เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

หีบแห่งพันธสัญญาและเยรูซาเลม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง หีบแห่งพันธสัญญาและเยรูซาเลม

หีบแห่งพันธสัญญา vs. เยรูซาเลม

ูวากำลังผ่านแม่น้ำจอร์แดนพร้อมกับหีบแห่งพันธสัญญา ลักษณะหีบแห่งพันธสัญญาตามสันนิฐาน โดย ''James Tissot'' หีบแห่งพันธสัญญา หรือ หีบแห่งพระบัญญัติ (Ark of the Covenant; אָרוֹן הַבְּרִית ʾĀrôn Habbərît, ออกเสียง อะรอน ฮะบริท; Κιβωτός της Διαθήκης; تابوت العهد) เป็นหีบที่กล่าวถึงใน หนังสืออพยพ บรรจุแผ่นศิลาพระโอวาทที่ได้สลักบัญญัติ 10 ประการเอาไว้ และใน จดหมายถึงชาวฮีบรู ระบุว่า "หีบ‍พันธ‌สัญญา​หุ้ม​ด้วย​ทอง‍คำ​ทุก​ด้าน ภาย‍ใน​นั้น มี​โถ​ทอง‍คำ​บรร‌จุ​มานา มี​ไม้เท้าของอาโรนที่​ออก‍ดอก‍ตูม และ​มี​แผ่น​ศิลา​จา‌รึก​พันธ‌สัญญา" อย่างไรก็ตาม ใน หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ได้บันทึกไว้ว่า ในยุคของมหากษัตริย์ซาโลมอน หีบแห่งพันธสัญญาบรรจุไว้แค่ แผ่นศิลาพระบัญญัติจำนวนสองแผ่นเท่านั้น หนังสืออพยพ ยังอธิบายว่า หีบแห่งพันธสัญญาสร้างขึ้นรูปแบบที่พระยาห์เวห์ทรงชี้แนะต่อโมเสสที่ภูเขาซีนาย โมเสสสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าได้จากพลับพลานมัสการซึ่งบรรจุหีบใบนี้ โดยพระเจ้าจะทรงประทับบนพระที่นั่งกรุณาที่ทั้งสองข้างมีเครูบกางปีกปกไว้ คัมภีร์ไบเบิลระบุว่า ราวหนึ่งปีภายหลังชนชาวอิสราเอลได้อพยพจากอียิปต์ ก็ได้สร้างตัวหีบขึ้นตามรูปแบบที่พระเจ้าตรัสไว้ผ่านโมเสสในระหว่างที่พวกเขาตั้งค่ายที่เชิงเขาซีนาย (ตรงกับ 1513 ปีก่อนคริสตกาล) ต่อมา ปุโรหิตเผ่าเลวีหามหีบแห่งพันธสัญญานำขบวนอพยพของชนชาวอิสราเอลทิ้งระยะห่าง 2000 ศอก ทันทีที่เท้าของปุโรหิตผู้หามหีบแตะผิวน้ำของแม่น้ำจอร์แดนซึ่งอยู่ในฤดูน้ำหลาก สายน้ำก็แยกออกจากกันจนเหลือพื้นแห้งให้ขบวนอพยพเดินทางข้ามไปได้ เมื่อการมหัศจรรย์นี้แพร่กระจายออกไป ทำให้เหล่ากษัตริย์ชาวอาโมไรต์ทั้งหมดทางฟากตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนและกษัตริย์ชาวคานาอันทั้งหมดตามชายฝั่งทะเลต่างเกรงกลัวในอำนาจของพระเจ้า ประตูเมืองเยรีโคถูกสั่งปิดตายเนื่องจากเกรงกลัวชาวอิสราเอล พระเจ้าตรัสกับโยชูวาให้ปุโรหิตหามหีบเดินขบวนรอบเมืองวันละหนึ่งรอบเป็นเวลาหกวัน และหามวนเจ็บรอบในวันที่เจ็ดพร้อมเป่าเขาแกะ เมื่อครบเจ็ดรอบ ชาวอิสราเอลก็ส่งเสียงโห่ร้องและกำแพงของเมืองเยรีโคก็พังทลายลงมา กองทัพของชาวอิสราเอลบุกเข้าเมือง เข่นฆ่าทุกคนไม่เว้น ชาย หญิง คนชรา เด็ก สัตว์เลี้ยง และเผาเมืองจนพินาศสิ้น. รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง หีบแห่งพันธสัญญาและเยรูซาเลม

หีบแห่งพันธสัญญาและเยรูซาเลม มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บาบิโลเนียพระยาห์เวห์คัมภีร์ไบเบิลคานาอันซาโลมอนเยรูซาเลม

บาบิโลเนีย

ไม่มีคำอธิบาย.

บาบิโลเนียและหีบแห่งพันธสัญญา · บาบิโลเนียและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

พระยาห์เวห์

หรียญเงินราวสี่ศตวรรษก่อนคริสตกาลที่พบในอิสราเอล เชื่อว่าบุคคลที่ประทับอยู่บนสุริยบัลลังก์มีปีกนั้นคือพระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 647-8 (Yahweh) พระเยโฮวาห์ (Jahovah) พระยะโฮวา (ศัพท์พยานพระยะโฮวา) (Yahova) ยฮวฮ (ศัพท์ศาสนายูดาห์) (יהוה; YHWH) เป็นพระนามของพระเป็นเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม (ทานัค) ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยเล่มเก่านั้นปรากฏพระนามนี้อยู่หลายครั้ง ในคัมภีร์ดั้งเดิมเขียนด้วยอักษร 4 ตัว แต่เนื่องจากอักษร 4 ตัว (ยฮวฮ|YHWH) นั้นผู้เขียนไม่ได้ใส่สระไว้ ทำให้การออกเสียงที่ถูกต้องถูกถ่ายทอดต่อกันมาโดยการพูด คัมภีร์ดั้งเดิมหรือต้นฉบับปรากฏพระนามนี้ประมาณ 7 พันครั้ง ในฉบับภาษาไทยเล่มเก่า ๆ ยังปรากฏพระนามนี้อยู่ การแปลในยุคต่อ ๆ มาได้เปลี่ยนพระนามมา 3 ครั้ง ปัจจุบันสะกดพระนามนี้ว่า ยาห์เวห์ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahweh การทับศัพท์ เยโฮวาห์ มีต้นกำเนิดมาจากการที่นักวิชาการชาวยุโรปถอดอักษรฮีบรู יהוה เป็นอักษรโรมัน 4 ตัวได้เป็น YHWH แล้วผสมสระจึงได้การออกเสียงเป็น "เยโฮวาห์" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Jehovah การทับศัพท์นี้แพร่หลายไปในภาษาต่าง ๆ รวมทั้งพระคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยฉบับเก่า ๆ เช่น ฉบับ 1971 ยังปรากฏพระนาม "เยโฮวาห์" นี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีการทับศัพท์ว่า "ยะโฮวา" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahovah ในคัมภีร์ไบเบิล ฉบับ 1940 อีกด้วย แต่ในปัจจุบันนักวิชาการนิยมทับศัพท์ใหม่ว่า ยาห์เวห์ ตามหลักฐานที่ค้นพบและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ยฮวฮ คือพระนามของพระเป็นเจ้าสูงสุด ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1940 หรือ "เยโฮวาห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971 หรือ "ยาห์เวห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 2011 แต่เพื่อให้เกิดความเป็นสากลในทุกนิกาย ทั้งใน โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เมื่อออกพระนามพระเป็นเจ้าจะออกเสียงว่า "พระเจ้า" และ "ยฮวฮ" ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) ทุกฉบับ ในภาษาฮีบรู ยาห์เวห์ แปลว่า เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น หรือแปลได้อีกว่า เราอยู่(ด้วย) ซึ่งก็คือ พระองค์ทรงฤทธิ์ที่จะเป็นอะไรก็ได้ตามพระประสงค์ของพระอง.

พระยาห์เวห์และหีบแห่งพันธสัญญา · พระยาห์เวห์และเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

คัมภีร์ไบเบิลและหีบแห่งพันธสัญญา · คัมภีร์ไบเบิลและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

คานาอัน

แผนที่ประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ตามคัมภีร์ฮีบรู คานาอันคือบริเวณที่ล้อมรอบด้วยเส้นสีแดง คานาอัน (ฟินิเชีย: 𐤊‏𐤍‏𐤏‏𐤍‏, Kana'n; כְּנָעַן‎ kna-an; كنعان Kanaʿān) คือ ดินแดนของชนเผ่าที่พูดภาษาเซมิติกราวปลายสหัสวรรตที่ 2 ก่อนคริสต์กาล ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ลิแวนต์ใต้ในตะวันออกกลาง ตรงกับบริเวณที่ตั้งประเทศอิสราเอล เลบานอน ดินแดนปาเลสไตน์ และบางส่วนของประเทศซีเรียและประเทศอียิปต์ มีชายฝั่งทางทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คำว่า คานาอัน ปรากฏอยู่บ่อยครั้งในคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือพันธสัญญาเดิม โดยบรรยายว่าเป็นดินแดนที่พระยาห์เวห์สัญญามอบให้แก่วงศ์วานอิสราเอล หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ.

คานาอันและหีบแห่งพันธสัญญา · คานาอันและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

ซาโลมอน

ซาโลมอน (ศัพท์คริสต์ศาสนา) หรือ โซโลมอน (ศัพท์ประวัติศาสตร์) (ละติน: Solomon; שְׁלֹמֹה) มาจากราก S-L-M ที่แปลว่า ความสงบ ในอิสลามว่า สุลัยมาน หรือตามฉายาคือ ซาโลมอนผู้ทรงปัญญา ชื่ออีกชื่อหนึ่งที่ใช้ในคัมภีร์ฮีบรูคือ เจดิดิอา (יְדִידְיָהּ) ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งอิสราเอล ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูหมวดทานัคของศาสนายูดาห์ คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ และในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม คัมภีร์กล่าวว่ากษัตริย์ซาโลมอนเป็นบุตรของดาวิด และกล่าวว่าเป็นกษัตริย์องค์ที่สามของสหราชอาณาจักรอิสราเอลและกษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่จะแยกเป็นราชอาณาจักรอิสราเอลทางเหนือและราชอาณาจักรยูดาห์ทางใต้ หลังจากการแยกตัวผู้ที่สืบเชื้อสายก็ปกครองแต่เพียงราชอาณาจักรยูดาห์เท่านั้น พระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าซาโลมอนเป็นผู้สร้างวิหารแห่งซาโลมอน ในกรุงเยรูซาเลมที่ถือกันว่าเป็นพระวิหารแห่งเยรูซาเลมหลังแรก และเป็นผู้มีความฉลาด มั่งคั่ง และอำนาจอย่างมากในยุคนั้น.

ซาโลมอนและหีบแห่งพันธสัญญา · ซาโลมอนและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

หีบแห่งพันธสัญญาและเยรูซาเลม · เยรูซาเลมและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง หีบแห่งพันธสัญญาและเยรูซาเลม

หีบแห่งพันธสัญญา มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ เยรูซาเลม มี 75 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 6.38% = 6 / (19 + 75)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง หีบแห่งพันธสัญญาและเยรูซาเลม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: