โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หมาจิ้งจอกหลังดำ

ดัชนี หมาจิ้งจอกหลังดำ

หมาจิ้งจอกหลังดำ หรือ หมาจิ้งจอกหลังเงิน (black-backed jackal, silver-backed jackal, red jackal) เป็นสัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่งในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นหมาจำพวกแจ็กคัลชนิดหนึ่ง มีใบหูใหญ่ ปลายหางมีสีดำ ช่วงขาสั้นกว่าหมาจิ้งจอกข้างลาย (C. adustus) ตัวผู้กับตัวเมียมีรูปร่างลักษณะเหมือนกันแต่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย มีความสูงจากหัวไหล่ถึงปลายเท้า 40–45 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 70–80 เซนติเมตร ความยาวหาง 28–35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 6–13.5 กิโลกรัม อายุโดยเฉลี่ย 8–10 ปี พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกา โดยเป็นแจ็กคัลชนิดที่หาได้ง่ายที่สุด พบเห็นได้บ่อยที่สุดในทวีปแอฟริกา โดยจะอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ และพื้นที่กึ่งทะเลทราย จะจับคู่เพียงคู่เดียวไปตลอดทั้งชีวิตและช่วยกันปกป้องถิ่นอาศัยและถิ่นหากิน หมาจิ้งจอกหลังดำเป็นนักฉกฉวยโอกาสแย่งกินซากสัตว์จากสัตว์นักล่าชนิดอื่น ๆ แต่เมื่อมีโอกาสก็จะล่าลูกแอนทีโลป หรือลูกกวางขนาดเล็ก เป็นอาหารได้ รวมถึงหนู, นกที่หากินตามพื้นดิน ลูกหมาขนาดเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น เสือดาว, อินทรีขนาดใหญ่, งูเหลือม.

9 ความสัมพันธ์: ชนิดย่อยสมัยไพลโอซีนสัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหมาจิ้งจอกข้างลายแจ็กคัลเสือดาว

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกหลังดำและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกหลังดำและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกหลังดำและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกหลังดำและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกหลังดำและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกหลังดำและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกข้างลาย

หมาจิ้งจอกข้างลาย (side-striped jackal) สัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่ง ในวงศ์สุนัข (Canidae) จัดเป็นหมาจิ้งจอกที่มีขนาดเล็กกว่าหมาป่า และหมาใน ด้วยเป็นแจ็กคัลชนิดหนึ่ง มีความแตกต่างจากแจ็กคัลชนิดอื่น ๆ โดยมีใบหน้าที่แหลมน้อยกว่า ใบหูมนกว่า ปลายหางเป็นสีขาว และมีลายเส้นสีขาวเส้นเดียวพาดทแยงตามทั้งสองข้างลำตัว มีความใกล้เคียงกับหมาจิ้งจอกหลังดำ (C. mesomelas) ซึ่งเป็นแจ็กคัลอีกชนิดหนึ่ง มีฟันที่สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า มีความสูงจากปลายเท้าถึงหัวไหล่ 40–45 เซนติเมตร ความยาว 70–80 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ย 7–13 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียและมีน้ำหนักมากกว่า พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา จัดเป็นแจ็กคัลชนิดที่พบได้ยากที่สุด มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือเลี้ยงดูแลลูกที่อยู่กันเป็นคู่ มีการจับคู่แบบคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต อาศัยอยู่ในสถานที่ ๆ เป็นทุ่งหญ้าและป่าละเมาะ กินซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย และล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, กระต่าย, นกที่หากินตามพื้นดิน, สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง เป็นอาหาร นอกจากนี้แล้วยังอาจล่าสัตว์กีบที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ลูกแอนทีโลป หรือแอนทีโลปขนาดเล็กเป็นอาหารได้ด้วย โดยเฉพาะการล่าแบบคู่ โดยคู่ผสมพันธุ์ มีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 57–70 วัน พฤติกรรมการเลี้ยงลูกเหมือนกับแจ็คเกิลชนิดอื่น ๆ คือ ตัวผู้เป็นฝ่ายหาอาหารมาเลี้ยงดู ตัวเมียจะเป็นฝ่ายเฝ้าดูแลรังและดูแลลูกมากกว่า แต่ก็อาจจะช่วยตัวผู้ล่าเหยื่อได้ในบางครั้ง ลูกขนาดเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จะตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า เช่น เสือดาว, ไฮยีน่า, งูเหลือม, อินทรีขนาดใหญ.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกหลังดำและหมาจิ้งจอกข้างลาย · ดูเพิ่มเติม »

แจ็กคัล

แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของแจ็กคัลทั้ง 3 ชนิด แจ็กคัล (Jackal) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์สุนัข (Canidae) ในสกุล Canis จำพวกหนึ่ง แจ็กคัลจะมีขนาดเล็กกว่าหมาป่า แต่มีขนาดใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก โดยที่คำว่า "jackal" นั้น แผลงมาจากคำว่า "ชะฆาล" (شغال, shaghāl) ในภาษาเปอร์เซีย หรือคำว่า "ชาคัล" (çakal) ในภาษาตุรกี หรือมาจากคำว่า "ศฤคาล" (शृगाल, śṛgāla) ในภาษาสันสกฤต แจ็กคัลมีทั้งหมด 3 ชนิด กระจายพันธุ์ไปทั้งทวีปเอเชีย, ยุโรปบางส่วน และแอฟริกา ได้แก่ หมาจิ้งจอกทอง (Canis aureus), หมาจิ้งจอกข้างลาย (C. adustus) และหมาจิ้งจอกหลังดำ (C. mesomelas) ซึ่งชนิดแรกนั้นพบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมถึงในประเทศไทย), แอฟริกาตอนเหนือและบางส่วนของยุโรป ส่วนสองชนิดหลังนั้นพบเฉพาะทวีปแอฟริกาเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว หมาป่าไคโยตี (C. latrans) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ บางครั้งที่ถูกเรียกว่า "อเมริกันแจ็กคัล" ด้วยเหมือนกัน.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกหลังดำและแจ็กคัล · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาว

ำหรับเสือดำ มีบทความขยายที่: เสือดำ เสือดาว หรือ เสือดำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) เป็นเสือขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง (P. tigris) thumb.

ใหม่!!: หมาจิ้งจอกหลังดำและเสือดาว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Black-backed jackalCanis mesomelasRed jackalSilver-backed jackalหมาจิ้งจอกหลังเงิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »