โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

ดัชนี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

ตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี และมีพื้นที่ติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี ที่อยู่ทางทิศตะวันตก ถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของผืนป่าตะวันตกของประเทศไทย และเป็นผืนป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม..

31 ความสัมพันธ์: ช้างอินเดียกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกระทิงมรดกโลกวัวแดงสมเสร็จมลายูสืบ นาคะเสถียรสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกอุทยานแห่งชาติพุเตยอุทยานแห่งชาติแม่วงก์อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติอนุสาร อ.ส.ท.จังหวัดอุทัยธานีทิวเขาถนนธงชัยความหลากหลายทางชีวภาพควายป่าประเทศไทยป่าชายหาดป่าชายเลนป่าพรุแม่น้ำสะแกกรังแม่น้ำเจ้าพระยาเก้งหม้อเลียงผาใต้เสือดาวอินโดจีนเสือโคร่งอินโดจีนเทือกเขาตะนาวศรีเขื่อนศรีนครินทร์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

ช้างอินเดีย

้างอินเดีย (Indian elephant) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ในวงศ์ Elephantidae หรือช้าง เป็นช้างที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไพลโอซีนหรือประมาณ 5 ล้านปีก่อนมาแล้ว.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและช้างอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช · ดูเพิ่มเติม »

กระทิง

กระทิง หรือ เมย เป็นวัวป่าชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและกระทิง · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

วัวแดง

วัวแดง เป็นวัวป่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos javanicus รูปร่างคล้ายวัวบ้าน (B. taurus) ทั่วไป แต่มีลักษณะสำคัญที่ต่างไปจากวัวบ้านและกระทิง (B. gaurus) คือ มีวงก้นขาวทั้งในตัวผู้และตัวเมีย มีเส้นขาวรอบจมูก ขาทั้ง 4 ข้างมีสีขาวตั้งแต่หัวเข่าจนถึงกีบเท้า ระหว่างโคนขาของตัวผู้ไม่มีขน แต่เป็นหนังตกกระแข็ง ๆ เรียกว่า "กระบังหน้า" ความยาวลำตัวและหัวประมาณ 190–255 เซนติเมตร หางยาว 65–70 เซนติเมตร สูงประมาณ 155–165 เซนติเมตร และมีน้ำหนักราว 600–800 กิโลกรัม พบในพม่า, ไทย, อินโดจีน, ชวา, บอร์เนียว, เกาะบาหลี, ซาราวะก์, เซเลบีส สำหรับประเทศไทยเคยพบได้ทุกภาค วัวแดงกินหญ้าอ่อน ๆ ใบไผ่อ่อน หน่อไม้อ่อน ลูกไม้ป่าบางชนิด ใบไม้ ยอดอ่อนของพืช และดอกไม้ป่าบางชนิด ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย ได้ดังนี้.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและวัวแดง · ดูเพิ่มเติม »

สมเสร็จมลายู

มเสร็จมลายู หรือ สมเสร็จเอเชีย (Malayan tapir, Asian tapir) บ้างเรียก ผสมเสร็.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและสมเสร็จมลายู · ดูเพิ่มเติม »

สืบ นาคะเสถียร

ืบ นาคะเสถียร (31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 - 1 กันยายน พ.ศ. 2533) เป็นนักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติชาวไทย มีชื่อเสียงจาการพยายามปกป้องแก่งเชี่ยวหลานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้สังคมเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาต.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและสืบ นาคะเสถียร · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

นีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (Royal Thai Army Radio and Television; ชื่อย่อ: ททบ.) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) ของกองทัพบกไทย และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่สองของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม..

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติพุเตย

นเลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 อุทยานแห่งชาติพุเตย เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งเดียวในจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 85 ของประเทศไทย พุเตย เป็นอุทยานแห่งชาติที่เกิดเหตุการณ์เครื่องบินเลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 ประสบอุบัติเหตุตก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 มีผู้เสียชีวิต 223 คน.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและอุทยานแห่งชาติพุเตย · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่วงก์อันเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็กๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ อุทยานมีเนื้อที่ประมาณ 558,750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในเขตพื้นที่อุทยานด้ว.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์

อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่กว้างขวางถึง 1,532 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ มีน้ำตกที่มีชื่อเสียง เช่น น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น อำเภอศรีสวัสดิ์, น้ำตกผาตาด อำเภอทองผาภูมิ เป็นต้น สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ แบ่งเป็น 3 ประเภท.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาร อ.ส.ท.

อนุสาร อ..ท.เป็นนิตยสารท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นพร้อมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) (ปัจจุบันเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและอนุสาร อ.ส.ท. · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุทัยธานี

ังหวัดอุทัยธานี เดิมสะกดว่า อุไทยธานี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 6,730 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี..

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและจังหวัดอุทัยธานี · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาถนนธงชัย

ทิวเขาถนนธงชัย เป็นแนวทิวเขาทางด้านตะวันตกของภาคเหนือ เริ่มจากจุดที่บรรจบกับทิวเขาแดนลาว ทอดตัวเป็นแนวยาวลงมาทางตอนล่างของภาค แบ่งออกเป็น 3 แนว ได้แก.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและทิวเขาถนนธงชัย · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพ

วามหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (Species) สายพันธุ์ (Genetic) และระบบนิเวศ (Ecosystem.) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995) ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและความหลากหลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ควายป่า

วายป่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bubalus arnee มีลักษณะคล้ายควายบ้าน (B. bubalis) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ควายป่าแต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี (V) ควายป่ามีเขาทั้ง 2 เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตร ความยาวหัวและลำตัว 2.40–2.80 เมตร ความยาวหาง 60–85 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์จากประเทศเนปาลและอินเดีย ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยในอดีตเคยมีอยู่มากและกระจัดกระจายออกไป โดยพบมากที่บ้านลานควาย หรือบ้านลานกระบือ (ปัจจุบัน คือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร) แต่สถานะในปัจจุบันเหลืออยู่แค่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น โดยจำนวนประชากรที่มีมากที่สุดในธรรมชาติในปัจจุบัน คือ ที่อุทยานแห่งชาติกาจิรังคา ในรัฐอัสสัม ของอินเดีย ประมาณ 1,700 ตัว หากินในเวลาเช้าและเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปลักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราว ๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 10 เดือน ควายป่ามีนิสัยดุร้ายโดยเฉพาะตัวผู้และตัวเมียที่มีลูกอ่อน เมื่อพบศัตรูจะตีวงเข้าป้องกันลูกอ่อนเอาไว้ มีอายุยืนประมาณ 20–25 ปี โดยควายป่ามักตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะเสือโคร่ง ในอินเดีย ควายป่ามักอาศัยอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกับแรดอินเดีย ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย แม้จะเป็นสัตว์กินพืชเหมือนกัน แต่ก็มักถูกแรดอินเดียทำร้ายอยู่เสมอ ๆ จนเป็นบาดแผลปรากฏตามร่างกาย สถานภาพในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและควายป่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ป่าชายหาด

ป่าชายหาดที่มีสนทะเลขึ้น ที่รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นลักษณะของป่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นป่าละเมาะหรือป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายหรือเนินทรายริมทะเล หรือชายฝั่ง เป็นป่าที่มีขนาดเล็กเกิดขึ้นด้านหลังของสันทรายตามแนวชายฝั่ง น้ำทะเลท่วมไม่ถึง สภาพดินเป็นดินทรายและมีความเค็มสูง เป็นป่าที่มีความแตกต่างจากป่าทั่ว ๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพโดยทั่วไปแห้งแล้ง ใบไม้ในป่าจะเป็นลักษณะหงิกงอ แต่นี่คือลักษณะของป่าชายหาดที่สมบูรณ์ ป่าชายหาดเป็นป่าที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสลม, กระแสคลื่น รวมถึงไอเค็มจากทะเล, แสงแดดร้อนจัด, สภาพความชื้นสุดขั้วทั้งชื้นจัด, ชื้นน้อย และชื้นปานกลาง ระบบนิเวศจึงประกอบด้วยเนินทรายหรือหาดทรายและมีพืชประเภท ไม้เถาหรือไม้เลื้อย, ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นที่มีลำต้นคดงอ และมีความสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออยู่ห่างจากชายหาดออกไป ไม้ที่เป็นประเภทหญ้าหรือไม้เลื้อยได้แก่ หญ้าลิงลม, ผักบุ้งทะเล, หญ้าทะเล, เตย ซึ่งรากของไม้เหล่านี้จะช่วยในการยึดเกาะพื้นทรายทำให้พื้นทรายมีความแน่นหนาแข็งแรงมากขึ้น เพื่อที่จะให้รากของไม้ที่ใหญ่กว่า เช่น ไม้พุ่มได้เกาะต่อไป ประเภทของไม้พุ่ม ได้แก่ รักทะเล, ปอทะเล, เสมา, ซิงซี่, หนามหัน, กำจาย ขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ช่วยบังลมทะเลเป็นปราการให้แก่ไม้ชนิดที่ไม่สามารถทนเค็มได้ ประเภทของไม้ยืนต้น เช่น กระทิง, หูกวาง, โพทะเล, ตีนเป็ดทะเล, หยีน้ำ, มะนาวผี, ข่อย แต่ลำต้นไม่สูงมากนัก ใบมีความหงิกงอตามกระแสลม เรือนยอดอยู่ติดกัน และมักมีหนามแหลม บางพื้นที่อาจมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เช่น ยางนา หรือตะเคียน ขึ้นอยู่ด้วยก็ได้ ในฤดูมรสุมช่วงที่เป็นเนินทรายอาจมีน้ำท่วมขังเป็นบ่อหรือแอ่ง จึงกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็ก และกลายเป็นแหล่งน้ำจืดที่เชื่อมโยงกับลำธาร ประโยชน์ของป่าชายหาด คือ ช่วยรักษาความสมดุลระหว่างนิเวศวิทยาชายฝั่งกับนิเวศวิทยาบนบก ช่วยป้องกันการกัดเซาะชายหาดและการทับถมกันของตะกอนชายหาดซึ่งเกิดจากการหมุนเวียนตามสภาพของฤดูกาล ในประเทศไทย พบป่าชายหาดได้ทั่วไปตามฝั่งทะเลอ่าวไทย ในภาคตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชลบุรีไปจนถึงตราด ทางภาคใต้ตั้งแต่เพชรบุรีไปจนถึงมาเลเซีย รวมถึงตามเกาะแก่งต่าง ๆ กลางทะเล จนอาจกล่าวได้ว่า มีป่าชายหาดอยู่ทุกพื้นที่ ๆ มีทะเล ปัจจุบัน ป่าชายหาดถูกบุกรุกทำลายจากมนุษย์ สาเหตุมาจากการไม่เห็นค่าความสำคัญ ด้วยเห็นว่าเป็นเพียงพื้นที่รกร้างหรือเป็นวัชพืช โดยการนำเอาพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ในเชิงท่องเที่ยว เช่น ปลูกบังกะโล, รีสอร์ต หรือบุกรุกเพื่อพื้นที่ทำการเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน หรือนากุ้ง.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและป่าชายหาด · ดูเพิ่มเติม »

ป่าชายเลน

ป่าชายเลน ป่าชายเลน คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มีใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง ได้มีการค้นพบป่าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในตรินิแดดและเกียนา คำว่า "mangrove" เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "mangrove" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง" บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลนเช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย เป็นต้น สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดยประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในโซนนี้ โดยป่าชายเลนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ซันดาร์บานส์ ซึ่งเป็นปากแม่น้ำคงคาระหว่างประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์) ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและป่าชายเลน · ดูเพิ่มเติม »

ป่าพรุ

ป่าพรุ ป่าพรุ (Swamp forest, Peat swamp forest) เป็นประเภทของป่าดิบชื้นประเภทหนึ่ง ที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากแอ่งน้ำจืดเกิดขังตัวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีการสะสมของชั้นดินอินทรีย์วัตถุ เช่น ซากพืช, ซากสัตว์, เศษซากของต้นไม้ ใบไม้ ต่าง ๆ จนย่อยสลายช้า ๆ กลายเป็นดินพีตหรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำได้มาก และพบว่ามีการสะสมระหว่างดินพีตกับดินตะกอนทะเลสลับกันชั้นกัน 2-3 ชั้น เนื่องจากน้ำทะเลเคยมีระดับสูงขึ้นจนท่วมป่าพรุ เกิดการสะสมของตะกอนน้ำทะเลถูกขังอยู่ด้านใน พันธุ์ไม้ในป่าพรุตายลงไป และเกิดเป็นป่าชายเลนขึ้นมาแทนที่ เมื่อระดับน้ำทะเลลดลง และมีฝนตกลงมาสะสมน้ำที่ขังอยู่จึงจืดจางลง และเกิดป่าพรุขึ้นมาอีกครั้ง ดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี สภาพโดยทั่วไปของป่าพรุ นั้น คือ พื้นด้านล่างจะเป็นพรุมีน้ำขังตลอดทั้งปี น้ำจะมีสีเขียวหรือน้ำตาลเข้ม อันเกิดจากการหมักหมมตัวมาอย่างยาวนานของซากพืช ซากสัตว์ น้ำจะมีสภาพเป็นกรดมากกว่าค่าของน้ำปกติ (pH ต่ำกว่า 7) ระบบนิเวศในป่าพรุนั้นมีความหลากหลาย และเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกัน ไม้ยืนต้นจะมีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกันเพื่อจะได้ช่วยพยุงลำต้นของกันและกัน และให้ยืนตัวทรงอยู่ได้ ดังนั้นต้นไม้ในป่าพรุจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากต้นใดต้นหนึ่งล้ม ต้นอื่นจะล้มตามไปด้วย สำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีป่าพรุเกิดขึ้นนั้น มักจะเป็นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และพบในบางส่วนบ้างของภาคกลาง ในปัจจุบัน พื้นที่ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ป่าพรุสิรินธร หรือป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่ ในอดีต เคยมีป่าพรุในประเทศไทยมากถึงกว่า 400,000 ไร่ กินเนื้อที่กว่า 50 ล้านไร่ แต่ได้ค่อย ๆ ลดปริมาณลงจากการถูกบุกรุกแผ้วถางทำการเกษตร จนปัจจุบันเหลือไม่ถึง 60,000 ไร.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและป่าพรุ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสะแกกรัง

แม่น้ำสะแกกรัง เป็นแม่น้ำมีต้นกำเนิดอยู่ในเขตเทือกเขาโมโกจู ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่บ้านท่าซุง ตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวประมาณ 225 กิโลเมตร แม่น้ำสะแกกรัง มีหลายชื่อตามท้องถิ่นที่แม่น้ำไหลผ่านคือ.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและแม่น้ำสะแกกรัง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

เก้งหม้อ

ก้งหม้อ หรือ กวางเขาจุก หรือ เก้งดำ หรือ เก้งดง (Fea's muntjac, Tenasserim muntjac) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่จำพวกกวาง มีลักษณะคล้ายเก้งธรรมดา (M. muntjac) แต่ต่างกันเก้งหม้อจะมีขนบริเวณลำตัวที่เข้มกว่า ใบหน้ามีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณกระหม่อมและโคนขามีสีเหลืองสด ด้านล่างของลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ขาทั้ง 4 ข้างมีสีดำ จึงเป็นที่มาของอีกชื่อสามัญที่เรียก ด้านหน้าด้านหลังมีสีขาวเห็นได้ชัดเจน หางสั้น หางด้านบนมีสีเข้ม แต่ด้านล่างมีสีขาว มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขาของเก้งหม้อสั้นกว่าเก้งธรรมดา ผลัดเขาปีละ 1 ครั้ง มีความยาวลำตัวและหัว 88 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร น้ำหนัก 22 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของพม่า, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย เป็นเก้งที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าเหลือเพียงตัวเดียวในโลก ที่สวนสัตว์ดุสิต แต่ปัจจุบัน ยังพอหาได้ตามป่าธรรมชาติและวัดในพรมแดนไทยพม่า ที่พระสงฆ์เลี้ยงอยู่ เก้งหม้ออาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง เช่น บริเวณหุบเขาหรือป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ อดน้ำได้ไม่เก่งเท่าเก้งธรรมดา ออกหาอาหารตามลำพังในช่วงเย็นหรือพลบค่ำ แต่ในบางครั้งอาจพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ในฤดูผสมพันธุ์ จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเก้งหม้อ · ดูเพิ่มเติม »

เลียงผาใต้

ลียงผาใต้ (Common serow, Sumatran serow, Southern serow, Mainland serow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง อยู่ในอันดับสัตว์กีบคู่ วงศ์ Bovidae อันเป็นวงศ์เดียวกับแพะ, แกะ และวัว.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเลียงผาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวอินโดจีน

ือดาวอินโดจีน หรือ เสือดาวจีนใต้ (Indochinese leopard, South-Chinese leopard) เป็นชนิดย่อยของเสือดาว (P. pardus) ชนิดหนึ่ง โดยชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ฌ็อง เตออดอร์ เดอลากูร์ นักปักษีวิทยาชาวฝรั่งเศส-อเมริกัน เสือดาวอินโดจีนมีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับเสือดาวอินเดีย (P. pardus fusca) ที่พบในภูมิภาคอนุทวีปอินเดีย แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าเล็กน้อย โดยมีสีขนออกเป็นสีแดงเข้ม แต้มจุดรอบนอกของลายขยุ้มตีนหมาค่อนข้างหนา ขนาดของลายขยุ้มตีนหมาโดยเฉลี่ยเล็กกว่าของเสือดาวอามูร์ (P. pardus orientalis) และเสือดาวจีนเหนือ (P. pardus japonensis) พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน ภาคตะวันออกของอินเดีย และหลายประเทศในภูมิภาคอินโดจีนรวมถึงประเทศไทย เสือดาวอินโดจีนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าชะตี้นของพม่ามีปริมาณลดลงอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940–1980 จนกระทั่งมีสถานะเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในท้องถิ่นเมื่อถึงปี..

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเสือดาวอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งอินโดจีน

ือโคร่งอินโดจีน (Indochinese tiger, Corbett's tiger) เสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris corbetti อยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) รูปร่างเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่มีลายเส้นที่เล็กกว่าเสือโคร่งเบงกอล (P. t. tigris) และขนาดลำตัวก็เล็กกว่า โดยตัวผู้มีความยาวจากหัวถึงหางประมาณ 2.7 เมตร หนักประมาณ 180 กิโลกรัม ตัวเมีย ยาวประมาณ 2.4 เมตร หนักประมาณ 115 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, พม่า และมาเลเซีย โดยถูกอนุกรมวิธานแยกออกมาจากเสือโคร่งเบงกอลในปี พ.ศ. 2511 โดยเฉพาะที่พม่าจะมีเสือโคร่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ โดยแบ่งตามภูมิศาสตร์โดยถือเอาแม่น้ำอิรวดีเป็นเกณฑ์ คือ เสือโคร่งสายพันธุ์เบงกอลจะอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี ส่วนเสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนจะอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ นอกจากนี้ในอดีตเคยมีในจีนด้วย เสือโคร่งอินโดจีนในจีนตัวสุดท้ายตายลงเมื่อปลายปี พ.ศ. 2552 ที่เมืองลา มณฑลยูนนาน เนื่องจากชาวบ้านคนหนึ่งฆ่า เสือโคร่งอินโดจีนอาศัยและหากินอยูในป่าที่ราบต่ำใกล้แหล่งน้ำ มีอาหารอุดมสมบูรณ์ สามารถอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า เช่น ป่าดิบชื้น, ป่าผลัดใบ ล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และกลาง เช่น วัว, ควายป่า, กวาง, กระทิง เป็นอาหาร โดยมักจะกินเนื้อบริเวณตะโพกก่อน เมื่อเหลือจะนำไปซ่อน แล้วจะกลับมากินใหม่จนหมด ในบางครั้งเมื่อมีลูกเสือที่อ่อนแอ แม่เสืออาจกินลูกด้วยถ้าหากปกป้องหรือเลี้ยงต่อไปไม่ได้ เสือโคร่งเป็นเสือที่ชอบเล่นน้ำและว่ายน้ำเก่ง เคยมีรายงานว่าสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะและชายฝั่งทะเลได้ เสือตัวผู้จะแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ โดยการใช้เล็บตะกุยดินหรือปัสสาวะรดต้นไม้ ในฤดูผสมพันธุ์เสือตัวผู้จะรับรู้ถึงความต้องการของเสือตัวเมียจากเสียงร้องที่ดังขึ้นบ่อยขึ้น เมื่อได้ผสมพันธุ์แล้วเสือตัวผู้จะจากไป และอาจไปผสมพันธุ์กับเสือตัวเมียอื่น ๆ ได้อีก เสือโคร่งอินโดจีนมีระยะตั้งท้อง 3 เดือน และจะออกลูกในที่ปลอดภัย ออกลูกครั้งละ 1–7 ตัว ลูกเสือที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา ลูกเสือที่ไม่แข็งแรงจะตายไป ตัวที่เหลือจะได้รับการเลี้ยงดูและฝึกสอนให้หาอาหารจากแม่ต่อไป เมื่อลูกเสือโตพอที่จะล่าเหยื่อได้เอง ก็จะแยกตัวออกไปหากินตามลำพัง สถานะของเสือโคร่งอินโดจีนในธรรมชาติในประเทศไทย เหลือเพียง 2 ที่ คือ ป่าเขาใหญ่และป่าผืนภาคตะวันตกซึ่งติดกับชายแดนพม่าเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า เสือโคร่งอินโดจีนที่พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งมีพฤติกรรมล่าเหยื่อสัตว์จำพวกสัตว์กีบมากที่สุด โดยสัตว์ที่ถูกล่าเป็นเพื่อเป็นอาหารมากที่สุด คือ วัวแดง --> สำหรับประเทศพม่าผู้เชี่ยวชาญรายงานว่า ทางรัฐบาลทหารพม่านับจำนวนประชากรเสือในป่าได้ทั้งหมด 85 ตัว ในปี 2553 ตัวเลขนี้ไม่สามารถนับเป็นข้อมูลสถิติได้ เนื่องจากข้อมูลการนับดังกล่าวไม่ได้ระบุวันเวลาและข้อมูลอื่นๆไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เชื่อได้ว่ายังมีเสือโคร่งอินโดจีนจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตามป่าแถบตะวันออกบริเวณรอยต่อชายแดนไทย ในภูมิภาคอินโดจีน เสือโคร่งถูกล่าอย่างหนักจนสูญพันธุ์จากพื้นที่แถบนี้ทั้งหมด ที่ประเทศเวียดนาม ปี..

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเสือโคร่งอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาตะนาวศรี

ทือกเขาตะนาวศรีในอำเภอกะปง จังหวัดพังงา เทือกเขาตะนาวศรี (တနင်္သာရီ တောင်တန်း; Tenasserim Hills, Range) เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขาซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย และลากยาวผ่านคอคอดกระลงไปจนถึงคาบสมุทรมลายู ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาตะนาวศรี ชาวพม่าเรียกว่า "บีล็อกตอง" (Bilauktaung).

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเทือกเขาตะนาวศรี · ดูเพิ่มเติม »

เขื่อนศรีนครินทร์

ื่อนศรีนครินทร์ (ชื่อเดิม เขื่อนเจ้าเณร) เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง สร้างขึ้น บนแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี กั้นแม่น้ำแควใหญ่นับเป็น เขื่อนแห่งที่ 8 ในจำนวน 17 แห่ง ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สร้างขึ้นเพื่อ อำนวยประโยชน์ทางด้านต่างๆ ตลอดจนช่วยพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎร และส่งเสริมให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม เขื่อนศรีนครินทร์ก่อกำเนิดขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่พักผ่อนที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี แต่ละปีจะมีนักทัศนาจรหลั่งไหลเข้าไปเที่ยวชมอย่างมากมาย นับเป็นสถานที่เชิดหน้าชูตาของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขื่อนศรีนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

ตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง คือแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย ประกอบด้วยสองเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี ตากและกาญจนบุรี ทางตะวันตกของประเทศใกล้กับชายแดนประเทศพม่า ครอบคลุมพื้นที่ 622,200 เฮกตาร์ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน เป็นพื้นที่ป่าที่สามารถเข้าถึงได้น้อยที่สุด และเป็นบริเวณที่รบกวนน้อยที่สุดของประเทศ โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 77% (โดยเฉพาะช้างและเสือ) นกขนาดใหญ่ 50% และ สัตว์มีกระดูกสันหลังบก 33% ที่พบในภูมิภาคสามารถพบได้ในแหล่งมรดกโลกแห่งนี้.

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

ตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยโดยการขึ้นทะเบียนของยูเนสโกร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ภายใต้ชื่อ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เมื่อปี..

ใหม่!!: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Huai Kha Khaeng Wildlife SanctuaryThungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife SanctuariesThungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaryห้วยขาแข้งป่าห้วยขาแข้ง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »