โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล

ดัชนี อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล

อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล ประกอบด้วยกาแล็กซีที่มีอายุ ขนาด รูปร่าง และสีแตกต่างกัน อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล (Hubble Ultra Deep Field) คือ ภาพถ่ายพื้นที่เล็กๆในกลุ่มดาวเตาหลอมจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2003 จนถึงวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2004 เป็นภาพถ่ายคลื่นที่ตามองเห็นของจักรวาลที่อยู่ลึกที่สุดเท่าที่เคยมีมา ภาพถ่ายนี้ประกอบด้วยกาแล็กซีประมาณ 10,000 กาแล็กซี เมื่อมองดูจากโลกแล้วภาพถ่ายนี้จะมีขนาดประมาณ 1 ใน 10 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ แม้ว่ากาแล็กซีส่วนใหญ่ในภาพนี้จะสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกที่มีความสามารถในการถ่ายคลื่นอินฟราเรด แต่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลก็เป็นอุปกรณ์เพียงตัวเดียวที่สามารถถ่ายภาพคลื่นที่ตามองเห็นของกาแล็กซีเหล่านี้ได้ กาแล็กซีเหล่านี้อยู่ในครึ่งทรงกลมใต้ของกลุ่มดาวเตาหลอม ที่ไรต์แอสเซนชัน 3 ชั่วโมง 32 นาที 40.0 วินาที เดคลิเนชัน -27° 47' 29" ครอบคลุมพื้นที่ 36.7 ตารางลิปดา มุมบนซ้ายของภาพชี้ไปยังทิศเหนือ (-46.4°) ของทรงกลมฟ้า ดาวฤกษ์ที่อยู่ตรงกลางภาพคือ USNO-A2.0 0600-01400432 มีความส่องสว่างปรากฏ 18.95 การถ่ายภาพอวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลต้องใช้ปริมาณการรับแสงถึง 800 หน่วย โดยกินเวลาถึง 400 รอบการโคจรของกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2546พ.ศ. 2547กลุ่มดาวเตาหลอมกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลลิปดาสเปกตรัมมองเห็นได้อวกาศห้วงลึกของฮับเบิลอินฟราเรดทรงกลมฟ้าดวงจันทร์ดาราจักรความส่องสว่างปรากฏไรต์แอสเซนชันเดคลิเนชัน16 มกราคม3 กันยายน

พ.ศ. 2546

ทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและพ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวเตาหลอม

กลุ่มดาวเตาหลอม เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ ตั้งชื่อโดยนิโกลา-ลุย เดอ ลากาย ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เดิมมีชื่อภาษาละตินว่า Fornax Chemica (เตาหลอมเคมี) หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวเตาหลอม.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและกลุ่มดาวเตาหลอม · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ลิปดา

ลิปดา (minute of arc, arcminute หรือ MOA) เป็นหน่วยหนึ่งในการวัดมุม มีค่าเท่ากับ ของหนึ่งองศา เนื่องจากหนึ่งองศาเท่ากับ ของวงกลม ดังนั้น 1 ลิปดาจึงเท่ากับ ของวงกลม หน่วยวัดขนาดเล็กเช่นนี้มักใช้ในการวัดค่าที่ละเอียดมากๆ เช่นในวิชาดาราศาสตร์หรือการกำหนดพิกัดการยิงอาวุธ ส่วน พิลิปดา (second of arc, arcsecond) (บ้างก็เขียนว่า วิลิปดา) เป็นหน่วยที่มีขนาดเป็น ของหนึ่งลิปดาอีกต่อหนึ่ง หรือเท่ากับ องศา หรือเท่ากับ ของวงกลม ลิปดาและพิลิปดาเป็นคำไทย การเขียน "ฟิลิปดา" ไม่ถูกต้องและมาจากความเข้าใจที่ผิดว่าคำนี้มาจากภาษาต่างประเทศ ตารางแสดงสัดส่วนและความสัมพันธ์ระหว่าง องศา ลิปดา พิลิปดา และมิลลิพิลิปดา แสดงได้ดังนี้.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและลิปดา · ดูเพิ่มเติม »

สเปกตรัมมองเห็นได้

การกระจายของแสงเมื่อเดินทางผ่านปริซึม สเปกตรัมมองเห็นได้ (visible spectrum) เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ด้วยดวงตาของมนุษย์ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นนี้บางครั้งก็เรียกว่า "แสงที่ตามองเห็น" หรือ "แสง" เฉยๆ ความยาวคลื่นช่วงนี้อยู่ระหว่าง 380-750 นาโนเมตร สเปคตรัมของแสงไม่ได้มีสีทุกสีที่ตาและสมองของมนุษย์สามารถรับรู้ บางสีที่หายไปเช่นชมพู หรือม่วงอมแดง แต่สามารถเกิดขึ้นได้จากการผสมช่วงคลื่นที่มีความยาวคลื่นหลายแ.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและสเปกตรัมมองเห็นได้ · ดูเพิ่มเติม »

อวกาศห้วงลึกของฮับเบิล

อวกาศห้วงลึกของฮับเบิล อวกาศห้วงลึกของฮับเบิล (Hubble Deep Field (HDF)) เป็นภาพของห้วงอวกาศส่วนหนึ่งในเขตกลุ่มดาวหมีใหญ่ ซึ่งได้จากผลการสังเกตการณ์อย่างต่อเนื่องของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ได้เป็นภาพถ่ายจำนวน 342 ชิ้นที่ถ่ายจากกล้อง Wide Field and Planetary Camera 2 เป็นเวลา 10 วันติดต่อกัน ระหว่าง 18-28 ธันวาคม ค.ศ. 1995 ห้วงอวกาศส่วนนี้ค่อนข้างเล็ก มีดาวในทางช้างเผือกเพียงไม่กี่ดวงเท่านั้นที่บังอยู่ ดังนั้นจึงสามารถมองเห็นดาราจักรต่างๆ ในห้วงอวกาศส่วนนี้มากกว่า 3,000 แห่ง ดาราจักรเหล่านี้จำนวนหนึ่งเป็นดาราจักรที่อายุน้อยที่สุดและอยู่ห่างไกลที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ ผลจากการตรวจพบดาราจักรอายุน้อยได้เป็นจำนวนมาก ทำให้ภาพอวกาศห้วงลึกของฮับเบิลเป็นแผนภาพสำคัญที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ของเอกภพ และเป็นแหล่งข้อมูลในการผลิตงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ออกมาแล้วมากกว่า 400 ชิ้น หลังจากการถ่ายภาพสังเกตการณ์ของ HDF ไปได้สามปี มีการถ่ายภาพห้วงอวกาศในลักษณะเดียวกันที่ซีกโลกใต้ ใช้ชื่อว่า อวกาศห้วงลึกของฮับเบิลด้านใต้ (Hubble Deep Field South) ภาพที่ได้จากการสังเกตการณ์ทั้งสองครั้งมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นการยืนยันแนวคิดที่ว่า เอกภพมีความเป็นหนึ่งเดียวกันในระดับมหภาค และโลกตั้งอยู่ในตำแหน่งทั่วไปในเอกภพ (ตามหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยา (cosmological principle)) ปี..

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและอวกาศห้วงลึกของฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

อินฟราเรด

มนุษย์ในย่าน mid-infrared เป็นภาพที่เกิดจากรังสีความร้อนที่แผ่ออกมาจากคน รังสีอินฟราเรด (Infrared (IR)) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า รังสีใต้แดง หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุและแสงมีความถี่ในช่วง 1011 – 1014 เฮิร์ตซ์หรือความยาวคลื่นตั้งแต่ 1-1000 ไมโครเมตร มีความถี่ในช่วงเดียวกับไมโครเวฟ มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างแสงสีแดงกับคลื่นวิทยุสสารทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -200 องศาเซลเซียสถึง 4,000 องศาเซลเซียส จะปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมา คุณสมบัติเฉพาะตัวของรังสีอินฟราเรด เช่น ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แตกต่างกันก็คือ คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับความถี่ คือยิ่งความถี่สูงมากขึ้น พลังงานก็สูงขึ้นด้วย  ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ Sir William Herschel ซึ่งได้ค้นพบ รังสีอินฟราเรดสเปกตรัมในปี.. 1800จากการทดลองโดยทดสอบว่าในเลนส์แต่ละสี จะเปลี่ยนค่าแสดงความร้อนของดวงอาทิตย์หรือไม่ จึงประดิษฐ์อุปกรณ์การทดลองเพื่อหาคำตอบใช้ปริซึมแยกแสง แล้วให้แสงต่างๆมาตกที่เทอร์โมมิเตอร์ก็ตั้งเทอร์โมมิเตอร์ตัวหนึ่งนอกเหนือจากแสงสีต่าง ๆ นั้น เพื่อเป็นตัวควบคุมการทดลอง ปรากฏว่า แสงสีต่าง มีอุณหภูมิสูงกว่าแสงสีขาว และอุณหภูมิสูงขึ้นจาก สีม่วง ไปหาสีแดง ปรากฏว่า เทอร์โมมิเตอร์ ตัวที่อยู่นอกเหนือจากแสงสีแดงนั้น กลับวัดได้อุณหภูมิสูงกว่าทุกตัว พบว่า ส่วนของแสงที่มองไม่เห็นแต่ร้อนกว่าสีแดงนี้ มีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับคลื่นแสงที่มองเห็นได้ทุกประการ เช่น การหักเห ดูดซับ ส่องผ่านหรือไม่ผ่านตัวกลาง รังสีที่ถูกค้นพบใหม่นี้ตั้งชื่อว่า " รังสีอินฟราเรด " (ขอบเขตที่ต่ำกว่าแถบสีแดงหรือรังสีใต้แดง)  ในการใช้ประโยชน์ ใช้ในการควบคุมเครื่องใช้ระบบไกล (remote control) สร้างกล้องอินฟราเรดที่สามารถมองเห็นวัตถุในความมืดได้ เช่น อเมริกาสามารถใช้กล้องอินฟราเรดมองเห็นเวียตกงได้ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม และสัตว์หลายชนิดมีนัยน์ตารับรู้รังสีชนิดนี้ได้ ทำให้มองเห็นหรือล่าเหยื่อได้ในเวลากลางคืน เรามองไม่เห็นรังสีอินฟราเรด แต่เราก็รู้สึกถึงความร้อนได้ สัตว์บางชนิด เช่น งู มีประสาทสัมผัสรังสีอินฟราเรด มันสามารถทราบตำแหน่งของเหยื่อได้ โดยการสัมผัสรังสีอินฟราเรดซึ่งแผ่ออกมาจากร่างกายของเหยื่อ รังสีที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าแสงสีม่วงเรียกว่า “รังสีอุลตราไวโอเล็ต” โลกและสิ่งชีวิตแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ในบรรยากาศดูดซับรังสีนี้ไว้ ทำให้โลกมีความอบอุ่น เหมาะกับการดำรงชีวิต .

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและอินฟราเรด · ดูเพิ่มเติม »

ทรงกลมฟ้า

ในทางดาราศาสตร์และการเดินเรือ ทรงกลมฟ้า (Celestial sphere) คือ ทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางร่วมกันกับโลก คนยุคโบราณเชื่อกันว่าดาวฤกษ์ทุกดวงในท้องฟ้าอยู่ห่างจากโลกด้วยระยะทางเท่าๆ กัน และเป็นแบบจำลองที่ถูกต้องของเอกภพ แต่ในความเป็นจริง วัตถุท้องฟ้าต่างๆ อยู่ห่างจากโลกมากจนไม่สามารถคะเนระยะห่างที่แท้จริงได้ด้วยตาเปล่า บอกได้เพียงทิศทางที่ปรากฏเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แบบจำลองทรงกลมฟ้าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับวิชาวัดตำแหน่งดาว เราสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางการปรากฏของวัตถุท้องฟ้าต่างๆ ได้ด้วยระบบพิกัดฟ้า ทรงกลมฟ้าสามารถแบ่งออกเป็นซีกฟ้าเหนือและซีกฟ้าใต้โดยมีเส้นศูนย์สูตรคั่นกลาง ขณะที่โลกหมุนรอบแกนหมุน วัตถุในทรงกลมฟ้าจะปรากฏเคลื่อนที่หมุนไปรอบขั้วฟ้าด้วยคาบ 24 ชั่วโมง เรียกว่าการเคลื่อนที่ประจำวัน ขณะที่โลกหมุนจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ทรงกลมฟ้าจะหมุนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างก็ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก หมวดหมู่:ดาราศาสตร์ หมวดหมู่:ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและทรงกลมฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างปรากฏ

วามส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้ความส่องสว่างปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าความส่องสว่างปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2) ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นความส่องสว่างปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าความส่องสว่างปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและความส่องสว่างปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ไรต์แอสเซนชัน

ไรต์แอสเซนชัน (Right ascention; RA, สัญลักษณ์ &alpha) เป็นศัพท์ทางดาราศาสตร์ เป็นหนึ่งในสองพิกัดที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งบนทรงกลมฟ้า พิกัดอีกค่าที่ใช้คู่กันคือ เดคลิเนชัน ไรต์แอสเซนชันเปรียบได้กับลองจิจูด วัดเทียบจากจุดศูนย์ที่เรียกว่า วสันตวิษุวัต (vernal equinox) หน่วยของไรต์แอสเซนชันมีค่าเป็น ชั่วโมง นาที และวินาที ใช้วัดได้ทั้งเวลาและองศา โดยที่ไรต์แอสเซนชันหนึ่งชั่วโมง มีค่าเท่ากับมุม 15 องศา หนึ่งนาที มีค่าเท่ากับมุม 15 ลิปดา และ หนึ่งวินาทีเท่ากับมุม 15 พิลิปดา หมวดหมู่:ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า หมวดหมู่:มุม โครงดาราศาสตร์.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและไรต์แอสเซนชัน · ดูเพิ่มเติม »

เดคลิเนชัน

ในทางดาราศาสตร์ เดคลิเนชัน (declination, dec) เป็นหนึ่งในสองพิกัดในการกำหนดตำแหน่งบนทรงกลมฟ้า พิกัดอีกตัวที่เหลือคือไรต์แอสเซนชัน เดคลิเนชัน เปรียบได้กับละติจูด วัดเป็นองศาเหนือจากเส้นศูนย์สูตรฟ้า ดังนั้นจุดบนฟ้าที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรฟ้าจะมีค่าเดคลิเนชันเป็นบวก ในขณะที่จุดที่อยู่ข้างใต้จะมีค่าเป็นล.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและเดคลิเนชัน · ดูเพิ่มเติม »

16 มกราคม

วันที่ 16 มกราคม เป็นวันเกิดของผมเอง.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและ16 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

3 กันยายน

วันที่ 3 กันยายน เป็นวันที่ 246 ของปี (วันที่ 247 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 119 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลและ3 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สนามลึกมากฮับเบิลอวกาศห้วงลึกมากฮับเบิล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »