล้ายเป็นกษัตริย์ในตำนานมากกว่าจะมีพระองค์จริง เช่น การขึ้นครองบัลลังก์ของพระองค์ด้วยการปราบดาภิเษกได้เพราะมีพระอินทร์อุปถัมภ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและพระเจ้าอโนรธามังช่อ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซอลู

พระเจ้าซอลู กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์พุกามเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอโนรธามังช่อมหาราชองค์แรกของพม่า เมื่อพระราชบิดาสวรรคตด้วยการถูกควายเผือกขวิดในปีค.ศ. 1077 (พ.ศ. 1620) พระองค์จึงขึ้นครองราชย์แทนโดยตลอด 7 ปีแห่งการครองราชย์ทรงเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอเนื่องจากมิได้ทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองทรงพึ่งแต่เหล่าที่ปรึกษาของพระราชบิดารวมทั้งพระชินอรหันต์ พระอาจารย์ของพระราชบิดาจึงทำให้ในปีค.ศ. 1084 (พ.ศ. 1627) ระงมันพระสหายสนิทของพระองค์ ซึ่งเป็นบุตรชายของราชครูพระอาจารย์ของพระองค์เอง ซึ่งทรงบัญชาให้ไปปกครองเมืองพะโคได้จับพระองค์เป็นตัวประกันและปลงพระชนม์พระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ ซึ่งขณะนั้นจานสิตาซึ่งครองเมืองถิเลงอยู่ได้พยายามยกกองทัพมาช่วยพระองค์แต่ไม่ทัน และระงมันได้พยายามเข้าครอบครองอาณาจักรพุกาม จึงทำให้จานสิตาได้ยกกองทัพมาต่อสู้กับระงมันและในที่สุดจานสิตาก็ได้ชัยชนะ เหล่าขุนนางทั้งหลายรวมทั้งพระชินอรหันต์จึงได้อัญเชิญจานสิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าจานสิตา หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พุกาม หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและพระเจ้าซอลู · ดูเพิ่มเติม »

พะโค

(ပဲခူးမြို့, Bago หรือ Pegu) หรือชื่อในอดีตคือ หงสาวดี (ဟံသာဝတီ, หงสาวะโตย; Hongsawatoi, Hanthawaddy, Hanthawady, Hanthawadi หรือ Handawaddy) เป็นเมืองหลวงของเขตหงสาวดี ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะ ทางตอนใต้ของประเทศพม่า นครหงสาวดีเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ และอาณาจักรตองอูของชาวพม.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและพะโค · ดูเพิ่มเติม »

พุกาม

กาม (Bagan, ပုဂံ) เมืองในประเทศพม่า เคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรพุกาม (พ.ศ. 1587 - พ.ศ. 1830) อาณาจักรแห่งแรกของชาวพม่า พุกามเป็นเมืองที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก เนื่องด้วยความกังวลจากการบูรณะที่อาจผิดวิธี แต่ได้มีอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นเพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกในอนาคตUnesco 1996Tourtellot 2004 ปัจจุบันรัฐบาลทหารพม่ากำลังพยายามเร่งเสนอชื่อและเตรียมความพร้อมให้เป็นมรดกโลกทางศิลปวัฒนธรรมแห่งต่อไป เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและพุกาม · ดูเพิ่มเติม »

พุทธคยา

ทธคยา (บาลี: พุทฺธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple, बोधगया) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญใน อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่ง ของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและพุทธคยา · ดูเพิ่มเติม »

กบฏ

กบฏ, ขบถ หรือ กระบถ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและกบฏ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า

ทความนี้รวบรวมรายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรต่าง ๆ ภายในประเทศพม.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและรายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

สุเนตร ชุตินธรานนท์

ตราจารย์ สุเนตร ชุตินธรานนท์ นักประวัติศาสตร์ และนักเขียนบทภาพยนตร์ชาวไท.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและสุเนตร ชุตินธรานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรพุกาม

อาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom; ပုဂံခေတ်) เป็นอาณาจักรโบราณในช่วง..

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและอาณาจักรพุกาม · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอิศานปุระ

อาณาจักรอิศานปุระ หรือ อาณาจักรเจนละ เป็นอาณาจักรโบราณ เจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ปัจจุบันคือภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และตอนล่างของประเทศลาว สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมัน หรือพระเจ้าจิตรเสน ผู้ครองแคว้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู หลังจากที่ได้รับการสิบทอดอำนาจจากพระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าอิศานวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์ราว พ.ศ. 1153 - พ.ศ. 1198 ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ ในที่สุดก็ได้ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน เป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนัน และได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ ชื่อว่า อิศานปุระ เมืองอิศานปุระ ที่พระเจ้าอิศานวรมันสถาปนาขึ้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ตั้งอยู่บริเวณกลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (สมโบไพรกุก) ในเขตจังหวัดกัมปงธม ในประเทศกัมพูชา ซึ่งปรากฏหลักฐานปราสาทอิฐ ศาสนสถานในศาสนาฮินดูจำนวนมาก หลังจากรัชสมัยพระเจ้าอิศานวรมัน มีกษัตริย์ปกครองอีก 2 พระองค์ คือพระเจ้าภววรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 หลังจากนั้นบ้านเมืองเกิดความแตกแยก อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน กลายเป็น เจนละบก และ เจนละน้ำ ทำให้เมืองอีศานปุระถูกลดความสำคัญลง และต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เชื้อสายของพระเจ้าอิศานวรมัน ได้รวบรวมทั้งสอง และสถาปนาอาณาจักรขึ้นใหม่ ชื่อว่า ยโศธรปุระ หรือเมืองพระนคร บริเวณจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (อิศานปุระ) เป็นกลุ่มปราสาทโบราณมีอายุมากกว่า 1390 ปี มีปราสาทที่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานในปัจจุบันมากกว่า 170 ที่ โดยมีปราสาทสำคัญอยู่ 3 กลุ่มหลักในบริเวณราชธานีอิศานปุระ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะให้นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้ และเนื่องจากมีปราสาทมากมายนับร้อยแห่ง จึงทำให้นักโบราณคดีชาวตะวันตกที่เข้ามาทำการสำรวจในพื้นที่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้จัดทำระบบบัญชีชื่อปราสาทต่างๆขึ้นและยังคงใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์มี ชื่อเป็นทางการ เป็นตัวอักษรและตัวเลข แทนชื่อที่ชาวบ้านเรียก โดยปราสาทต่าง ๆ ในกลุ่มเหนือ จะมีชื่อขึ้นต้นว่า N (North) ปราสาทกลุ่มกลางมีชื่อขึ้นต้นว่า C (Central) และปราสาทกลุ่มใต้ มีชื่อขึ้นต้นว่า S (South) แล้วตามด้วยตัวเลขที่แสดงถึงความสำคัญ หรือตามลำดับการเรียงตัวที่ตั้งของปราสาท เช่น N1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มเหนือ S1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มใต้ คือปราสาทเนียกปวน และ C1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มกลาง คือปราสาทตาว เป็นต้น.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและอาณาจักรอิศานปุระ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจีน

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

ตรัสรู้

ตรัสรู้ หมายถึง การรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการรู้สภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงในหลักอริยสัจ 4.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและตรัสรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ซะไกง์

ซะไกง์ เป็นเมืองในเขตซะไกง์ ประเทศพม่า ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำอิรวดี ตรงข้ามกับเมืองอังวะ เมืองซะไกง์มีวัดทางพุทธศาสนาที่สำคัญหลายแห่ง เมืองสร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เพื่อเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสะกาย (ค.ศ. 1315–1364) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาณาจักรเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้นหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม เมืองซะไกง์เคยเป็นเมืองหลวงของพม่าระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและซะไกง์ · ดูเพิ่มเติม »

ปยู

ปยู (Pyu) เป็นชนชาติหนึ่ง ตระกูลพม่า-ทิเบต ซึ่งเคยเป็นเจ้าของพื้นที่ในที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-14 (ประมาณ 100 ปีก่อนคริสตกาล–ค.ศ. 840) อยู่ในยุคเดียวกันกับกลุ่มรัฐยะไข่ ชาวปยูตั้งศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแปร และเรียกอาณาจักรของตนเองว่า ศรีเกษตร ซึ่งแปลว่า ดินแดนแห่งความโชคดี เมืองแปรเป็นศูนย์กลางการค้าในระยะเวลานั้น เพราะอยู่ไม่ห่างจากทะเลมากนัก เมืองสำคัญของนครรัฐปยูคือเมืองเบกทาโนและเมืองฮาลินซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและปยู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ไคเฟิง

ไคเฟิง ตามสำเนียงกลาง หรือ คายฮอง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นเมืองในมณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำฮวงโห (หรือแม่น้ำเหลือง) เป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ไคเฟิงแต่เดิมนั้นมีชื่อว่าเปี้ยนโจว ในสมัยราชวงศ์โฮ่วเหลียงเปลี่ยนชื่อเป็น เปี้ยนจิง ครั้งมา พอมาถึงสมัยหลังได้เปลี่ยนเป็น ไคเฟิง นครไคเฟิงเป็นที่รู้จักกันดีเพราะเคยเป็นที่ทำงานของเปาบุ้นจิ้น หมวดหมู่:เมืองในมณฑลเหอหนาน.

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและไคเฟิง · ดูเพิ่มเติม »

เจดีย์ชเวซีโกน

ีย์ชเวซีโกน (ရွှေစည်းခုံ စေတီတော်) เป็นวัดในเมืองนยองอู อยู่ใกล้พุกามในพม่า เป็นต้นแบบเจดีย์แบบพม่า การก่อสร้างเจดีย์ชเวซีโกน เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธามังช่อ (พ.ศ. 1587-พ.ศ. 1620) ซึ่งเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรพุกามในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและเจดีย์ชเวซีโกน · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: พระเจ้าจั่นซิตาและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระเจ้ากยันสิทธะพระเจ้าจานสิตา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »