เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัล

ดัชนี หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัล

หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัล (superior pancreaticoduodenal artery) ทอดตัวลงมาระหว่างขอบที่ติดกันของลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) และ ตับอ่อน หลอดเลือดนี้เป็นแขนงของหลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัล (gastroduodenal artery) ซึ่งมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac trunk) หลอดเลือดแดงนี้ให้แขนงเลี้ยงลำไส้เล็กส่วนต้นและตับอ่อน และมีแขนงเชื่อมต่อกับหลอดเลือดแดงอินฟีเรียแพนครีเอติโคดูโอดีนัล (inferior pancreaticoduodenal branch) ซึ่งเป็นแขนงมาจากหลอดเลือดแดงซุพีเรียร์มีเซนเทอริค (superior mesenteric artery) และยังมีแขนงเชื่อมกับแขนงเลี้ยงตับอ่อน (pancreatic branches) ของหลอดเลือดแดงม้าม (splenic artery).

สารบัญ

  1. 4 ความสัมพันธ์: ลำไส้เล็กส่วนต้นหลอดเลือดแดงท้องหลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัลตับอ่อน

ลำไส้เล็กส่วนต้น

ลำไส้ส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (Duodenum) เป็นลำไส้เล็กส่วนแรกในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงส่วนใหญ่ รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก ในปลา ส่วนของลำไส้เล็กนั้นไม่ชัดเจน และอาจใช้คำว่า ลำไส้เล็กหน้าหรือลำไส้เล็กต้น (proximal intestine) แทน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลำไส้เล็กส่วนต้นอาจเป็นที่ดูดซึมเหล็กหลัก ลำไส้เล็กส่วนต้นอยู่ก่อนลำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) และลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) และเป็นลำไส้เล็กส่วนที่สั้นที่สุด เป็นที่ที่เกิดการย่อยเชิงเคมีมากที.

ดู หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัลและลำไส้เล็กส่วนต้น

หลอดเลือดแดงท้อง

หลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac artery) เป็นแขนงใหญ่แขนงแรกของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง (abdominal aorta) และแขนงจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาตรงกับตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 12 (T12) ในมนุษย์ หลอดเลือดซิลิแอคเป็นหนึ่งในสามแขนงที่ออกมาทางด้านหน้าตรงกลางลำตัวจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง (อีก 2 แขนงได้แก่ หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์มีเซนเทอริค (superior mesenteric artery) และหลอดเลือดแดงอินฟีเรียมีเซนเทอริค (inferior mesenteric arteries).

ดู หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัลและหลอดเลือดแดงท้อง

หลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัล

ในทางกายวิภาคศาสตร์ หลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัล (gastroduodenal artery) เป็นหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่อยู่ในส่วนท้อง ให้แขนงไปเลี้ยงกระเพาะอาหารส่วนไพลอรัส (pylorus) และส่วนต้นของดูโอดีนัม (duodenum) หลอดเลือดนี้แตกแขนงออกมาจากหลอดเลือดแดงคอมมอนเฮปาติก (common hepatic artery) และสิ้นสุดลงที่จุดแยกแขนงออกเป็นหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา (right gastroepiploic artery) และหลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัล (superior pancreaticoduodenal artery).

ดู หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัลและหลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัล

ตับอ่อน

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะซึ่งเป็นต่อมในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในมนุษย์ ตับอ่อนอยู่ในช่องท้องหลังกระเพาะอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมถึงอินซูลิน กลูคากอน โซมาโตสเตติน และแพนคริเอติกพอลิเพพไทด์ซึ่งไหลเวียนอยู่ในเลือด ตับอ่อนยังเป็นอวัยวะย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยตับอ่อนซึเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยการย่อยและดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก เอนไซม์เหล่านี้ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและลิพิดในไคม์ (chyme) และตับอ่อนมักหลั่งเอนไซม์ คือ trypsinogen chymotrypsinogen procarboxypeptidase.

ดู หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์แพนครีเอติโคดูโอดีนัลและตับอ่อน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Superior pancreaticoduodenal artery