เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

หลอดเลือดแดงตับร่วม

ดัชนี หลอดเลือดแดงตับร่วม

ในทางกายวิภาคศาสตร์ หลอดเลือดแดงคอมมอนเฮปาติก (common hepatic artery) เป็นหลอดเลือดสั้นๆ ที่ให้เลือดที่มีออกซิเจนสูงไปยังตับ, กระเพาะอาหารส่วนไพลอรัส (pylorus), ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) และตับอ่อน หลอดเลือดนี้เป็นแขนงมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac artery) ให้แขนงต่างๆ ดังนี้.

สารบัญ

  1. 16 ความสัมพันธ์: กระเพาะอาหารกายวิภาคศาสตร์ลำไส้เล็กส่วนต้นหลอดเลือดหลอดเลือดดำพอร์ทัลตับหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้ายหลอดเลือดแดงถุงน้ำดีหลอดเลือดแดงท้องหลอดเลือดแดงตับหลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัลหลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัลถุงน้ำดีตับตับอ่อนเลือด

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและกระเพาะอาหาร

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและกายวิภาคศาสตร์

ลำไส้เล็กส่วนต้น

ลำไส้ส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (Duodenum) เป็นลำไส้เล็กส่วนแรกในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงส่วนใหญ่ รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก ในปลา ส่วนของลำไส้เล็กนั้นไม่ชัดเจน และอาจใช้คำว่า ลำไส้เล็กหน้าหรือลำไส้เล็กต้น (proximal intestine) แทน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลำไส้เล็กส่วนต้นอาจเป็นที่ดูดซึมเหล็กหลัก ลำไส้เล็กส่วนต้นอยู่ก่อนลำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) และลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) และเป็นลำไส้เล็กส่วนที่สั้นที่สุด เป็นที่ที่เกิดการย่อยเชิงเคมีมากที.

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและลำไส้เล็กส่วนต้น

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและหลอดเลือด

หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ

หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ (Hepatic portal vein) เป็นระบบหลอดเลือดในช่องท้องซึ่งนำเลือดจากทางเดินอาหารและม้ามไปยังตับ ส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากหลอดเลือดดำซูพีเรียมีเซนเทอริก (superior mesenteric vein) และหลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) นอกจากนี้ยังรับเลือดจากหลอดเลือดดำอินฟีเรียมีเซนเทอริก (inferior mesenteric vein) หลอดเลือดดำกระเพาะอาหาร (gastric vein) และหลอดเลือดดำถุงน้ำดีด้วย (cystic vein) หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนพอร์ทัลตับ และเป็นระบบหลอดเลือดดำพอร์ทัลหนึ่งในสองระบบในร่างกาย ซึ่งอีกระบบหนึ่งอยู่ที่ระบบไหลเวียนพอร์ทัลไฮโปไฟเซียลที่ต่อมใต้สมอง พอร์ทัลตับ.

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและหลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ

หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา

หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา (right gastric artery หรือ pyloric artery) ออกมาจากหลอดเลือดแดงตับ เหนือต่อกระเพาะอาหารส่วนไพลอรัส (pylorus) ทอดลงมายังปลายส่วนไพลอรัสของกระเพาะอาหาร และผ่านจากขวาไปซ้ายตามแนวของส่วนโค้งเล็ก (lesser curvature) ของกระเพาะอาหาร และให้แขนงไปเลี้ยงส่วนนั้น หลอดเลือดนี้ยังมีแขนงเชื่อม (anastomoses) กับหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย (left gastric artery).

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา

หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย (left gastric artery) เป็นแขนงที่แยกออกมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac trunk) วิ่งมาตามส่วนบนของส่วนโค้งเล็ก (lesser curvature) ของกระเพาะอาหาร แขนงของเส้นเลือดนี้เลี้ยงส่วนล่างของหลอดอาหาร หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้ายมีแขนงเชื่อม (anastomoses) กับหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา (right gastric artery) ซึ่งทำหน้าที่เลี้ยงส่วนล่าง.

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย

หลอดเลือดแดงถุงน้ำดี

หลอดเลือดแดงถุงน้ำดี (cystic artery) ให้เลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงถุงน้ำดี และ ท่อถุงน้ำดี (cystic duct).

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและหลอดเลือดแดงถุงน้ำดี

หลอดเลือดแดงท้อง

หลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac artery) เป็นแขนงใหญ่แขนงแรกของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง (abdominal aorta) และแขนงจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาตรงกับตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 12 (T12) ในมนุษย์ หลอดเลือดซิลิแอคเป็นหนึ่งในสามแขนงที่ออกมาทางด้านหน้าตรงกลางลำตัวจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง (อีก 2 แขนงได้แก่ หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์มีเซนเทอริค (superior mesenteric artery) และหลอดเลือดแดงอินฟีเรียมีเซนเทอริค (inferior mesenteric arteries).

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและหลอดเลือดแดงท้อง

หลอดเลือดแดงตับ

หลอดเลือดแดงตับ หรือ หลอดเลือดแดงเฮปาติกพรอเพอร์ (hepatic artery proper) แยกแขนงออกมาจากหลอดเลือดแดงคอมมอนเฮปาติก (common hepatic artery) ทอดร่วมไปกับหลอดเลือดดำพอร์ทัล (portal vein) และท่อน้ำดีใหญ่ (common bile duct) เรียกว่า พอร์ทัล ไทรแอด (portal triad) หลอดเลือดนี้ยังให้แขนงหลอดเลือดแดงถุงน้ำดี (cystic artery) เพื่อไปเลี้ยงถุงน้ำดีก่อนจะแยกเป็น 2 แขนงเป็นหลอดเลือดแดงตับซ้ายและขว.

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและหลอดเลือดแดงตับ

หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัล

หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัล (superior pancreaticoduodenal artery) ทอดตัวลงมาระหว่างขอบที่ติดกันของลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) และ ตับอ่อน หลอดเลือดนี้เป็นแขนงของหลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัล (gastroduodenal artery) ซึ่งมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac trunk) หลอดเลือดแดงนี้ให้แขนงเลี้ยงลำไส้เล็กส่วนต้นและตับอ่อน และมีแขนงเชื่อมต่อกับหลอดเลือดแดงอินฟีเรียแพนครีเอติโคดูโอดีนัล (inferior pancreaticoduodenal branch) ซึ่งเป็นแขนงมาจากหลอดเลือดแดงซุพีเรียร์มีเซนเทอริค (superior mesenteric artery) และยังมีแขนงเชื่อมกับแขนงเลี้ยงตับอ่อน (pancreatic branches) ของหลอดเลือดแดงม้าม (splenic artery).

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและหลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัล

หลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัล

ในทางกายวิภาคศาสตร์ หลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัล (gastroduodenal artery) เป็นหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่อยู่ในส่วนท้อง ให้แขนงไปเลี้ยงกระเพาะอาหารส่วนไพลอรัส (pylorus) และส่วนต้นของดูโอดีนัม (duodenum) หลอดเลือดนี้แตกแขนงออกมาจากหลอดเลือดแดงคอมมอนเฮปาติก (common hepatic artery) และสิ้นสุดลงที่จุดแยกแขนงออกเป็นหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา (right gastroepiploic artery) และหลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัล (superior pancreaticoduodenal artery).

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและหลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัล

ถุงน้ำดี

รงสร้างของถุงน้ำดีและระบบท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (Gallbladder) เป็นอวัยวะในช่องท้องที่ทำหน้าที่ในการเก็บสะสมน้ำดี (bile) เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร โดยจะมีโครงสร้างที่ติดต่อกับตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร.

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและถุงน้ำดี

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและตับ

ตับอ่อน

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะซึ่งเป็นต่อมในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในมนุษย์ ตับอ่อนอยู่ในช่องท้องหลังกระเพาะอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมถึงอินซูลิน กลูคากอน โซมาโตสเตติน และแพนคริเอติกพอลิเพพไทด์ซึ่งไหลเวียนอยู่ในเลือด ตับอ่อนยังเป็นอวัยวะย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยตับอ่อนซึเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยการย่อยและดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก เอนไซม์เหล่านี้ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและลิพิดในไคม์ (chyme) และตับอ่อนมักหลั่งเอนไซม์ คือ trypsinogen chymotrypsinogen procarboxypeptidase.

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและตับอ่อน

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ดู หลอดเลือดแดงตับร่วมและเลือด

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Common hepatic arteryหลอดเลือดแดงคอมมอนเฮปาติก