โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หีบแห่งพันธสัญญา

ดัชนี หีบแห่งพันธสัญญา

ูวากำลังผ่านแม่น้ำจอร์แดนพร้อมกับหีบแห่งพันธสัญญา ลักษณะหีบแห่งพันธสัญญาตามสันนิฐาน โดย ''James Tissot'' หีบแห่งพันธสัญญา หรือ หีบแห่งพระบัญญัติ (Ark of the Covenant; אָרוֹן הַבְּרִית ʾĀrôn Habbərît, ออกเสียง อะรอน ฮะบริท; Κιβωτός της Διαθήκης; تابوت العهد) เป็นหีบที่กล่าวถึงใน หนังสืออพยพ บรรจุแผ่นศิลาพระโอวาทที่ได้สลักบัญญัติ 10 ประการเอาไว้ และใน จดหมายถึงชาวฮีบรู ระบุว่า "หีบ‍พันธ‌สัญญา​หุ้ม​ด้วย​ทอง‍คำ​ทุก​ด้าน ภาย‍ใน​นั้น มี​โถ​ทอง‍คำ​บรร‌จุ​มานา มี​ไม้เท้าของอาโรนที่​ออก‍ดอก‍ตูม และ​มี​แผ่น​ศิลา​จา‌รึก​พันธ‌สัญญา" อย่างไรก็ตาม ใน หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ได้บันทึกไว้ว่า ในยุคของมหากษัตริย์ซาโลมอน หีบแห่งพันธสัญญาบรรจุไว้แค่ แผ่นศิลาพระบัญญัติจำนวนสองแผ่นเท่านั้น หนังสืออพยพ ยังอธิบายว่า หีบแห่งพันธสัญญาสร้างขึ้นรูปแบบที่พระยาห์เวห์ทรงชี้แนะต่อโมเสสที่ภูเขาซีนาย โมเสสสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าได้จากพลับพลานมัสการซึ่งบรรจุหีบใบนี้ โดยพระเจ้าจะทรงประทับบนพระที่นั่งกรุณาที่ทั้งสองข้างมีเครูบกางปีกปกไว้ คัมภีร์ไบเบิลระบุว่า ราวหนึ่งปีภายหลังชนชาวอิสราเอลได้อพยพจากอียิปต์ ก็ได้สร้างตัวหีบขึ้นตามรูปแบบที่พระเจ้าตรัสไว้ผ่านโมเสสในระหว่างที่พวกเขาตั้งค่ายที่เชิงเขาซีนาย (ตรงกับ 1513 ปีก่อนคริสตกาล) ต่อมา ปุโรหิตเผ่าเลวีหามหีบแห่งพันธสัญญานำขบวนอพยพของชนชาวอิสราเอลทิ้งระยะห่าง 2000 ศอก ทันทีที่เท้าของปุโรหิตผู้หามหีบแตะผิวน้ำของแม่น้ำจอร์แดนซึ่งอยู่ในฤดูน้ำหลาก สายน้ำก็แยกออกจากกันจนเหลือพื้นแห้งให้ขบวนอพยพเดินทางข้ามไปได้ เมื่อการมหัศจรรย์นี้แพร่กระจายออกไป ทำให้เหล่ากษัตริย์ชาวอาโมไรต์ทั้งหมดทางฟากตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนและกษัตริย์ชาวคานาอันทั้งหมดตามชายฝั่งทะเลต่างเกรงกลัวในอำนาจของพระเจ้า ประตูเมืองเยรีโคถูกสั่งปิดตายเนื่องจากเกรงกลัวชาวอิสราเอล พระเจ้าตรัสกับโยชูวาให้ปุโรหิตหามหีบเดินขบวนรอบเมืองวันละหนึ่งรอบเป็นเวลาหกวัน และหามวนเจ็บรอบในวันที่เจ็ดพร้อมเป่าเขาแกะ เมื่อครบเจ็ดรอบ ชาวอิสราเอลก็ส่งเสียงโห่ร้องและกำแพงของเมืองเยรีโคก็พังทลายลงมา กองทัพของชาวอิสราเอลบุกเข้าเมือง เข่นฆ่าทุกคนไม่เว้น ชาย หญิง คนชรา เด็ก สัตว์เลี้ยง และเผาเมืองจนพินาศสิ้น.

19 ความสัมพันธ์: บัญญัติ 10 ประการบาบิโลเนียพระยาห์เวห์พระราชินีแห่งชีบาพาไพรัส (กระดาษ)หนังสืออพยพจอกศักดิ์สิทธิ์จดหมายถึงชาวฮีบรูทวนศักดิ์สิทธิ์คัมภีร์ไบเบิลคานาอันซาโลมอนประเทศเอธิโอเปียแม่น้ำไนล์แผ่นศิลาพระโอวาทโมเสสเยรูซาเลมเผ่าเลวีเครูบ

บัญญัติ 10 ประการ

ระบัญญัติ 10 ประการ หรือ บทบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments; עשרת הדיברות; ܥܣܪܐ ܦܘܩܕܢܐ; Δέκα εντολές) คือรายการคำสอนและข้อปฏิบัติตามคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานแก่วงศ์วานอิสราเอล ผ่านทางโมเสส ที่ภูเขาซีนาย บัญญัตินี้สลักไว้บนแผ่นหิน 2 แผ่น บัญญัติ 10 ประการใช้ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ ในภาษายิดดิช ใช้คำว่า Aseret ha-Dvarîm עשרת הדברים ในภาษาฮีบรูและภาษาฮีบรูมิซนะห์ ใช้คำว่า Aseret ha-Dibrot עשרת הדברות ซึ่งทั้งสองคำหมายถึง บัญญัติ 10 ประการ และมีการใช้ในภาษากรีก ซึ่งแปลมาจากภาษาฮีบรูว่า δέκα λόγοι (dekalogoi) หมายถึง คำสิบคำ (the ten words) อีกด้ว.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและบัญญัติ 10 ประการ · ดูเพิ่มเติม »

บาบิโลเนีย

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและบาบิโลเนีย · ดูเพิ่มเติม »

พระยาห์เวห์

หรียญเงินราวสี่ศตวรรษก่อนคริสตกาลที่พบในอิสราเอล เชื่อว่าบุคคลที่ประทับอยู่บนสุริยบัลลังก์มีปีกนั้นคือพระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 647-8 (Yahweh) พระเยโฮวาห์ (Jahovah) พระยะโฮวา (ศัพท์พยานพระยะโฮวา) (Yahova) ยฮวฮ (ศัพท์ศาสนายูดาห์) (יהוה; YHWH) เป็นพระนามของพระเป็นเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม (ทานัค) ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยเล่มเก่านั้นปรากฏพระนามนี้อยู่หลายครั้ง ในคัมภีร์ดั้งเดิมเขียนด้วยอักษร 4 ตัว แต่เนื่องจากอักษร 4 ตัว (ยฮวฮ|YHWH) นั้นผู้เขียนไม่ได้ใส่สระไว้ ทำให้การออกเสียงที่ถูกต้องถูกถ่ายทอดต่อกันมาโดยการพูด คัมภีร์ดั้งเดิมหรือต้นฉบับปรากฏพระนามนี้ประมาณ 7 พันครั้ง ในฉบับภาษาไทยเล่มเก่า ๆ ยังปรากฏพระนามนี้อยู่ การแปลในยุคต่อ ๆ มาได้เปลี่ยนพระนามมา 3 ครั้ง ปัจจุบันสะกดพระนามนี้ว่า ยาห์เวห์ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahweh การทับศัพท์ เยโฮวาห์ มีต้นกำเนิดมาจากการที่นักวิชาการชาวยุโรปถอดอักษรฮีบรู יהוה เป็นอักษรโรมัน 4 ตัวได้เป็น YHWH แล้วผสมสระจึงได้การออกเสียงเป็น "เยโฮวาห์" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Jehovah การทับศัพท์นี้แพร่หลายไปในภาษาต่าง ๆ รวมทั้งพระคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยฉบับเก่า ๆ เช่น ฉบับ 1971 ยังปรากฏพระนาม "เยโฮวาห์" นี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีการทับศัพท์ว่า "ยะโฮวา" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahovah ในคัมภีร์ไบเบิล ฉบับ 1940 อีกด้วย แต่ในปัจจุบันนักวิชาการนิยมทับศัพท์ใหม่ว่า ยาห์เวห์ ตามหลักฐานที่ค้นพบและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ยฮวฮ คือพระนามของพระเป็นเจ้าสูงสุด ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1940 หรือ "เยโฮวาห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971 หรือ "ยาห์เวห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 2011 แต่เพื่อให้เกิดความเป็นสากลในทุกนิกาย ทั้งใน โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เมื่อออกพระนามพระเป็นเจ้าจะออกเสียงว่า "พระเจ้า" และ "ยฮวฮ" ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) ทุกฉบับ ในภาษาฮีบรู ยาห์เวห์ แปลว่า เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น หรือแปลได้อีกว่า เราอยู่(ด้วย) ซึ่งก็คือ พระองค์ทรงฤทธิ์ที่จะเป็นอะไรก็ได้ตามพระประสงค์ของพระอง.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและพระยาห์เวห์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชินีแห่งชีบา

''พระราชินีแห่งชีบา'' ภาพช่วงศตวรรษที่ 15 พระราชินีแห่งชีบา (ملكة سبأ, กีเอซ: ንግሥተ ሳባ, 'מלכת שבא) เป็นพระราชินีนาถที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิลที่ว่านางได้เสด็จไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ซาโลมอน ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้แพร่หลายในหมู่ชาวยิว, อาหรับ และเอธิโอเปีย และกลายเป็นตำนานที่แพร่หลายที่สุดเรื่องหนึ่งของโลกตะวันออก ตามคติชนยิวว่า พระราชินีแห่งชีบาปกครองอียิปต์และเอธิโอเปียสลับกัน บ้างก็ว่าเป็นกษัตริย์บุรุษเพศปกครองอาณาจักรชีบาแถบอาระเบียใต้ (ปัจจุบันคือบริเวณประเทศเยเมน) ในคติชนเอธิโอเปียว่า พระราชินีแห่งชีบาทรงมีสัมพันธ์สวาทกับกษัตริย์ซาโลมอน ดังปรากฏใน เกแบรแนแกสต์ (กีเอซ: ክብረ ነገሥት) อันเป็นวรรณกรรมของเอธิโอเปีย กล่าวถึงผลจากความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้นางตั้งพระหน่อประสูติกาลเป็นจักรพรรดิเมเนลิกที่ 1 จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งเอธิโอเปี.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและพระราชินีแห่งชีบา · ดูเพิ่มเติม »

พาไพรัส (กระดาษ)

ต้นกก กระดาษพาไพรัส (Papyrus) เป็นกระดาษทำจากลำต้นกกอียิปต์ (พาไพรัส) ซึ่งเป็นกกชนิดหนึ่ง และเป็นที่มาของ "paper" ซึ่งแปลว่ากระดาษ กระดาษพาไพรัสยืดหยุ่นและคงต่อสภาพอากาศอันแห้งแล้งของอียิปต์ได้ดี กระดาษพาไพรัสทำโดยการเฉือนต้นพาไพรัสบาง ๆ ตามแนวยาวแล้วนำไปตากแดด นำลำเลียงของลำต้นจะทำให้เยื่อไม้ติดกันเป็นแผ่น ส่วนขนาดก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนแผ่นของลำต้น เมื่อแสร็จแล้วก็ม้วนเก็บไว้ได้ พ หมวดหมู่:อียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและพาไพรัส (กระดาษ) · ดูเพิ่มเติม »

หนังสืออพยพ

หนังสืออพยพ (Exodus; ואלה שמות; Ἔξοδος) เป็นหนังสือเล่มที่สองในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม และเป็นเล่มที่สองในหมวดเบญจบรรณ ซึ่งเชื่อกันว่าโมเสสเป็นผู้เขียนขึ้น คำว่า "อพยพ" แปลจากภาษาอังกฤษซึ่งแปลอีกทอดจากภาษากรีก โดยหมายถึง การแยกออกจากกัน แต่ในภาษาฮีบรู มาจากคำขึ้นต้นซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "ต่อไปนี้เป็นชื่อของ..." หนังสืออพยพประกอบด้วยเนื้อหาที่อาจสรุปย่อได้ดังนี้.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและหนังสืออพยพ · ดูเพิ่มเติม »

จอกศักดิ์สิทธิ์

''How at the Castle of Corbin a Maiden Bare in the Sangreal and Foretold the Achievements of Galahad'': ภาพวาดโดย Arthur Rackham ค.ศ. 1917 จอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) เป็นภาชนะซึ่งเป็นแกนเรื่องสำคัญในวรรณกรรมอาเธอร์ ตำนานหลายเรื่องพรรณนาว่า เป็นถ้วย ชาม หรือศิลา ซึ่งมีอำนาจเหนือธรรมชาติบันดาลให้เกิดความสุข ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์ หรือชีวิตอมตะ คำว่า "จอกศักดิ์สิทธิ์" ยังมักใช้เรียกสิ่งของหรือเป้าหมายที่ไขว่คว้าหากันเพราะเชื่อว่า มีความสำคัญยิ่งยวด การกล่าวถึง "จอก" วิเศษ แม้ไม่ปรากฏชัดว่า ศักดิ์สิทธิ์ด้วยหรือไม่นั้น ปรากฏครั้งแรกในนิยายวีรคติเรื่อง แปร์เซอวัลเลอกงต์ดูกราล (Perceval, le Conte du Graal; "แปร์เซอวาลตำนานจอก") ผลงานซึ่งเขียนไม่เสร็จของเครเตียง เดอ ทรัว (Chrétien de Troyes) ในราว..

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและจอกศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายถึงชาวฮีบรู

หมายถึงชาวฮีบรู (Epistle to the Hebrews) เป็นหนังสือเล่มที่ 19 ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ หนังสือเล่มนี้แต่แรกเป็นจดหมายขนาดยาวที่ถูกเขียนถึงชาวฮีบรู ผู้เขียนไม่ได้ระบุชื่อตนเองว่าเป็นใคร ซึ่งการทำเช่นนั้นแสดงว่า ผู้รับจดหมายชาวฮีบรูต้องรู้จักผู้เขียนเป็นอย่างดี และจากเนื้อหาในจดหมายที่กล่าวถึงคำสอนในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมด้วยนั้น แสดงว่าผู้เขียนเป็นผู้มีการศึกษาและเข้าใจในเรื่องราวเหล่านั้นดี ประกอบกับผู้เขียนมีความสนิทสนมกับทิโมธีด้วย ทำให้ในยุคแรกเชื่อกันว่านักบุญเปาโลอัครทูต น่าจะเป็นผู้เขียนจดหมายฉบับนี้ แต่หลังจากการปฏิรูปแล้ว มีข้อโต้แย้งว่า ผู้เขียนไม่น่าจะเป็นเปาโล เพราะสไตล์การเขียนจดหมายของนักบุญเปาโล ไม่ใช่แบบที่อยู่ในจดหมายฉบับนี้ อาจจะเป็นอปอลโลมากกว่า ซึ่งอปอลโลก็มีคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันได้แน่นอนว่าผู้เขียนเป็นใคร ส่วนช่วงเวลาในการเขียนน่าอยู่ในราวปี..

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและจดหมายถึงชาวฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ทวนศักดิ์สิทธิ์

ทวนศักดิ์สิทธิ์ทิ่มแทงพระวรกายของพระเยซู วาดโดยฟราอันเจลีโก ทวนศักดิ์สิทธิ์ (Holy Lance; Heilige Lanze), หอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Spear), ทวนลอนไจนัส (Lance of Longinus), หรือ หอกแห่งโชคชะตา (Spear of Destiny) ตามที่ระบุไว้ในพระวรสารนักบุญยอห์น เป็นทวนที่นายทหารโรมันนามลอนไจนัส ใช้แทงสีข้างพระเยซูขณะที่พระองค์ถูกตรึงกางเขน เพื่อตรวจว่าพระองค์สิ้นพระชนม์แล้วหรือยัง มีศาสนจักรและอารามมากมายในโลกที่อ้างว่าตนเองมีทวนเล่มนี้ไว้ในครอบครอง แต่ก็ไม่มีการพิสูจน์และตรวจสอบใด ๆ จนถึงทุกวันนี้ ในบรรดาทวนทั้งหมดที่มีการอ้าง มีเพียง 3 เล่มเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดว่า เล่มใดเล่มหนึ่งอาจเป็นทวนศักดิ์สิทธิ์ของจริง ทวนเล่มแรกอยู่ที่วาติกัน เล่มสองอยู่อาร์มีเนีย เล่มสามอยู่เวียนนา แม้ตำนานจะไม่ได้ระบุว่าทวนเล่มนี้มีพลังอานุภาพเหนือธรรมชาติใด ๆ แต่ผู้คนมากมายก็เชื่อว่าทวนเล่มนี้จะทำให้ผู้ครอบครองมีพลังอำนาจเกรียงไกร ดังนั้นทวนจึงเป็นที่หมายปองของบรรดาผู้นำประเทศในอดีต เช่น ใน..

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและทวนศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

คานาอัน

แผนที่ประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ตามคัมภีร์ฮีบรู คานาอันคือบริเวณที่ล้อมรอบด้วยเส้นสีแดง คานาอัน (ฟินิเชีย: 𐤊‏𐤍‏𐤏‏𐤍‏, Kana'n; כְּנָעַן‎ kna-an; كنعان Kanaʿān) คือ ดินแดนของชนเผ่าที่พูดภาษาเซมิติกราวปลายสหัสวรรตที่ 2 ก่อนคริสต์กาล ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ลิแวนต์ใต้ในตะวันออกกลาง ตรงกับบริเวณที่ตั้งประเทศอิสราเอล เลบานอน ดินแดนปาเลสไตน์ และบางส่วนของประเทศซีเรียและประเทศอียิปต์ มีชายฝั่งทางทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คำว่า คานาอัน ปรากฏอยู่บ่อยครั้งในคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือพันธสัญญาเดิม โดยบรรยายว่าเป็นดินแดนที่พระยาห์เวห์สัญญามอบให้แก่วงศ์วานอิสราเอล หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและคานาอัน · ดูเพิ่มเติม »

ซาโลมอน

ซาโลมอน (ศัพท์คริสต์ศาสนา) หรือ โซโลมอน (ศัพท์ประวัติศาสตร์) (ละติน: Solomon; שְׁלֹמֹה) มาจากราก S-L-M ที่แปลว่า ความสงบ ในอิสลามว่า สุลัยมาน หรือตามฉายาคือ ซาโลมอนผู้ทรงปัญญา ชื่ออีกชื่อหนึ่งที่ใช้ในคัมภีร์ฮีบรูคือ เจดิดิอา (יְדִידְיָהּ) ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งอิสราเอล ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูหมวดทานัคของศาสนายูดาห์ คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ และในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม คัมภีร์กล่าวว่ากษัตริย์ซาโลมอนเป็นบุตรของดาวิด และกล่าวว่าเป็นกษัตริย์องค์ที่สามของสหราชอาณาจักรอิสราเอลและกษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่จะแยกเป็นราชอาณาจักรอิสราเอลทางเหนือและราชอาณาจักรยูดาห์ทางใต้ หลังจากการแยกตัวผู้ที่สืบเชื้อสายก็ปกครองแต่เพียงราชอาณาจักรยูดาห์เท่านั้น พระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าซาโลมอนเป็นผู้สร้างวิหารแห่งซาโลมอน ในกรุงเยรูซาเลมที่ถือกันว่าเป็นพระวิหารแห่งเยรูซาเลมหลังแรก และเป็นผู้มีความฉลาด มั่งคั่ง และอำนาจอย่างมากในยุคนั้น.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและซาโลมอน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอธิโอเปีย

อธิโอเปีย (Ethiopia; อามฮารา) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; อามฮารา) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีในสมัยของเบนิโต มุสโสลินีได้เข้ายึดครองประเทศนี้ อังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีในพ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและประเทศเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไนล์

แผนที่แสดงเส้นทางการไหลของแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์ ในบริเวณอียิปต์ แม่น้ำไนล์ และ กรุงไคโรด้านหลัง แม่น้ำไนล์ (النيل อันนีล; Nile) เป็นแม่น้ำใน ทวีปแอฟริกา เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก โดยถูกค้นพบแหล่งต้นน้ำใหม่ที่ทำให้มีความยาวกว่าเดิมเมื่อไม่นานมานี้ โดยแม่น้ำไนล์มีความยาวทั้งสิ้น 6,695 กิโลเมตร^~^.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและแม่น้ำไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นศิลาพระโอวาท

แผ่นศิลาพระโอวาท หรือ แผ่นศิลาพระบัญญัติ (Tablets of Stone; לוחות הברית) ในคัมภีร์ไบเบิล หมายถึง แผ่น​พระ‍โอ‌วาท​สอง​แผ่น เป็น​แผ่น​ศิลา​จา‌รึก​ด้วย​นิ้ว‍พระ‍หัตถ์​ของ​พระ‍เจ้า ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับโมเสสบนภูเขาซีนาย มีบันทึกอยู่ในหนังสืออพยพ บทที่ 31 ข้อ 18 ตามที่ได้บันทึกในคัมภีร์ไบเบิล แผ่นพระโอวาททั้งสองแผ่นเป็น​พระ‍ราช‌กิจ​ของ​พระ‍เจ้า และ​อักษร​ที่​จา‌รึก​นั้น​เป็น​ลาย​พระ‍หัตถ์​ของ​พระ‍เจ้า เมื่อโมเสสกลับลงมาจากภูเขาซีนาย ท่านเห็นโคและคนเต้นรำ ท่านจึงมีโทสะขึ้นจึงโยนแผ่นศิลาในมือทิ้งตกแตกที่เชิงภูเขานั้นเอง ต่อมาในภายหลังพระเจ้าได้ประทานแผ่นพระโอวาทให้ใหม่ และเก็บรักษาไว้ในหีบแห่งพันธสัญญ.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและแผ่นศิลาพระโอวาท · ดูเพิ่มเติม »

โมเสส

มเสสกับแผ่นจารึก, พ.ศ. 2202 (1659), โดยแร็มบรันต์ โมเสสเมื่อลงมาหลังจากเข้าเฝ้าพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย, พ.ศ. 2181 (1638), โดย ไรเบรา เดอ โจเซ รูปปั้นของโมเสส โดยมีเกลันเจโล โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Moses; מֹשֶׁה; موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสน.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและโมเสส · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เผ่าเลวี

ผ่าเลวี (Levites) เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของวงศ์วานอิสราเอล ตามบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดเบญจบรรณ และตามพระคัมภีร์โทราห์ของศาสนายูดาห์ เลวีมาจากชื่อของบุตรชายคนที่ 3 ของยาโคบ (อิสราเอล) กับนางเลอาห์ ภรรยาคนแรก เลวีเป็นเผ่าเดียวที่พระยาห์เวห์ทรงยกเว้นไม่ให้ได้รับมรดกจากแผ่นดินคานาอัน แต่ให้มีหน้าที่เป็นปุโรหิตและผู้ปฏิบัติงานในสถานนมัสการ.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและเผ่าเลวี · ดูเพิ่มเติม »

เครูบ

วกเครูบตามจินตนาการของคริสเตียนป้องกันประตูทางเข้าสวนอีเด็น โดจจุสโต เดอ เมนาบวย ราว ค.ศ. 1377 เครูบ (cherub (เอก.) cherubim (พหู.), כרוב, พหูพจน์ כרובים, cherub, พหูพจน์ cherubi) เป็นทูตสวรรค์ประเภทหนึ่งที่กล่าวถึงหลายครั้งในคัมภีร์ไบเบิล ในภาษาอังกฤษปัจจุบันคำนี้มักจะใช้เรียกเทวดาเด็ก ๆ ที่ปรากฏในงานศิลปะ ซึ่งตามความหมายทางการแล้วแตกต่างจาก “เครูบ” ในบทความนี้ มีบรรยายว่าเครูบมีปีก ผู้เผยพระวจนะบรรยายไว้ในคัมภีร์เอเสเคียลว่าเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิต (creature) ที่แต่ละตนมีหน้าสี่หน้า: สิงห์โต, วัว, เหยี่ยว และมนุษย์ และเชื่อกันว่ามีมือเหมือนมนุษย์, เท้าเหมือนวัว, และมีปีกสี่ปีก สองปีกตั้งขึ้นประกบกันและแบกบัลลังก์พระเจ้า อีกสองปีกหลุบลงปิดบังร่างของตนเอง เครูบมีกล่าวถึงในคัมภีร์ฮิบรูในโทราห์ (หนังสือห้าเล่มของโมเสส) พระธรรมเอเสเคียล และพระธรรมอิสยาห์ ในพันธสัญญาใหม่ของคริสต์ศาสนา กล่าวถึงเครูบในพระธรรมวิวรณ์ พหูพจน์ของคำว่า “Cherub” คือ “Cherubim” หรือ “Cherubs” แต่ผู้ใช้ภาษาอังกฤษไม่มีความคุ้นเคยกับพหูพจน์ของภาษาฮิบรูบางครั้งจึงใช้ “Cherubims” ในกรณีที่เป็นพหูพจน์เช่นในคัมภีร์ไบเบิลฉบับพระเจ้าเจมส์ (King James Bible) at Bible Gateway.com.

ใหม่!!: หีบแห่งพันธสัญญาและเครูบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ark of the Covenant

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »