โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระเพาะอาหาร

ดัชนี กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

35 ความสัมพันธ์: ชั้นใต้เยื่อเมือกช่องท้องกรดกรดไฮโดรคลอริกกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อเรียบกะบังลมการย่อยอาหารการดูดซึมกาเฟอีนภาษาละตินลำไส้เล็กลำไส้เล็กส่วนต้นหลอดอาหารหลอดเลือดดำพอร์ทัลตับหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวาหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้ายหลอดเลือดแดงท้องหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวาหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้ายทางเดินอาหารตับตับอ่อนปากแบคทีเรียแอลกอฮอล์แอสไพรินโปรตีนเพปซินเยื่อเมือกเอนไซม์เนื้อเยื่อเนื้อเยื่อบุผิวเนื้อเยื่อเกี่ยวพันPH

ชั้นใต้เยื่อเมือก

ในทางเดินอาหาร ชั้นใต้เยื่อเมือก (Submucosa) เป็นชั้นของเนื้อเยื่อร่างแห (loose connective tissue) ซึ่งค้ำจุนชั้นเยื่อเมือก รวมทั้งเชื่อมชั้นเยื่อเมือกและกล้ามเนื้อเรียบที่อยู่ข้างใต้ (เส้นใยกล้ามเนื้อรอบวงอยู่ภายในกล้ามเนื้อตามยาว).

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและชั้นใต้เยื่อเมือก · ดูเพิ่มเติม »

ช่องท้อง

องท้อง (abdominal cavity) เป็นช่องลำตัวในร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ ซึ่งบรรจุอวัยวะภายใน ตั้งอยู่ใต้ช่องอก (thoracic cavity) และเหนือช่องเชิงกราน (pelvic cavity) อวัยวะที่อยู่ในช่องท้อง เช่น กระเพาะอาหาร, ตับ, ตับอ่อน, ม้าม, ถุงน้ำดี, กระเพาะปัสสาวะ, ลำไส้เล็ก, และลำไส้ใหญ่ (ไตเป็นอวัยวะที่ไม่ได้อยู่ในช่องท้อง แต่อยู่หลังช่องท้อง เรียกว่าเป็นอวัยวะหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneal organs)) ช่องท้องถูกบุด้วยเยื่อแผ่นที่เรียกว่า เยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) และอวัยวะภายในก็ถูกคลุมด้านหน้าด้วยแผ่นไขมันที่เรียกว่าโอเมนตัม (omentum หรือ omental apron).

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและช่องท้อง · ดูเพิ่มเติม »

กรด

กรด (อังกฤษ: acid, มาจากภาษาละติน acidus/acēre หมายถึง "เปรี้ยว") เป็นสสารซึ่งทำปฏิกิริยากับเบส โดยทั่วไป กรดสามารถระบุได้ด้วยรสเปรี้ยว,สมบัติทำปฏิกิริยากับโลหะอย่างแคลเซียม และเบสอย่างโซเดียมคาร์บอเนต กรดที่ละลายน้ำมี pH น้อยกว่า 7 โดยที่กรดจะแรงขึ้นตามค่า pH ที่ลดลง และเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นแดง ตัวอย่างทั่วไปของกรด รวมไปถึง กรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู), กรดซัลฟิวริก (ในแบตเตอรีรถยนต์), และกรดทาร์ทาริก (ในการทำขนม) ดังสามตัวอย่างข้างต้น กรดสามารถเป็นได้ทั้งสารละลาย ของเหลวหรือของแข็ง สำหรับแก๊ส อย่างเช่น ไฮโดรเจนคลอไรด์ ก็เป็นกรดได้เช่นกัน กรดแรงและกรดอ่อนเข้มข้นบางตัวมีฤทธิ์กัดกร่อน แต่มีข้อยกเว้น เช่น คาร์บอรีนและกรดบอริก นิยามกรดโดยทั่วไปมีสามนิยาม ได้แก่ นิยามอาร์เรเนียส นิยามเบรินสเตด-ลาวรี และนิยามลิวอิส นิยามอาร์เรเนียสกล่าววว่า กรดคือ สสารที่เพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในสารละลาย นิยามเบรินสเตด-ลาวรีเป็นการขยายขึ้น คือ กรดเป็นสสารซึ่งสามารถทำหน้าที่ให้โปรตอน กรดส่วนมากที่พบในชีวิตประจำวันเป็นสารละลายในน้ำ หรือสามารถละลายได้ในน้ำ และสองนิยามนี้เกี่ยวเนื่องที่สุด สาเหตุที่ pH ของกรดน้อยกว่า 7 นั้น เป็นเพราะความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนมากกว่า 10-7 โมลต่อลิตร เนื่องจาก pH นิยามเป็นลอการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไออน ดังนั้น กรดจึงมี pH น้อยกว่า 7 ตามนิยามเบรินสเตด-ลาวรี สารประกอบใดซึ่งสามารถให้โปรตอนง่ายสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นกรด ตัวอย่างมีแอลกอฮอล์และเอมีน ซึ่งมีหมู่ O-H หรือ N-H ในทางเคมี นิยามกรดลิวอิสเป็นนิยามที่พบมากที่สุด กรดลิวอิสเป็นตัวรับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ตัวอย่างกรดลิวอิส รวมไปถึงไอออนลบโลหะทั้งหมด และโมเลกุลอิเล็กตรอนน้อย เช่น โบรอนฟลูออไรด์ และอะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ ไฮโดรเนียมไอออนเป็นกรดตามทั้งสามนิยามข้างต้น ที่น่าสนใจคือ แม้แอลกอฮอล์และเอมีนสามารถเป็นกรดเบรินเสตด-ลาวรีได้ตามที่อธิบายข้างต้น ทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นเบสลิวอิสได้ เนื่องจากอะตอมออกซิเจนและไนโตรเจนมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและกรด · ดูเพิ่มเติม »

กรดไฮโดรคลอริก

รเจนคลอไรด์โอเวน กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 1800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและกรดไฮโดรคลอริก · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเรียบ

ั้นต่างๆ ของหลอดอาหาร:1. ชั้นเยื่อเมือก (mucosa) 2. ชั้นใต้เยื่อเมือก (submucosa) 3. ชั้นกล้ามเนื้อ (muscularis) 4. ชั้นแอดเวนทิเชีย (adventitia) 5. กล้ามเนื้อลาย (striated muscle) 6. กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบ (Striated and smooth) 7. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) 8. ชั้นมัสคิวลาริส มิวโคซา (Lamina muscularis mucosae) 9. ต่อมหลอดอาหาร (Esophageal glands) กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อที่ไม่มีลาย หรือเซลที่ไม่มีลาย มีการหดตัวอัตโนมัติ จากการสั่งงานของเส้นประสาท (Smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อชนิดหนึ่งที่พบอยู่ที่ผนังของอวัยวะกลวง (hollow organs) และบริเวณอื่นๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะและช่องท้อง, มดลูก, ท่อทางเดินในระบบสืบพันธุ์เพศชายและหญิง, ทางเดินอาหาร, ทางเดินหายใจ, หลอดเลือด, ผิวหนัง, กล้ามเนื้อซิลิอารี และม่านตา ที่โกลเมอรูลัส (glomerulus) ในไตยังมีเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ เรียกว่า เซลล์มีแซนเจียล (mesangial cell) กล้ามเนื้อเรียบมีความแตกต่างจากกล้ามเนื้อโครงร่างและกล้ามเนื้อหัวใจทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

กะบังลม

กะบังลม (Diaphragm หรือ Thoracic diaphragm) เป็นแผ่นของกล้ามเนื้อโครงร่างในร่างกายขึงอยู่ด้านล่างของซี่โครง กะบังลมกั้นระหว่างช่องอก (ประกอบด้วยหัวใจ ปอด และซี๋โครง เป็นต้น) และช่องท้อง ทำหน้าที่สำคัญในการหายใจ ในทางกายวิภาคศาสตร์กะบังลมบางครั้งอาจหมายถึงโครงสร้างแบนอื่นๆ เช่น กะบังลมเชิงกรานหรือฐานเชิงกราน (pelvic diaphragm; เช่นในโรค "กะบังลมหย่อน" ที่หมายถึงการหย่อนของฐานเชิงกรานทำให้ทวารหนัก มดลูก หรือกระเพาะปัสสาวะยื่นออกมานอกช่องคลอด) แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า "กะบังลม" หมายถึงกะบังลมหน้าอก สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นเช่นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีกะบังลมหรือโครงสร้างคล้ายกะบังลมแต่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตำแหน่งของปอดในช่องท้อง เป็นต้น A commonly used mnemonic to remember the level of the diaphragmatic apertures is this: Mnemonic.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและกะบังลม · ดูเพิ่มเติม »

การย่อยอาหาร

การย่อยอาหาร (digestion) เป็นการสลายโมเลกุลอาหารที่ไม่ละลายน้ำขนาดใหญ่เป็นโมเลกุลอาหารละลายน้ำขนาดเล็กเพื่อให้สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่น้ำเลือดได้ ในสิ่งมีชีวิตบางชนิด สสารขนาดเล็กกว่าเหล่านี้ถูกดูดซึมผ่านลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด การย่อยอาหารเป็นแคแทบอลิซึมรูปแบบหนึ่งซึ่งแบ่งวิธีการสลายอาหารออกได้เป็นสองวิธี คือ การย่อยอาหารเชิงกลและการย่อยอาหารเชิงเคมี คำว่า การย่อยอาหารเชิงกล หมายถึง การสลายเชิงกายภาพของชิ้นอาหารขนาดใหญ่เป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งทำให้เอ็นไซม์ย่อยอาหารเข้าถึงได้ต่อไป ในการย่อยอาหารเชิงเคมี เอ็นไซม์จะสลายอาหารเป็นโมเลกุลขนาดเล็กซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ ในระบบย่อยอาหารของมนุษย์ อาหารเข้าสู่ปากและการย่อยอาหารเชิงกลเริ่มต้นด้วยการเคี้ยว ซึ่งเป็นการย่อยอาหารเชิงกลรูปแบบหนึ่ง และการสัมผัสทำให้เปียกของน้ำลาย น้ำลายซึ่งเป็นของเหลวที่หลั่งจากต่อมน้ำลาย มีเอ็นไซม์อะไมเลสของน้ำลาย ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่เริ่มการย่อยแป้งในอาหาร น้ำลายยังมีเมือกที่หล่อลื่นอาหาร และไฮโดรเจนคาร์บอเนตซึ่งทำให้ภาวะ pH เหมาะสม (ด่าง) สำหรับการทำงานของอะไมเลส หลังการเคี้ยวและการย่อยแป้งดำเนินไป อาหารจะอยู่ในรูปของก้อนแขวนลอยขนาดเล็กทรงกลม เรียก โบลัส (bolus) จากนั้นจะเคลื่อนลงตามหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารด้วยการทำงานของการบีบรูด (peristalsis) น้ำย่อยกระเพาะอาหารในกระเพาะอาหารเริ่มการย่อยโปรตีน น้ำย่อยกระเพาะอาหารประกอบด้วยกรดไฮโดรคลอริกและเพพซินเป็นหลัก เนื่องจากสารเคมีสองตัวนี้อาจสร้างความเสียหายต่อผนังกระเพาะอาหารได้ กระเพาะอาหารจึงมีการหลั่งเมือก ทำให้เกิดชั้นซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันฤทธิ์กัดกร่อนของสารเคมีทั้งสอง ขณะเดียวกับที่เกิดการย่อยโปรตีน เกิดการคลุกเคล้าเชิงกลโดยการบีบรูด ซึ่งเป็นระลอกการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่เคลื่อนตามผนังกระเพาะอาหาร ทำให้ก้อนอาหารคลุกเคล้ากับเอ็นไซม์ย่อยเพิ่ม หลังเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ของเหลวหนาที่เกิดขึ้นเรียก ไคม์ (chyme) เมื่อลิ้นหูรูดกระเพาะส่วนปลายเปิด ไคม์เข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ซึ่งมีการคลุกเคล้ากับเอ็นไซม์ย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับ และผ่านสู่ลำไส้เล็ก ซึ่งการย่อยอาหารเกิดขึ้นต่อ เมื่อไคม์ถูกย่อยอย่างสมบูรณ์แล้ว จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด การดูดซึมสารอาหาร 95% เกิดในลำไส้เล็ก น้ำและแร่ธาตุถูกดูดซึมกลับเข้าสู่เลือดในลำไส้ใหญ่ ซึ่งมี pH เป็นกรดเล็กน้อยประมาณ 5.6 ~ 6.9 วิตามินบางตัว เช่น ไบโอตินและวิตามินเค ซึ่งผลิตจากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ก็ถูกดูดซึมเข้าสู่เลือดในลำไส้ใหญ่เช่นกัน ส่วนของเสียถูกำจัดออกจากไส้ตรงระหว่างการถ่ายอุจจาร.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและการย่อยอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

การดูดซึม

การดูดซึม (absorption) ในทางเคมี คือปรากฏการณ์หรือกระบวนการทางเคมีหรือฟิสิกส์ ที่อะตอม, โมเลกุลหรือไอออนเข้าไปในส่วนที่เป็นเนื้อในของวัสดุที่เป็นแก๊ส, ของเหลวหรือของแข็ง การดูดซึมนั้นเป็นกระบวนการที่แตกต่างจากการดูดซับ (adsorption) เพราะในการดูดซึม โมเลกุลที่ถูกดูดซึมจะไปอยู่ในปริมาตรของวัสดุ ส่วนการดูดซับ โมเลกุลที่ถูกดูดซับจะไปอยู่ที่ผิวของวั.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและการดูดซึม · ดูเพิ่มเติม »

กาเฟอีน

กาเฟอีน (caféine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ, ชา, โคล่า กาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาต และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ กาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นในกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและกาเฟอีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะซึ่งมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยวิลไล(มีหน้าที่เพิ่มพื้นที่ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก) เอนไซม์ย่อยในลำไส้เล็กนั้นมาจากลำไส้เล็กหลั่งเองส่วนหนึ่งและตับอ่อนหลั่งส่วนหนึ่ง.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็กส่วนต้น

ลำไส้ส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (Duodenum) เป็นลำไส้เล็กส่วนแรกในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงส่วนใหญ่ รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก ในปลา ส่วนของลำไส้เล็กนั้นไม่ชัดเจน และอาจใช้คำว่า ลำไส้เล็กหน้าหรือลำไส้เล็กต้น (proximal intestine) แทน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลำไส้เล็กส่วนต้นอาจเป็นที่ดูดซึมเหล็กหลัก ลำไส้เล็กส่วนต้นอยู่ก่อนลำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) และลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) และเป็นลำไส้เล็กส่วนที่สั้นที่สุด เป็นที่ที่เกิดการย่อยเชิงเคมีมากที.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น · ดูเพิ่มเติม »

หลอดอาหาร

หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ

หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ (Hepatic portal vein) เป็นระบบหลอดเลือดในช่องท้องซึ่งนำเลือดจากทางเดินอาหารและม้ามไปยังตับ ส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากหลอดเลือดดำซูพีเรียมีเซนเทอริก (superior mesenteric vein) และหลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) นอกจากนี้ยังรับเลือดจากหลอดเลือดดำอินฟีเรียมีเซนเทอริก (inferior mesenteric vein) หลอดเลือดดำกระเพาะอาหาร (gastric vein) และหลอดเลือดดำถุงน้ำดีด้วย (cystic vein) หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนพอร์ทัลตับ และเป็นระบบหลอดเลือดดำพอร์ทัลหนึ่งในสองระบบในร่างกาย ซึ่งอีกระบบหนึ่งอยู่ที่ระบบไหลเวียนพอร์ทัลไฮโปไฟเซียลที่ต่อมใต้สมอง พอร์ทัลตับ.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและหลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา

หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา (right gastric artery หรือ pyloric artery) ออกมาจากหลอดเลือดแดงตับ เหนือต่อกระเพาะอาหารส่วนไพลอรัส (pylorus) ทอดลงมายังปลายส่วนไพลอรัสของกระเพาะอาหาร และผ่านจากขวาไปซ้ายตามแนวของส่วนโค้งเล็ก (lesser curvature) ของกระเพาะอาหาร และให้แขนงไปเลี้ยงส่วนนั้น หลอดเลือดนี้ยังมีแขนงเชื่อม (anastomoses) กับหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย (left gastric artery).

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย (left gastric artery) เป็นแขนงที่แยกออกมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac trunk) วิ่งมาตามส่วนบนของส่วนโค้งเล็ก (lesser curvature) ของกระเพาะอาหาร แขนงของเส้นเลือดนี้เลี้ยงส่วนล่างของหลอดอาหาร หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้ายมีแขนงเชื่อม (anastomoses) กับหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา (right gastric artery) ซึ่งทำหน้าที่เลี้ยงส่วนล่าง.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและหลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงท้อง

หลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac artery) เป็นแขนงใหญ่แขนงแรกของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง (abdominal aorta) และแขนงจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาตรงกับตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 12 (T12) ในมนุษย์ หลอดเลือดซิลิแอคเป็นหนึ่งในสามแขนงที่ออกมาทางด้านหน้าตรงกลางลำตัวจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง (อีก 2 แขนงได้แก่ หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์มีเซนเทอริค (superior mesenteric artery) และหลอดเลือดแดงอินฟีเรียมีเซนเทอริค (inferior mesenteric arteries).

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและหลอดเลือดแดงท้อง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา

หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา หรือ หลอดเลือดแดงแกสโตรโอเมนตัลขวา (right gastroepiploic artery or right gastro-omental artery) ทอดตัวจากทางขวาไปยังซ้ายตามแนวของส่วนโค้งใหญ่ (greater curvature) ของกระเพาะอาหาร ใต้ต่อชั้นเยื่อโอเมนตัมใหญ่ (greater omentum) มีแขนงเชื่อมต่อกับแขนงหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้ายของหลอดเลือดแดงม้าม (splenic artery) หลอดเลือดนี้ทอดตัวห่างจากส่วนโค้งใหญ่ของกระเพาะอาหารประมาณ 1 ข้อนิ้วมือ ยกเว้นกระเพาะอาหารส่วนไพลอรัส (pylorus) ที่ทอดตัวชิดกัน.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้าย

หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้าย หรือ หลอดเลือดแดงแกสโตรโอเมนตัลซ้าย (left gastroepiploic artery or left gastro-omental artery) เป็นแขนงที่ใกญ่ที่สุดของหลอดเลือดแดงม้าม (splenic artery) ทอดจาทางซ้ายไปขวาห้างจากส่วนโค้งใหญ่ (greater curvature) ของกระเพาะอาหาร ระหว่างชั้นของเยื่อโอเมนตัมใหญ่ (greater omentum) และมีแขนงเชื่อมต่อกับหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา (right gastroepiploic) ระหว่างที่ทอดตัวไป หลอดเลือดนี้ให้แขนงต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและหลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้าย · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหาร

PAGENAME ทางเดินอาหาร (gut, alimentary canal หรือ alimentary tract) ในทางสัตววิทยา เป็นท่อซึ่งสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง (bilateria) ส่งอาหารไปยังอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดใหญ่มักมีทางออกด้วย คือ ทวารหนัก ซึ่งเป็นช่องทางที่สัตว์ถ่ายของเสียออกมาเป็นของแข็ง ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดเล็กมักไม่มีทวารหนักและขับของเสียออกด้วยวิธีการอื่น เช่น ทางปาก สัตว์ที่มีทางเดินอาหารถูกจัดเข้าเป็นพวกโปรโตสโตม (protostome) หรือดิวเทอโรสโตม (deuterostome) เพราะทางเดินอาหารวิวัฒนาการสองครั้ง เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) การจำแนกดังกล่าวดูจากพัฒนาการของเอ็มบริโอ สัตว์พวกโปรโตสโตมจะวิวัฒนาปากก่อน ขณะที่ดิวเทอโรสโตมจะวิวัฒนาปากเป็นลำดับที่สอง โปรโตสโตม ได้แก่ พวกสัตว์ขาปล้อง (arthropod) สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา (mollusca) และแอนเนลิดา (annelida) ขณะที่พวกดิวเทอโรสโตม ได้แก่ สัตว์ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (echinodermata) และคอร์ดาตา (chordata).

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและทางเดินอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ตับอ่อน

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะซึ่งเป็นต่อมในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในมนุษย์ ตับอ่อนอยู่ในช่องท้องหลังกระเพาะอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมถึงอินซูลิน กลูคากอน โซมาโตสเตติน และแพนคริเอติกพอลิเพพไทด์ซึ่งไหลเวียนอยู่ในเลือด ตับอ่อนยังเป็นอวัยวะย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยตับอ่อนซึเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยการย่อยและดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก เอนไซม์เหล่านี้ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและลิพิดในไคม์ (chyme) และตับอ่อนมักหลั่งเอนไซม์ คือ trypsinogen chymotrypsinogen procarboxypeptidase.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและตับอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปาก

ปาก หรือ ช่องปาก เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและปาก · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แอลกอฮอล์

รงสร้างของแอลกอฮอล์ ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าโรคพิษสุรา (alcoholism) เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล).

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและแอลกอฮอล์ · ดูเพิ่มเติม »

แอสไพริน

แอสไพริน (aspirin) (BAN, USAN) หรือกรดอะซีทัลซาลิซิลิก (acetylsalicylic acid, ASA) เป็นยาซาลิซิเลต มักใช้เป็นยาระงับปวด ยาลดไข้และยาแก้อักเสบ แอสไพรินยังมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดโดยยับยั้งการผลิตทรอมบ็อกเซน ซึ่งปกติเชื่อมโมเลกุลเกล็ดเลือดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างปื้นเหนือผนังหลอดเลือดที่เสียหาย เนื่องจากปื้นเกล็ดเลือดสามารถใหญ่เกินไปได้และยังขัดขวางการไหลของเลือด ทั้งเฉพาะที่และที่อยู่หลังจากนั้น แอสไพรินยังใช้ระยะยาวที่ขนาดต่ำเพื่อช่วยป้องกันอาการหัวใจล้ม โรคหลอดเลือดสมองและการเกิดลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเกิดลิ่มเลือด นอกจากนี้ อาจให้แอสไพรินขนาดต่ำทันทีหลังอาการหัวใจล้มเพื่อลดความเสี่ยงอาการหัวใจลมอีกหนและการตายของเนื้อเยื่อหัวใจ แอสไพรินอาจให้ผลป้องกันมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ ฤทธิ์ข้างเคียงหลักของแอสไพริน คือ แผลกระเพาะและลำไส้ เลือดไหลในกระเพาะอาหารและเสียงในหู โดยเฉพาะในขนาดสูง ในเด็กและวัยรุ่น ไม่แนะนำแอสไพรินสำหรับอาการคล้ายหวัดหรือการเจ็บป่วยจากไวรัส เพราะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการไรย์ (Reye's syndrome) แอสไพรินอยู่ในกลุ่มยารักษาโรคชื่อ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) แต่กลไกออกฤทธิ์ของมันต่างจาก NSAIDs อื่นส่วนมาก แม้มันและยาอื่นที่มีโครงสร้างคล้ายกัน เรียก ซาลิซิเลต มีฤทธิ์คล้ายกับ NSAIDs (ลดไข้ แก้อักเสบ ระงับปวด) และยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (cyclooxygenase, COX) ตัวเดียวกัน แต่แอสไพรินยับยั้งแบบผันกลับไม่ได้ และไม่เหมือนยาอื่น มีผลกับเอนไซม์ COX-1 มากกว่า COX-2 เอ็ดเวิร์ด สโตน แห่งวิทยาลัยวอแดม (Wadham College) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ค้นพบส่วนประกอบกัมมันต์ของแอสไพรินครั้งแรกจากเปลือกต้นวิลโลว์ใน..

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและแอสไพริน · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

เพปซิน

เพปซิน (pepsin) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยย่อยสารอาหารประเภทโปรตีน (จากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์) ให้เป็นเพปไทด์ (โปรตีนที่มีโมเลกุลเล็กลง) ทำหน้าย่อยเพปไทด์ให้เป็นพอลิเพปไทด์ ซึ่งทริปซินสร้างจากตับอ่อน แล้วก็จะถูกส่งไปที่ลำไส้เล็ก โดยจะมีเอนไซม์ที่จะย่อยพอลิเพปไทด์เป็นโมเลกุลที่เล็กลงคือ กรดอะมิโน หมวดหมู่:เอนไซม์.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและเพปซิน · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อเมือก

ื่อเมือก (mucous membranes, mucosa) เป็นชั้นที่บุผิวที่มักเจริญมาจากเอนโดเดิร์ม (endoderm) ปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อบุผิว มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูดซึมและหลั่งสาร เยื่อเมือกจะดาดอยู่ที่หลายช่องว่างของอวัยวะซึ่งติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกและอวัยวะภายใน เยื่อเมือกในหลายที่ที่ติดต่อมาจากผิวหนัง เช่นที่รูจมูก (nostril), ริมฝีปาก, หู บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และทวารหนัก สารข้นเหนียวที่หลั่งออกมาจากเยื่อเมือกและต่อมเรียกว่า เมือก หรือมูก (mucus) ช่องว่างภายในร่างกายที่พบเยื่อเมือกนี้รวมถึงส่วนใหญ่ของระบบทางเดินหายใจ ลึงค์ (ส่วนหัวขององคชาต) และส่วนหัวของคลิตอริส และภายในของหนังหุ้มปลายองคชาต (prepuce หรือ foreskin) ต่างเป็นเยื่อเมือก ไม่ใช่ผิวหนัง.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและเยื่อเมือก · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อบุผิว

นื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานหนึ่งในสี่ชนิดของสัตว์ ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผิวบุโพรงและพื้นผิวของโครงสร้างทั่วร่างกาย และยังเกิดเป็นต่อมจำนวนมาก หน้าที่ของเซลล์บุผิวรวมไปถึงการหลั่ง การเลือกดูดซึม การป้องกัน การขนส่งระหว่างเซลล์และการตรวจจับการรู้สึก ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวนั้นไร้หลอดเลือด ฉะนั้น เนื้อเยื่อบุผิวจึงได้รับอาหารผ่านการแพร่ของสสารจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างใต้ ผ่านเยื่อฐาน เนื้อเยื่อบุผิวสามารถจัดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อได้.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและเนื้อเยื่อบุผิว · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

นื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นหนึ่งในสี่เนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐาน (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ, และ เนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

PH

PH, Ph, pH, ph (พีเอช) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: กระเพาะอาหารและPH · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Stomach

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »